วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เจ้าของรางวัลโนเบลคนแรกของไทย อาจเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"

เจ้าของรางวัลโนเบลคนแรกของไทย
อาจเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"


[IMG]


       บรรยากาศทางการเมืองไทยที่กำลังร้อนแรงอยู่ในปัจจุบัน จะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นมากขึ้นหรือไม่ หากมีใครสักคนประกาศว่าเจ้าของรางวัลโนเบลคนแรกของประเทศไทยอาจเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย
       ความเห็นข้างต้น ดูเสมือนเป็นการสอพลอ ยกยอเกินจริง ที่บรรดาเผด็จการอำมาตย์ พรรคฝ่ายค้าน คนเสื้อเหลืองและสลิ่มทุกเฉดสี คงทนไม่ได้ต้องออกมาระเบงเซ็งแซ่ส่งเสียงสาปแช่งกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โหมประนามหยามเหยีย "ความเป็นยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ให้ตายคาตีน ว่าคนอย่าง "อีปู" นะหรือจะได้รับรางวัลเกียรติยศระดับโลกรางวัลนี้ "อีโง่ อีปลวก อีกระหรี่ขายชาติอย่างนังนี่นะหรือ" จะได้รับรางวัลโนเบล ฝันไปหรือเปล่า หญ้าแฝกยังออกเสียงเป็นหญ้าแพรก ประเทศซีดนีย์มันมีที่ไหน ยิ่ง thank you three times ทำให้คนไทยขายหน้ากันไปทั้งสามโลก ทั้งยังแสดงความงี่เง่าอีกมากมายสุดจะบรรยาย เสื่อมเสียภาพลักษณ์หญิงไทย อับอายกันไปทั้งแผ่นดิน ยังฝันจะได้รับรางวัลโนเบล....โอ้แม่เจ้า

        จากวันที่ 16 พฤษภาคม 2554  วันที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ในอันดับ ของผู้สมัคร สส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย อันเป็นความหมายที่เข้าใจกันทางการเมืองว่าเธอคือ ว่าที่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยนั่นเอง 

          เพียง 49 วันนับจากวันนั้น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็นำพาพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลาย ผลการเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อวันที่ กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยได้ สส. จำนวน 265 ที่นั่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน สส.ทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

        จากวันที่ สิงหาคม 2554  วันที่ทรงลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย แม้การสนองพระบรมราชโองการฯอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในอีกสามวันต่อมาในวันที่ สิงหาคม 2554 ก็ตาม

       นับถึงวันนี้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยมาแล้วครบ ปีเต็ม จากวันแรกที่เปิดตัวสมัคร สส. ในระบบบัญชีรายชื่อจนถึงวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ได้ประกาศย้ำจุดยืนของเธอให้คนไทยทั้งชาติและนานาประเทศ ได้รับรู้กันอีกครั้งว่าเธอมา "แก้ไข ไม่แก้แค้น"

       เสียงประกาศของเธอในวันนั้นหนักแน่นผู้ฟังสามารถสัมผัสได้ ถึงความมุ่งมั่นและความจริงใจที่หล่อหลอมอยู่ในน้ำเสียงแห่งคำประกาศนั้น การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและการฟื้นฟูประชาธิปไตย คือนโยบายเร่งด่วนประการแรกของรัฐบาลที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศก้องกลางรัฐสภาในวันนั้น

        ในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่บรรดาสมาชิกของรัฐสภาไทยต่างได้รับรู้รับฟังกันถ้วนทั่วทุกรูปนาม คำแถลงที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์และประชาธิปไตยจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ที่ผู้รักประชาธิปไตยและผู้รักความเป็นธรรมสามารถพิสูจน์ได้ในปัจจุบัน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยียวยาผู้บาดเจ็บล้มตายจากเหตุการณ์ทางการเมือง ให้กับคนไทยทุกกลุ่มทุกสีเสื้อ ย้อนหลังไปนับสิบปีไม่เว้นแม้แต่เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ เพื่อลบบาดแผลในใจและสมานร้อยร้าวที่เกิดจากการกระทบกระทั่งทางความคิดที่แตกต่าง เยียวยาผู้คนทุกสีเสื้อที่ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากภัยธรรมชาติโดยไม่แบ่งเขาแบ่งเราเธอก้มหน้าทำงานเพื่อประชาชนอย่างมุ่งมั่นอดทน ไม่ตอบโต้คำให้ร้ายป้ายสีจากฝ่ายค้านและผู้เห็นต่าง เพราะเธอคือนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้งประเทศ ของคนไทยทุกกลุ่มและของคนไทยทุกสีเสื้อ และเธอไม่ใช่ตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ใด นอกจากเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยทุกคน

         สงครามและความระหองระแหงกับประเทศเพื่อนบ้านจางหายไป เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต่อจากรัฐบาลอำมาตย์อุ้มสมเสียงปืนสงบ ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกลับคืนมา ด่านชายแดนเปิดทำมาค้าขายกันคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่ผู้คนล้มตายในสงครามระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด่านการค้าขายชายแดนปิดตายหลายแห่งจากพม่าทางตะวันตกยันชายแดนกัมพูชาทางตะวันออก สร้างความยากลำบากให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

         ความกังวลของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อความมั่นคงของภูมิภาคคลี่คลายมลายไปเมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินสายเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนทุกชาติเรียกความเชื่อมั่นให้กับทั้งบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนและนานาประเทศว่าไทยจะไม่เป็นปัญหาต่อการดำรงอยู่ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคเอเชีย

         โครงการ AECที่อาเซียน+อาเซียน+จนถึงอาเซียน+10 เป็นกังวล จะดำเนินไปอย่างราบรื่น นโยบายต่างประเทศที่ล้มเหลวในรัฐบาลก่อน ได้รับการฟื้นฟูจนเป็นที่ยอมรับของนานาอารยะประเทศ 

         เพียง ปีที่เข้ามาบริหารประเทศ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย สามารถทำให้นานาประเทศ ทั้งประเทศมหาอำนาจและประเทศน้อยใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลก ยอมรับความเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และพร้อมรับมิตรไมตรีที่เธอหยิบยื่นให้ในนามของประเทศไทย โดยไม่นำเอาการพูดผิดพูดถูกในการปราศรัยของเธอที่เพื่อนร่วมชาติประนามหยามเหยียดมาเป็นสาระ

         เป็นความจริงที่ไม่มีผู้นำคนใดในโลกกล้าปฏิเสธว่า ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่โตระดับผู้นำประเทศไม่เคยผ่านประสบการณ์นี้ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกนับร้อยนับพันคนล้วนเคยพูดผิดพูดถูกมาด้วยกันทั้งนั้น 

         นิตยสาร FORBES จัดอันดับให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลอันดับที่ 31 ของโลก" โดยไม่เอาการพูดผิดพูดถูกในการปราศรัยของเธอมาเป็นมาตรฐานวัดความเป็นผู้นำคือข้อพิสูจน์ตัวตนของผู้หญิงคนนี้ ผู้หญิงที่ใช้เวลาเพียง 49 วันก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ผู้นำของประเทศ ในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

         ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปเยือนนานาชาติกว่า 40 ประเทศในรอบ ปีและทุกแห่งที่ไปเยือน เธอได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติเทียบเท่าผู้นำประเทศชั้นนำพึงได้รับ เธอเดินบนพรมแดงเคียงข้างผู้นำประเทศทั้งเล็กและใหญ่ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศประดุจนางพญาที่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่ครั้งเดียว

          การไปเยือนต่างประเทศของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือการสร้างโอกาสให้ประเทศไทยยกระดับความสำคัญของนโยบายต่างประเทศที่ตกต่ำเสื่อมทรุดในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ฟื้นคืนกลับและพัฒนาต่อยอดให้แน่นแฟ้นมั่นคงยิ่งขึ้น ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการค้าการลงทุน มีการลงนามความร่วมมือกับทุกประเทศที่ไปเยือน ฉบับแล้วฉบับเล่าทั้งในลักษณะของทวิภาคีและในรูปแบบของพยุหภาคี 

          ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินสายป่าวประกาศให้นานาประเทศได้รับรู้ว่า ไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ปกครองด้วยระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นประเทศที่น่าลงทุนพรั่งพร้อมด้วยวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลากรที่มีคุณภาพ

           ปาฐกถาอันลือลั่น ณ กรุงอูลันบาตู ประเทศมองโกเลียเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556  คือการประกาศจุดยืนอันมั่นคงของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ต่อผู้นำของทุกประเทศที่เข้าร่วมในการประชุมของ "ประชาคมประชาธิปไตยโลก" ในครั้งนั้นว่า ประเทศไทยจะเดินอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตยอย่างมั่นคงแม้จะมีองค์กรอิสระที่ทำงานเกินหน้าที่

          แม้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศยังขัดขวางการเติบโตของประชาธิปไตยก็ตาม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังให้คำมั่นต่อที่ประชุม ว่าโศกนาฏกรรมการฆ่าหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงอย่างเหตุการณ์ "เมษา-พฤษภา 2553" จะไม่เกิดขึ้นอีกะหนึ่งให้คำมั่นว่าสังคมไทยจะสมานสามัคคี ให้ความเชื่อมั่นและความปลอดภัยต่อทั้งนักลงทุนและนักท่องเที่ยว

          วันที่ สิงหาคม 2556 ความเพียรพยายามเพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติไม่เคยหยุดนิ่ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอแนวทางเพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืนโดยเสนอให้เชิญตัวแทนจากกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายรัฐบาล พรรคการเมืองนปช. พธม. นักวิชาการตลอดจน สว. องค์กรอิสระและภาคเอกชนมาเปิดเวทีเพื่อระดมความคิดร่วมกันออกแบบหาทางออกให้ประเทศที่สอดคล้องกับสภาพสังคมในขณะเดียวกันก็ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกและนานาอารยะประเทศ ปลดปล่อยประเทศไทยให้หลุดพ้นจากความขัดแย้งแตกแยกที่ร้าวลึกขึ้นทุกวัน เพื่อให้คนรุ่นลูกสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ มีชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข

          วันที่ สิงหาคม 2556 ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับของ สส.วรชัยเหมะได้ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาในวาระ จากการผลักดันของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของสส.พรรคเพื่อไทย และจากมติของพรรคเพื่อไทย เพื่อปลดปล่อยประชาชนที่ต้องคดีและถูกคุมขังจากการประชุมทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวัน  10 พฤษภาคม 2554 ให้พ้นผิดและความรับผิดชอบใดๆ เพื่อความสมัครสมานของประชาชน แม้พรรคฝ่ายค้านจะมุ่งมั่นคัดค้านอย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งในสภาและนอกสภา ถึงขั้นก่อม็อบขู่นำกองทัพประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาล ก็ไม่ย่นย่อยังเดินหน้าหวังให้ ร่าง พรบ.ฉบับนี้ออกมาประกาศใช้ ความมุ่งมั่นให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ การเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อยุติการสู้รบ สร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย การเดินทางเยี่ยมเยือนนานาประเทศเพื่อเพิ่มสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างประเทศทั่วทุกภูมิภาค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสมควรได้รับรางวัลระดับโลกรางวัลใดรางวัลหนึ่งในผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้

          ปี พ.ศ. 2534 ออง ซาน ซูจีผู้นำฝ่ายค้านของประเทศพม่าได้รับรางโนเบลสาขาสันติภาพ "สำหรับการต่อสู้ที่ไม่รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน"

          ปี พ.ศ. 2552 บารัค โอบามาประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ "สำหรับความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการฑูตระหว่างประเทศและความ ร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก" จากเหตุผลที่ทำให้ ออง ซาน ซูจี และ บารัค โอบามา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพข้างต้น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยจะมีสิทธิบ้างไหม"

RED USA

August 8, 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น