วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

เสวนา“ข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปการเมือง” สมศักดิ์ เจียมฯ ชี้ปชต.ควรเป็นเพียงรูปแบบ

เสวนา“ข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปการเมือง” สมศักดิ์ เจียมฯ ชี้ปชต.ควรเป็นเพียงรูปแบบ

        ข้อเสนอสังคมนิยมประชาธิปไตยในวงเสวนาข้อเสนอต่อสภาปฎิรูปการเมือง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โต้ประชาธิปไตยต้องเป็นแค่ “รูปแบบ” แล้วใส่ “เนื้อหา” น้อยที่สุด เพื่อรองรับคนที่หลากหลายที่สุด ย้ำนิรโทษกรรมมวลชนทันทีไม่ควรตั้งเป็นเงื่อนไข
          28 ส.ค.56 ที่ห้องประชุม 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันสังคมประชาธิปไตย(Social-Democracy Think Tank) จัดเสวนา "ข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปการเมือง ทางออกจากความขัดแย้งที่แท้จริง" โดยมี นพนันท์ วรรณเทพสกุล ผอ.ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง เมธา มาสขาว สถาบันสังคมประชาธิปไตย สุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เยี่ยมยอด ศรีมันตระ คณะราษฎร 2555 ปกรณ์ อารีกุล นักเคลื่อนไหวทางสังคม ธิวัชร์ ดำแก้ว เลขาธิการศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) รวมทั้ง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแลกเปลี่ยนในวงเสวนา
นพนันท์ วรรณเทพสกุล
ผอ.ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองชี้ปัญหาเศรษฐกิจเสรีที่ไร้การกำกับ
          นพนันท์ วรรณเทพสกุล กล่าวว่าบทางออกจากปัญหาการเมือง ไม่ควรปล่อยให้การแก้โดยผู้มีอำนาจเท่านั้น ควรเปิดให้มีพื้นที่ของคนที่มีความเห็นที่แตกต่างมาร่วมเสนอกัน และตนเห็นด้วยกับคำโปรยประชาสัมพันธ์ของงานเสวนานี้ที่ว่า “อนุรักษ์นิยมประชาธิปไตย ไม่ใช่ืทางออก เสรีนิยมประชาธิปไตย คือเครื่องมือของทุน ร่วมกันสร้างสังคมนิยมทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยทางการเมือง ร่วมกันสร้างแนวร่วมสังคมนิยมประชาธิปไตย”  เนื่องจากเรามีปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเร็วๆนี้เป็นอุทาหรณ์ที่สะท้อนว่าระบบเศรษฐกิจของไทยมีปัญหา เศรษฐกิจเสรีที่ไร้การกำกับ เช่น เรื่องกรณีน้ำมันรั่วที่อ่าวพร้าว บริษัทที่เป็นต้นเหตุที่ไม่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ เมื่อเทียบกับที่ออสเตรเลียบริษัทลูกของบริษัทนี้เคยทำรั่วแต่มีการจ่ายค่าชดเชยหลายหมื่นล้าน แต่ของไทยกลับเทียบไม่ได้
        นพนันท์ นอกจากนี้กรณีการเลือกปฏิบัติทางเศรษฐกิจ กรณีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ได้รับจำนำสูงกว่าตลาดโลก เมื่อเทียบกับกรณียางพารา แสดงให้เห็นการเลือกปฏิบัติเพระขณะที่สินค้าเกษตรชนิดหนึ่งได้รับการช่วยเหลืออย่างดี แต่อีกอย่างได้รับน้อย ขณะที่ผู้นำประเทศกลับบอกว่าเป็นไปตามกลไกตลาดโลก จึงเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความเป็น 2 มาตรฐานทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการเมืองที่ไร้สำนึกเรื่องประชาธิปไตย เช่นกรณีที่ประธานสภาใช้วาจาเรื่องเพศที่ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในเรื่องความสวยความงามแล้วให้สิทธิก่อนนั้น แสดงว่าประชาธิปไตยเรายังอ่อนแอ ดังนั้นจากรูปธรรมเพียง 3 อย่าง ที่เราพูดถึง นั้นเราควรที่จะปฏิรูปสำนึกแบบประชาธิปไตย ท่ามกลางโครงสร้างการเมืองที่เหลื่อมล้ำสูง โครงสร้างทางการเมืองก็มีปัญหาด้วย
ข้อเสนอเฉพาะหน้าและระยะยาวของสถาบันสังคมประชาธิปไตย
         เมธา มาสขาว กล่าวถึงข้อเสนอของกลุ่มสถาบันสังคมประชาธิปไตยต่อสภาปฏิรูป เฉพาะหน้ามี 2 เรื่อง คือ รัฐบาลควรถอนการพิจารณากฏหมายนิรโทษกรรมออกมาจากรัฐสภาไว้ก่อน เพื่อรอข้อเสนอของสภาปฏรูปการเมืองนี้และข้อเสนอขปงประชาชนในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งต่างๆ
รัฐบาลสามารถนำข้อเสนอของ คอป. ซึ่งเสนอทางออกไว้แล้วสามารถดำเนินการได้ทันที ในหลายๆเรื่อง ตัวอย่าง การใช้หลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน เพื่อนำไปสู่ความปรองดอง เช่น การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการตั้งขอหาผู้กระทำผิด การนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองนักโทษความคิด นักโทษ ม.112 ที่สามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการพิสูจน์ความจริงเป็นที่ประจักษ์ต้อสาธารณะแล้วจึงนิรโทณกรรมภายหลัง
        ถ้าเริ่มทำตรงนี้ก่อน กระบวนการปฏิรูปก็น่าจะทำได้ ทำให้ขั้วข้างน่าจะเห็นด้วย รวมทั้งดีใจที่นายกฯ พูดเรื่องหนึ่งในที่ประชุมสภาปฏิรูป คือเรื่องของปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ซึ่งเป็นประเด็นที่จุดชนวนปัญหาความขัดแย้ง
        ประชาธิปไตยที่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก และประเทศที่เป็นเป็นสังคมนิยมประชาธิปไตย เช่น ในแถบแสกนดิเนเวีย ปัญหาเรื่องนี้จะน้อย
สำหรับข้อเสนอระยะยาวนั้น ประกอบด้วย
  •  ประเด็น ข้อเสนอเรื่องการเลือกตั้งทางตรง ทุกระดับชั้น เช่น เลือกตั้งนายกและคณะรัฐมนตรีโดยตรง มีสภาล่างสภาเดียว รวมถึงการเลือกตั้งประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจต่างๆ ตามข้อเสนอของ กรรมการปฏิรูปประเทศ แม้จะตั้งในรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันก็น่าเอามาใช้ได้ เช่น ยกเลิกองค์กรส่วนภูมิภาค เพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • ประเด็นที่ 2 ความขัดแย้งเรื่องรัฐธรรมนูญ เมื่อมันมีปัญหาเรื่องความชอบธรรมของระบบนิติรัฐมันเป็นผลพวงจากการรัฐประหารปี 49 ดังนั้นทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญมีการยกร่างฉบับหม่ อาจใช้กลไกแบบ ส.ส.ร. ปี 40 เป็นกรอบใหญ่ที่จะคลีคลายความขัดแย้ง
  • ประเด็นที่ 3 เรื่องการทำอย่างไรให้ระบบรัฐสภาเป็นคำตอบในระบอบประชาธิปไตย ให้ทุกกลุ่มทางการเมืองสามารถเข้ามาในรัฐสภาได้โดยไม่ถูกปิดกั้น เช่นการลดเงื่อนไขเพื่อให้สามารถตั้งพรรคได้ง่าย ไม่ควรยุบง่ายด้วย อุปสรรคต่างๆที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นเป็นการปิดกั้นพรรคเล็ก
  • ประเด็นที่ 4 รัฐบาลต้องจริงจังกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศอย่างเร่งด่วน อยากให้เป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลและสภาปฏิรูปต้องคิด การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำนั้นควรใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ไม่ควรปล่อยเสรี รวมถึงการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา มีการจัดการงบประมาณทางเศรษฐกิจสวัสดิการต่างๆ และเสนอในเรื่องการเก็บภาษีมรดกและทรัพย์สินในอันตราก้าวหน้า
  • ประเด็นที่ 5 เรื่องการปฏิรูประบบที่ดินทั้งระบบและจำกัดการถือครองที่ดินอย่างจริงจัง โดยมีการแบ่งแยกโซนพื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมและพื้นที่อุตสาหกรรมให้ชัดเจน

โจทย์เรื่องคู่ขัดแย้งเป็นสิ่งที่สำคัญ
         เยี่ยมยอด ศรีมันตระ  กล่าวว่ามีการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ก็ถูกขัดขวางจากฝ่ายค้าน ทำให้ถึงจุดที่รัฐบาลเดินหน้าไปไม่ได้เลย เช่น กฏหมานที่จะพัฒนาประเทศต่างๆ ก็กลัวว่ากฏหมายจะไปไม่ได้ จึงหันมาชวนเพื่อน ทั้ง บรรหาร ศิลปอาชา สนธิ บุญยรัตกลิน ฯลฯ ร่วมเวทีปฏิรูป จึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะต้องดูว่าขณะนี้อะไรคือความขัดแย้ง ความขัดแย้งเกิดจากความขัดแย้งทางชนชั้น หรือพรรคการเมือง หรือความขัดแย้งจากความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นโจทย์เรื่องคู่ขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
         กลุ่มทุนผูกขาดโตขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงมาก สิ่งที่มันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมมันสร้างรอยเลื่อนที่เป็นรอยที่กว้างออกไประหว่างประชาชนกับทุนผูกขาด เป็นสิ่งที่เราตระหนักว่าจะทำอย่างไร  รัฐธรรมนูยก็แก้ไม่ได้ กฏหมายที่เป็นธรรมทางสังคมก็ออกไม่ได้ นักโทษการเมืองก็ยังติดคุกอยู่ ทางออกนั้นมีคนจะคิดอย่าง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เสนอเรื่องการปฏิวัติประชาธิปไตย โดยให้มีสภาเปลี่ยนผ่านและเข้าไปสู่การปฏิรูป ส่วนสิ่งที่อยากเห็นประชิปไตย
         มีการปฏิรูปกรรบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กระบวนการยุติธรรมเป็นเรื่องที่สร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ ระหว่างคนรวยกับคนจน แต่จะเอากุญแจอะไรมาแก้ เช่น ระบบภาษี ระบบการกระจายอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นต้น
สุริยันต์ ทองหนูเอียด 
การปฏิรูปนั้นจะสำเร็จต้องมาจากข้างล่างไม่ใช่จากด้านบน
         สุริยันต์ ทองหนูเอียด กล่าวว่าวันนี้สังคมไทยนั้นเวลาพูดถึงการปฏิรูปไม่ต้องไปหาเนื้อหาใหม่แล้ว เพราะมีอยู่แล้วในสังคม และการปฏิรูปนั้นควรให้ประชาชนเข้ามาดำเนินการ ไม่ใช่รัฐ เนื่องจากอาจไม่ได้รับความไว้วางใจ รวมทั้งความขัดแย้งนั้นมีหลายระดัยทั้งความขัดแย้งเรื่องของการเลือกเชียร์ ความขัดแย้งเรื่องของการรับข้อมูลที่แตกต่าง และความขัดแย้งเรื่องของผลประโยชน์ อย่างไรก็ตามความขัดแย้งนี้ไม่สามารถเอามาแก้ได้หมด แต่ก็สามารถเอามาบริหารได้  ข้อเสนอของคนตอนนี้เป็นการพูดเรื่องความปรองดอง ความสมานฉันท์ ความจริงไม่จำเป็นต้องปรองดอง เราสามารถอยู่ได้ ถ้าปรองดองเน้นสุดท้ายคนจนก็จะถูกเอาเปรียบ
         ประเด็น ที่มาการปฏิรูปประเทศกับความขัดแย้ง เมื่อเอา 2 เรื่องมารวมกัน จากที่นายกทำนั้นอาจไม่เป็นที่พึ่งหรือความหวังหรือทางออก เป็นเพียงปรากฏการณ์สั้นๆ พอเข้าสู่สถานการณ์เลือกตั้งก็อาจจะไม่ได้รับการปฏิบัติ เช่นเดียวกับสมัยอภิสิทธิ์  ดังนั้นโจทย์ใหญ่ๆ เวลาที่เราเสนอเพื่อนำไปปฏิบัติ เราพูดนั้นจิตสำนึกของชาวบ้านนั้นต้องการชีวิตที่ดีขึ้น การเมืองที่สะอาด การเมืองที่นักการเมืองรับผิดชอบ เมื่อไม่เป็นเจตจำนงก็นำไปสู่ความขัดแย้ง และข้อเสนอการปฏิรูปนั้นจะสำเร็จต้องมาจากข้างล่างไม่ใช่จากด้านบน
สังคมป่วยจากโรคทุนผูกขาดและเก็งกำไร ความขัดแย้งทางชนชั้นนั้นแท้จริง
        ผู้ใช่นามแฝง สุรวิทย์ เสรีชน(หรือสมศักดิ์ รักเธอเสมอประชาชน) เสื้อแดงที่รวมกับคนเสื้อเหลืองและประชาชนกลุ่มอื่นประท้วงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล กล่าวว่าสิ่งที่ควรพิจารณาประการแรกคือ สังคมไทยมีปัญหาอะไร ความขัดแย้งนั้นเป็นความขัดแย้งระหว่างใครกับใคร อาการของสังคมนี้ป่วยจากโรคทุนผูกขาดและเก็งกำไร ความขัดแย้งนี่เป็นความขัดแย้งระหว่างใครกับใคร พรรคการเมือง ระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ แต่ความขัดแย้งที่แท้ที่แท้จริงเป็นความขัดแย้งทางชนชั้น โดยเฉพาะความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ ทะเราะกันจากการชิงสมบัติกัน ใช้การครอบงำทางความคิดรูปการจิตสำนึก ใช้ ม.112 ใช้การเมืองการปกครอง การสั่งสอนสร้างวัฒนธรรมที่ให้คนไทยงมงาย ยอมจำนนต่อการขูดรีด ดังนั้นกลุ่มชนชั้นบนทั้ทุนเก่า ทุนใหม่ ทุนอำนาจโบราญ ที่มีความสามารถสูงสุดให้การขูดรีด มีอำนาจเหนือรัฐครอบงำไว้ เพราะฉะนั้นประชาชนผู้ถูกกระทำจึงยังไม่เห็นในชนชั้นตน ไม่ว่ากลุ่มสีอะไร ออกมาต่อสู้โดยไม่รู้ว่าสู้อยู่กับใคร เช่นวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมาเป็นการรวมตัวกันทุกสีเสื้อ ที่ชุมนุมหน้า ปตท. ประท้วงนโยบายด้านพลีงงาน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปล้นชิงพลังงานไปจากคนไทย เรื่องพลังงานนั้นตนเป็นคนเสื้อแดง แต่ร่วมต่อสู้กับคนเสื้อเหลืองและไม่มีสี ในเรื่องพลังงาน และจะมีการขึ้นราคาแก๊ซในวันที่ 1 ก.ย. ที่จะถึงนี้ แต่กลับได้รับการตอบรับน้อย เพราะชนชั้นนำจะมีแพคเกจมาเสนอเพื่อให้ประชาชนยอมรับ
         การมีสภาปฏิรูปคือการปิดทางประชาชน จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคน 60 กว่าคน ในสภาปฎิรูปนั้นเป็นชนชั้นบนทั้งนั้น เป็นการสมยอมระหว่างชนชั้นบน ระหว่างทุนต่างๆ ที่สู้มาอย่างยาวนานต่อยกันไปต่อยกันมา กินกันไม่ลง ก็สมยอมกันกินบนหลังประชาชน ในสังคมที่มีการครอบงำทางความคิดในรูปการจิตสำนึกก็เพื่อการขูดรีดประชาชนทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นต้องสู้ทั้งหมด เช่นการต่อสู้ในเรื่องพลังงานดังที่กล่าวมา หรือการพูดถึงการจำนำข้าวที่สูงกว่าตลาดโลก แต่เราไม่พูดถึงระบอบทุนผูกขาดเลย เช่น ค่าปุ่ย ค่ายา อยู่ที่ไหน ปรากฏว่าเราปลูกข้าวด้วยต้นทุนที่สูงกว่า เวียดนาม
ข้อเสนอการปฏิรูปด้านการศึกษา
          ปกรณ์ อารีกุล กล่าว่าเรื่องแรกจะต้องดูว่าเรามีความเชื่อเรื่องประชาธิปไตยที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ ในความหมายของตนเป็นประชาธิปไตยทั้งในเชิงหลักการที่มุ่งเน้นให้ความต้องการของประชาชน ได้แสดงออกอย่างเต็มที่ มุ่งให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข และการมองว่าการเมืองที่ผ่านมาผู้ชุมนุมมีสิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าเราดูว่าเขามีสิทธิความชอบธรรมจากการชุมนุมและคนที่บาดเจ็บหรือตาย การสลายการชุมนุมไม่ควรเกิดขึ้น หรือถ้าสลายนั้นเป็นไปตามสากลหรือไม่
        เรื่องข้อเสนอการปฏิรูปด้านการศึกษาเป็นประเด็นหลัก ตอนนี้เรามีคนในระบบการศึกษาระดับ ป.ตรี ปี 55 1.8 ล้านคน ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน คนเหล่านี้รู้เรื่องหรือเข้าใจความขัดแย้งในสังคมไทยจนต้องมีการปฏิรูปหรือไม่ คำตอบคือน่าจะไม่  ปัญหาของการศึกษาจึงไม่ใช่คนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ดังนั้นปัญหามันคือเรื่องหลักสูตร แต่จะพูดได้ว่า 1.8 ล้านคนนั้นจะเรียกว่าเข้าถึงหรือเปล่าก็ไม่ใช่ การเข้าถึงการศึกษาอาจจะเป็นคนที่มีปัญญาที่จะจ่าย เพราะเวลาพูถึงงบประมาณที่อยู่ในระบบการศึกษา คนจะคิดว่าทำไมไม่ลงทุนกับการศึกษา แต่ปี 56 กระทรวงศึกษาฯ ได้รับงบ ร้อยละ 19 ของงบประมาณแผ่นดิน มากกว่างบกระทรวงอื่นๆ และปี 57 ก็ยังมากเป็นอันดับ 1 เช่นเดิม ในเมื่อมันมากที่สุด ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องการลงทุนด้านการศึกษา
งบกระทรวงศึกษามากสุดแต่ไม่ได้ลงที่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง
        ปกรณ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาการศึกษาไม่ใช่เรื่องเงินทั้งหมด แต่เป็นเรื่องของารจัดการศึกษา จัดการรับรู้ ที่รัฐจัดนั้นอยู่ที่ใครแน่นอนอยู่ที่ กระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาเรามี 3 ระดับ แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นได้รับงบประมาณน้อยกว่าระดับมหาวิทยาลัย นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่จะเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เพื่อที่จะลดงบ แต่ความเป็นจริงเมื่อออกแล้วก็กลับได้รับเงินมากขึ้น ทั้งนี้เงินที่ลงไปเยอะมันไม่ได้ลงไปสู่ผู้เรียนอย่างแท้จริง ส่วนมากลงไปที่เงินเดือนบุคลากรด้านการศึกษา อย่างไรก็ตามระดับอาจารย์นั้นก็ควรได้รับ แต่ระดับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ค่าที่ปรึกษาอธิการ รถประจำตำแหน่ง ฯลฯ ในจำนวนนี้ก็สูงซึ่งไม่ควรจะเป็น ดังนั้นเงินจึงไม่ได้ลงที่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง
ปัญหาหลักสูตรที่ไม่ทำให้นักศึกษาตื่นรู้
           หลักสูตรของรัฐ ก็เป็นเครื่องมือในการจัดการที่หลายอย่างก็ไม่ได้ทำให้คนตื่นรู้ทางการเมือง แม้แต่มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบ น่าจะมคเสรีภาพ ทางการศึกษา แต่ปรากฏว่าหลักสูตร กลับถูกควบคุมโดยสภามหาวิทยาลัย ที่ถูกแต่งตั้งโดยเครือข่ายนักวิชาการอำมาตย์และทุน ปรากฏการณ์ที่อธิการบดีไปเป็น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ปี 49 หลังรัฐประหาร จึงทำให้มหาวิทยาลัยที่เป็นสถานศึกษา แต่กลับแสดงให้เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและการเมือง ดังนั้นสิ่งที่ต้องปฏิรูปคือการศึกษาทั้งระบบ ทำอย่างไรให้คนเข้าถึงการศึกษา ค่าเทรอมที่ถูกลง หลักสูตรที่มีเสรีภาพทางวิชาการมากขึ้น
ข้อเสนอาสภามหาวิทยาลัยมาจากการเลือกตั้งที่ยึดโยงกับประชาคม
           ปกรณ์ เสนอว่าสภามหาวิทยาลัยต้องมาจากการเลือกตั้งที่ยึดโยงกับประชาคมมหาวิทยาลัย ให้ชุมนุนรอบมหาวิทยาลัยมีบทบาท ในการกำหนด มีค่าเทรอมที่ราคาที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ประเทศไทยลงทุนด้านการศึกษาเป็นอันดับต้นๆของโลก ข้อมูลจากเวิร์ล อีโคนิค ฟอรั่ม เราใช้งบอันดับ 2 ของโลก แต่ประสิทธิภาพดานการศึกษากลับอยู่อันดับ 8 ของอาเซียน สุดท้ายการศึกษาหากคนเข้าถึงมากกว่านี้ และหลักสูตรเป็นประชาธิปไตยนั้นคิดว่าก็จะนำไปสู่การพัฒนาด้านการศึกษาได้มากกว่า
          กรณีที่มีการเปลียบเทียบการเมืองแบบสีเป็นเหมือนแฟนบอลนั้น ก็อยากให้นึกถึงกรณีแฟนบอลอาร์เซนอล ที่ต่อให้รักทีมแค่ไหนก็พยายามตรวจสอบผู้จัดการทีม และก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนได้ เช่นเดียวกันน ผู้นำสีแต่ละสีนั้น ประชาชนก็ไม่ได้เชื่อผู้นำเสมอไป และยังเห็นด้วยกับที่ อ.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ พูดที่ ม.บูรพา  เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ศตรูต่อการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการเมืองนั้นประกอบด้วย 1 กลุ่มทุน 2 กองทัพ 3 เครือข่ายสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นถ้าประชาชนจะปฏิรูปประชาชนต้องเข้าไปปฏิรูปเอง โดยไม่ให้คน 3 กลุ่มนี้เข้าไปร่วมถึงจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง
สภาปฏิรูปเป็นแค่การเล่นเกมส์การเมือง
         ธิวัตน์ ดำแก้ว กล่าว่าสภาปฏิรูปเป็นเพียงแค่การเตะถ่วงเวลา เพราะ 60 คนที่เข้าร่วมนั้นไม่เข้าใจว่าหลักการนั้นคืออะไร เชิญเพราะอะไร และการตั้งบรรหารมาดูสภาปฏิรูป ทั้งที่คนที่พลิกไปพลิกมาและถือผลประโยชน์ตัวเองมาโดยตลอดนั้นก็ไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์จากสภาปฏิรูปนี้เลย ดังนั้นเลยสรุปว่าสภาปฏิรูปที่รัฐบาลแก้ปัญหานั้นก็ไม่ได้ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ไม่จริงใจต่อการแก้ปัญหาจริง เป็นการสร้างข่าวในช่วงที่สภามีการผ่าน พรบ.หลายๆ ฉบับ เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นการเล่นเกมส์การเมือง
          ข้อเสนอต่อการปฏิรูปคือ ในทางการเมือง เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ โดย 2 ประเด็นหลักๆที่ควรแก้ คือกฏหมายเรื่องการตั้งพรรคการเมืองที่จะให้พรรคอื่นๆ เช่น พรรคแรงงาน พรรคแนวสังคมนิยม สามารถตั้งได้ รวมทั้งรัฐธรรมนูฯ ม.84 เรื่องเศรษฐกิจเสรีนั้น มาตรานี้หลักการมันผิดเพราะในทางการเมืองนั้นกฏหมายต้องเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองในแนวอุดมการณ์ต่างๆ และไม่จำกัดเฉพาะแนวคิดแบบเสรีนิยมเท่านั้น
          เรื่องฐานภาษีหรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ถ้าจะปฏิรูปจริงๆ ไม่จัดการตรงนี้ก็ถือว่าไม่จริงใจกับประชาชนไม่ว่าสถาบันประเพณีหรือทุนโลกาภิวัตน์ หรือทั้ง 2 พรรคการเมืองใหญ่ และในรัฐบาลนี้จะเห็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่ต้องปรับ ตั้งแต่ต้นปี 56 ถึงตอนนี้ ด้านแรงงานเห็นว่ารัฐบาลทำอะไรแปลกๆ 3 เรื่อง เช่น กฏหมายประกันสังคมก็ถูกล้มในสภา ทั้งๆที่คณะกรรมการแรงานสมาฉันท์ ยื่นเสนอร่างกฏหมายต่อสภาเพื่อส่งเสริมให้แรงงานมีอำนาจการต่อรองในบอร์ดประกันสังคม แต่สภานำโดยพรรคเพื่อไทยโหวตให้ตกไป กองทุนการออมแห่งชาตินั้น กิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.การคลัง ก็ออกมาว่าจะยกเลิก รวมไปถึงการรับรองอนุสัญญา ILO 87,98 ที่สัญญามาตั้งแต่ รัฐมนตรีคนก่อน ก็ยังไม่คืบหน้า
          ประเด็นทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกร ยังไม่เห็นความชัดเจนของแนวนโยบายที่จะทำให้เกษตรกรมีอำนาจที่แท้จริงในการต่อรองได้ เราจะเห็นความกลับหัวกลับหาง จากการเลือกตั้งปี 54 การที่รัฐบาลจุดพลุเรื่องการจำนำข้าวขึ้นมา ตอนนั้นผู้สนับสนุนเพราะให้ความเห็นว่าหากพรรคนี้ได้เป็น ประเทศที่ถือสต๊อกข้าวมาก เราจะมีอำนาจการต่อรองสูง แต่เมื่อขายไม่ออกจริงๆ กลายเป็นว่าเรื่องนี้คิดผิด จึงทำให้มีปัญหา สิ่งที่ต้องการคือการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรที่รัฐไม่ส่งเสริมเลย
         รวมไปถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรม นวัตกรรสร้างสรรค์ ที่ผ่านมาเราเน้นอุตสาหกรรมกับแรงงานไร้ฝีมือ ดังนั้นควรปรับลดอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น และด้านการศึกษาควรสนับสนุนการศึกษาให้พลเมืองพร้อมกับคิดวิเคราะห์ให้เท่าทันนักกาการเมืองหรือผู้มีอำนาจ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
นิรโทษกรรมไม่ควรตั้งเป็นเงื่อนไข
          สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แย้งข้อเสนอให้มีการถอดเอา ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ออกจากสภา ของสถาบันสังคมประชาธิปไตย ว่า ประเด็นเรื่อนิรโทษกรรมไม่ควรตั้งเป็นเงื่อนไข เพราะมันไม่ใช่ปัญหาเรื่องสี อย่างข้อเสนอของ อ.คณิต ณ นคร คณิต ณ นคร ประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.  ที่ตั้งในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์เอง ก็เสนอให้อัยการไม่สั่งฟ้องคดีที่เป็นชาวบ้านและให้ประกันตัวได้ เรื่องปัญหาการไม่ให้ประกันตัว เป็นเรื่องสำคัญ จะเห้นว่าชาวบ้านเสื้อแดงที่ถูกจับติดคุกนั้น ถ้าทุกฝ่ายไม่ว่าสีอะไรได้รับการปฏิบัติแฟร์ๆด้วยกัน ก็จะไม่ส่งผลสะเทือนต่อกระบวนการยุติธรรม แต่ความเป็นจริงเสื้อแดงถูกจับติดคุกโดยไม่ให้ประกันตัว แต่ในขณะที่ฝ่ายเสื้อเหลืองได้รับการประกันตัว  จึงเป็นปัญหาต่อกระบวนการยุติธรรม ด้วยเหตุนี้เรื่องนิรโทษกรรมนั้นไม่ควรยกเป็นเงื่อนไขใดๆ เพราะระดับชาวบ้านติดคุกมานาน และด้วยความเป็นจริงเพื่อเห็นแก้มนุษยธรรมไม่ควรตั้งเรื่อนี้เป็นเงื่อนไข เพราะถ้าจะใช้การจับระดับชาวบ้านที่ไม่เป็นธรรมเพื่อจะเล่นตัวใหญ่ แต่ในความเป็นจริงคนเหล่านั้นก็ยังไม่ติดคุก
ประชาธิปไตยมันต้องเป็นรูปแบบ ไม่ใช่เป็นเนื้อหา
        สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ประเด็นใหญ่อีกประเด็นคือมันมีวิธีคิดในหมู่ปัญญาชน นักกิจกรรม มองประชาธิปไตยเป็นทุกเรื่อง โดยเฉพาะมอง ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเนื้อหา แต่วิธีคิดของผมผมเคยเสนอว่า “ประชาธิปไตยมันต้องเป็นรูปแบบ ไม่ใช่เป็นเนื้อหา”  ผมไม่กล้าพูดแทนพวกนิติราษฏร์ แต่จากที่ศึกษาพวกเขาก็น่าจะคิดว่า ประชาธิปไตยมันต้องเป็นรูปแบบเช่นกัน สิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นความเป็นจริง ในสังคมสมัยใหม่มันมี วิธีการมองโลกหลายอย่าง จนกระทั้งเนื้อหาที่ทุกคนพูดมาก่อนหน้านี้มันอาจจะมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับที่เราวิเคราะห์ก็ได้ เพราะในความเป็นจริงอาจมีคนเห็นแย้งกับสังคมนิยมประชาธิปไตย แต่อยากได้ระบบที่มือใครยาวสาวได้สาวเอานั้นแปลว่าคนเหล่านี้ไม่ควรเอาประชาธิปไตยหรือ แต่ผมคิดว่าเราควรมองประชาธิปไตยแบบฟอร์มมอล(formal) ที่เราจะทำอย่างไรให้คนเข้ามาได้แม้ไม่เห็นด้วยกับการตีความในแบบเดียวกัน
ประชาธิปไตยต้องเป็น “รูปแบบ” แล้วใส่ “เนื้อหา” น้อยที่สุด เพื่อรองรับคนที่หลากหลายที่สุด
         สมศักดิ์ กล่าวว่า ผมไม่เคยพูดถึงสถาบันกษัตริย์เข้ากับทุนเก่าหรือใหม่เลย แต่เรามองว่าบนฐานของสังคมสมัยใหม่นั้น คน 108 คน อาจมีความคิด 108 อย่าง อย่างคนอเมริกันที่จนทำไมเขาไม่เห็นด้วยกับรัฐสวัดิการ เพราะเขาคิดว่าจะรวยและระบบภาษีอาจเป็นตัวสะกัดเขา ดังนั้นในสังคมสมัยใหม่ คนอาจมีความคิดที่หลากหลาย และเปลี่ยนความคิดได้ด้วยถ้าเราเถียงเรื่องประชาธิปไตยแล้วใส่เนื้อหาในการตีความตลอดเวลา มันไม่จบแน่นอนเถียง 100 ปีไม่จบ ดังนั้นข้อเสนอที่แท้จริงที่เป็นความเห็นแต่ละแบบจำนวนมาก วิธีการคือเราจะออกแบบโครงสร้างที่จะเอาความเป็นไปได้ที่จะมีความเห็นทางการเมืองที่หลากหลาย แล้วให้ฝ่ายของความเห็นต่างๆเอามาชนมาสู้กันอย่างไร ดังนั้นประชาธิปไตยมันต้องมีลักษณะที่เป็น “รูปแบบ” แล้วใส่ “เนื้อหา” ที่น้อยที่สุด เพื่อรองรับคนที่มีความคิดที่หลากหลายได้มากที่สุด
         ดังนั้นถ้าไม่เริ่มจากการพยายามหากรอบที่เป็นกลางและแฟร์กันทุกฝ่าย สุดท้ายเราก็จะเถียงกันไม่จบ ถ้าเราปลดล็อคอันนี้ไม่ได้ มันก็ยังติดประเด็นนี้ตลอดเวลา อีกทั้งคนที่เอียงมาทางสังคมประชาธิปไตย ไม่เข้าใจสังคมประชาธิปไตย เพราะอย่างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ข้อเสนอของเขาคือ รัฐประชาธิปไตย  เพราะมีแต่สังคมประชาธิปไตยที่มีเสรีภาพที่แท้จริงเท่านั้น กรรมกรก็จะสามารถเสนอความคิดได้ย่างแท้จริง ดังนั้นวิธีมองปัญหาการเมืองโดยต้องโยงเข้ากับปัญหาเศรษฐกิจ แล้วอีกฝ่ายไม่ได้มองแบบนั้นเหมือนกัน เราจะไม่สามมารถออกแบบสังคมที่สามารถทำให้คนที่คิดต่างสามารถเข้ามาในพื้นที่การเมืองได้ วิธีคิดผนมาจากฐานของการเรียกร้องวิธีคิดให้คนเหมือนกันได้ก่อน สิ่งที่ควรจะทำคือจะทำอย่างไรให้แฟร์กับทุกฝ่าย สามารถมีโอกาสนำเสนอได้ ดังนั้นไอเดียเรื่องเสรีภาพทางการเมืองจึงสำคัญมาก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น