ขอนแก่น: สปป.อภิปราย“รัฐบาลพระราชทาน สภาประชาชน อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตย"
สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) ผนึก สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) เดินสายเสวนาวิเคราะห์กำหนดแนวทางเคลื่อนไหวมวลชนผู้รักประชาธิปไตยภาคอีสาน แถลงข้อเสนอต่อรัฐบาล,ทหาร ประกาศท่าทีทางการเมือง ยืนยันต้องแก้ปัญหาโดยการเลือกตั้ง
วันพฤหัสบดี ที่ 26 ธันวาคม 2556 สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดเวทีสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “รัฐบาลพระราชทาน สภาประชาชน อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตย : ประชาชนไทยต้องการเลือกตั้ง” ณ อาคารขวัญมอ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการร่วมจัดกิจกรรมระหว่าง 2 องค์กร คือ สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) และ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ซึ่งมีนักวิชาการร่วมอภิปรายทั้งหมด 4 คน ได้แก่
- 1.อาจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- 3.รองศาสตราจารย์ ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 4. รองศาสตราจารย์ ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจร่วมรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก
นักวิชาการทั้ง 4 ท่านมีความเห็นร่วมกันว่าหากไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามกำหนดการเดิม อาจจะนำไปสู่เงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงได้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ต้องการการเลือกตั้ง นอกจากนี้ได้นำเสนอผลวิจัยที่ชี้ว่าคนชนบทมีความตื่นตัวทางการเมืองและมีความเข้าใจประชาธิปไตยมากกว่าคนชั้นกลาง และเกิดความหวังการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่โดยมีคนชั้นล่างเป็นตัวแสดงที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง
ปิยะบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า ในทางรัฐธรรมนูญถ้ากล่าวอย่างเคร่งครัด นายกรัฐมนตรีล้วนต้องมาจาการพระบรมราชโองการแต่งตั้งทั้งสิ้น แต่ต้องมาจาการกติกาที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ แต่ว่าในทางเป็นจริงที่สิ่ง ม็อบ กปปส. ต้องการคือการได้มาซึ่งรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เขาเห็นว่า นักวิชาการหลายท่านได้เสนอวิธีการหลายครั้งออกสื่อสาธารณะ โดยอธิบายวิธีการที่สามารถทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งพ้นไปจากการักษาการ ข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ในทางการเมืองและรัฐธรรมนูญ
“มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออก แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดช่องไว้ ก็เสนอให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาพัก โดยกตัวอย่างกรณีคุณทักษิณ ในปี 2549 แต่ไม่มีหนทางใดเลยที่จะเปิดให้มีนายกรัฐมนตรีจากระบวนการนอกระบบเข้ามารับตำแหน่งได้ นี่คือสาเหตุที่กลุ่ม กปปส. ดำเนินการชุมนุมโดยมุ่งให้เห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนอกแนวทางกติกาประชาธิปไตยแทน”
การดำเนินการเช่นนี้ มีการตั้งธงไว้ก่อน ขั้นตอนต่อมาคือการที่เนติบริการจะเข้ามาจัดการอธิบายให้เอง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคนที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ 2550 กลับต้องเป็นฝ่ายที่รักษารัฐธรรมนูญ แต่คนที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเองกลับพยายามจะละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องหานายกรัฐมนตรีคนกลางมารักษาการ อันเป็นไปตามกติกาที่มีอยู่ คนที่ไม่เคยเคารพกติกา ก็จะก่อความวุ่นวายเช่นนี้เรื่อยๆ ดังนั้นรัฐบาลพระราชทานไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เราจึงสามารถสังเกตได้จาการเปลี่ยนข้อเรียกร้องของ กปปส. ที่กลับตัวมาเสนอข้อเรียกร้องที่เป็น สภาประชาชน แทน
อย่างไรก็ตาม วิกฤติการเมืองครั้งนี้สามารถพิจารณาได้จากวิธีการต่อสู้เริ่มจาก การชุมนุมในปี 2549 ส่งผลให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งในปี 2549 การเลือกตั้งเกิดขึ้นท่ามกลางการบอยคอตของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ก่อนจะมีพระราชดำรัส 2 องค์ คือการพระราชทานพระราชดำรัสเรื่อง การพระราชทานายกรัฐมนตรีตาม มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้ได้ และพระราชดำรัสว่าพรรคการเมืองเดียวใช้ไม่ได้ ก่อนที่พระองค์จะตรัวให้ศาลเข้าไปตรวจสอบปัญหาดังกล่าว จนนำมาสู่การจำคุก กกต. 3 ท่าน และมีการแต่งตั้ง กกต. ชุดใหม่ขึ้นมา ก่อนที่ศาลจะสั่งให้เลือกตั้งในปี 2549 เป็นโมฆะ แล้วเข้าสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกิดการยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิ์นักการเมือง พร้อมกับการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีการประชามติที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อหวังว่าจะมีการล้มขั้วอำนาจเดิมแต่ทว่าการเลือกตั้งครั้งนั้นพรรคพลังประชาชนชนะ คุณสมัครผลักดันรัฐธรรมนูญ และเกิดข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร มีการยึดสนามบิน และตั้งรัฐบาลค่ายทหาร ฯลฯ ทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
ดังนั้นจึงสะท้อนการปะทะของพลังทางการเมือง 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่มีหลังอิงที่การเลือกตั้ง และพลังจารีตประเพณีสมัยเก่า การต่อสู้ตลอด 8 ปี พิสูจน์ว่าชนชั้นนำได้ใช้กลไกต่างๆเข้ามาจัดการฝ่ายที่หลังอิงการเลือกตั้งมาโยตลอด แต่ทว่าการใช้วิธีการเดิมจัดการไม่สำเร็จ สิ่งเหล่านี้น่าคิดว่าทุนทางวัฒนธรรมของฝ่ายจารีตสูงมากแต่กลับไม่ใช้ เพื่อเล่นเกมส์ในระบบ สิ่งนี้ทำให้ฝ่ายเลือกตั้งเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามการเดินเส้นทางนี้ของชนชั้นนำก็นับเป็นอันตรายต่อคนทั้งสังคม ฝ่ายอนุรักษ์นิยมชนชั้นนำต้องทบทวนว่าสิ่งที่ทำอยู่มันคือวิธีการนอกกติกา ปัญหาประการต่อมาคือการชุมนุมทางการเมือง กปปส. ที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างไร้ของเขต สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างผ่านการสร้างเรื่องสันติวิธีหรือการชุมนุมโดยสงบ โดยมีสื่อมวลชนเล่นบทบาทดังกล่าว ซึ่งหลักการดังกล่าวไม่ถูกนำมาใช้ในมาตรฐานเดียวกันระหว่างการชุมนุมของ กปปส. และการชุมนุมของคนเสื้อแดง
อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวไม่มีหนทางที่สามารถก่อให้เกิดการเลื่อนการเลือกตั้งได้ โดยสามารถทำได้โดยอ้างสถานการณ์พิเศษ หรือสถานการณ์ยกเว้น ที่หวังว่าจะมีความจำเป็นจนบีบให้กฎหมายให้สามารถทำได้ การเคลื่อนไหวในลักษณะนี้จึงเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความจำเป็น โดยอาศัยเงื่อนไขของภาวะที่เกิดความรุนแรง ในแง่นี้อำนาจนอกระบบจะสำแดงเดช เพียงแต่ในขณะนี้เงื่อนไขยังไม่สุกงอมเพียงพอ ดังนั้นการรักษาการของคุณยิ่งลักษณ์จึงหมายถึงการรักษาระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่เพียงการรักษาตำแหน่งเท่านั้น การอ้างว่าจัดการทักษิณ โดยเสนอว่าชนชั้นนำต้องตระหนักถึงการใช้วิธีการจัดการนอกระบบของตัวเองว่าไม่สำเร็จ แต่มีทางเดียวเท่านั้นคือต้องสู้ในกติกา เพื่อสร้างความชอบธรรม เนื่องจากฐานความชอบธรรมของโลกปัจจุบันมาจากการเลือกตั้ง
พร้อมกันนั้น นักวิชาการจากกลุ่ม นิติราษฎรเห็นว่าสภาประชาชนของม็อบ กปปส.มีวิธีการ โครงสร้างและองค์ประกอบคล้ายกับสภาของระบอบฟาสซิสต์ ของอิตาลี โดยสร้างภาวะให้เกิดผู้นำเดี่ยว โดยมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. ไม่เอารัฐสภา และโจมตีระบบผู้แทน เปลี่ยนเป็นการใช้ผู้แทนจากสภาวิชาชีพต่างๆที่รับใช้รัฐบาลฝ่ายขวาและสถาปนาสภาที่ไม่ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน 2.ไม่เอาเสรีนิยม ไม่ให้ใครคิดต่าง และสร้างศัตรูร่วมกัน เช่น ฮิตเลอร์ เขาชี้ไปที่ชาวยิวว่าเป็นปัญหาในการสร้างชาตินิยมเพื่อสร้างเอกภาพของขบวนการ 3. ไม่เอาปัจเจกชน ซึ่งลักษณะเช่นนี้คนต้องถูกนำโดยท่านผู้นำและชูธงชาตินิยม 4. สนับสนุนบริษัทนิยมเพื่อสร้างฐานอำนาจ สภาประชาชนของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณมีลักษณะไม่แตกต่างกันในแง่นี้ ซึ่งมีกลุ่มชุดดำก่อความวุ่นวาย จนผู้นำเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ ทว่าพระมหากษัตริย์กลับไปสนับสนุนกลุ่มคนชุดดำของมุสโสลินี เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเผด็จการฟาสซิสม์ในที่สุด
“มีการเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออก แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดช่องไว้ ก็เสนอให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาพัก โดยกตัวอย่างกรณีคุณทักษิณ ในปี 2549 แต่ไม่มีหนทางใดเลยที่จะเปิดให้มีนายกรัฐมนตรีจากระบวนการนอกระบบเข้ามารับตำแหน่งได้ นี่คือสาเหตุที่กลุ่ม กปปส. ดำเนินการชุมนุมโดยมุ่งให้เห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนอกแนวทางกติกาประชาธิปไตยแทน”
การดำเนินการเช่นนี้ มีการตั้งธงไว้ก่อน ขั้นตอนต่อมาคือการที่เนติบริการจะเข้ามาจัดการอธิบายให้เอง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าคนที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ 2550 กลับต้องเป็นฝ่ายที่รักษารัฐธรรมนูญ แต่คนที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเองกลับพยายามจะละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่มีความจำเป็นใดๆที่ต้องหานายกรัฐมนตรีคนกลางมารักษาการ อันเป็นไปตามกติกาที่มีอยู่ คนที่ไม่เคยเคารพกติกา ก็จะก่อความวุ่นวายเช่นนี้เรื่อยๆ ดังนั้นรัฐบาลพระราชทานไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เราจึงสามารถสังเกตได้จาการเปลี่ยนข้อเรียกร้องของ กปปส. ที่กลับตัวมาเสนอข้อเรียกร้องที่เป็น สภาประชาชน แทน
อย่างไรก็ตาม วิกฤติการเมืองครั้งนี้สามารถพิจารณาได้จากวิธีการต่อสู้เริ่มจาก การชุมนุมในปี 2549 ส่งผลให้รัฐบาลพรรคไทยรักไทยยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดการเลือกตั้งในปี 2549 การเลือกตั้งเกิดขึ้นท่ามกลางการบอยคอตของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ก่อนจะมีพระราชดำรัส 2 องค์ คือการพระราชทานพระราชดำรัสเรื่อง การพระราชทานายกรัฐมนตรีตาม มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้ได้ และพระราชดำรัสว่าพรรคการเมืองเดียวใช้ไม่ได้ ก่อนที่พระองค์จะตรัวให้ศาลเข้าไปตรวจสอบปัญหาดังกล่าว จนนำมาสู่การจำคุก กกต. 3 ท่าน และมีการแต่งตั้ง กกต. ชุดใหม่ขึ้นมา ก่อนที่ศาลจะสั่งให้เลือกตั้งในปี 2549 เป็นโมฆะ แล้วเข้าสู่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกิดการยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิ์นักการเมือง พร้อมกับการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีการประชามติที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพื่อหวังว่าจะมีการล้มขั้วอำนาจเดิมแต่ทว่าการเลือกตั้งครั้งนั้นพรรคพลังประชาชนชนะ คุณสมัครผลักดันรัฐธรรมนูญ และเกิดข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร มีการยึดสนามบิน และตั้งรัฐบาลค่ายทหาร ฯลฯ ทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
ดังนั้นจึงสะท้อนการปะทะของพลังทางการเมือง 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่มีหลังอิงที่การเลือกตั้ง และพลังจารีตประเพณีสมัยเก่า การต่อสู้ตลอด 8 ปี พิสูจน์ว่าชนชั้นนำได้ใช้กลไกต่างๆเข้ามาจัดการฝ่ายที่หลังอิงการเลือกตั้งมาโยตลอด แต่ทว่าการใช้วิธีการเดิมจัดการไม่สำเร็จ สิ่งเหล่านี้น่าคิดว่าทุนทางวัฒนธรรมของฝ่ายจารีตสูงมากแต่กลับไม่ใช้ เพื่อเล่นเกมส์ในระบบ สิ่งนี้ทำให้ฝ่ายเลือกตั้งเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามการเดินเส้นทางนี้ของชนชั้นนำก็นับเป็นอันตรายต่อคนทั้งสังคม ฝ่ายอนุรักษ์นิยมชนชั้นนำต้องทบทวนว่าสิ่งที่ทำอยู่มันคือวิธีการนอกกติกา ปัญหาประการต่อมาคือการชุมนุมทางการเมือง กปปส. ที่สามารถปฏิบัติการได้อย่างไร้ของเขต สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างผ่านการสร้างเรื่องสันติวิธีหรือการชุมนุมโดยสงบ โดยมีสื่อมวลชนเล่นบทบาทดังกล่าว ซึ่งหลักการดังกล่าวไม่ถูกนำมาใช้ในมาตรฐานเดียวกันระหว่างการชุมนุมของ กปปส. และการชุมนุมของคนเสื้อแดง
อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวไม่มีหนทางที่สามารถก่อให้เกิดการเลื่อนการเลือกตั้งได้ โดยสามารถทำได้โดยอ้างสถานการณ์พิเศษ หรือสถานการณ์ยกเว้น ที่หวังว่าจะมีความจำเป็นจนบีบให้กฎหมายให้สามารถทำได้ การเคลื่อนไหวในลักษณะนี้จึงเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความจำเป็น โดยอาศัยเงื่อนไขของภาวะที่เกิดความรุนแรง ในแง่นี้อำนาจนอกระบบจะสำแดงเดช เพียงแต่ในขณะนี้เงื่อนไขยังไม่สุกงอมเพียงพอ ดังนั้นการรักษาการของคุณยิ่งลักษณ์จึงหมายถึงการรักษาระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่เพียงการรักษาตำแหน่งเท่านั้น การอ้างว่าจัดการทักษิณ โดยเสนอว่าชนชั้นนำต้องตระหนักถึงการใช้วิธีการจัดการนอกระบบของตัวเองว่าไม่สำเร็จ แต่มีทางเดียวเท่านั้นคือต้องสู้ในกติกา เพื่อสร้างความชอบธรรม เนื่องจากฐานความชอบธรรมของโลกปัจจุบันมาจากการเลือกตั้ง
พร้อมกันนั้น นักวิชาการจากกลุ่ม นิติราษฎรเห็นว่าสภาประชาชนของม็อบ กปปส.มีวิธีการ โครงสร้างและองค์ประกอบคล้ายกับสภาของระบอบฟาสซิสต์ ของอิตาลี โดยสร้างภาวะให้เกิดผู้นำเดี่ยว โดยมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1. ไม่เอารัฐสภา และโจมตีระบบผู้แทน เปลี่ยนเป็นการใช้ผู้แทนจากสภาวิชาชีพต่างๆที่รับใช้รัฐบาลฝ่ายขวาและสถาปนาสภาที่ไม่ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน 2.ไม่เอาเสรีนิยม ไม่ให้ใครคิดต่าง และสร้างศัตรูร่วมกัน เช่น ฮิตเลอร์ เขาชี้ไปที่ชาวยิวว่าเป็นปัญหาในการสร้างชาตินิยมเพื่อสร้างเอกภาพของขบวนการ 3. ไม่เอาปัจเจกชน ซึ่งลักษณะเช่นนี้คนต้องถูกนำโดยท่านผู้นำและชูธงชาตินิยม 4. สนับสนุนบริษัทนิยมเพื่อสร้างฐานอำนาจ สภาประชาชนของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณมีลักษณะไม่แตกต่างกันในแง่นี้ ซึ่งมีกลุ่มชุดดำก่อความวุ่นวาย จนผู้นำเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ ทว่าพระมหากษัตริย์กลับไปสนับสนุนกลุ่มคนชุดดำของมุสโสลินี เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเผด็จการฟาสซิสม์ในที่สุด
สมชัย ภัทรธนานันท์ จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เห็นว่า สิ่งแรกที่รู้สึกในช่วงไม่กี่วัน ถ้าพูดเป็นภาษาอีสานคือ “เบิดความสิเว้า” สิ่งที่หดหู่ใจในศตวรรษที่ 21 ณ ประเทศไทย คือคำถามว่าทำไมเรายังต้องมาพูดกันว่าประชาธิปไตยกับการเลือกตั้งเป็นของคู่กัน สิ่งที่หดหู่ใจมากกว่า คือ การที่เห็นคนออกมาเป็นผู้นำการชุมนุม ซึ่งเป็นคนที่มีการศึกษา และถูกอธิบายว่าเป็นชนชั้นที่สนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย การที่ผู้นำของ กปปส.มี ประกาศใช้ยุทธวิธีที่ปฏิเสธประชาธิปไตยและต้องการจะล้มการเลือกตั้ง ที่น่าตระหนกคือเมื่อประกาศแล้ว เหมือนกับว่าสังคมไทยเงียบกริบ ทุกคนต่างฟังแล้วทำตาปริบๆ
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีพลังทางศีลธรรมของประชาธิปไตยและพลังทางอำนาจอยู่ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย คือกลุ่มคนไม่มีอำนาจ มีเพียงพลังทางปัญญา ถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมของแผ่นดิน สังคมไทยยังพอมีความหวัง ปัญหาของผู้รักประชาธิปไตยคือ การประกาศของสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นการประกาศแบบไม่กระมิดกระเมี้ยน สามารถกล้าพูดได้ว่า คนไทยต้องไม่เท่าเทียมกัน ถ้าทบทวนประวัติศาสตร์ แต่ก่อนการออกมาประท้วงต้องใช้เสื้อเกราะประชาธิปไตย แต่วันนี้การประกาศว่าไม่เอาวิธีการทางประชาธิปไตยสามารถทำได้อย่างโจ่งแจ้ง
สิ่งเหล่านี้สะท้อนภาพของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน การจัดการทรัพยากรที่ไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชนบท การพัฒนาที่ไม่ยุติธรรม กรอบคิดนี้พิจารณาจากการที่คนกรุงเทพได้ประโยชน์จากตรงนี้มาก ผู้ได้ประโยชน์จากการพัฒนาคือคนกรุงเทพฯ ซึ่งคิดว่าชีวิตของเขาสมบูรณ์แล้ว ฉะนั้นมันต้องเป็นแบบนี้แหละ ต้องไม่เป็นอย่างอื่นได้ เมื่อคนชนบททำอะไรที่กระทบต่อคนกรุงเทพฯ เขาก็จะไม่พอใจ เช่นการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่มีคนชนบทเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในแง่นี้คนชนบทจึงสนับสนุนพรรคการเมืองที่กระจายการพัฒนาไปยังต่างจังหวัด ทำให้คนกรุงเทพฯรู้สึกเสียผลประโยชน์ ไม่ถูกใจคนกรุงเทพฯ กระทบต่อความสะดวกสบายของเขา และดูแคลนคนชนบทว่าไม่ควรมีสิทธิเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่าเป้าหมายของผู้ที่รักประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่ต้องช่วยกันคิดต่อไปว่าจะพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในการต่อสู้เพื่อปกป้องความชอบธรรมเอาไว้ ซึ่งคนที่เสียเปรียบทางการเมืองหรือชนชั้นล่างได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ยอมจำนนต่อกระบวนการทำลายประชาธิปไตยของชนชั้นนำ
สมชัยคิดว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ถือว่าเป็นความหวัง เพราะคนเห็นความไม่ยุติธรรม ที่เกิดขึ้นของคนชั้นล่าง คนที่ด้อยการศึกษา หลักการคิดของคนที่เสียเปรียบคือ ทำไมสิทธิของคนทุกคนไม่เท่ากัน ความคิดนี้เข้าไปอยู่ในวิธีคิด ซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่เราไปถามเขา คนเรามีสิทธิทางการเมืองเท่ากัน มันยากที่เอาระบอบที่คนไม่เท่ากันมายัดเยียด ไม่ช้าก็เร็วเขาจะต้องทวงสิทธิของเขากลับคืนมา แต่การจะแปรเปลี่ยนข้อเรียกร้องนี้ให้เป็นพลังได้ ต้องทำความเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวไปข้างหน้ายังหนักหนาสาหัสอยู่ แต่ฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยมีเครื่องมือเยอะ ซึ่งมีสิ่งที่คาดไม่ถึงหลายประการที่กำลังจะเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้คือ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น “พ.ร.บ.สุดซอย” เมื่อผลักดันแล้ว ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่มีความชอบธรรมทางการเมือง แต่เมื่อม็อบ กปปส. เสนอข้อเรียกร้องที่ไม่เป็นประชาธิปไตยกระแสของการต่อสู้ก็ลดลงไป เครื่องเตือนใจของผู้คนที่รักประชาธิปไตยทั้งหลายต้องขบคิด คือในหลายประเทศพิสูจน์แล้วว่า ไม่จำเป็นแล้วที่จะถือว่าคนชั้นกลางเป็นตัวแสดงหลักในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่ทว่า คนชั้นล่างได้กลายเป็นตัวแสดงหลักในการพัฒนาประชาธิปไตยแล้วในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยยังมีพลังทางศีลธรรมของประชาธิปไตยและพลังทางอำนาจอยู่ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย คือกลุ่มคนไม่มีอำนาจ มีเพียงพลังทางปัญญา ถือว่าเป็นพลังทางศีลธรรมของแผ่นดิน สังคมไทยยังพอมีความหวัง ปัญหาของผู้รักประชาธิปไตยคือ การประกาศของสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นการประกาศแบบไม่กระมิดกระเมี้ยน สามารถกล้าพูดได้ว่า คนไทยต้องไม่เท่าเทียมกัน ถ้าทบทวนประวัติศาสตร์ แต่ก่อนการออกมาประท้วงต้องใช้เสื้อเกราะประชาธิปไตย แต่วันนี้การประกาศว่าไม่เอาวิธีการทางประชาธิปไตยสามารถทำได้อย่างโจ่งแจ้ง
สิ่งเหล่านี้สะท้อนภาพของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน การจัดการทรัพยากรที่ไม่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของคนในชนบท การพัฒนาที่ไม่ยุติธรรม กรอบคิดนี้พิจารณาจากการที่คนกรุงเทพได้ประโยชน์จากตรงนี้มาก ผู้ได้ประโยชน์จากการพัฒนาคือคนกรุงเทพฯ ซึ่งคิดว่าชีวิตของเขาสมบูรณ์แล้ว ฉะนั้นมันต้องเป็นแบบนี้แหละ ต้องไม่เป็นอย่างอื่นได้ เมื่อคนชนบททำอะไรที่กระทบต่อคนกรุงเทพฯ เขาก็จะไม่พอใจ เช่นการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่มีคนชนบทเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในแง่นี้คนชนบทจึงสนับสนุนพรรคการเมืองที่กระจายการพัฒนาไปยังต่างจังหวัด ทำให้คนกรุงเทพฯรู้สึกเสียผลประโยชน์ ไม่ถูกใจคนกรุงเทพฯ กระทบต่อความสะดวกสบายของเขา และดูแคลนคนชนบทว่าไม่ควรมีสิทธิเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่าเป้าหมายของผู้ที่รักประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่ต้องช่วยกันคิดต่อไปว่าจะพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในการต่อสู้เพื่อปกป้องความชอบธรรมเอาไว้ ซึ่งคนที่เสียเปรียบทางการเมืองหรือชนชั้นล่างได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ยอมจำนนต่อกระบวนการทำลายประชาธิปไตยของชนชั้นนำ
สมชัยคิดว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ถือว่าเป็นความหวัง เพราะคนเห็นความไม่ยุติธรรม ที่เกิดขึ้นของคนชั้นล่าง คนที่ด้อยการศึกษา หลักการคิดของคนที่เสียเปรียบคือ ทำไมสิทธิของคนทุกคนไม่เท่ากัน ความคิดนี้เข้าไปอยู่ในวิธีคิด ซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่เราไปถามเขา คนเรามีสิทธิทางการเมืองเท่ากัน มันยากที่เอาระบอบที่คนไม่เท่ากันมายัดเยียด ไม่ช้าก็เร็วเขาจะต้องทวงสิทธิของเขากลับคืนมา แต่การจะแปรเปลี่ยนข้อเรียกร้องนี้ให้เป็นพลังได้ ต้องทำความเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวไปข้างหน้ายังหนักหนาสาหัสอยู่ แต่ฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยมีเครื่องมือเยอะ ซึ่งมีสิ่งที่คาดไม่ถึงหลายประการที่กำลังจะเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้คือ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น “พ.ร.บ.สุดซอย” เมื่อผลักดันแล้ว ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่มีความชอบธรรมทางการเมือง แต่เมื่อม็อบ กปปส. เสนอข้อเรียกร้องที่ไม่เป็นประชาธิปไตยกระแสของการต่อสู้ก็ลดลงไป เครื่องเตือนใจของผู้คนที่รักประชาธิปไตยทั้งหลายต้องขบคิด คือในหลายประเทศพิสูจน์แล้วว่า ไม่จำเป็นแล้วที่จะถือว่าคนชั้นกลางเป็นตัวแสดงหลักในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่ทว่า คนชั้นล่างได้กลายเป็นตัวแสดงหลักในการพัฒนาประชาธิปไตยแล้วในปัจจุบัน
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า จากประสบการณ์ ต้องฟันธงว่าวันนี้เหตุการณ์มันเปลี่ยนไป แนวโน้มที่ชัดเจนได้ปรากฏตัวขึ้น คู่ขัดแย้ง 2 ค่าย คือ ชนชั้นนำตามจารีตประเพณี และคนที่ได้อำนาจทางการเมืองจากการเลือกตั้ง ต้องเผชิญหน้ากัน หากมองจากประวัติศาสตร์ทั่วโลก จะพบว่าระบอบจารีตได้ทะยอยหายไปจากระบอบการปกครองและเปลี่ยนมาสู่ระบอบของการเลือกตั้ง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมกับความคิดที่เกิดขึ้นไม่ถึง 200 ปี หมายถึง ความคิดที่เชื่อว่า เกิดมาทุกคนเท่ากัน มีสิทธิ มีชีวิต ที่เท่ากัน แต่ในเมืองไทยเกิดขึ้นมาไม่ถึง 100 ปี การต่อสู้จึงไม่สะเด็ดน้ำ
ดังนั้นปัญหาในหลายปีที่ผ่านมาคือการบ่อนทำลายระบบที่กระทบต่ออำนาจประเพณี ก่อนหน้านี้โครงสร้างทางการเมือง ระบบทางการเมืองถูกทำลายให้อ่อนแอ พรรคการเมืองอ่อนแอ เสียงของคนชนชั้นกลางระดับล่าง และคนต่างจังหวัด ได้เข้ามาเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว ส่งผลให้ชนชั้นนำจงใจทำลายการเมืองแบบเลือกตั้งเช่นนี้ เพราะการเข้าสู่การเมืองผ่านการเลือกตั้ง คนเลือกก็โง่ คนเป็นผู้แทนก็โง่ พอระบบแบบนี้อ่อนแอ จึงมาคอรัปชั่น และโฆษณาชวนเชื่อว่านี่เป็นระบบที่เลว ระบบความเช่นนี้จึงสามารถทำงานผ่านสื่อและอำนาจในการชี้บอก เพื่อสร้างวาทกรรมนักการเมืองมาจากการเลือกตั้งเลว
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ลักษณะที่ผ่านมาเปลี่ยน เมื่อเกิดวิกฤติทางการเมืองในปี 2540 และเปิดให้นักธุรกิจที่มีฝีมือเข้ามาบริหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นนำต้องการ การบริหารที่สำเร็จทำให้เกิดรัฐบาลพรรคเดียว เป็นครั้งแรกที่เสียงคนต่างจังหวัดรวมกันเป็นหนึ่ง และไม่ต้องฟังข้าราชการอย่างเดียว เปลี่ยนเป็นการฟังเสียงประชาชนผ่านผู้แทน การเข้มแข็งขึ้นของอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งเช่นนี้ สอดคล้องกับที่การเลือกตั้ง ได้กลายเป็นกระแสโลกที่ยอมรับกัน เป็นกระแสที่เชื่อว่าสิทธิทางการเมืองที่คนเท่ายังกัน ในเมืองไทยแม้จะถูกชนชั้นนำทำลายอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในปี 2549 ที่ชนชั้นนำประเมินผิด ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ทว่าประชาชนไม่เอาทหารเลือก ทำให้ชนชั้นนำยอมแพ้ระบบเลือกตั้ง และเดินหน้าใช้วิธีการนอกระบบ ดังนั้นในแง่นี้วาทกรรมการปฏิรูปการเมืองจึงหมายถึงวาทกรรมเดียวกันกับนักการเมืองทุจริต เนื้อแท้คือการตัดสินใจคือการไม่ยอมรับการเลือกตั้งของประชาชน
“เขาได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบนี้มาตลอด ไม่ไปเลือกตั้งก็ไม่กระทบกับชีวิตที่ดีหรือเลวลง เขาได้ประโยชน์จากการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมมาตลอด เขาได้ประโยชน์จากสิทธิทางการเมืองที่ดีกว่ามาโดยตลอด ได้ประโยชน์จากวาทกรรมดังกล่าว เพราะเช่นนี้เขาจึงเห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลของเขา แต่เห็นเป็นรัฐบาลของคนอื่น ความขัดแย้งนี้จึงรอบด้านไปมากกว่าประเด็นทักษิณ การปฏิรูปเช่นนี้จึงมีเป้าหมายไปที่การสลายอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง ฉะนั้นการเคลื่อนไหวของ กปปส. คือการล้มการเลือกตั้งและไม่คืนให้ประชาชนในระยะเวลาอันสั้น”
อย่างไรก็ตามมีการวางองค์กรอิสระเพื่อคุมนักการเมืองอีกที สิ่งนี้เรื้อรังมานานในสังคมไทย รัฐประหารฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้พยายามทำลายระบอบประชาธิปไตย มุ่งหวังให้ประชาชนเบื่อหน่ายการเลือกตั้ง ผ่านการสร้างวาทกรรมว่านักการเมืองทุจริตโกงกินมาโดยตลอด แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้สลายวาทกรรมดังกล่าวลงไป ด้วยการกระจายการพัฒนาไปยังชนบท ทำให้เสียงของคนชนบทส่วนใหญ่ ตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น และก่อตัวขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิในระบอบประชาธิปไตยของพวกเขา เขาเห็นว่าเนื้อแท้สภาประชาชนของม็อบ กปปส. คือการทำลายการเลือกตั้ง เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถเอาชนะทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน จึงจำเป็นต้องปลุกระดมคนชั้นกลางให้ดูถูกเกลียดชังคนชนบท ดังนั้นการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ปีหน้า จะเป็นการชี้วัดอนาคตประเทศไทย ว่าจะเกิดสงครามประชาชนหรือไม่
ดังนั้นปัญหาในหลายปีที่ผ่านมาคือการบ่อนทำลายระบบที่กระทบต่ออำนาจประเพณี ก่อนหน้านี้โครงสร้างทางการเมือง ระบบทางการเมืองถูกทำลายให้อ่อนแอ พรรคการเมืองอ่อนแอ เสียงของคนชนชั้นกลางระดับล่าง และคนต่างจังหวัด ได้เข้ามาเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว ส่งผลให้ชนชั้นนำจงใจทำลายการเมืองแบบเลือกตั้งเช่นนี้ เพราะการเข้าสู่การเมืองผ่านการเลือกตั้ง คนเลือกก็โง่ คนเป็นผู้แทนก็โง่ พอระบบแบบนี้อ่อนแอ จึงมาคอรัปชั่น และโฆษณาชวนเชื่อว่านี่เป็นระบบที่เลว ระบบความเช่นนี้จึงสามารถทำงานผ่านสื่อและอำนาจในการชี้บอก เพื่อสร้างวาทกรรมนักการเมืองมาจากการเลือกตั้งเลว
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ลักษณะที่ผ่านมาเปลี่ยน เมื่อเกิดวิกฤติทางการเมืองในปี 2540 และเปิดให้นักธุรกิจที่มีฝีมือเข้ามาบริหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นนำต้องการ การบริหารที่สำเร็จทำให้เกิดรัฐบาลพรรคเดียว เป็นครั้งแรกที่เสียงคนต่างจังหวัดรวมกันเป็นหนึ่ง และไม่ต้องฟังข้าราชการอย่างเดียว เปลี่ยนเป็นการฟังเสียงประชาชนผ่านผู้แทน การเข้มแข็งขึ้นของอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งเช่นนี้ สอดคล้องกับที่การเลือกตั้ง ได้กลายเป็นกระแสโลกที่ยอมรับกัน เป็นกระแสที่เชื่อว่าสิทธิทางการเมืองที่คนเท่ายังกัน ในเมืองไทยแม้จะถูกชนชั้นนำทำลายอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในปี 2549 ที่ชนชั้นนำประเมินผิด ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ทว่าประชาชนไม่เอาทหารเลือก ทำให้ชนชั้นนำยอมแพ้ระบบเลือกตั้ง และเดินหน้าใช้วิธีการนอกระบบ ดังนั้นในแง่นี้วาทกรรมการปฏิรูปการเมืองจึงหมายถึงวาทกรรมเดียวกันกับนักการเมืองทุจริต เนื้อแท้คือการตัดสินใจคือการไม่ยอมรับการเลือกตั้งของประชาชน
“เขาได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบนี้มาตลอด ไม่ไปเลือกตั้งก็ไม่กระทบกับชีวิตที่ดีหรือเลวลง เขาได้ประโยชน์จากการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมมาตลอด เขาได้ประโยชน์จากสิทธิทางการเมืองที่ดีกว่ามาโดยตลอด ได้ประโยชน์จากวาทกรรมดังกล่าว เพราะเช่นนี้เขาจึงเห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลของเขา แต่เห็นเป็นรัฐบาลของคนอื่น ความขัดแย้งนี้จึงรอบด้านไปมากกว่าประเด็นทักษิณ การปฏิรูปเช่นนี้จึงมีเป้าหมายไปที่การสลายอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง ฉะนั้นการเคลื่อนไหวของ กปปส. คือการล้มการเลือกตั้งและไม่คืนให้ประชาชนในระยะเวลาอันสั้น”
อย่างไรก็ตามมีการวางองค์กรอิสระเพื่อคุมนักการเมืองอีกที สิ่งนี้เรื้อรังมานานในสังคมไทย รัฐประหารฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้พยายามทำลายระบอบประชาธิปไตย มุ่งหวังให้ประชาชนเบื่อหน่ายการเลือกตั้ง ผ่านการสร้างวาทกรรมว่านักการเมืองทุจริตโกงกินมาโดยตลอด แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้สลายวาทกรรมดังกล่าวลงไป ด้วยการกระจายการพัฒนาไปยังชนบท ทำให้เสียงของคนชนบทส่วนใหญ่ ตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น และก่อตัวขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิในระบอบประชาธิปไตยของพวกเขา เขาเห็นว่าเนื้อแท้สภาประชาชนของม็อบ กปปส. คือการทำลายการเลือกตั้ง เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถเอาชนะทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งมาอย่างยาวนาน จึงจำเป็นต้องปลุกระดมคนชั้นกลางให้ดูถูกเกลียดชังคนชนบท ดังนั้นการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ปีหน้า จะเป็นการชี้วัดอนาคตประเทศไทย ว่าจะเกิดสงครามประชาชนหรือไม่
บัวพันธุ์ พรหมพักพิง อาจารย์ประจำคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลายปีที่ผ่าน มีคำถามมาโดยตลอด ประชาชนพร้อมสำหรับประชาธิปไตยหรือยัง ? เขาได้เสนอผลการวิจัยที่ศึกษาก่อนการเดินขบวนของ กปปส. ข้อสรุปก็คือว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายเป็นอย่างดี ซึ่งศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 1300 คน ใน 3 จังหวัด ผลปรากฏว่าคนชนบทมีความเข้าใจต่อระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างดีมาก ซึ่งร้อยละ 90 แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไปเลือกตั้งทุกครั้ง และร้อยละ 80 คนชนบท เห็นว่าการเลือกตั้งไม่ได้ชี้ขาดจากการซื้อเสียง รวมถึงร้อยละ 80 ชี้ว่าคนชนบทเข้าใจกฎหมายและกติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นอย่างดี ผลการศึกษดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าข้อกล่าวหาของม็อบ กปปส. ที่ดูถูกคนชนบทว่าไม่เข้าใจประชาธิปไตย จึงไม่เป็นความจริง
ข้อน่าสังเกตคือว่าในส่วนที่ชาวบ้านตอบไม่ชัด กลับมี 2 ข้อ คือความเข้าใจต่ออำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และความเข้าใจต่ออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากการสอบถามเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เมื่อถามว่าประสบการณ์และการรับรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นอย่างไร ร้อยละ 20 บอกว่า รับเงินมาจากการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือคนที่บอกว่าหนีห่างจากซื้อเสียงที่เข้าสู่ระบบอุปถัมภ์ มีจำนวนมากเช่นกันในคนเมือง ข้อสรูปทั้งหมดชี้ว่าคนชนบทมีทัศนคติทางบวกต่อประชาธิปไตยมากกว่าคนในเมือง และไม่ต้องการเผด็จการ เมื่อวิเคราะห์จากว่าเมื่อคนชนบทเข้าใจประชาธิปไตยแล้วทำไม ระบอบประชาธิปไตยจึงไม่เดินไปข้างหน้า ?
บัวพันธ์เห็นว่า 1. คือความตื่นตัวทางการเมืองทั่วไปในสังคมยังไม่เพียงพอ ต้องมีอีกเงื่อนไขหนึ่งคือ 2. ทุนนิยมจารีต ไม่ยอมปล่อยให้เกิดประชาธิปไตยและไม่พร้อมรับระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่สิทธิเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นผลมาจากประวัติศาสตร์ของกลุ่มทุนอำมาตย์ที่ครอบงำสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เมื่อทุนกลุ่มโลกาภิวัตน์ที่เติบโตมาเผชิญหน้ากับทุนจารีต ทำให้ทุนจารีตกังวลการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เคยได้แต่เดิมออกไป แต่ท่ามกลางกระแสโลกที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวของม็อบ กปปส. ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกลับไปสู่ระบอบเก่า เพื่อให้ชนชั้นนำกุมอำนาจต่อไปนั้นไม่สามารถทำได้ง่าย เพราะฉะนั้นฝ่ายประชาธิปไตยควรต้องร่วมกลุ่มกันเพื่อยืนหยัดอุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นจะถูกกวาดล้างทั้งหมด
นอกจากนี้เขายังเห็นว่าภาคประชาสังคม ที่เกิดขึ้นหลังการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในทศวรรษ 2520 คนพวกนี้ได้กลายเป็นชนชั้นกลางในเมือง ฉะนั้นเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง การปฏิเสธนักการเมืองและการเลือกตั้งจึงเป็นค่านิยมร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม NGOs ที่มีต้นทางจากชนชั้นนำที่กรุงเทพฯ จึงเข้าใจได้ว่า ประชาสังคมไม่สามารถเป็นองค์กรเดียวที่จะนำประชาชนได้อีกแล้ว แต่จะต้องมีองค์กรประชาชนที่มีอุดมการณ์เป็นของตัวเอง ในด้านการพัฒนาประชาธิปไตย
โดยในช่วงท้ายของงานได้มีการอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 6/2556 ของสหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) โดยนายเลื่อน ศรีสุโพธิ์ ประธานสหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.)
ข้อน่าสังเกตคือว่าในส่วนที่ชาวบ้านตอบไม่ชัด กลับมี 2 ข้อ คือความเข้าใจต่ออำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ และความเข้าใจต่ออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากการสอบถามเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เมื่อถามว่าประสบการณ์และการรับรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นอย่างไร ร้อยละ 20 บอกว่า รับเงินมาจากการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือคนที่บอกว่าหนีห่างจากซื้อเสียงที่เข้าสู่ระบบอุปถัมภ์ มีจำนวนมากเช่นกันในคนเมือง ข้อสรูปทั้งหมดชี้ว่าคนชนบทมีทัศนคติทางบวกต่อประชาธิปไตยมากกว่าคนในเมือง และไม่ต้องการเผด็จการ เมื่อวิเคราะห์จากว่าเมื่อคนชนบทเข้าใจประชาธิปไตยแล้วทำไม ระบอบประชาธิปไตยจึงไม่เดินไปข้างหน้า ?
บัวพันธ์เห็นว่า 1. คือความตื่นตัวทางการเมืองทั่วไปในสังคมยังไม่เพียงพอ ต้องมีอีกเงื่อนไขหนึ่งคือ 2. ทุนนิยมจารีต ไม่ยอมปล่อยให้เกิดประชาธิปไตยและไม่พร้อมรับระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ที่สิทธิเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นผลมาจากประวัติศาสตร์ของกลุ่มทุนอำมาตย์ที่ครอบงำสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เมื่อทุนกลุ่มโลกาภิวัตน์ที่เติบโตมาเผชิญหน้ากับทุนจารีต ทำให้ทุนจารีตกังวลการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เคยได้แต่เดิมออกไป แต่ท่ามกลางกระแสโลกที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวของม็อบ กปปส. ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกลับไปสู่ระบอบเก่า เพื่อให้ชนชั้นนำกุมอำนาจต่อไปนั้นไม่สามารถทำได้ง่าย เพราะฉะนั้นฝ่ายประชาธิปไตยควรต้องร่วมกลุ่มกันเพื่อยืนหยัดอุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นจะถูกกวาดล้างทั้งหมด
นอกจากนี้เขายังเห็นว่าภาคประชาสังคม ที่เกิดขึ้นหลังการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในทศวรรษ 2520 คนพวกนี้ได้กลายเป็นชนชั้นกลางในเมือง ฉะนั้นเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง การปฏิเสธนักการเมืองและการเลือกตั้งจึงเป็นค่านิยมร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม NGOs ที่มีต้นทางจากชนชั้นนำที่กรุงเทพฯ จึงเข้าใจได้ว่า ประชาสังคมไม่สามารถเป็นองค์กรเดียวที่จะนำประชาชนได้อีกแล้ว แต่จะต้องมีองค์กรประชาชนที่มีอุดมการณ์เป็นของตัวเอง ในด้านการพัฒนาประชาธิปไตย
โดยในช่วงท้ายของงานได้มีการอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 6/2556 ของสหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) โดยนายเลื่อน ศรีสุโพธิ์ ประธานสหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.)
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
แถลงการณ์ ฉบับที่ 6/2556
“รัฐบาลพระราชทาน สภาประชาชน อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตย :
ประชาชนไทยต้องการเลือกตั้ง!!!”
“รัฐบาลพระราชทาน สภาประชาชน อุปสรรคการพัฒนาประชาธิปไตย :
ประชาชนไทยต้องการเลือกตั้ง!!!”
สถานการณ์ปัจจุบัน “กลุ่มกบฏเทพเทือก” ได้ดิ้นรนเฮือกสุดท้าย โดยมีมาตรการในการกดดันรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ฯ ให้ “ลาออก” ในทันที..... ด้วยการจัด “เดินขบวน” ทั่วกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 – 20 ธันวาคม 2556 และระดมจัดจ้าง “มวลมหาประชาชน” ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ จัดชุมนุมใหญ่ขในวันที่ 22 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา.....แถมยังกระทำการอันเหิมเกริม บุกปิดสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เพื่อสกัดกั้นผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไม่ให้ยืนใบสมัครได้ และ “บุกรุก” เข้าไปขัดขวางทุกวันอย่างต่อเนื่องจนถึงวันนี้....พวกเราถือว่า เป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน ชั่วช้าเลวทราม และขัดขวางเส้นทางการพัฒนาประชาธิปไตยที่ชัดเจนยิ่ง....
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า การที่ม๊อบ “กบฏสุเทพ” จุดติดจนถึงวันนี้ มีกลุ่มบุคคลที่คอย “อุปถัมภ์” อยู่เบื้องหลังอย่างเปิดเผย.....ประสานงานกันเป็นระบบ เป็น “ขบวนแถวขนาดใหญ่” อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และพวกมันต่าง “เผยร่าง ไม่พรางกาย” ต่อไปอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “กลุ่มองคมนตรีและเครือข่าย” “กลุ่มทหารแก่อกหัก” “กลุ่มราษฏรอาวุโส” “กลุ่มผู้ดีรัตนโกสินทร์” “กลุ่มอธิการบดี” “กลุ่มแพทย์ชนบท” “กลุ่มขุนนาง NGOs” “กลุ่มประชาสังคม” และ“กลุ่มอาชีพรับจ้างม๊อบ เช่น พวกพันธมิตรฯ ลิ้มโกเต็ก” เป็นต้น..... ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงพวกเราเรียกพวกมันว่า “กลุ่มพลังอนุรักษ์นิยม / จารีตนิยมขวาจัด” ที่มี “กลุ่มอำนาจนอกระบบเหนือรัฐ” นั่งผงาดเอิดเลิดอยู่ข้างหลังตลอดเวลาและนิรันดร นั่นเอง.....
ควรต้องกล่าวในที่นี้ด้วยว่า ข้อเสนอทางการเมือง “สัปปะรังเค” ที่ให้มีการ “ปฏิรูปก่อน เลือกตั้งทีหลัง” เสมือนเป็นเพียง “วาทกรรมอำพราง” เพื่อรอคอยการสร้างกระแส รอคอยให้กลุ่มองค์กรอิสระหน้าหนา เช่น ปปช. กับ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ช่วย “ลงดาบ” จัดการกับรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย (พท.)....หากไม่เกิด “ตุลาการภิวัฒน์” ดังกล่าว พวก “กบฏเทพเทือก” จะสร้างความรุนแรงหลังปีใหม่ ก่อกระแสกดดันให้ “กองกำลังติดอาวุธป่าเถื่อน” คือ “ทหาร” ออกมาทำการ “รัฐประหาร” อีกครั้ง!!!....
และการที่ “กบฏเทพเทือก” ใช้ “กลไก” ของ “กลุ่มอำนาจนอกระบบเหนือรัฐ” ทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าวข้างต้นนั้น เสมอเป็นเพียงการเคลื่อนไหวให้เกิด “สุญญากาศทางการเมือง” เปิดช่องให้มี “รัฐบาลพระราชทาน” อันจะนำไปสู่การฟื้นฟู “รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่” ตามอุดมการณ์สูงสุดของ “กลุ่มพลังอนุรักษ์นิยม / จารีตขวาจัด” นั่นเอง......
กระนั้นก็ดี ล่าสุดรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ฯ มีข้อเสนอผ่าทางตัน โดยมีมติ ครม. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556 เห็นชอบให้ใช้คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้ง “สภาปฏิรูปประเทศไทย” ดำเนินการ “คู่ขนาน” กับการรณรงค์ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เป็นไปอย่างเรียบร้อย....และความพยายามแก้ไขปัญหาตลอดมาของนายกฯรักษาการยิ่งลักษณ์ ด้วยการใช้ความอดทน ใช้สติปัญญา และการดำเนินงานการเมืองที่ผ่านมาทั้งหมด ก็เป็นวิธีการที่ “อารยะประเทศ” ฝ่ายประชาธิปไตยต่างใช้กันทั่วโลก ซึ่งสมควรยกย่องให้นายกฯรักษาการยิ่งลักษณ์เป็น “วีรสตรี” ของแผนดินนี้คนต่อไปด้วยซ้ำ.....
จากที่กล่าวมาทั้งหมด ทาง คณะทำงานประสานงาน “สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย” (สปป.) ซึ่งเป็นองค์กรประสานความร่วมมือ “กลุ่มพลังประชาธิปไตย” เพื่อสถาปนา, สร้างสรรค์ “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แท้จริง” ได้ประเมินสถานการณ์ และมีข้อเสนอต่อสังคมไทย ดังต่อไปนี้
ข้อเสนอต่อกลุ่มทหาร
-ขอให้หยุดคิดที่จะใช้ “กองกำลังป่าเถื่อน” เข้ายึดอำนาจของประชาชน ด้วยวิธีการ “รัฐประหาร”เพราะวิธีการดังกล่าว “ล้าสมัย” ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โลก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทุกกลุ่มประเทศในโลกนี้ ต้องการ “ประชาธิปไตย” และ “สันติภาพ” เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจให้รุดหน้า เพิ่มพูนโภคทรัพย์ ความอุดมสมบูรณ์ของ “อาหาร” เพื่อให้ประชาชนไทย “มีกิน มีใช้” และถึงเวลาลืมตาอ้าปากได้เสียที......
ข้อเสนอต่อรัฐบาลรักษาการฯยิ่งลักษณ์
-สปป. เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการแก้ไขปัญหาทางการเมืองในระยะเฉพาะหน้านี้ ด้วยการใช้คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศตั้ง “สภาปฏิรูปประเทศไทย” (เพื่อหาทาง “ลง” ให้ “กบฏเทพเทือก”???...)...แต่ สปป. “ไม่เห็นด้วย” อย่างยิ่ง ที่กำหนดให้ “คณะกรรมการ 11 คน” อันประกอบด้วย “ขุนทหาร” และบรรดา “ขุนนางเทคโนแครต” มาเป็นผู้สรรหา คัดเลือก และแต่งตั้ง....เพราะการกระทำเยี่ยงนี้ เป็นการมองไม่เห็น “หัวประชาชน”...สปป.เสนอว่า “สมาชิก” ทั้ง 499 คน (ทำไมต้องลงท้ายด้วยเลข 9 ? ทำไมไม่ 500 คนเท่ากับ สภาผู้แทนราษฏรไปเลย!!!) ของสภาปฏิรูปฯ นั้น ต้องมาจากการ “เลือกตั้ง” ของประชาชนโดยตรง แบบ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ก็ได้...เพราะ “ขี้หมูขี้หมา” การ เลือกตั้งก็ดีกว่าการ “แต่งตั้ง” จากเครือข่าย “เทวดา” ดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง...
ข้อเสนอต่อ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน และกลุ่มพลังประชาธิปไตย ต่าง ๆ
- 1. ให้ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ประสานงาน “กลุ่มพลังประชาธิปไตย” หรือ กลุ่มแดงอิสระ อื่น ๆ จัดทำแผนยุทธศาสตร์เฉพาะหน้า ด้วยการจัดให้มี “เวทีรณรงค์ให้มีการเลือกตั้ง 2 กุมภา เดินหน้าประชาธิปไตย” เพื่อสำแดงพลังสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ที่ “ศาลากลางจังหวัด” ในทุกจังหวัด นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
- 2. ขอเรียกร้องให้ประชาชน เสรีชน และผู้รักประชาธิปไตย ให้รีบเร่งทำการ “จัดตั้ง” กันเข้าเป็น กลุ่ม, องค์กร แล้วประสานกันเข้าเป็น “เครือข่าย” เพื่อเสริมสร้างให้ “กลุ่มพลังประชาธิปไตย” ให้มีจำนวนมากและเข้มแข็งขึ้นกว่าเดิม เพื่อเป็นกำลังในการขับเคลื่อน ผลักดัน “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แท้จริง” ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยภายใน 5 ปีข้างหน้า....เพราะประชาชน “รอคอย” ไม่ได้อีกแล้ว....อย่าให้ประชาชนต้องหมดความ “อดทน” เลย....
ขอประกาศจุดยืนของ สปป. และภาคีเครือข่าย ดังต่อไปนี้
- 1. จะต่อต้านการรัฐประหาร สภาประชาชน ทุกรูปแบบ
- 2. ไม่เอารัฐบาลพระราชทาน / รัฐบาลที่มาจาก ม.7 อย่างเด็ดขาด
- 3. จะเดินหน้าคัดค้าน และต่อต้าน “อำนาจนอกระบบเหนือรัฐ” ที่แทรกแซงทางการเมือง ทุกรูปแบบ
- 4. จะสนับสนุนและเข้าร่วมผลักดันเพื่อให้เกิด “การเลือกตั้ง 2 กุมภา เดินหน้าประชาธิปไตย” โดยไม่มีเงื่อนไข
สุดท้าย สปป. ขอประกาศ “จุดยืน” ณ ที่นี้ว่า สนับสนุนให้มี “การเลือกตั้ง ส.ส.” ก่อน ภายหลังเมื่อพรรคเพื่อไทย (พท.) สามารถกลับมาจัดตั้ง “รัฐบาลชุดใหม่” จึงดำเนินการ “ปฏิรูปการเมืองการปกครองไทย” ให้เป็น “ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แท้จริง” ซึ่งทาง สปป. จะได้ทำ “ชุดข้อเสนอ” ที่เกิดจากผลิตผลทางความคิดที่ “ตกผลึก” จากการเข้าร่วมเคลื่อนไหวและพัฒนาสังคมกับพี่น้องชาวบ้าน, นักวิชาการ, ปัญญาชน, เสรีชน และผู้รักประชาธิปไตย และเข้าร่วมผลักดันกระบวนการ “ปฏิรูปการเมืองการปกครองไทย” ครั้งใหม่ดังกล่าวอย่างถึงที่สุด
แผนยุทธศาสตร์เฉพาะหน้านี้ ทาง สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) จะจัดกิจกรรม ดังนี้
- 1. จัดแถลงข่าว การจัดตั้ง สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.) อย่างเป็น “ทางการ” ในวันที่ 4 มกราคม 2557 ที่ จ.ขอนแก่น
- 2. จัดเวทีเสวนาวิชาการสาธารณะ สปป. ครั้งที่ 2 ร่วมกับ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ในวันที่ 12 ธันวาคม 2557 ที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
- 3. จัดเวทีเสวนาวิชาการสาธารณะ สปป. ครั้งที่ 3 ร่วมกับ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ในวันที่ 24 ธันวาคม 2557 ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
- 4. จัดเวทีชุมนุมใหญ่รวมประชาชน เสรีชน และผู้รักประชาธิปไตย ทั่วประเทศ เพื่อรณรงค์ประชาธิปไตย ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. “2 กุมภา เดินหน้าประชาธิปไตย” และนำเสนอ “ชุดข้อเสนอปฏิรูปโครงสร้างการเมืองการปกครองไทย” ต่อ นายกฯรักษาการยิ่งลักษณ์ฯ และ“หัวหน้า” พรรคการเมืองทุกพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ในระหว่างวันที่ 24 – 25 มกราคม 2557 สถานที่จะแถลงข่าวให้สาธารณะทราบต่อไป
ประชาชน เสรีชน ผู้รักประชาธิปไตย ต้องไปเลือกตั้ง !!!
สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.)
26 ธันวาคม 2556
สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย (สปป.)
26 ธันวาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น