จากการจับกุม พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ พร้อมพวก ต้องเข้าใจประเด็นที่ชัดเจนก่อนว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจกลุ่มนี้ทำหน้าที่ในการเอื้ออำนวยหรือสนับสนุนให้มีการเปิดบ่อน ค้าน้ำมันเถื่อน และสนับสนุนให้บุกรุกป่าเพื่อทำรีสอร์ท นั่นแสดงให้เห็นว่ามีคนกลุ่มใหญ่ที่ดำเนินขบวนการผิดกฎหมายและใช้วิธีจ่ายส่วยกับตำรวจ เพราะฉะนั้น สำนักข่าวทีนิวส์ จะดำเนินการตรวจสอบให้คุณผู้ชมได้รับทราบข้อเท็จจริง
กระบวนการทำผิดกฎหมาย ของขบวนการ พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ มีอยู่ด้วยกัน 5 กลุ่ม คือ
ทั้งนี้ คำร้องขอฝากขังระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 ต.ค.53-11 พ.ย.57 ขณะที่ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสอบสวนกลาง มีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้สมรู้ร่วมคิดกับ พล.ต.ต. บุญสืบ ไพรเถื่อน พ.ต.อ.อัครวุฒิ์ หลิมรัตน์ และ พ.ต.อ. โกวิทย์ ม่วงนวล เรียกรับเงินจากข้าราชการตำรวจที่ประสงค์จะไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆรายละ 3-5 ล้านบาท เพื่อไปรับตำแหน่ง โดยส่งเงินให้กับกลุ่มผู้ต้องหาเป็นรายเดือนรวมแล้วเป็นเงินกว่า 50 ล้านบาท
ส่วน พล.ต.ต. บุญสืบ ไพรเถื่อน ระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.54-18 ก.ค.57 ขณะที่ผู้ต้องหาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจน้ำมีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากผู้ค้าน้ำมันเถื่อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แอบอ้างสถาบันเบื้องสูงเรียกเก็บเงินค่าส่วยน้ำมันเดือนละ 1-2 ล้านบาท ส่งเงินให้ พล.ต.ต.โกวิทย์จำนวน 35 ล้านบาท และส่งเงินให้กับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เป็นเงินจำนวน 118 ล้านบาท
ขณะที่ พล.ต.ต.โกวิทย์ นั้นมีพฤติการณ์เปิดบ่อนการพนัน (ถั่วครอบ) ย่านห้วยขวาง โดยร่วมกับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์แอบอ้างว่า จะนำเงินไปให้บุคคลเบื้องสูงซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนยังจะต้องสอบปากคำพยานกว่า 50 ปาก รอผลการตรวจประวัติผู้ต้องหา จึงขอฝากขังเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.-5 ธ.ค.57 ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพนักงานสอบสวน
เพราะฉะนั้นแล้วเราจะติดตามข้อมูลเชิงลึกมาให้คุณผู้ชมได้รับทราบเริ่มจากกระบวนการค้าน้ำมันเถื่อน ซึ่งในวันนี้จะได้ยกตัวอย่างหนึ่งในขบวนการที่ถูกพูดถึงมาโดยตลอดเพราะมีพฤติการณ์ต้องสงสัยอยู่เป็นจำนวนมากนั่นคือ นายสหชัย เจียรเสริมสิน หรือ เสี่ยโจ้
ย้อนกลับไป วันที่ 21 ต.ค.2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวถึงการหายตัวไปของนายสหชัย เจียรเสริมสิน (เสี่ยโจ้) นักโทษหนีคดีคำสั่งศาลจังหวัดปัตตานีว่าการหายตัวไปในครั้งนี้ทหารไม่ได้จับตัวมาอย่างที่เป็นข่าว ถ้าปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ทุกคนที่มีคดีแล้วต่อสู้ทางกฏหมายคดีจะจบไปตั้งนานแล้ว ทั้งนี้สนับสนุนการแก้ปัญหาตามกระบวนการยุติธรรม
ทั้งนี้พฤติการณ์ของ นายสหชัย เจียรเสริมสิน ถูกเพ็งเล็งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาตั้งแต่เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ โดยได้จัดชุดเจ้าหน้าที่พิเศษเข้าไปตรวจค้นและยึดทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
17 มิถุนายน 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามภัยแทรกซ้อนต่อความมั่นคง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ควบคุมตัว นายสหชัย หรือเสี่ยโจ้ เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด สหทรัพย์ทวีค้าไม้ เพราะต้องสงสัยว่าเกี่ยวพันกับขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนรายใหญ่ของภาคใต้ พร้อมนำกำลังเข้าตรวจค้น หจก.สหทรัพย์ทวีฯ เลขที่ 103/49 ต.บานา อ.เมืองปัตตานี พบหลักฐานแผ่นตรวจลงตราเข้าเมืองปลอมเป็นจำนวนมาก คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายไม้
21 มิถุนายน 2557 เจ้าหน้าที่ระดับสูงในชุดปราบปรามภัยแทรกซ้อน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ทำการอายัดหลักฐานต้องสงสัยจำนวน 6 รายการ มาตรวจสอบ ประกอบด้วย
เอกสารระบุดังนี้
การเข้าตรวจยึดอายัดทรัพย์สินดังกล่าว เป็นการบังคับคดีจากคดีล้มละลาย คดีแดงเลขที่ 3488/2555 อันสืบเนื่องจากพฤติการณ์เลี่ยงภาษีจำนวน 414 ล้านบาท ซึ่งกรมสรรพากรต้องตามยึดทรัพย์ของนายสหชัย
สำหรับ หจก.สหทรัพย์ทวีค้าไม้ เคยถูกคณะทำงานภัยแทรกซ้อน และเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เข้าตรวจค้นมาก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2555 และสามารถยึดของกลางที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายได้หลายรายการ โดยเฉพาะรถบรรทุกดัดแปลงสำหรับขนน้ำมันได้คราวละ 15,000 ลิตร จำนวน 2 คัน และรถบรรทุกห้องเย็นที่ดัดแปลงสำหรับขนน้ำมันอีก 2 คัน เงินสดสกุลต่างประเทศและเงินบาทไทยประมาณ 23 ล้านบาท รวมทั้งบัญชีรับจ่ายเงินที่เชื่อกันว่าเป็นบัญชีส่วยสำหรับจ่ายเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้แม้จะมีการตรวจค้นและยึดทรัพย์สินเป็นจำนวนมากและพบหลักฐานที่สามารถเชื่อได้ว่านายสหชัย เจียรเสริมสินเสี่ยโจ้น่าจะมีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในภาคใต้แต่ก็ยังไม่สามารถเอาผิดได้
ความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินคดีกับธุรกิจของนายสหชัย ชัดเจนขึ้น หลังนายสหชัย หลบหนีจากศาลจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 เพราะถูกพิพากษาจำคุก 1 ปี 9 เดือน ฐานปลอมแปลงเอกสารตราประทับ ทำให้ ร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข รองสารวัตรปราบปรามสถานีตำรวจเมืองปัตตานี ที่คุมตัวผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีฐานปล่อยให้ผู้ต้องหาหลบหนี และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2557 ศาลจ.ปัตตานีสั่งจำคุกร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข รองสารวัตรปราบปราม.สภ.เมือง จ.ปัตตานี ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล กำหนดโทษจำคุก 6 เดือน จากกรณีปล่อยตัว นายสหชัย เจียรเสริมสิน หรือ เสี่ยโจ้ จำเลยในคดีอาญาฐานปลอมเอกสารตราประทับของทางราชการโดยพลการ ทำให้นายสหชัยหลบหนี ทั้งๆ ที่ศาลเพิ่งพิพากษาลงโทษนายสหชัยให้จำคุก 1 ปี 9 เดือน และไม่รอลงอาญาแม้จำเลยให้การรับสารภาพ
นอกจากนี้ หัวหน้าศาลจังหวัดปัตตานี เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองปัตตานี กล่าวโทษร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ผู้ถูกคุมขังหลุดพ้นจากการคุมขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204 และ 157
สำหรับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีตำแหน่งหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ที่ต้องคุมขังตามอำนาจของศาล ของพนักงานสอบสวน หรือของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา กระทำด้วยประการใดๆ ให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างคุมขังนั้นหลุดพ้นจากการคุมขังไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่ 2,000-14,000 บาท
ต่อมา เจ้าหน้าที่ทหาร ทหารพราน และหน่วยข่าว ได้แจ้งไปยังหน่วยในสังกัด และด่านตรวจด่านสกัด ให้เร่งหาตัว นายสหชัย ให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง โดยบางส่วนได้นำกำลังไปตรวจค้นบ้านคนใกล้ชิดของนายสหชัยด้วย ขณะที่เจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่งได้สอบปากคำ จำคุกร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข ที่ตกเป็นผู้ต้องหาแทน เบื้องต้นมีรายงานว่าเจ้าตัวยอมรับสารภาพ โดยอ้างว่า "นายสั่ง"
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏแม้จะไม่สามารถเอาผิดกับนายสหชัย เกี่ยวข้องกับขบวนการค้าน้ำเถื่อนได้ในขณะนี้ แต่ก็ต้องเรียกได้ว่าผู้ชายคนนี้มีความไม่ธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อไล่เลียงประวัติในอดีตที่ผ่านมา ก็จะพบข้อมูลการถูกกล่าวหาด้วยคดีต่างๆ
ทำที่ จ.ปัตตานี วันที่ 3 เมษายน 2557
กระบวนการทำผิดกฎหมาย ของขบวนการ พล.ต.ท. พงศ์พัฒน์ มีอยู่ด้วยกัน 5 กลุ่ม คือ
- 1.โยกย้ายตำแหน่ง
- 2.น้ำมันเถื่อน
- 3.บ่อนการพนัน
- 4.การฟอกเงิน
- 5.บุกรุกพื้นป่าเพื่อทำรีสอร์ท
ส่วน พล.ต.ต. บุญสืบ ไพรเถื่อน ระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.54-18 ก.ค.57 ขณะที่ผู้ต้องหาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจน้ำมีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากผู้ค้าน้ำมันเถื่อนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แอบอ้างสถาบันเบื้องสูงเรียกเก็บเงินค่าส่วยน้ำมันเดือนละ 1-2 ล้านบาท ส่งเงินให้ พล.ต.ต.โกวิทย์จำนวน 35 ล้านบาท และส่งเงินให้กับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เป็นเงินจำนวน 118 ล้านบาท
ขณะที่ พล.ต.ต.โกวิทย์ นั้นมีพฤติการณ์เปิดบ่อนการพนัน (ถั่วครอบ) ย่านห้วยขวาง โดยร่วมกับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์แอบอ้างว่า จะนำเงินไปให้บุคคลเบื้องสูงซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนยังจะต้องสอบปากคำพยานกว่า 50 ปาก รอผลการตรวจประวัติผู้ต้องหา จึงขอฝากขังเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.-5 ธ.ค.57 ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของพนักงานสอบสวน
เพราะฉะนั้นแล้วเราจะติดตามข้อมูลเชิงลึกมาให้คุณผู้ชมได้รับทราบเริ่มจากกระบวนการค้าน้ำมันเถื่อน ซึ่งในวันนี้จะได้ยกตัวอย่างหนึ่งในขบวนการที่ถูกพูดถึงมาโดยตลอดเพราะมีพฤติการณ์ต้องสงสัยอยู่เป็นจำนวนมากนั่นคือ นายสหชัย เจียรเสริมสิน หรือ เสี่ยโจ้
ย้อนกลับไป วันที่ 21 ต.ค.2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวถึงการหายตัวไปของนายสหชัย เจียรเสริมสิน (เสี่ยโจ้) นักโทษหนีคดีคำสั่งศาลจังหวัดปัตตานีว่าการหายตัวไปในครั้งนี้ทหารไม่ได้จับตัวมาอย่างที่เป็นข่าว ถ้าปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ทุกคนที่มีคดีแล้วต่อสู้ทางกฏหมายคดีจะจบไปตั้งนานแล้ว ทั้งนี้สนับสนุนการแก้ปัญหาตามกระบวนการยุติธรรม
ทั้งนี้พฤติการณ์ของ นายสหชัย เจียรเสริมสิน ถูกเพ็งเล็งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาตั้งแต่เข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ โดยได้จัดชุดเจ้าหน้าที่พิเศษเข้าไปตรวจค้นและยึดทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
17 มิถุนายน 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ส่งเจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามภัยแทรกซ้อนต่อความมั่นคง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ควบคุมตัว นายสหชัย หรือเสี่ยโจ้ เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด สหทรัพย์ทวีค้าไม้ เพราะต้องสงสัยว่าเกี่ยวพันกับขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนรายใหญ่ของภาคใต้ พร้อมนำกำลังเข้าตรวจค้น หจก.สหทรัพย์ทวีฯ เลขที่ 103/49 ต.บานา อ.เมืองปัตตานี พบหลักฐานแผ่นตรวจลงตราเข้าเมืองปลอมเป็นจำนวนมาก คาดว่าอาจเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายไม้
21 มิถุนายน 2557 เจ้าหน้าที่ระดับสูงในชุดปราบปรามภัยแทรกซ้อน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ทำการอายัดหลักฐานต้องสงสัยจำนวน 6 รายการ มาตรวจสอบ ประกอบด้วย
- 1.รถบรรทุกน้ำมันขนาด 15,000 ลิตร 2 คัน
- 2.รถห้องเย็นดัดแปลงเป็นรถบรรทุกน้ำมัน 2 คัน
- 3.ไม้แปรรูปขนาดใหญ่ประมาณ 1,800 ท่อน
- 4.วิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร 3 ชุด
- 5.เงินสดสกุลต่างประเทศ และเงินบาทไทย ประมาณ 23 ล้านบาท
- 6.เอกสารที่เกี่ยวข้องกว่า 2,000 รายการ คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง โพยหวยใต้ดิน และซีดีภาพยนตร์ลามกอนาจาร 500 แผ่น
เอกสารระบุดังนี้
- ชุดเฝ้าระวังปราบปรามผู้กระทำความผิด สัตหีบ ระยอง
- สารวัตรชุดปฏิบัติการ 2000 x 30 วัน = 60,000
- ลูกทีมชุดปฏิบัติการ 4 คน 1500 x 30 วัน = 180,000
- น้ำมันรถ ค่าจิปาถะ วันละ 1,000 x 30 วัน = 30,000
- รวม 270,000
การเข้าตรวจยึดอายัดทรัพย์สินดังกล่าว เป็นการบังคับคดีจากคดีล้มละลาย คดีแดงเลขที่ 3488/2555 อันสืบเนื่องจากพฤติการณ์เลี่ยงภาษีจำนวน 414 ล้านบาท ซึ่งกรมสรรพากรต้องตามยึดทรัพย์ของนายสหชัย
สำหรับ หจก.สหทรัพย์ทวีค้าไม้ เคยถูกคณะทำงานภัยแทรกซ้อน และเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เข้าตรวจค้นมาก่อนแล้ว เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2555 และสามารถยึดของกลางที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายได้หลายรายการ โดยเฉพาะรถบรรทุกดัดแปลงสำหรับขนน้ำมันได้คราวละ 15,000 ลิตร จำนวน 2 คัน และรถบรรทุกห้องเย็นที่ดัดแปลงสำหรับขนน้ำมันอีก 2 คัน เงินสดสกุลต่างประเทศและเงินบาทไทยประมาณ 23 ล้านบาท รวมทั้งบัญชีรับจ่ายเงินที่เชื่อกันว่าเป็นบัญชีส่วยสำหรับจ่ายเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้แม้จะมีการตรวจค้นและยึดทรัพย์สินเป็นจำนวนมากและพบหลักฐานที่สามารถเชื่อได้ว่านายสหชัย เจียรเสริมสินเสี่ยโจ้น่าจะมีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในภาคใต้แต่ก็ยังไม่สามารถเอาผิดได้
ความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินคดีกับธุรกิจของนายสหชัย ชัดเจนขึ้น หลังนายสหชัย หลบหนีจากศาลจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 9 ต.ค.2557 เพราะถูกพิพากษาจำคุก 1 ปี 9 เดือน ฐานปลอมแปลงเอกสารตราประทับ ทำให้ ร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข รองสารวัตรปราบปรามสถานีตำรวจเมืองปัตตานี ที่คุมตัวผู้ต้องหาถูกดำเนินคดีฐานปล่อยให้ผู้ต้องหาหลบหนี และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2557 ศาลจ.ปัตตานีสั่งจำคุกร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข รองสารวัตรปราบปราม.สภ.เมือง จ.ปัตตานี ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล กำหนดโทษจำคุก 6 เดือน จากกรณีปล่อยตัว นายสหชัย เจียรเสริมสิน หรือ เสี่ยโจ้ จำเลยในคดีอาญาฐานปลอมเอกสารตราประทับของทางราชการโดยพลการ ทำให้นายสหชัยหลบหนี ทั้งๆ ที่ศาลเพิ่งพิพากษาลงโทษนายสหชัยให้จำคุก 1 ปี 9 เดือน และไม่รอลงอาญาแม้จำเลยให้การรับสารภาพ
นอกจากนี้ หัวหน้าศาลจังหวัดปัตตานี เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองปัตตานี กล่าวโทษร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทำให้ผู้ถูกคุมขังหลุดพ้นจากการคุมขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 204 และ 157
ต่อมา เจ้าหน้าที่ทหาร ทหารพราน และหน่วยข่าว ได้แจ้งไปยังหน่วยในสังกัด และด่านตรวจด่านสกัด ให้เร่งหาตัว นายสหชัย ให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง โดยบางส่วนได้นำกำลังไปตรวจค้นบ้านคนใกล้ชิดของนายสหชัยด้วย ขณะที่เจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่งได้สอบปากคำ จำคุกร.ต.ต.อรุณ ศรีทองสุข ที่ตกเป็นผู้ต้องหาแทน เบื้องต้นมีรายงานว่าเจ้าตัวยอมรับสารภาพ โดยอ้างว่า "นายสั่ง"
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏแม้จะไม่สามารถเอาผิดกับนายสหชัย เกี่ยวข้องกับขบวนการค้าน้ำเถื่อนได้ในขณะนี้ แต่ก็ต้องเรียกได้ว่าผู้ชายคนนี้มีความไม่ธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อไล่เลียงประวัติในอดีตที่ผ่านมา ก็จะพบข้อมูลการถูกกล่าวหาด้วยคดีต่างๆ
- ปี 2546-2549 ถูกดำเนินคดีในข้อหาค้าหวยใต้ดิน
- 17 ต.ค.55 ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจค้นบ้านและห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) สินทรัพย์ทวีค้าไม้ ยึดของกลางได้จำนวนหนึ่ง เช่น รถบรรทุกดัดแปลงสำหรับขนน้ำมัน
- 2 พ.ย.55 เข้ารับทราบข้อกล่าวหาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานความผิดเกี่ยวกับสรรพากร พร้อมยื่นประกันตัวด้วยเงิน 5 แสนบาท
- 5 พ.ย.55 แถลงข่าวที่โรงแรมแห่งหนึ่งใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจผิดกฎหมายทุกประเภท
- 6 ต.ค.56 เจ้าหน้าที่ บริษัท สหทรัพย์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ธุรกิจในเครือของนายสหชัย เข้าแจ้งความกับตำรวจว่า เมื่อวันที่ 2 ต.ค.56 เรือขนเงินของบริษัทถูกปล้นบริเวณนอกชายฝั่ง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี มีลูกเรืออยู่ 8 คน ถูกยิงเสียชีวิตไป 7 คน ที่เหลือ 1 คนก็หายตัวไป ขณะที่เงินสดทั้งสกุลเงินไทยและต่างประเทศเกือบ 120 ล้านบาทสูญหายไป ต่อมาตำรวจกองปราบตามเงินคืนมาได้ และจับกุมผู้ต้องหา 4 ราย
- 17 มิย. 57 ชุดปฏิบัติการปราบปรามภัยแทรกซ้อนต่อความมั่นคง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ตรวจค้น หจก.สินทรัพย์ทวีค้าไม้ของนายสหชัย และได้คุมตัวนายสหชัยไปสอบสวนในคดีความมั่นคง
- 19 มิ.ย.57 มีข่าวว่า นายสหชัย รับสารภาพว่าทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับน้ำมันจริง แต่ทำในทะเลนอกน่านน้ำไทย
- 26 มิ.ย.57 พนักงานสอบสวน สภ.เมืองปัตตานี นำตัวนายสหชัยไปขออำนาจฝากขังจากศาลปัตตานีผลัดแรก แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวตามที่ทนายและญาติได้ยื่นร้องขอ เพราะเคยมีประวัติหลบหนีประกัน
- 16 ก.ค.57 ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนายสหชัย
- 5 ส.ค.57 เจ้าหน้าที่สนธิกำลังเข้าตรวจสอบและอายัดทรัพย์ที่ หจก.สหทรัพย์ทวีค้าไม้ พบเงินสดและทองแท่งในตู้เซฟ มูลค่านับร้อยล้านบาท
- 15 ก.ย.57 เจ้าหน้าที่สรรพากร นำเจ้าหน้าที่กองบังคับคดีจังหวัดปัตตานี ยึดทรัพย์ต่างๆ ของนายสหชัย
- 9 ต.ค.57 นายสหชัยต้องเดินทางไปขึ้นศาลจังหวัดปัตตานีเพื่อรับฟังคำพิพากษาคดีครอบครองเอกสารตรวจลงตราเข้าเมืองปลอม ศาลสั่งลงโทษจำคุก 1 ปี 9 เดือนโดยไม่รอลงอาญา แต่นายสหชัยหลบหนี
ทำที่ จ.ปัตตานี วันที่ 3 เมษายน 2557
เรื่องขอความเป็นธรรม และขอบารมีฯพณฯ
กราบเรียน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระผมนายสหชัย เจียรเสริมสิน ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันนอกน่านน้ำประเทศไทย ก่อนหน้านี้กระผมได้รบกวนบารมีมาแล้ว ก็แก้ไขได้ระดับหนึ่ง แต่ตอนนี้มี “รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์)” ได้ส่ง “พ.ต.อ. ...(ขอสงวนชื่อ-สกุล เนื่องจากไม่มีรายชื่อในหมายจับ) ลงมาเป็น ผกก.ตำรวจน้ำสงขลา ผมได้พยายามเจรจา ดูแล และช่วยภารกิจต่างๆ แต่ท่านโกวิทย์ฏิเสธ ไม่ยอมรับการดูแลของกระผม โดยสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปิดท่าเรือในสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ห้ามเรือในเครือข่ายของกระผมออกจากฝั่ง แต่อนุญาตให้คู่แข่งของกระผมทำการได้
กระผมทราบว่าท่านรองผู้บัญชาการโกวิทย์ ร่วมมือกับนักธุรกิจน้ำมันรายใหม่ เข้าทำการค้าน้ำมันแข่งกับกระผม จึงจำเป็นต้องขออาศัยบารมีฯพณฯอีกครั้งหนึ่ง ขอได้โปรดช่วยกระผมด้วยครับ ช่วยขอความอนุเคราะห์จากผู้เกี่ยวข้องให้กระผมมีที่ยืนบ้าง
ทั้งนี้กระผมเองขอกราบเรียนด้วยว่า ที่ผ่านมาได้สนับสนุนการเมืองฝ่ายเราด้วยความเสียสละ และจริงใจเสมอมา โดยจะคงยืนหยัดเช่นนี้ตลอดไปครับ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ ที่ยืนยันว่าในพื้นที่ภาคใต้มีขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนอย่างแน่นอนและที่สำคัญขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ภาคใต้ยังได้แผ่อิทธิพลไปถึงหน่วยงานราชการภายใต้ความแคลงใจของคนไทยทั้งประเทศ จนทำให้เกิดคำถามว่า การที่ยังไม่สามารถจับกุมขบวนการนี้ได้ เพราะไม่ใช่จับไม่ได้แต่เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการจับ หรือไม่
ว่ากันว่าเครือข่ายค้าน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ภาคใต้ มีอยู่หลายหลายกลุ่มและบุคคลผู้ทรงอิทธิพล ทั้งนักธุรกิจ นักการเมือง ผู้นำในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่รัฐ
ตามรายงานระบุว่า บุคคลผู้ทรงอิทธิพลในประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย
ทั้งนี้ บริษัท อ./ฟ. ที่มีฐานอยู่ใน จ.ปัตตานี มีความเกี่ยวโยงกับบริษัท ต.ที่ตั้งอยู่ในรัฐกลันตัน เพราะผู้บริหารบริษัทบางส่วนเป็นชุดเดียวกัน บางคนเป็นเครือญาติกัน โยงถึงครอบครัวของ "คนมีสี" ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงใน จ.ปัตตานีด้วย
การทำงานของเรือบรรทุกน้ำมันในเครือข่ายนี้ คือจะมีเรือขนาดใหญ่ หรือเรือบาร์จ (เรือขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายสินค้า และมีเรือที่ใช้ขนน้ำมันเป็นการเฉพาะ) เดินทางไปรับน้ำมันที่น่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน นอกน่านน้ำไทย โดยแหล่งที่มาของน้ำมันมี 2-3 แหล่ง คือ ซื้อน้ำมันราคาถูกจากประเทศบรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ (ราคาน้ำมันถูกกว่าไทยมาก) และซื้อจากเรือของแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ลักลอบนำมาขาย
วิธีการรับ-ส่งน้ำมันจะมีการนำน้ำมันประมาณ 700,000 ถึง 2,000,000 ลิตรต่อครั้งเคลื่อนย้ายเข้ามาในอ่าวไทย โดยจะจอดเรือใหญ่บริเวณรอยต่อน่านน้ำไทยกับน่านน้ำสากล เพื่อถ่ายน้ำมันลงเรือเล็ก ซึ่งเครือข่ายผู้ค้ามีเรือประมงดัดแปลงสำหรับบรรทุกน้ำมันโดยเฉพาะจำนวนมากกว่า 50 ลำไปรับน้ำมัน และมีรถบรรทุกอีกจำนวนหนึ่งคอยรับช่วงต่อตามชายฝั่งเพื่อขนส่งทางบกไปยังเป้าหมายต่างๆ ด้วย
เรือประมงดัดแปลงที่ว่านี้ บรรทุกน้ำมันได้ลำละ 30,000 ถึง 200,000 ลิตร โดยจะคอยรับถ่ายน้ำมันจากเรือใหญ่บริเวณรอยต่อน่านน้ำ เพื่อนำไปส่งตามจุดนัดหมายบริเวณชายฝั่ง ตั้งแต่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ยาวไปจนถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.เพชรบุรี สมุทรสาคร และบางครั้งไปถึงรอยต่อน่านน้ำไทยในเขต จ.ระยอง
จุดที่เจ้าหน้าที่มีหลักฐานว่าเป็นจุดขนถ่ายน้ำมัน คือ ในอ่าวไทยใกล้ทะเลสงขลา ใกล้ จ.นครศรีธรรมราช เหนือเกาะสมุยและเกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี ใกล้ทะเลชุมพร ใกล้ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และทะเลใกล้ จ.ระยอง กับ จ.ตราด
นอกจากนั้น ยังมีเรือประมงดัดแปลงลอยลำขายน้ำมันให้กับเรือประมงที่ผ่านไป-มาในทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ปัตตานี ถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่ที่ปรากฏข้อมูลมากที่สุดคือบริเวณอ่าวปัตตานี
เรือประมงดัดแปลงเหล่านี้ นอกจากทำหน้าที่รับน้ำมันจากเรือบาร์จ ขนเข้ามาในน่านน้ำไทยแล้ว ยังมีหน้าที่ลำเลียงเงินสดส่งไปยังเรือใหญ่และเรือบาร์จด้วย เม็ดเงินหมุนเวียนวันละ 60-210 ล้านบาท
ที่มาของน้ำมันหลบเลี่ยงภาษีจำนวนหนึ่ง มาจากโครงการช่วยเหลือเรือประมงของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีเป้าหมายช่วยเหลือเรือประมงที่มีอยู่จริง ประมาณ 200 ลำ แต่ด้วยอิทธิพลของบริษัทที่เป็นเครือข่ายค้าน้ำมันเถื่อนกับ นาย ส. ซึ่งเป็นบุคคลระดับสูงในรัฐกลันตัน จึงมีการนำเรือเถื่อนมาสวมทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิการช่วยเหลืออีกประมาณ 400 ลำ และนำน้ำมันที่ได้ไปขายต่อเพื่อกินส่วนต่าง
หน่วยงานด้านความมั่นคงประเมินว่า ปริมาณการค้าน้ำมันเถื่อนจากทุกช่องทางของเครือข่ายนี้มีประมาณ 100-150 ล้านลิตรต่อเดือน คิดมูลค่าเป็นเงินไทยประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยทางเครือข่ายได้รับผลประโยชน์เป็นกำไรเน็ตๆ จากการค้าน้ำมันรวมๆ แล้วเดือนละประมาณ 600-800 ล้านบาท ปีละเกือบ 1 หมื่นล้านบาท และมีการจัดสรรไปยังผู้เกี่ยวข้องในเครือข่าย
อย่างไรก็ดี ตัวเลขราวๆ 1 หมื่นล้านบาทนี้ เป็นตัวเลขเฉพาะ "กำไร" แต่หากนับเงินหมุนเวียนในธุรกิจค้าน้ำมัน ซึ่งเคยมีการตรวจพบหลักฐานทางบัญชี ปรากฏว่ามีตัวเลขสูงระดับ 5 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี
บริษัทที่อยู่นอกประเทศไทยแต่ร่วมอยู่ในเครือข่ายค้าน้ำมันหลบเลี่ยงภาษี นอกจาก 2 บริษัทในมาเลเซียที่กล่าวถึงไปแล้ว ยังมีบริษัทในประเทศเมียนมาร์อีก 1 แห่งด้วย โดยตัวละครสำคัญมีทั้งนักธุรกิจใหญ่ ผู้นำที่ได้รับการยอมรับในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นักการเมืองระดับท้องถิ่น รวมทั้งผู้มีอิทธิพลระดับสูงของมาเลเซียในรัฐที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากสถานทูตของชาติตะวันตก ระบุว่า เครือข่ายค้าน้ำมันในภาคใต้ของไทยอาจเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ค้าจากประเทศในตะวันออกกลางที่ถูกชาติตะวันตกขึ้นบัญชีห้ามค้าขายน้ำมัน เพราะมีพฤติการณ์สนับสนุนขบวนการก่อการร้าย แต่ประเทศเหล่านี้ปล่อยน้ำมันออกสู่ตลาดมืดผ่านขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในประเทศมุสลิมประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วกระจายต่อมายังเครือข่ายภาคใต้ของไทย โดยน้ำมันจากแหล่งนี้มีรายงานว่าส่งขายไปยังเพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทย
แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่เคยร่วมตรวจสอบข้อมูลส่วยน้ำมันเถื่อน เคยให้ข่าวว่า "หากจะย้ายเจ้าหน้าที่ในภาคใต้ที่เกี่ยวข้องกับเงินน้ำมันเถื่อนแล้วล่ะก็ คงต้องย้ายเกือบหมดทั้งภาค"
ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เล่าว่า เคยนำกำลังชุดเฉพาะกิจลงไปตั้งด่านสกัดการขนยาเสพติดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏว่าเจอรถขนส่งน้ำมันเถื่อนขับเข้าด่าน เมื่อรถจอด คนในรถรีบวิ่งลงมาถามว่า "ยังขาดตกบกพร่องหน่วยไหนอยู่อีกหรือ?" ทำให้เจ้าหน้าที่จากนอกพื้นที่ถึงกับตกใจ เพราะสะท้อนว่าการจ่ายส่วยน้ำมันเถื่อนในพื้นที่เป็นไปอย่างกว้างขวางจริงๆ
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยสำนักข่าวทีนิวส์จะร่วมแกะรอยตรวจสอบรวมไปถึงกรณีของบ่อนต่างๆ ซึ่งในวันนี้เราจะนำเสนอข้อมูลเบื้องต้น เพราะมีมูลค่า มหาศาลเช่นกัน
ธุรกิจบ่อนการพนัน เริ่มขึ้นโดยเลือกใช้สถานบริการอาบอบนวดโคลอนเซ่ ติดกับถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กทม.เป็นแหล่งทองคำ เปิดบริการเซียนพนันด้วยโต๊ะบาคาร่า แบบโต๊ะเล็กจำนวนกว่า 100 โต๊ะ และโต๊ะวีไอพีอีก 10 โต๊ะ
โดยรายละเอียดต่างๆสำหรับโต๊ะเล็กก็คือเจ้ามืออั้นคนแทงไม่เกินครั้งละ 1 แสนบาท ส่วนโต๊ะใหญ่อั้นครั้งละไม่เกิน 5 แสนบาทซึ่งทำให้เกิดส่วนต่างของค่าเช่าจึงอยู่ที่โต๊ะเล็กต่อขอนต่อ 8 ชั่วโมงค่าเช่า 150,000 บาท โต๊ะวีไอพี.อยู่ที่ 200,000-300,000 บาทขึ้นอยู่กับรอบในแต่ละวัน รอบละ 8 ชั่วโมงแบ่งเป็นรอบเช้า บ่ายและดึกโดยช่วงพาร์มไทม์ หรือช่วง 14.00-22.00 น.ราคาจะสูงที่สุด และเมื่อรวมกับค่าต๋งต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพนันกำถั่ว บ่อนไฮโลหรือแม้แต่ตู้สลอต ตู้ม้า
กราบเรียน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระผมนายสหชัย เจียรเสริมสิน ทำธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันนอกน่านน้ำประเทศไทย ก่อนหน้านี้กระผมได้รบกวนบารมีมาแล้ว ก็แก้ไขได้ระดับหนึ่ง แต่ตอนนี้มี “รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (พล.ต.ต.โกวิทย์ วงศ์รุ่งโรจน์)” ได้ส่ง “พ.ต.อ. ...(ขอสงวนชื่อ-สกุล เนื่องจากไม่มีรายชื่อในหมายจับ) ลงมาเป็น ผกก.ตำรวจน้ำสงขลา ผมได้พยายามเจรจา ดูแล และช่วยภารกิจต่างๆ แต่ท่านโกวิทย์ฏิเสธ ไม่ยอมรับการดูแลของกระผม โดยสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปิดท่าเรือในสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ห้ามเรือในเครือข่ายของกระผมออกจากฝั่ง แต่อนุญาตให้คู่แข่งของกระผมทำการได้
กระผมทราบว่าท่านรองผู้บัญชาการโกวิทย์ ร่วมมือกับนักธุรกิจน้ำมันรายใหม่ เข้าทำการค้าน้ำมันแข่งกับกระผม จึงจำเป็นต้องขออาศัยบารมีฯพณฯอีกครั้งหนึ่ง ขอได้โปรดช่วยกระผมด้วยครับ ช่วยขอความอนุเคราะห์จากผู้เกี่ยวข้องให้กระผมมีที่ยืนบ้าง
ทั้งนี้กระผมเองขอกราบเรียนด้วยว่า ที่ผ่านมาได้สนับสนุนการเมืองฝ่ายเราด้วยความเสียสละ และจริงใจเสมอมา โดยจะคงยืนหยัดเช่นนี้ตลอดไปครับ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ ที่ยืนยันว่าในพื้นที่ภาคใต้มีขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนอย่างแน่นอนและที่สำคัญขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ภาคใต้ยังได้แผ่อิทธิพลไปถึงหน่วยงานราชการภายใต้ความแคลงใจของคนไทยทั้งประเทศ จนทำให้เกิดคำถามว่า การที่ยังไม่สามารถจับกุมขบวนการนี้ได้ เพราะไม่ใช่จับไม่ได้แต่เจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการจับ หรือไม่
ว่ากันว่าเครือข่ายค้าน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ภาคใต้ มีอยู่หลายหลายกลุ่มและบุคคลผู้ทรงอิทธิพล ทั้งนักธุรกิจ นักการเมือง ผู้นำในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่รัฐ
ตามรายงานระบุว่า บุคคลผู้ทรงอิทธิพลในประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย
- 1.นาย ส. เป็นเครือข่ายใหญ่ที่สุด เป็นตัวกลางออกหน้าเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นๆ
- 2.นาย น. นักการเมืองท้องถิ่นของ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
- 3.นาย ม. จากบริษัท อ./ฟ. มีฐานอยู่ใน จ.ปัตตานี เคยถูกทหารและดีเอสไอเข้าตรวจค้นเมื่อหลายปีก่อน
- 4.นาย ม. เจ้าของบริษัท อ. ในอำเภอพื้นที่สีแดงของ จ.นราธิวาส
- 5.เครือข่ายนายมะ เชื่อมโยงกับยาเสพติด
- 6.เครือข่ายนาย จ. เจ้าของกิจการเกี่ยวกับน้ำมัน มีเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่
- 7.บริษัท ก. กับ บริษัท ต. ตั้งอยู่ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
- 8.สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งหนึ่งในพื้นที่ชายแดนใต้
ทั้งนี้ บริษัท อ./ฟ. ที่มีฐานอยู่ใน จ.ปัตตานี มีความเกี่ยวโยงกับบริษัท ต.ที่ตั้งอยู่ในรัฐกลันตัน เพราะผู้บริหารบริษัทบางส่วนเป็นชุดเดียวกัน บางคนเป็นเครือญาติกัน โยงถึงครอบครัวของ "คนมีสี" ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงใน จ.ปัตตานีด้วย
การทำงานของเรือบรรทุกน้ำมันในเครือข่ายนี้ คือจะมีเรือขนาดใหญ่ หรือเรือบาร์จ (เรือขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายสินค้า และมีเรือที่ใช้ขนน้ำมันเป็นการเฉพาะ) เดินทางไปรับน้ำมันที่น่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน นอกน่านน้ำไทย โดยแหล่งที่มาของน้ำมันมี 2-3 แหล่ง คือ ซื้อน้ำมันราคาถูกจากประเทศบรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ (ราคาน้ำมันถูกกว่าไทยมาก) และซื้อจากเรือของแท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติที่ลักลอบนำมาขาย
วิธีการรับ-ส่งน้ำมันจะมีการนำน้ำมันประมาณ 700,000 ถึง 2,000,000 ลิตรต่อครั้งเคลื่อนย้ายเข้ามาในอ่าวไทย โดยจะจอดเรือใหญ่บริเวณรอยต่อน่านน้ำไทยกับน่านน้ำสากล เพื่อถ่ายน้ำมันลงเรือเล็ก ซึ่งเครือข่ายผู้ค้ามีเรือประมงดัดแปลงสำหรับบรรทุกน้ำมันโดยเฉพาะจำนวนมากกว่า 50 ลำไปรับน้ำมัน และมีรถบรรทุกอีกจำนวนหนึ่งคอยรับช่วงต่อตามชายฝั่งเพื่อขนส่งทางบกไปยังเป้าหมายต่างๆ ด้วย
เรือประมงดัดแปลงที่ว่านี้ บรรทุกน้ำมันได้ลำละ 30,000 ถึง 200,000 ลิตร โดยจะคอยรับถ่ายน้ำมันจากเรือใหญ่บริเวณรอยต่อน่านน้ำ เพื่อนำไปส่งตามจุดนัดหมายบริเวณชายฝั่ง ตั้งแต่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ยาวไปจนถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.เพชรบุรี สมุทรสาคร และบางครั้งไปถึงรอยต่อน่านน้ำไทยในเขต จ.ระยอง
จุดที่เจ้าหน้าที่มีหลักฐานว่าเป็นจุดขนถ่ายน้ำมัน คือ ในอ่าวไทยใกล้ทะเลสงขลา ใกล้ จ.นครศรีธรรมราช เหนือเกาะสมุยและเกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี ใกล้ทะเลชุมพร ใกล้ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และทะเลใกล้ จ.ระยอง กับ จ.ตราด
นอกจากนั้น ยังมีเรือประมงดัดแปลงลอยลำขายน้ำมันให้กับเรือประมงที่ผ่านไป-มาในทะเลอ่าวไทยตั้งแต่ จ.ปัตตานี ถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ แต่ที่ปรากฏข้อมูลมากที่สุดคือบริเวณอ่าวปัตตานี
เรือประมงดัดแปลงเหล่านี้ นอกจากทำหน้าที่รับน้ำมันจากเรือบาร์จ ขนเข้ามาในน่านน้ำไทยแล้ว ยังมีหน้าที่ลำเลียงเงินสดส่งไปยังเรือใหญ่และเรือบาร์จด้วย เม็ดเงินหมุนเวียนวันละ 60-210 ล้านบาท
ที่มาของน้ำมันหลบเลี่ยงภาษีจำนวนหนึ่ง มาจากโครงการช่วยเหลือเรือประมงของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีเป้าหมายช่วยเหลือเรือประมงที่มีอยู่จริง ประมาณ 200 ลำ แต่ด้วยอิทธิพลของบริษัทที่เป็นเครือข่ายค้าน้ำมันเถื่อนกับ นาย ส. ซึ่งเป็นบุคคลระดับสูงในรัฐกลันตัน จึงมีการนำเรือเถื่อนมาสวมทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิการช่วยเหลืออีกประมาณ 400 ลำ และนำน้ำมันที่ได้ไปขายต่อเพื่อกินส่วนต่าง
หน่วยงานด้านความมั่นคงประเมินว่า ปริมาณการค้าน้ำมันเถื่อนจากทุกช่องทางของเครือข่ายนี้มีประมาณ 100-150 ล้านลิตรต่อเดือน คิดมูลค่าเป็นเงินไทยประมาณ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยทางเครือข่ายได้รับผลประโยชน์เป็นกำไรเน็ตๆ จากการค้าน้ำมันรวมๆ แล้วเดือนละประมาณ 600-800 ล้านบาท ปีละเกือบ 1 หมื่นล้านบาท และมีการจัดสรรไปยังผู้เกี่ยวข้องในเครือข่าย
อย่างไรก็ดี ตัวเลขราวๆ 1 หมื่นล้านบาทนี้ เป็นตัวเลขเฉพาะ "กำไร" แต่หากนับเงินหมุนเวียนในธุรกิจค้าน้ำมัน ซึ่งเคยมีการตรวจพบหลักฐานทางบัญชี ปรากฏว่ามีตัวเลขสูงระดับ 5 หมื่นถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี
บริษัทที่อยู่นอกประเทศไทยแต่ร่วมอยู่ในเครือข่ายค้าน้ำมันหลบเลี่ยงภาษี นอกจาก 2 บริษัทในมาเลเซียที่กล่าวถึงไปแล้ว ยังมีบริษัทในประเทศเมียนมาร์อีก 1 แห่งด้วย โดยตัวละครสำคัญมีทั้งนักธุรกิจใหญ่ ผู้นำที่ได้รับการยอมรับในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นักการเมืองระดับท้องถิ่น รวมทั้งผู้มีอิทธิพลระดับสูงของมาเลเซียในรัฐที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจากสถานทูตของชาติตะวันตก ระบุว่า เครือข่ายค้าน้ำมันในภาคใต้ของไทยอาจเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ค้าจากประเทศในตะวันออกกลางที่ถูกชาติตะวันตกขึ้นบัญชีห้ามค้าขายน้ำมัน เพราะมีพฤติการณ์สนับสนุนขบวนการก่อการร้าย แต่ประเทศเหล่านี้ปล่อยน้ำมันออกสู่ตลาดมืดผ่านขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนในประเทศมุสลิมประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วกระจายต่อมายังเครือข่ายภาคใต้ของไทย โดยน้ำมันจากแหล่งนี้มีรายงานว่าส่งขายไปยังเพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทย
แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่เคยร่วมตรวจสอบข้อมูลส่วยน้ำมันเถื่อน เคยให้ข่าวว่า "หากจะย้ายเจ้าหน้าที่ในภาคใต้ที่เกี่ยวข้องกับเงินน้ำมันเถื่อนแล้วล่ะก็ คงต้องย้ายเกือบหมดทั้งภาค"
ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เล่าว่า เคยนำกำลังชุดเฉพาะกิจลงไปตั้งด่านสกัดการขนยาเสพติดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏว่าเจอรถขนส่งน้ำมันเถื่อนขับเข้าด่าน เมื่อรถจอด คนในรถรีบวิ่งลงมาถามว่า "ยังขาดตกบกพร่องหน่วยไหนอยู่อีกหรือ?" ทำให้เจ้าหน้าที่จากนอกพื้นที่ถึงกับตกใจ เพราะสะท้อนว่าการจ่ายส่วยน้ำมันเถื่อนในพื้นที่เป็นไปอย่างกว้างขวางจริงๆ
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยสำนักข่าวทีนิวส์จะร่วมแกะรอยตรวจสอบรวมไปถึงกรณีของบ่อนต่างๆ ซึ่งในวันนี้เราจะนำเสนอข้อมูลเบื้องต้น เพราะมีมูลค่า มหาศาลเช่นกัน
ธุรกิจบ่อนการพนัน เริ่มขึ้นโดยเลือกใช้สถานบริการอาบอบนวดโคลอนเซ่ ติดกับถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กทม.เป็นแหล่งทองคำ เปิดบริการเซียนพนันด้วยโต๊ะบาคาร่า แบบโต๊ะเล็กจำนวนกว่า 100 โต๊ะ และโต๊ะวีไอพีอีก 10 โต๊ะ
โดยรายละเอียดต่างๆสำหรับโต๊ะเล็กก็คือเจ้ามืออั้นคนแทงไม่เกินครั้งละ 1 แสนบาท ส่วนโต๊ะใหญ่อั้นครั้งละไม่เกิน 5 แสนบาทซึ่งทำให้เกิดส่วนต่างของค่าเช่าจึงอยู่ที่โต๊ะเล็กต่อขอนต่อ 8 ชั่วโมงค่าเช่า 150,000 บาท โต๊ะวีไอพี.อยู่ที่ 200,000-300,000 บาทขึ้นอยู่กับรอบในแต่ละวัน รอบละ 8 ชั่วโมงแบ่งเป็นรอบเช้า บ่ายและดึกโดยช่วงพาร์มไทม์ หรือช่วง 14.00-22.00 น.ราคาจะสูงที่สุด และเมื่อรวมกับค่าต๋งต่างๆไม่ว่าจะเป็นการพนันกำถั่ว บ่อนไฮโลหรือแม้แต่ตู้สลอต ตู้ม้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น