กฤษฎีกาเสนอให้รองนายกฯ ด้านศก. นั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการดิจิทัลฯ แทนนายกฯ ที่ปรึกษาปลัดฯ เผย มีคำสั่งยุบ "ซิป้า" แล้ว ตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแทน คาดกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับใช้งานได้ไตรมาส 2 ของปี ด้านเครือข่ายพลเมืองเน็ตเตรียมยื่นหนังสือ ขอให้ทบทวนการร่างกฎหมาย ที่รัฐสภา พรุ่งนี้
2 ก.พ.2558 ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า นายมนู อรดีดลเชษฐ์ คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี และที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ให้สัมภาษณ์ในงานสัมมนา 360 องศา ดิจิทัล อีโคโนมี จัดโดยชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยว่า คณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อเสนอถึงรัฐบาล ให้เปลี่ยนตำแหน่งประธานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดิจิทัล อีโคโนมี จากเดิมที่ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.... กำหนดให้ตำแหน่งประธาน คือ นายกรัฐมนตรี แต่คณะกรรมการกฤษฎีกา แนะนำให้เปลี่ยนเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพราะเห็นว่าตำแหน่งนายกฯ อาจมีภารกิจรัดตัว จนไม่มีเวลามาขับเคลื่อนการทำงานดังกล่าว
"ทางคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี กำลังพิจารณาว่าจะเปลี่ยนตำแหน่งประธานหรือไม่ เพราะเบื้องต้นคณะทำงานฯ ยังต้องการให้นายกฯ ทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวอยู่ เพื่อแสดงถึงความจริงจังในการขับเคลื่อนนโยบายฯ และการสั่งงานผ่านนายกรัฐมนตรีนั้นมีน้ำหนักมากกว่า แต่หากไม่มีเวลาจริง อาจให้นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีขึ้นมาทำหน้าที่แทนได้" ที่ปรึกษาปลัดไอซีที กล่าว
นายมนู กล่าวต่อว่า ส่วนการปรับปรุงโครงสร้างของไอซีที ผ่าน พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ขณะนี้ ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. แล้ว โดยไอซีทีจะยุบสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า และตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นแทน เพื่อช่วยคณะกรรมการดิจิตอลอีโคโนมี ขับเคลื่อนในเรื่องต่างๆ โดยโอนพิจารณาโอนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและตรงกับภารกิจมาจากซิป้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด การพิจารณากฎหมายเศณษฐกิจดิจิทัล 10 ฉบับ จะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ในเดือน ก.พ.นี้ และคาดว่าจะผ่านความเห็นชอบจาก สนช. และประกาศใช้ได้เร็วสุดภายในไตรมาส 2 ของปีนี้
เครือข่ายพลเมืองเน็ตเตรียมยื่นหนังสือ ร้องทบทวนชุดกฎหมาย 'เศรษฐกิจดิจิทัล'
พรุ่งนี้ (3 ก.พ.) เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา สฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง พร้อมด้วย องค์กรเครือข่าย สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน มูลนิธิโลกสีเขียว และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จะยื่นจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการพิจารณา ทบทวน และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป กรณีร่างกฎหมาย “เศรษฐกิจดิจิทัล” ต่อ คำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วย วสันต์ ภัยหลีกลี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และ สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการสมาชิกปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ
ทั้งนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตออกแคมเปญ "หยุดชุดกฎหมาย 'ความมั่นคงดิจิทัล' เมื่อวันที่ 22 ม.ค. ผ่านทาง change.org โดยล่าสุด มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้ว 20,678 ราย
พรุ่งนี้ (3 ก.พ.) เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา สฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง พร้อมด้วย องค์กรเครือข่าย สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน มูลนิธิโลกสีเขียว และสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จะยื่นจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการพิจารณา ทบทวน และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป กรณีร่างกฎหมาย “เศรษฐกิจดิจิทัล” ต่อ คำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วย วสันต์ ภัยหลีกลี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และ สารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะกรรมาธิการสมาชิกปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค สภาปฏิรูปแห่งชาติ
ทั้งนี้ เครือข่ายพลเมืองเน็ตออกแคมเปญ "หยุดชุดกฎหมาย 'ความมั่นคงดิจิทัล' เมื่อวันที่ 22 ม.ค. ผ่านทาง change.org โดยล่าสุด มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้ว 20,678 ราย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น