ผลสำรวจความเห็นของประชาชนต่อการร่าง รธน.ฉบับใหม่ โดย สนง.สถิติแห่งชาติ ชี้ประชาชนต้องการนายกผ่านการเลือกตั้ง สส.และ สว.มาจากการเลือกตั้ง องค์กรอิสระต้องเปิดบัญชีทรัพย์สิน การซื้อขายเสียงมีโทษอาญา ให้สิทธิชุมชนในการัดการทรัพยากรธรรมชาติ สร้างหนี้ประเทศต้องผ่านสภา เห็นด้วยนิรโทษกรรมทางการเมือง เพียง18%ที่เห็นด้วยให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต
ผลสำรวจดังกล่าวเป็นไปตามโครงการของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนญ (กมธ.ยกร่างฯ) ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า โดยได้ประสานให้สำนักงานสถิติแห่งชาติดำเนินการ เน้นเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนโดยตรงที่ประชาชนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน
ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5,800 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 5 ถึง 11 ม.ค.58 ก่อนจะนำมาวิเคราะห์และสรุปเป็นรายงานเสนอ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ
หนุน กก.องค์กรอิสระเปิดบัญชีทรัพย์สิน
ผลสำรวจแบ่งเป็นประเด็นๆ ตามคะแนนที่ประชาชนเห็นด้วยกับเรื่องนั้นๆ เริ่มจาก ประเด็นที่ประชาชนเห็นด้วยมากกว่าร้อยละ 90 ที่สำคัญได้แก่ ควรมีกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนยุติธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม (ร้อยละ 97.1) ควรให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อกันเสนอให้ถอดถอดสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้ (ร้อยละ 96)
กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับชุมชนในการจัดสรรที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นธรรม (ร้อยละ 95.6) ประชาชนควรมีสิทธิออกเสียงประชามติในเรื่องที่จะผลกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและประชาชน (ร้อยละ 95.2)
กรรมการองค์กรอิสระต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะทั้งก่อนและหลังเข้ารับตำแหน่ง (ร้อยละ94.3) ข้าราชการ / พนักงานของรัฐระดับสูง ระดับผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะทั้งก่อนและหลังเข้ารับตำแหน่ง (ร้อยละ94.0)
การสรรหากรรมการขององค์กรอิสระ ควรมีผู้แทนที่มาจากองค์กรวิชาชีพ องค์กรวิชาการ เอกชน สื่อมวลชน และภาคประชาชนร่วมด้วย (ร้อยละ 93.9)
การสรรหากรรมการขององค์กรอิสระ ควรมีผู้แทนที่มาจากองค์กรวิชาชีพ องค์กรวิชาการ เอกชน สื่อมวลชน และภาคประชาชนร่วมด้วย (ร้อยละ 93.9)
สร้างหนี้ประเทศต้องผ่านสภา
ควรมีคณะกรรมการในการพิจารณาคัดเลือก แต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการระดับสูง (ร้อยละ 92.6)
การสร้างหนี้ของประเทศต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา ร้อยละ 90.6
การสร้างหนี้ของประเทศต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา ร้อยละ 90.6
ควรทำการแยกแยะกำหนดโทษผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง เพื่อให้อภัยแก่ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมโดยสงบ และมิได้กระทำผิดอาญาร้ายแรง (ร้อยละ 90.5)
แนะตรวจคุณสมบัติเครือญาติผู้สมัครส.ส.
ต่อมาเป็นประเด็นที่ประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 80-90 ที่สำคัญ เช่น ประเทศไทยควรมีระบบ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ร้อยละ 88.2) ควรกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 ม.ค.ของปีที่มีการเลือกตั้ง (ร้อยละ 88.2)
ควรกำหนดให้ทั้งการซื้อและขายเสียงเป็นความผิดที่มีโทษถึงจำคุก (ร้อยละ 87.6) ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เครือญาติ คู่สมรส และบุตรย้อนหลัง 5 ปี (ร้อยละ 86.9)
ควรกำหนดให้ทั้งการซื้อและขายเสียงเป็นความผิดที่มีโทษถึงจำคุก (ร้อยละ 87.6) ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เครือญาติ คู่สมรส และบุตรย้อนหลัง 5 ปี (ร้อยละ 86.9)
ชุมชนต้องมีสิทธิในการอนุญาตหรือยกเลิกการให้เอกชนเข้ารับสัมปทานเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน (ร้อยละ 86.9) ควรมีการกำหนดให้จำนวน ส.ว.ในแต่ละจังหวัดขึ้นอยู่กับจำนวนของประชากรในแต่ละจังหวัด (ร้อยละ 86.3) และควรให้ กกต.มีอำนาจเฉพาะการบริหารจัดการและออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งเท่านั้น (ร้อยละ 85.6)
หนุนแยกหน่วยภารกิจรองออกจากตำรวจ
สำหรับประเด็นที่ประชาชนเห็นด้วยตั้งแต่ร้อยละ 60-79 ที่สำคัญ เช่น ควรมีการแยกหน่วยงานตำรวจที่ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น ตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจรถไฟ ตำรวจป่าไม้ ออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ไปขึ้นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 76.6)
ควรกำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณให้แก่ท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการให้บริการสาธารณะและจัดสวัสดิการสังคม (ร้อยละ 71.4)
เชียร์นายกฯต้องมาจากเลือกตั้ง
ควรมี ส.ส.สองประเภทเหมือนเดิม คือ ส.ส.แบบแบ่งเขต และระบบบัญชีรายชื่อ (ร้อยละ 71.3) นายกรัฐมนตรีต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองและมาจากการเลือกตั้ง (ร้อยละ 70.1) การเลือกตั้ง ส.ส. ผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง (ร้อยละ 68.6)
ควรกำหนดสัดส่วนผู้แทนที่เป็นผู้หญิงให้มีอย่างน้อยร้อยละ 30 เพื่อเปิดโอกาสให้มีผู้แทนที่เป็นผู้หญิงมากขึ้น (ร้อยละ 67.6) คดีทั่วไปสิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์ หากจะฎีกาต้องขอเป็นกรณีพิเศษ เพื่อลดจำวนคดีที่จะขึ้นสู่ศาล (ร้อยละ 65.1)
ควรกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน หากไม่ไปเลือกตั้งต้องถูกลงโทษ (ร้อยละ 64.6) ส.ว.ควรมีที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ร้อยละ 62.3
จำกัดวาระผู้นำแค่ 2 สมัย
ส่วนประเด็นที่ประชาชนเห็นด้วยตั้งแต่ร้อยละ 50-59 ที่สำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.ด้วย (ร้อยละ 58.9) นายกรัฐมนตรีควรมาจากความเห็นชอบของ ส.ส. (ร้อยละ 58.6) การเลือกตั้ง ส.ส.เขต ควรเป็นแบบ 1 เขต 1 คน (ร้อยละ 58)
การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของ ส.ว.คราวละ 6 ปี ไม่เหมาะสม (ร้อยละ 55) ควรมีศาลเลือกตั้งเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดการเลือกตั้ง (ร้อยละ 54.9) ควรจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 2 สมัย (ร้อยละ 54.6)
แค่ส่วนน้อยชงห้าม ส.ส.นั่ง รมต.
ขณะที่ประเด็นที่ประชาชนเห็นด้วยต่ำกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ ฝ่ายการเมืองสามารถเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในระดับหัวหน้ากระทรวงได้ (ร้อยละ 43.4) ห้าม ส.ส.เป็นรัฐมนตรี (ร้อยละ 43.3)
ควรกำหนดจำนวนครั้งของการดำรงตำแหน่ง ส.ส. เพื่อไม่ให้อยู่ในการเมืองนานเกินไป (ร้อยละ 37.8) ควรให้บุคคลทุกสัญชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้รับสิทธิทุกประการเหมือนกับคนไทย (ร้อยละ 20.3) และยกเลิกโทษประหารชีวิต (ร้อยละ 18)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น