อ่านร่างรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติว่าด้วยการถอดถอนจากตำแหน่ง เก้าอี้ใครแข็งแกร่งที่สุดในปฐพี จากการออกแบบโครงสร้างทางการเมือง ‘นายกฯ ครม. ส.ส. ส.ว.’ ปลิวง่ายที่สุด ขณะที่คณะกรรมการยุทธศาสต์ฯ คงทนถาวร (อย่างน้อย 5 ปี)
ตลอดช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสวิพากษ์ วิจารณ์จำนวนมากว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ละเมิดหลักการประชาธิปไตยอย่างเด่นชัด ล่าสุดเมื่อวานนี้(3 ก.ย. 2258) ลิขิต ธีรเวคิน ได้แสดงความคิดเห็นในเวทีเสวนาวิชาการ วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 กับทิศทางการปฏิรูปการเมืองไทย: ทางออกหรือทางตัน ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ (อ่านข่าวที่นี่)
ลิขิต ระบุว่ามีอย่างน้อย 3 สิ่งที่ขัดหลักการประชาธิปไตยอย่างชัดเจนในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย การเปิดช่องทางให้มีนายกรัฐมนตรี ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในยามวิกฤต การระบุให้มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 123 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง และการให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐบาล
ขณะเดียวกันวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขนี้จะเปิดเพยต่อสาธารณะว่าจะมีการสร้างอำนาจ 3 ระดับ โดยอำนาจระดับแรกคือ อำนาจของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีอำนาจน้อยที่สุด อำนาจในระดับที่เหนือขึ้นมาคือ อำนาจของกลุ่มองค์กรอิสระที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และอำนาจระดับสุดท้ายคืออำนาจคุมควบในยามวิกฤต ซึ่งปรากฎออกมาเป็นรูปธรรมคือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ
อย่างไรก็ตามการระบุให้มีสถาบันทางการเมือง และการระบุอำนาจหน้าที่ของสถาบันทางการเมืองเหล่านั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยทำให้เห็นโครงสร้างอำนาจที่กำลังถูกสร้างในร่างรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจละเลยไปได้คือการ มองหาทางลงจากเก้าอี้ของแต่ละตำแหน่งโดยการถอดถอน สิ่งนี้เองก็สะท้อนโครงสร้างอำนาจได้ไม่น้อยเช่นกัน
หากหยิบประเด็นโครงสร้างอำนาจ 3 ระดับจาก วรเจตน์ มาจัดวางเป็นเก้าอี้ 3 ตัว แล้วเปิดเข้าไปดูร่างรัฐธรรมนูญ ภาค 3 หมวด 2 ส่วนที่ 3 การถอดแหน่งจากตำแหน่ง สิ่งพบคือ การถอดถอนเองก็มี 3 ระดับด้วยเช่นกันคือ ‘ง่าย-กึ่งยากกึ่งง่าย- ถอดไม่ได้เลย’
ใครมีสิทธิเสนอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้บ้าง (มาตรา 239)
1.ส.ส. หรือ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของคะแนนเสียงทั้งหมดที่มีอยู่ของแต่ละสภา
Ex1. มี ส.ส. 450 คน ต้องใช้คะแนนเสียง 112 เสียงขึ้นไป
Ex2. มี ส.ว. 200 คน ต้องใช้คะแนนเสียง 50 เสียงขึ้นไป
2.ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน
เหตุแห่งการถอดถอด (มาตรา 238)
1.มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
2.ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งราชการ
3.ส่อว่ากระทำผิดต่อทำแหน่งในการยุติธรรม
4.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติหรือรัฐธรรมนูญหรือกฏหมาย
5.ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตราฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
ใครเป็นเป็นคนพิจารณาถอดถอนใคร มาตรา 238 + มาตรา 240
รัฐสภา ถอดถอน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. โดยใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เช่นมี ส.ส. 450 ส.ว. 200 ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 225 เสียง
หมายเหตุ : ทั้งนี้มี ส.ว. มาจากการสรรหา 123 คน ซึ่งชุดแรกจะได้มาจากการดำเนินการสรรหา โดยคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้ และยังไม่นับรวมฝ่ายค้านในรัฐสภา
วุฒิสภา ถอดถอน ประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ ยกเว้น ป.ป.ช. ให้เป็นไปตามกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ โดยใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 เช่นมี ส.ว. 200 ต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อบกว่า 120 เสียง
หมายเหตุ : ทั้งนี้มี ส.ว. มาจากการสรรหา 123 คน ทั้งนี้มี ส.ว. มาจากการสรรหา 123 คน ซึ่งชุดแรกจะได้มาจากการดำเนินการสรรหา โดยคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้
ทั้งนี้ไม่มีบทบัญญัติใดๆ ระบุถึงการถอดถอน คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติอยู่เลย
ผลจากการถูกถอดถอน มาตรา 238
มาตรา 240 วรรคสามระบุว่า ผู้ถูกถอดถอนถูกตัดสิทธิ 5 ปี "แต่ถ้าเป็นกรณีที่ถูกถอดถอนเพราะเหตุที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ให้มีผลเป็นการตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือสิทธิในการดำรงตำแหน่งอื่นตลอดไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น