24 พ.ค. 2557 สนามเป้า กรุงเทพฯ
แฟ้มภาพ: ประชาไท
P8_TA-PROV(2015)0343
สถานการณ์ในประเทศไทย
มติรัฐสภายุโรป ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2558 เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย
(2015/2875(RSP))
สถานการณ์ในประเทศไทย
มติรัฐสภายุโรป ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2558 เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย
(2015/2875(RSP))
รัฐสภายุโรป
- – อ้างถึงการลงมติก่อนหน้านี้เกี่ยวกับประเทศไทย โดยเฉพาะมติเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553, 6 กุมภาพันธ์ 2557 และ 21 พฤษภาคม 2558
- – อ้างถึงคำแถลงการณ์โดยโฆษกของ Federica Mogherini รองประธานคณะกรรมการ/ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558 เกี่ยวกับความเป็นไปในประเทศไทย
- – อ้างถึงคำแถลงการณ์ของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ร่วมกับคณะเอกอัครราชทูตของสมาชิกประเทศสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557, 30 มิถุนายน 2558 และ 24 กันยายน 2558
- – อ้างถึงมติสภายุโรปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557 เกี่ยวกับประเทศไทย
- – อ้างถึงคำตอบของ Catherine Ashton รองประธานคณะกรรมการ/ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคงในขณะนั้น ในฐานะตัวแทนของคณะกรรมาธิการ เกี่ยวกับสถานการณ์ของกรณีนายแอนดี้ ฮอลล์ (Andy Hall)
- – อ้างถึงการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนลงวันที่ 1 เมษายน 2558 ของผู้รายงานพิเศษประจำสหประชาชาติเกี่ยวกับการส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
- – อ้างถึงการนำเสนอรายงานและคำชี้แนะของกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคณะ Universal Periodic Review ประจำประเทศไทยต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554
- – อ้างถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948
- – อ้างถึงปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1998 อ้างถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ค.ศ. 1966 ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้
- – อ้างถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ค.ศ. 1984
- – อ้างถึงปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- – อ้างถึงข้อบังคับ 135(5) และ 123(4) ของข้อบังคับการประชุมของรัฐสภายุโรป
A. อันเนื่องจากวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ที่กองทัพทำรัฐประหารถอดถอนรัฐบาลของประเทศไทยและดำเนินการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ พร้อมทั้งประกาศยุบศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย
B. อันเนื่องจากกองทัพไทยดำเนินการก่อตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีผู้นำคือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บริหารอำนาจทั้งหมดและมีอำนาจไม่จำกัดในการออกคำสั่งและจัดการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
C. อันเนื่องจากองค์กรร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช. ตั้งขึ้นอยู่ภายใต้การควบคุมของนายทหารจากกองทัพ รวมทั้งการที่สมาชิก คสช. ได้รับการคุ้มครองจากการรับโทษใดๆ อันเกิดจากการกระทำความผิด ความรับผิดชอบหรือภาระรับผิดขณะปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 44 และ 47 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว
D. อันเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้น แต่สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในวันที่ 6 กันยายน 2558 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่จึงต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน และการไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดนี้อาจยืดเวลาการปกครองของรัฐบาลทหารในประเทศนี้ออกไป
E. อันเนื่องจากเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมหลายเว็บไซต์ที่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยถูก คสช. กล่าวหาว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติภายใต้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว รวมทั้งมีการเซ็นเซอร์ช่องโทรทัศน์และสถานีวิทยุชุมชนที่เชื่อมโยงกับกลุ่มการเมืองภายในประเทศทุกกลุ่มอย่างเข้มงวดเกินกว่าเหตุ
F. อันเนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้มีการผ่านกฎหมายพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ซึ่งจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างมากและมีบทลงโทษรุนแรงด้วยการจำคุกไม่เกิน 10 ปีสำหรับการฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น การขัดขวางระบบการบริการสาธารณะ
G. อันเนื่องจากนายทหารกองทัพที่ได้รับแต่งตั้งเป็น “พนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” มีอำนาจกักขังหน่วงเหนี่ยวประชาชนตามอำเภอใจ สามารถเรียกประชาชนไปสอบปากคำและตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายศาล
H. อันเนื่องจากผู้เข้าร่วมการประท้วงโดยสันติถูกตั้งข้อหาปลุกระดมและข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกรณีนักกิจกรรม 14 คนจากขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ถูกจับกุมตัว
I. อันเนื่องจากประเทศไทยยังคงใช้โทษประหารชีวิต และตัวบทกฎหมายใหม่ได้ขยายเงื่อนไขในการบังคับใช้โทษประหารชีวิต
J. อันเนื่องจากการจับกุมคุมขังภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่การรัฐประหารเป็นต้นมา
K. อันเนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ไม่ได้รับอนุญาตให้พบบุคคลที่ถูกทรมานหรือถูกปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องระหว่างการถูกกักขังคุมตัวอย่างถาวรโดยไม่มีการตั้งข้อหาหรือได้รับการพิจารณาคดีในศาลภายใต้อำนาจของศาลทหาร
L. อันเนื่องจากความเสื่อมถอยในด้านสวัสดิภาพของชุมชนท้องถิ่นและนักกิจกรรมด้านสิทธิในที่ดินนับตั้งแต่การรัฐประหารเป็นต้นมา
M. อันเนื่องจากประเทศไทยมิได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 หรือพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 และไม่มีกรอบกำหนดการให้ที่ลี้ภัยอย่างเป็นทางการในระดับชาติ รวมทั้งหน่วยงานรัฐไทยยังคงส่งตัวผู้อพยพและผู้ขอลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง ซึ่งพวกเขามีโอกาสสูงที่จะต้องเผชิญกับการข่มเหงทำร้าย
N. อันเนื่องจากประเทศไทยมีข้อผูกมัดภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกในด้านการไต่สวนและดำเนินคดีอย่างเหมาะสมต่อการทรมาน การเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงอื่นๆ
O. อันเนื่องจากคดีฟ้องร้องหมิ่นประมาททางอาญาต่อนักปกป้องสิทธิแรงงาน นายแอนดี้ ฮอลล์ ซึ่งเป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป ได้รับการยกฟ้องก็จริง แต่เขายังถูกฟ้องร้องตั้งข้อหาในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และคดีหมิ่นประมาท รวมทั้งคดีหมิ่นประมาททางแพ่งอีกสองคดี ซึ่งอาจส่งผลให้ถูกลงโทษจำคุกถึงเจ็ดปีและปรับอีกหลายล้านบาท หลังจากฮอลล์ทำรายงานให้องค์กร Finnwatch ว่ามีการกดขี่แรงงานโดยบริษัทค้าส่งสับปะรดของไทย ทั้งๆ ที่มีข้อเท็จจริงยืนยันว่าบริษัทนี้ละเมิดสิทธิของแรงงานจริงทั้งจากกระทรวงแรงงานของไทยและจากลูกจ้างบริษัทคนหนึ่งในคำให้การต่อศาลก่อนหน้านี้ ทั้งนี้คดีของฮอลล์จะมีการไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 19 ตุลาคม 2558
P. อันเนื่องจากถึงแม้ประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 29 แต่คนงานข้ามชาติก็ยังได้รับการคุ้มครองน้อยมาก การค้าแรงงานมนุษย์เป็นปัญหาใหญ่ สถานการณ์ในภาคการประมงยังน่าวิตกอย่างยิ่ง
Q. อันเนื่องจากสหภาพยุโรปยับยั้งการเจรจากับประเทศไทยเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2013 และสหภาพยุโรปปฏิเสธการลงนามในความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement—PCA) ที่บรรลุความตกลงในเดือนพฤศจิกายน 2556 จนกว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย โดยที่สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศไทย
B. อันเนื่องจากกองทัพไทยดำเนินการก่อตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีผู้นำคือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บริหารอำนาจทั้งหมดและมีอำนาจไม่จำกัดในการออกคำสั่งและจัดการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
C. อันเนื่องจากองค์กรร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช. ตั้งขึ้นอยู่ภายใต้การควบคุมของนายทหารจากกองทัพ รวมทั้งการที่สมาชิก คสช. ได้รับการคุ้มครองจากการรับโทษใดๆ อันเกิดจากการกระทำความผิด ความรับผิดชอบหรือภาระรับผิดขณะปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 44 และ 47 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว
D. อันเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2558 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้น แต่สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในวันที่ 6 กันยายน 2558 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่จึงต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน และการไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดนี้อาจยืดเวลาการปกครองของรัฐบาลทหารในประเทศนี้ออกไป
E. อันเนื่องจากเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมหลายเว็บไซต์ที่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยถูก คสช. กล่าวหาว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติภายใต้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว รวมทั้งมีการเซ็นเซอร์ช่องโทรทัศน์และสถานีวิทยุชุมชนที่เชื่อมโยงกับกลุ่มการเมืองภายในประเทศทุกกลุ่มอย่างเข้มงวดเกินกว่าเหตุ
F. อันเนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้มีการผ่านกฎหมายพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ซึ่งจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างมากและมีบทลงโทษรุนแรงด้วยการจำคุกไม่เกิน 10 ปีสำหรับการฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น การขัดขวางระบบการบริการสาธารณะ
G. อันเนื่องจากนายทหารกองทัพที่ได้รับแต่งตั้งเป็น “พนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” มีอำนาจกักขังหน่วงเหนี่ยวประชาชนตามอำเภอใจ สามารถเรียกประชาชนไปสอบปากคำและตรวจค้นโดยไม่ต้องมีหมายศาล
H. อันเนื่องจากผู้เข้าร่วมการประท้วงโดยสันติถูกตั้งข้อหาปลุกระดมและข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกรณีนักกิจกรรม 14 คนจากขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ถูกจับกุมตัว
I. อันเนื่องจากประเทศไทยยังคงใช้โทษประหารชีวิต และตัวบทกฎหมายใหม่ได้ขยายเงื่อนไขในการบังคับใช้โทษประหารชีวิต
J. อันเนื่องจากการจับกุมคุมขังภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่การรัฐประหารเป็นต้นมา
K. อันเนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ไม่ได้รับอนุญาตให้พบบุคคลที่ถูกทรมานหรือถูกปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องระหว่างการถูกกักขังคุมตัวอย่างถาวรโดยไม่มีการตั้งข้อหาหรือได้รับการพิจารณาคดีในศาลภายใต้อำนาจของศาลทหาร
L. อันเนื่องจากความเสื่อมถอยในด้านสวัสดิภาพของชุมชนท้องถิ่นและนักกิจกรรมด้านสิทธิในที่ดินนับตั้งแต่การรัฐประหารเป็นต้นมา
M. อันเนื่องจากประเทศไทยมิได้ลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 หรือพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 และไม่มีกรอบกำหนดการให้ที่ลี้ภัยอย่างเป็นทางการในระดับชาติ รวมทั้งหน่วยงานรัฐไทยยังคงส่งตัวผู้อพยพและผู้ขอลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง ซึ่งพวกเขามีโอกาสสูงที่จะต้องเผชิญกับการข่มเหงทำร้าย
N. อันเนื่องจากประเทศไทยมีข้อผูกมัดภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกในด้านการไต่สวนและดำเนินคดีอย่างเหมาะสมต่อการทรมาน การเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงอื่นๆ
O. อันเนื่องจากคดีฟ้องร้องหมิ่นประมาททางอาญาต่อนักปกป้องสิทธิแรงงาน นายแอนดี้ ฮอลล์ ซึ่งเป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป ได้รับการยกฟ้องก็จริง แต่เขายังถูกฟ้องร้องตั้งข้อหาในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และคดีหมิ่นประมาท รวมทั้งคดีหมิ่นประมาททางแพ่งอีกสองคดี ซึ่งอาจส่งผลให้ถูกลงโทษจำคุกถึงเจ็ดปีและปรับอีกหลายล้านบาท หลังจากฮอลล์ทำรายงานให้องค์กร Finnwatch ว่ามีการกดขี่แรงงานโดยบริษัทค้าส่งสับปะรดของไทย ทั้งๆ ที่มีข้อเท็จจริงยืนยันว่าบริษัทนี้ละเมิดสิทธิของแรงงานจริงทั้งจากกระทรวงแรงงานของไทยและจากลูกจ้างบริษัทคนหนึ่งในคำให้การต่อศาลก่อนหน้านี้ ทั้งนี้คดีของฮอลล์จะมีการไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 19 ตุลาคม 2558
P. อันเนื่องจากถึงแม้ประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 29 แต่คนงานข้ามชาติก็ยังได้รับการคุ้มครองน้อยมาก การค้าแรงงานมนุษย์เป็นปัญหาใหญ่ สถานการณ์ในภาคการประมงยังน่าวิตกอย่างยิ่ง
Q. อันเนื่องจากสหภาพยุโรปยับยั้งการเจรจากับประเทศไทยเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 2013 และสหภาพยุโรปปฏิเสธการลงนามในความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement—PCA) ที่บรรลุความตกลงในเดือนพฤศจิกายน 2556 จนกว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย โดยที่สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศไทย
- 1. ขอยืนยันในพันธะอันเข้มแข็งที่สหภาพยุโรปมีต่อประชาชนชาวไทย ซึ่งสหภาพยุโรปมีความผูกพันอย่างเข้มแข็งและยาวนาน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ขอย้ำว่าสหภาพยุโรปในฐานะมิตรและหุ้นส่วนของประเทศไทย ได้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่าให้มีการฟื้นคืนกระบวนการประชาธิปไตยกลับมาสู่ประเทศนี้
- 2. อย่างไรก็ตาม รัฐสภายุโรปมีความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่เสื่อมถอยลงตั้งแต่การรัฐประหารที่ผิดกฎหมายในเดือนพฤษภาคม 2557
- 3. กระตุ้นให้หน่วยงานรัฐไทยยกเลิกการจำกัดกดขี่ต่อสิทธิเสรีภาพและการใช้สิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ อย่างสันติ โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองอย่างสันติ
- 4. เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐไทยล้มล้างคำตัดสินและการลงโทษ ถอนข้อหาและปล่อยตัวบุคคลและสื่อมวลชนที่ถูกจำคุกหรือถูกตั้งข้อหาเนื่องจากการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือการชุมนุมอย่างสันติ เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวและบทบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยทันที เนื่องจากข้อกฎหมายเหล่านี้เป็นข้ออ้างให้หน่วยงานรัฐไทยมีอำนาจในการกดปราบเสรีภาพขั้นพื้นฐานและกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยไม่ต้องรับผิด
- 5. เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐไทยช่วยป้องกันภัยคุกคามด้านสวัสดิภาพที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยทั้งปวง และควรตอบสนองต่อความกังวลของสมาชิกชุมชนท้องถิ่นและนักกิจกรรมด้านสิทธิในที่ดิน
- 6. เรียกร้องให้หน่วยงานรัฐไทยเริ่มกระบวนการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจากกองทัพมาสู่หน่วยงานพลเรือนให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ กำหนดแผนการชัดเจนที่จะจัดการเลือกตั้งเสรีและบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีการปฏิบัติตามตารางเวลาอย่างเคร่งครัด
- 7. ส่งเสริมการถ่ายโอนอำนาจตัดสินทางตุลาการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพลเรือนจากกองทัพมาสู่ศาลพลเรือน ยุติการกักขังหน่วงเหนี่ยวตามอำเภอใจภายใต้กฎอัยการศึก และมีมาตรการจำกัดอำนาจของกองทัพในการกักขังหน่วงเหนี่ยวพลเรือน มิใช่ส่งเสริม
- 8. ส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐไทยทบทวนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อป้องกันมิให้กฎหมายนี้ลงโทษการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างสันติ และยับยั้งการใช้กฎหมายนี้อย่างเกินเลยในส่วนของประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
- 9. ขอให้เคารพและคุ้มครองสิทธิในการมีสวัสดิภาพ รวมทั้งสวัสดิภาพของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งดำเนินการไต่สวนการละเมิดสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั้งหมดในทันที ด้วยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและอิสระจากการแทรกแซง
- 10. จับตาดูคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ที่รัฐบาลไทยแต่งตั้ง เพื่อให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้นเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เรียกร้องให้รัฐธรรมนูญวางพื้นฐานบนหลักการประชาธิปไตย เช่น ความเท่าเทียม อิสรภาพ การเลือกผู้แทนอย่างเป็นธรรม ความโปร่งใส ความรับผิด สิทธิมนุษยชน นิติรัฐ และการเข้าถึงทรัพยากรอย่างถ้วนหน้า
- 11. เรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามพันธกรณีตามรัฐธรรมนูญของตนเองและพันธกรณีระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความอิสระของกระบวนการยุติธรรม สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การสมาคมและการชุมนุมอย่างสันติ รวมทั้งความเป็นพหุนิยมทางการเมือง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย “ต่อต้านการหมิ่นประมาท” ที่เข้มงวดรุนแรงมากขึ้น
- 12. จับตาดูมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลไทยรับว่าจะปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำสุดในการขจัดการค้ามนุษย์และยุติระบบทาสยุคใหม่ที่แพร่ระบาดในห่วงโซ่ด้านอุปทานของอุตสาหกรรมประมง ส่งเสริมให้รัฐบาลบังคับใช้มาตรการเหล่านี้อย่างเร่งด่วนและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้ให้ดีขึ้น
- 13. เรียกร้องให้ประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 หรือพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967
- 14. กระตุ้นให้ประเทศไทยมีขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต
- 15. แสดงความยินดีอย่างยิ่งต่อการเห็นชอบพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศของประเทศไทย ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกอนาคตที่เปิดกว้างมากขึ้นของประเทศนี้ในการปฏิบัติต่อบุคคลภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวลและคนข้ามเพศ (LGBT)
- 16. แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจยกฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อแอนดี้ ฮอลล์และการปล่อยตัวเขา เรียกร้องให้คดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และการหมิ่นประมาททางอาญาที่ฟ้องร้องเขาที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้รับการยกฟ้องด้วย เนื่องจากการกระทำของเขาในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีเป้าหมายเพื่อเปิดโปงการค้ามนุษย์และปรับปรุงสถานะทางกฎหมายของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ซึ่งยืนยันสิทธิของเขาในการทำวิจัยและการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยปราศจากความกลัวว่าจะถูกกลั่นแกล้ง รัฐสภายุโรปมีความกังวลต่อคดีหมิ่นประมาทในแง่ที่การพิจารณาคดีอาจไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง เนื่องจากมีรายงานเกี่ยวกับสายสัมพันธ์ระหว่างบริษัทที่ฟ้องร้องกับกลุ่มนักการเมืองไทยระดับสูง รัฐสภายุโรปขอให้คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยติดตามสถานการณ์ทางกฎหมายของเขาต่อไปอย่างใกล้ชิดและเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี
- 17. แสดงความยินดีต่อการยกฟ้องนักหนังสือพิมพ์สองคนคือ ชุติมา “อ้อย” สีดาเสถียรและอลัน มอริสันที่ศาลจังหวัดภูเก็ต
- 18. กระตุ้นให้ชุมชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ทุ่มเทความพยายามในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาสและการบังคับย้ายถิ่นฐาน โดยส่งเสริมการร่วมมือระหว่างประเทศในการติดตามตรวจสอบและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาแรงงาน
- 19. กระตุ้นให้สหภาพยุโรปและรัฐบาลไทยมีการสนทนาหารือกันอย่างสร้างสรรค์ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยและในภูมิภาคนี้ เน้นย้ำการสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทย
- 20. สนับสนุนคณะกรรมาธิการและกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (Commission and the European External Action Service-EEAS) ในการรักษาแรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อสร้างหลักประกันว่าประเทศไทยจะหวนคืนสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ย้ำเตือนรัฐบาลไทยในแง่นี้ว่าไม่ควรคาดหวังความก้าวหน้าในด้านความตกลง FTA และ PCA ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศไทยตราบที่รัฐบาลทหารยังอยู่ในอำนาจ
- 21. แสดงความยินดีต่อบทบาทใหม่ของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปประจำปี 2558-2561 ชี้ให้เห็นผลประโยชน์ร่วมกันที่อาเซียนกับสหภาพยุโรปจะได้จากความร่วมมือกัน
- 22. ขอให้ EEAS และคณะผู้แทนสหภาพยุโรป รวมทั้งคณะผู้แทนของประเทศสมาชิก ใช้เครื่องมือทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติรัฐในประเทศไทย โดยเฉพาะการเข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างต่อเนื่องในการไต่สวนและการพิจารณาคดีผู้นำฝ่ายค้าน
- 23. เสนอแนะให้ประธานส่งต่อมตินี้ไปยังรองประธานคณะกรรมการ/ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง คณะกรรมาธิการ รัฐบาลและรัฐสภาแห่งประเทศไทย รัฐสภาและรัฐบาลของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น