วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประยุทธ์ สั่งยกเลิกพิจารณากฎหมาย GMOs ชี้ยังไม่จำเป็น เพราะยังไม่มีสงคราม


พลเอกประยุทธ์ สั่งยกเลิกการพิจารณา พ.ร.บ.ความปลอดภัยชีวภาพ ชี้ยังไม่จำเป็น เพราะไทยยังไม่มีภัยพิบัติ โลกร้อน หรือสงคราม ด้าน NGOs ออกแถลงการณ์ขอบคุณภาคประชาชนที่ออกมาคัดค้านจนสำเร็จ
15 ธ.ค. 2558 เวลา 13.20 น. ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบุว่า ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ยกเลิกการพิจารณา พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ. จีเอ็มโอ เนื่องจากเป็นพันธะสัญญาที่พูดคุยมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งต่างประเทศมีไว้เพื่อรองรับในภาวะเกิดสงคราม หรือผลิตสินค้าทางการเกษตรไม่ ได้ หรือเกิดโรคระบาด ซึ่งคาดว่าประเทศไทยคงยังไม่จำเป็นต้องใช้ จึงมีคำสั่งยกเลิกไปก่อน
"ยังไม่ชัดเจนในบ้านเรา เราหวังอย่าเกิดสงครามในบ้านเรา ภัยพิบัติ โลกร้อน น้ำไม่มี พวกนี้เค้าตัดแต่งพันธุกรรม เพื่อให้ใช้น้ำน้อย ต้านทานโรคได้ มีผลผลิตสูง ข้าวโพดก็แมลงไม่กิน อันนี้เป็นตอนสงครามโลก จะเกิดหรือไม่ก็ไม่รู้ ถ้าเกิดก็เตรียมตัว เพราะเรายังไม่ได้ทำ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า ในวันนี้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เรียนต่อที่ประชุม ครม. ว่า เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในระหว่างการดำเนินการปฏิรูปด้านการเกษตรยังไม่เสร็จสิ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องของอนาคต การจะออกกฎหมายในตอนนี้จึงยังไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาและสถานการณ์ ดังนั้น ครม.จึงได้มีมติให้ส่งเรื่องกลับไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน มูลนิธีชีววิถี ได้ออกแถลงการต่อกรณีดังกล่าว โดยได้ชื่นชมการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน และนักวิชาการ ที่สามารถทำให้นายกรัฐมนตรี ประกาศยุติการผลักดัน พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้
00000
แถลงการณ์มูลนิธิชีววิถี กรณีรัฐบาลยกเลิกพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ
มูลนิธิชีววิถี(BIOTHAI) ขอชื่นชมการเคลื่อนไหวคัดค้านพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพของภาคประชาชนและผู้ ประกอบการเกษตรและอาหาร 125 องค์กร การเคลื่อนไหวของประชาชนและองค์กรท้องถิ่นใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ การรวมตัวกันรณรงค์ในสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มนักวิชาการด้านการเกษตร กฎหมาย และเศรษฐศาสตร์ และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่ได้แสดงออกเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายร่วมกันอย่างเข้มแข็งจนนายกรัฐมนตรีได้ ประกาศยุติการผลักดันพ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว โดยมีมติให้ส่งเรื่องกลับไปให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาในมุมที่มีข้อทักท้วงเพิ่มเติมให้รอบคอบเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม แรงผลักดันหลักเพื่อให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอนั้น มาจากกลุ่มบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ อุตสาหกรรมวัตถุดิบอาหารสัตว์ และบริษัทอาหารยักษ์ใหญ่ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะยังคงไม่ลดความพยายามจนกว่าจะ บรรลุผล ทั้งนี้เชื่อว่ากลุ่มผลประโยชน์จากจีเอ็มโอจะหาช่องทางอื่นๆ เช่น การผลักดันให้มีการทดลองจีเอ็มโอผ่านมติคณะรัฐมนตรี 25 ธันวาคม 2550 ไปจนถึงการผลักดันผ่านความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้น แปซิฟิก(TPP) เป็นต้น
เครือข่ายภาคประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องร่วมกันเผย แพร่ความรู้เกี่ยวกับจีเอ็มโอทั้งมิติทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง และผลกระทบต่อสุขภาพ/สิ่งแวดล้อม รวมถึงการนำเสนอทางเลือกที่ดีกว่า เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นในการตัดสินใจนโยบาย เกี่ยวกับเกษตรกรรมและอาหารของประเทศ โดยไม่ปล่อยให้กลุ่มบรรษัทยักษ์ใหญ่เกษตรและอาหารเป็นผู้กำหนดทิศทางของ ประเทศผ่านรัฐบาลเหมือนที่ผ่านมา
เป้าหมายของการขับเคลื่อนของเรามิได้อยู่ที่การหยุดพ.ร.บ.ความปลอดภัยทาง ชีวภาพที่เอื้ออำนวยต่อบรรษัท หรือการต่อต้านจีเอ็มโอซึ่งไม่เป็นประโยชน์และไม่เหมาะสมกับประเทศไทยเท่า นั้น แต่อยู่ที่การผลักดันให้มีกฎหมายและนโยบายที่คุ้มครองและส่งเสริมความหลาก หลายทางชีวภาพ เกษตรกรรมเชิงนิเวศ และระบบอาหารเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เท่าเทียม ระหว่างเกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ให้กลายเป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รออยู่เบื้องหน้า
มูลนิธิชีววิถีจะเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวดังกล่าว จนกว่าเป้าหมายนั้นจะบรรลุผล
15 ธันวาคม 2558

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น