ศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 3 เสื้อแดงเชียงใหม่คนละ 3 ปี เหตุเสื้อเหลืองปะทะเสื้อแดงปี 51 จนบิดาของดีเจกลุ่มพันธมิตรฯ เสียชีวิต ด้านจำเลยอีกรายหนึ่งยังไม่ได้เข้าฟังคำพิพากษา ศาลจึงออกหมายจับ
24 มี.ค. 2559 ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำที่ อ.833/2552 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ กับนายนพรัตน์ แสงเพชรและพวกรวม 5 คน ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น จากกรณีการปะทะกันระหว่างคนเสื้อเหลืองกับคนเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2551 และทำให้มีผู้เสียชีวิต โดยศาลฎีกาได้พิพากษาจำคุกจำเลยคนละ 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา
คดีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นำไปสู่เหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ซึ่งเป็นกลุ่มเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่ ที่บริเวณหมู่บ้านระมิงค์ ต.หายยา ใกล้ที่ตั้งของสถานีวิทยุวิหคเรดิโอ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือนายเศรษฐา เจียมกิจวัฒนา ซึ่งเป็นบิดาของนายเทิดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา หรือ "โต้งวิหค" ดีเจแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ (ดูรายงานข่าว)
ต่อมา จึงได้มีการจับกุมดำเนินคดีกับคนเสื้อแดง 5 ราย ในข้อหาร่วมกันฆ่าจากเหตุดังกล่าว ได้แก่ นายนพรัตน์ แสงเพชร, นายประยุทธ บุญวิจิตร, นายบุญรัตน์ ไชยมโน, นายสมศักดิ์ อ่อนไสว และนายพยอม ดวงแก้ว รวมทั้งยังมีการแยกดำเนินคดีคนเสื้อแดงอีกรายหนึ่งในข้อหาเดียวกัน คือนายแดง ปวนมูล แต่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีไปก่อนหน้านี้ (ดูรายงานข่าว)
ในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาจำคุก 20 ปี ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้โทษเป็นจำคุก 12 ปี โดยระหว่างนั้นจำเลยทั้งห้าถูกควบคุมตัวในเรือนจำโดยตลอด ก่อนได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 ก.พ.55 หลังจากที่แต่ละรายถูกคุมขังเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ลดหลั่นกันไปตามช่วงเวลาถูกจับกุม อีกทั้งระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว นายสมศักดิ์ อ่อนไสว จำเลยที่ 4 ได้เสียชีวิตลง ทำให้คดีนี้เหลือจำเลยจำนวน 4 ราย
การนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในเช้าวันนี้ มีนายบุญรัตน์ ไชยมโน และนายพยอม ดวงแก้ว จำเลยที่ 3 และที่ 5 เดินทางมาศาล โดยศาลได้ใช้ห้องพิจารณาพิเศษในการอ่านคำพิพากษา และอนุญาตให้เฉพาะจำเลยกับทนายความเข้าฟัง โดยไม่อนุญาตให้ญาติหรือผู้สังเกตการณ์เข้าฟังการพิจารณา
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โดยเห็นว่าจากพยานหลักฐานในคดีไม่สามารถยืนยันได้ชัดแจ้งถึงพฤติการณ์ในการเข้าทำร้ายผู้ตายของจำเลยทั้งสี่ ว่ามีใครทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายอย่างไร และคนร้ายก็มิใช่มีเฉพาะจำเลยในคดีนี้ แต่ยังมีบางส่วนที่หลบหนีไม่สามารถจับกุมได้ ศาลจึงไม่เห็นว่าจำเลยทั้งสี่คนมีเจตนาฆ่าผู้อื่นในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 288
ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานในคดีฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 ถึง 3 และจำเลยที่ 5 มีเจตนาร่วมในการทำร้ายผู้อื่น แต่เมื่อการทำร้ายนั้นทำให้ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก ให้จำคุกคนละ 4 ปี แต่คำรับของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุให้บรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 38 จึงลดโทษให้หนึ่งในสี่ เหลือโทษจำคุกคนละ 3 ปี
ทั้งนี้ นายบุญรัตน์ และนายพยอม เคยถูกจำคุกมาก่อนหน้านี้คนละ 2 ปี 8 เดือนเศษ ทำให้ตามโทษของศาลฎีกา ทั้งสองจะถูกจำคุกอีกราวคนละ 3 เดือนเศษ เจ้าหน้าที่ศาลจึงได้ควบคุมตัวทั้งสองคน เพื่อส่งไปยังเรือนจำกลางเชียงใหม่ต่อไป
ต่อมา ในช่วงบ่าย นายประยุทธ บุญวิจิตร จำเลยที่ 2 ได้เข้ามอบตัวต่อศาล โดยระบุว่าได้เดินทางมาศาลตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ไม่ทราบว่ามีการใช้ห้องพิจารณาใดอ่านคำพิพากษา และไม่สามารถติดต่อกับใครได้ จึงไม่ได้มีเจตนาจะหลบหนีแต่อย่างใด ศาลจึงได้สรุปคำพิพากษาให้จำเลยฟัง และพบว่าจำเลยเคยจำคุกในคดีนี้มาเป็นเวลา 3 ปีเศษแล้ว ทำให้จำคุกเกินกว่ากำหนดโทษแล้ว จึงไม่ต้องรับโทษอีก อนุญาตให้เดินทางกลับได้ ส่วนนายนพรัตน์ แสงเพชร จำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้เข้าฟังคำพิพากษา ศาลได้ออกหมายจับมาดำเนินคดีต่อไป
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก ระบุว่า “ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
คดีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นำไปสู่เหตุปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ซึ่งเป็นกลุ่มเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่ ที่บริเวณหมู่บ้านระมิงค์ ต.หายยา ใกล้ที่ตั้งของสถานีวิทยุวิหคเรดิโอ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือนายเศรษฐา เจียมกิจวัฒนา ซึ่งเป็นบิดาของนายเทิดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา หรือ "โต้งวิหค" ดีเจแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ (ดูรายงานข่าว)
ต่อมา จึงได้มีการจับกุมดำเนินคดีกับคนเสื้อแดง 5 ราย ในข้อหาร่วมกันฆ่าจากเหตุดังกล่าว ได้แก่ นายนพรัตน์ แสงเพชร, นายประยุทธ บุญวิจิตร, นายบุญรัตน์ ไชยมโน, นายสมศักดิ์ อ่อนไสว และนายพยอม ดวงแก้ว รวมทั้งยังมีการแยกดำเนินคดีคนเสื้อแดงอีกรายหนึ่งในข้อหาเดียวกัน คือนายแดง ปวนมูล แต่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องคดีไปก่อนหน้านี้ (ดูรายงานข่าว)
ในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาจำคุก 20 ปี ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้โทษเป็นจำคุก 12 ปี โดยระหว่างนั้นจำเลยทั้งห้าถูกควบคุมตัวในเรือนจำโดยตลอด ก่อนได้รับสิทธิปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 17 ก.พ.55 หลังจากที่แต่ละรายถูกคุมขังเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ลดหลั่นกันไปตามช่วงเวลาถูกจับกุม อีกทั้งระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว นายสมศักดิ์ อ่อนไสว จำเลยที่ 4 ได้เสียชีวิตลง ทำให้คดีนี้เหลือจำเลยจำนวน 4 ราย
การนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในเช้าวันนี้ มีนายบุญรัตน์ ไชยมโน และนายพยอม ดวงแก้ว จำเลยที่ 3 และที่ 5 เดินทางมาศาล โดยศาลได้ใช้ห้องพิจารณาพิเศษในการอ่านคำพิพากษา และอนุญาตให้เฉพาะจำเลยกับทนายความเข้าฟัง โดยไม่อนุญาตให้ญาติหรือผู้สังเกตการณ์เข้าฟังการพิจารณา
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โดยเห็นว่าจากพยานหลักฐานในคดีไม่สามารถยืนยันได้ชัดแจ้งถึงพฤติการณ์ในการเข้าทำร้ายผู้ตายของจำเลยทั้งสี่ ว่ามีใครทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตายอย่างไร และคนร้ายก็มิใช่มีเฉพาะจำเลยในคดีนี้ แต่ยังมีบางส่วนที่หลบหนีไม่สามารถจับกุมได้ ศาลจึงไม่เห็นว่าจำเลยทั้งสี่คนมีเจตนาฆ่าผู้อื่นในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 288
ศาลเห็นว่าพยานหลักฐานในคดีฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 ถึง 3 และจำเลยที่ 5 มีเจตนาร่วมในการทำร้ายผู้อื่น แต่เมื่อการทำร้ายนั้นทำให้ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก ให้จำคุกคนละ 4 ปี แต่คำรับของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา มีเหตุให้บรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 38 จึงลดโทษให้หนึ่งในสี่ เหลือโทษจำคุกคนละ 3 ปี
ทั้งนี้ นายบุญรัตน์ และนายพยอม เคยถูกจำคุกมาก่อนหน้านี้คนละ 2 ปี 8 เดือนเศษ ทำให้ตามโทษของศาลฎีกา ทั้งสองจะถูกจำคุกอีกราวคนละ 3 เดือนเศษ เจ้าหน้าที่ศาลจึงได้ควบคุมตัวทั้งสองคน เพื่อส่งไปยังเรือนจำกลางเชียงใหม่ต่อไป
ต่อมา ในช่วงบ่าย นายประยุทธ บุญวิจิตร จำเลยที่ 2 ได้เข้ามอบตัวต่อศาล โดยระบุว่าได้เดินทางมาศาลตั้งแต่ช่วงเช้า แต่ไม่ทราบว่ามีการใช้ห้องพิจารณาใดอ่านคำพิพากษา และไม่สามารถติดต่อกับใครได้ จึงไม่ได้มีเจตนาจะหลบหนีแต่อย่างใด ศาลจึงได้สรุปคำพิพากษาให้จำเลยฟัง และพบว่าจำเลยเคยจำคุกในคดีนี้มาเป็นเวลา 3 ปีเศษแล้ว ทำให้จำคุกเกินกว่ากำหนดโทษแล้ว จึงไม่ต้องรับโทษอีก อนุญาตให้เดินทางกลับได้ ส่วนนายนพรัตน์ แสงเพชร จำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้เข้าฟังคำพิพากษา ศาลได้ออกหมายจับมาดำเนินคดีต่อไป
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290 วรรคแรก ระบุว่า “ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น