8 ส.ค. 2559 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันได้ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาโดยตลอด ได้โพสต์เฟซบุ๊กตัวเอง 'Somsak Jeamteerasakul' วานนี้ (7 ส.ค.59) หลังทราบผลอย่างไม่เป็นทางการของประชามติดังกล่าว เพื่อแย้งและชี้ว่าแถลงการณ์ของ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM ที่ประกาศยอมรับคำตัดสินของประชาชน นั้นมีปัญหา
โดยสมศักดิ์ ได้เริ่มจากการแสดงความนับถือต่อสมาชิก NDM โดยระบุว่าขอเรียนว่า "แถลงการณ์" นี้ และโดยเฉพาะภาพสไลด์นี้ "มีปัญหา" ได้โปรดพิจารณาข้อเสนอตนเกี่ยวกับประเด็นนี้ ไม่ควร "ล็อคตัวเอง" เข้ากับหลักการผิดๆ มันมีผลต่อความเข้าใจของประชาชน
"ประชามติ หรือการเลือกตั้ง จะถือเป็น "คำตัดสินของประชาชน" ได้ ต่อเมื่อมันเป็นประชามติจริงครับ สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ไม่ใช่ประชามติในความหมายของคำนี้แน่นอน นี่เป็นปัญหาเชิงหลักการเกี่ยวกับประชาธิปไตย การเลือกตั้ง ประชามติที่สำคัญ" สมศักดิ์ กล่าว
สมศักดิ์ ระบุด้วยว่า ปัญหาว่า ในทางแท็คติก ในทาง "การเมือง" พวกคุณควรจะแก้ปัญหาการ "พาตัวเองเข้าไปล็อค" กับสิ่งที่เรียกว่า "ประชามติ" ในระดับหนึ่ง โดยการรณรงค์เข้าร่วมโหวตโน เป็นประเด็นที่ยุ่งยากอยู่ แต่โปรดอย่าล็อคตัวเองซ้ำเข้าไปอีกในปัญหาเชิงหลักการที่คลาดเคลื่อนในลักษณะนี้ ในไม่กี่วันข้างหน้าจากนี้ ตนเดาว่า คงมีการเชิญคุณโรม และเพื่อนๆ คนอื่นไปออกทีวี ฯลฯ ตนอยากให้ลองคิดให้รอบคอบ ถ่องแท้ก่อน "แถลงการณ์" นี้มีปัญหาแน่ และถ้าการพูดต่อไปจากนี้ ยังคงยืนตามแถลงการณ์นี้เป๊ะๆ จะเป็นการ "ล็อคตัวเอง" และที่สำคัญ ทำให้ปัญหาทางหลักการเกี่ยวกับประชามติเสียไปด้วย
ชี้ไม่ใช่ประชามติหรือคำตัดสินของประชาชน
ต่อมาวันนี้(8 ส.ค.59) สมศักดิ์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กดังกล่าวต่อว่า "สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวาน ไม่ใช่ประชามติ "เสียง" เมื่อวาน ไม่ใช่ "คำตัดสินของประชาชน" การไม่ยอมรับ ไม่ใช่การใช้ "ตรรกะแบบพันธมิตร" "ไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่"
สมศักดิ์ กล่าวว่า นี่เป็นปัญหาหลักการที่แม้แต่ระดับแอ๊คติวิสต์จนบัดนี้ก็ยังไม่เข้าใจ ปัญหาใหญ่ที่ตนแย้งคนที่รณรงค์โหวตโนโดยตลอดคือ เข้าสู่การรณรงค์โดยไม่เข้าใจประเด็นปัญหาเชิงหลักการสำคัญๆอย่างแท้จริง ตั้งแต่ว่า อะไรคือ "ประชามติ" อะไรคือ "การใช้สิทธิ์" หรือ "ทับสิทธิ์" และพอระดับแอ๊คติวิสต์เองไม่เข้าใจแล้ว ก็ไปส่งเสริมความไม่เข้าใจที่มีอยู่แล้วอย่างกว้างขวางในหมู่ "มวลชน" เองด้วย
สมศักดิ์ เล่าด้วยว่า เมื่อวานที่ตนได้เถียงกับจรัล ดิษฐาอภิชัย และที่ตนแย้งแถลงการณ์ของ NDM หลายคนคงไม่สบายใจ และจากคอมเม้นท์มีหลายคนพลอยหมั่นไส้หรือไม่พอใจตน แต่ประเด็นนี้มันเรื่องซีเรียสมากๆ คือถ้าแม้แต่คนระดับจรัล ยังคิดว่าถ้าเราไม่ยอมรับสิ่งที่เรียกว่า "ประชามติ" เมื่อวาน ก็จะเป็นการ "ใช้ตรรกะแบบพันธมิตรร้อยเปอร์เซนต์" หรือการที่ NDM บอกว่า "เคารพคำตัดสินของประชาชน" เป็นอะไรที่น่าตกใจมากๆ คือสะท้อนว่า แม้แต่ระดับแอ๊คติวิสต์ที่มีบทบาทมากๆ ก็ไม่เก็ตประเด็นที่เป็นใจกลางของประชาธิปไตย อะไรคือการเลือกตั้งหรือประชามติในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่สักแต่ว่ามี "เสียงข้างมาก" ก็ถือว่า "ต้องยอมรับ" อันนี้ ความจริง ตนคิดว่ามันสะท้อนข้อจำกัดทางวัฒนธรรม-ความเข้าใจการเมืองของคนเสื้อแดงอาจจะส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ ที่คิดว่า ขอเพียง "ได้เสียงข้างมาก" ก็ "จบ"
ไม่ใช่ดูที่ผลแต่ต้องดูที่กระบวนการชอบธรรมหรือไม่
"ตามหลักประชาธิปไตยสมัยใหม่นั้น ไม่ใช่ดูที่ "ผล" ว่า ใคร "ได้เสียงข้างมาก" แต่ดูที่กระบวนการทั้งหมดของการได้ผลนั้นมา ว่า valid หรือชอบธรรมหรือไม่ ถ้ากระบวนการทั้งหมดไม่ valid ไม่ชอบธรรม ผลที่ได้ก็ไม่ใช่ "คำตัดสินของประชาชน" และการไม่ยอมรับเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่การ "ใช้ตรรกะแบบพันธมิตร" ถ้าดูแค่ที่ "ใครได้เสียงข้างมาก" ก็จบ เกาหลีเหนือ จีน อิหร่าน และประเทศเผด็จการอำนาจนิยมอีกสารพัด ก็มี "การเลือกตั้ง" ก็เป็นประชาธิปไตยแล้ว" สมศักดิ์ กล่าว
สำหรับแถลงการณ์ของ NDM ที่สมศักดิ์ แย้งมีดังนี้ :
แถลงการณ์ขบวนการประชาธิปไต ยใหม่ (New Democracy Movement - NDM)
เรื่อง แนวทางของขบวนการภายหลังผลก ารออกเสียงประชามติร่างรัฐธ รรมนูญอย่างไม่เป็นทางการ
ตามที่ผลการลงคะแนนออกเสียง ประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อย่างไม่เป็นทางการออกมาเป็ นที่แน่ชัดแล้วว่า ประชาชนผู้ออกเสียงส่วนใหญ่ ได้ลงคะแนนเห็นชอบร่างรัฐธร รมนูญดังกล่าว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือร่า งรัฐธรรมนูญดังกล่าวผ่านการ ออกเสียงประชามตินั้น
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ขอยื นยันในแนวทางการรณรงค์ของเร า ว่าเราเคารพในเสียงของประชา ชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด คิดเห็นอย่างไร และพร้อมยอมรับการตัดสินใจข องประชาชนไม่ว่าจะเป็นเช่นไ ร เพราะนี่คือการตัดสินใจที่เ กิดจากผู้ที่เป็นเจ้าของประ เทศร่วมกัน เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของป ระเทศอย่างเท่าเทียมกัน
กว่า 6 เดือนที่ผ่านมา ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ได้ท ำกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ข้อเส ียและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจ ากร่างรัฐธรรมนูญนี้อย่างสม ่ำเสมอ เราเอาตัวเองเข้าร่วมแข่งขั นในกติกาอันไม่เป็นธรรม เราต้องเผชิญกับการข่มขู่คุ กคามนานัปการจากอำนาจเผด็จก าร แม้เราจะต้องพานพบกับความไม ่เป็นธรรมมาโดยตลอด แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราจะน ำมาใช้เป็นข้อแก้ตัว ผลการออกเสียงประชามติในครั ้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า เรายังพยายามไม่มากพอ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ยังต ้องทุ่มเทยิ่งกว่านี้ ทำงานให้หนักกว่านี้ พัฒนาไปให้มากกว่านี้
แม้ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะผ่าน การออกเสียงประชามติไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการก ระทำของคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ (คสช.) จะกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผู ้ใดที่ได้รับความเดือดร้อนจ ากระบอบเผด็จการอีก ไม่ได้หมายความว่าสิทธิเสรี ภาพของประชาชนจะได้รับการคุ ้มครอง และไม่ได้หมายความว่าประเทศ ไทยจะกลับคืนสู่ระบอบประชาธ ิปไตยได้จริง
ดังนั้นหลังจากนี้ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จึงข อยืนยันที่จะปฏิบัติหน้าที่ ในการต่อสู้เรียกร้องระบอบป ระชาธิปไตย พิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประช าชน และต่อต้านการกระทำอันไม่ถู กต้องของเผด็จการทหารต่อไป เราจะไม่ย่อท้อเพียงเพราะคว ามผิดหวังแค่ครั้งเดียว ในวันนี้หนทางสู่ประชาธิปไต ยอาจดูยาวไกล แต่เราเชื่อว่าหากเราไม่หยุ ดนิ่ง ยังคงก้าวเดินต่อไป ในวันข้างหน้าที่ไม่นานเกิน รอ เราและประชาชนทุกคนจะไปถึงย ังจุดหมายที่ตั้งหวังไว้อย่ างแน่นอน
เราจะสู้ต่อไป
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (New Democracy Movement - NDM)
7 สิงหาคม 2559
เรื่อง แนวทางของขบวนการภายหลังผลก
ตามที่ผลการลงคะแนนออกเสียง
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ขอยื
กว่า 6 เดือนที่ผ่านมา ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ได้ท
แม้ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะผ่าน
ดังนั้นหลังจากนี้ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จึงข
เราจะสู้ต่อไป
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (New Democracy Movement - NDM)
7 สิงหาคม 2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น