"หลวงตาบัว"แสดงอภินิหาร...อีกเละ
"แพทย์-นักวิทย์"รับไม่เคยพบอัศจรรย์"เลือด-น้ำเหลือง" "หลวงตามหาบัว"กลายเป็นเกล็ดน้ำตาล คล้ายพระธาตุ
จากกรณีศิษยานุศิษย์พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ได้บรรจุเลือดและน้ำเหลือง ที่ได้มาจากการทำความสะอาดบาดแผลนิ้วเท้าของหลวงตามหาบัว ไว้ในโกศขณะที่ยังไม่ละสังขารแล้วนำมาบูชา จนกระทั่งพบว่ากลายเป็นก้อนแข็งคล้ายเม็ดทราย หรือเม็ดน้ำตาลทรายส่องแสงแวววับนั้น
พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เปี้ยวนิ่ม หัวหน้าหน่วยนิติเวช คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ว่ากรณีนี้ไม่ทราบว่าปริมาณเลือดและน้ำเหลืองมากน้อยแค่ไหน แต่โดยปกติการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเลือดจะมี 2 ส่วน คือ หากมีการนำมาใส่ภาชนะการเปลี่ยนแปลงจะเป็นลักษณะเลือดอยู่ชั้นล่าง น้ำเหลืองจะลอยตัวขึ้นอยู่ข้างบนของชั้นน้ำเลือด ซึ่งหากน้ำเหลืองแข็งตัวมาก ก็จะพบเพียงก้อนวุ้นเฉยๆ ไม่ใช่เป็นในลักษณะเม็ดน้ำตาลทราย หรือเม็ดทรายเล็กๆ สรุปได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นตามทฤษฎีทางการแพทย์ไม่เคยพบเห็นมาก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีที่ศพไม่เน่า ตามทฤษฎีทางการแพทย์อธิบายได้หรือไม่ พล.อ.ต.นพ.วิชาญกล่าวว่า กรณีนี้เรียกว่า ภาวะน้ำออกจากเซลล์มากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ และอากาศถ่ายเทสะดวก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็นภาวะเหมาะสมที่ทำให้สภาพร่างกายของศพไม่เน่าได้ แต่กรณีนี้ไม่พบเห็นบ่อย เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องยาก เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา แพทย์หลายท่านก็นับถือศาสนาพุทธ แม้ว่าจะสามารถนำก้อนเลือด ก้อนน้ำเหลืองดังกล่าวไปพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถึงที่มาที่ไป ก็อาจดูไม่เหมาะสม เพราะเป็นเรื่องของความศรัทธา ดังนั้น คงไม่สามารถจะเอาวิทยาศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ได้
ด้าน ดร.นำชัย ชีววรรธน์ นักวิชาการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า หากจะอิงตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น ถือว่ายากมาก เนื่องจากไม่มีทฤษฎีใดอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากหากต้องการความชัดเจนจะต้องมีการนำตัวอย่างเลือดและน้ำเหลืองดังกล่าวมาตรวจหาดีเอ็นเอ ซึ่งหากพบยีนหรือสิ่งใดที่แสดงว่า เม็ดน้ำตาลทรายดังกล่าวเป็นน้ำเหลืองและเลือดจริง หลังจากนั้นจึงจะสามารถทำการวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไปว่าเหตุใดสภาพของเหลวจึงกลายเป็นของแข็งเช่นนั้นได้
"ในประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องราวลักษณะดังกล่าวมาก โดยเฉพาะในพระอรหันต์ที่บรรลุธรรมที่เมื่อละสังขารแล้วเลือดและกระดูกกลายเป็นพระธาตุ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครนำไปพิสูจน์หรือผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่บอกเล่ามานั้นเป็นจริงหรือไม่" ดร.นำชัยกล่าว
เครดิต มติชน ออนไลน์
จากกรณีศิษยานุศิษย์พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ได้บรรจุเลือดและน้ำเหลือง ที่ได้มาจากการทำความสะอาดบาดแผลนิ้วเท้าของหลวงตามหาบัว ไว้ในโกศขณะที่ยังไม่ละสังขารแล้วนำมาบูชา จนกระทั่งพบว่ากลายเป็นก้อนแข็งคล้ายเม็ดทราย หรือเม็ดน้ำตาลทรายส่องแสงแวววับนั้น
พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เปี้ยวนิ่ม หัวหน้าหน่วยนิติเวช คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ว่ากรณีนี้ไม่ทราบว่าปริมาณเลือดและน้ำเหลืองมากน้อยแค่ไหน แต่โดยปกติการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเลือดจะมี 2 ส่วน คือ หากมีการนำมาใส่ภาชนะการเปลี่ยนแปลงจะเป็นลักษณะเลือดอยู่ชั้นล่าง น้ำเหลืองจะลอยตัวขึ้นอยู่ข้างบนของชั้นน้ำเลือด ซึ่งหากน้ำเหลืองแข็งตัวมาก ก็จะพบเพียงก้อนวุ้นเฉยๆ ไม่ใช่เป็นในลักษณะเม็ดน้ำตาลทราย หรือเม็ดทรายเล็กๆ สรุปได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นตามทฤษฎีทางการแพทย์ไม่เคยพบเห็นมาก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีที่ศพไม่เน่า ตามทฤษฎีทางการแพทย์อธิบายได้หรือไม่ พล.อ.ต.นพ.วิชาญกล่าวว่า กรณีนี้เรียกว่า ภาวะน้ำออกจากเซลล์มากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ และอากาศถ่ายเทสะดวก ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็นภาวะเหมาะสมที่ทำให้สภาพร่างกายของศพไม่เน่าได้ แต่กรณีนี้ไม่พบเห็นบ่อย เกิดขึ้นได้น้อยมาก
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การอธิบายกรณีที่เกิดขึ้น ถือเป็นเรื่องยาก เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา แพทย์หลายท่านก็นับถือศาสนาพุทธ แม้ว่าจะสามารถนำก้อนเลือด ก้อนน้ำเหลืองดังกล่าวไปพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถึงที่มาที่ไป ก็อาจดูไม่เหมาะสม เพราะเป็นเรื่องของความศรัทธา ดังนั้น คงไม่สามารถจะเอาวิทยาศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์ในลักษณะนี้ได้
ด้าน ดร.นำชัย ชีววรรธน์ นักวิชาการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า หากจะอิงตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น ถือว่ายากมาก เนื่องจากไม่มีทฤษฎีใดอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากหากต้องการความชัดเจนจะต้องมีการนำตัวอย่างเลือดและน้ำเหลืองดังกล่าวมาตรวจหาดีเอ็นเอ ซึ่งหากพบยีนหรือสิ่งใดที่แสดงว่า เม็ดน้ำตาลทรายดังกล่าวเป็นน้ำเหลืองและเลือดจริง หลังจากนั้นจึงจะสามารถทำการวิเคราะห์หาสาเหตุต่อไปว่าเหตุใดสภาพของเหลวจึงกลายเป็นของแข็งเช่นนั้นได้
"ในประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องราวลักษณะดังกล่าวมาก โดยเฉพาะในพระอรหันต์ที่บรรลุธรรมที่เมื่อละสังขารแล้วเลือดและกระดูกกลายเป็นพระธาตุ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครนำไปพิสูจน์หรือผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด ทำให้ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่บอกเล่ามานั้นเป็นจริงหรือไม่" ดร.นำชัยกล่าว
เครดิต มติชน ออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น