คนฆ่าลอยนวล ( นายกฯ ทรราชย์ ) ข่าวสดเช้านี้
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7387 ข่าวสดรายวัน
คนฆ่าลอยนวล คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สับไก กระสุนธรรม
มี รายงานอีกฉบับเกี่ยวกับชะตากรรมนักข่าวทั่วโลกในปี 2553 เพิ่งแถลงในสัปดาห์นี้ เป็นของคณะกรรมาธิการคุ้มครองนักข่าวในนครนิวยอร์ก สหรัฐ อเมริกา หรือ CPJ
สรุปตัวเลขนักข่าวที่ถูกสังหารทั่วโลก อย่างน้อย 44 ราย ถูกจำคุก 145 ราย
ประเทศที่มีนักข่าวถูกสังหาร ปรากฏชื่อ "ไทยแลนด์" อีกรอบ จากเหตุ การณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.2553
หนึ่งรายคือ นายฮิโร ยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของรอยเตอร์ ซึ่งผลการสอบสวนที่ดีเอสไอแถลงเมื่อ 20 ม.ค.54 จัดอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
อีกชีวิตคือ นายฟาบิโอ โปเลงกี นักข่าวอิตาลี อยู่ในกลุ่มที่ไม่รู้ว่าใครสังหาร
"ไทยแลนด์" ยังมีชื่ออยู่ในความเห็นของรายงานที่เขียนว่า "บรรดาประเทศประชาธิปไตยของเอเชีย เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ดูเหมือนไม่มีศักยภาพในการยกเลิกคำสั่งนิรโทษกรณีที่นักข่าวถูกสังหาร"
กล่าวให้ชัดอีกทีคือ คนที่ฆ่านักข่าวมักลอยนวลไปได้ จากช่องทางของการนิรโทษกรรม
คำสรุปดังกล่าวเป็นเรื่องที่พิสูจน์มาจากอดีต และยังรอการพิสูจน์ต่อไปในอนาคต
คำถามที่ตามมาก็คือ รัฐบาล "ใส่ใจ" หรือไม่ หรือคิดว่าเดี๋ยวเรื่องก็เงียบไปเอง
แต่การปล่อยผ่านในยุคนี้คงไม่ง่าย เพราะมีกลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อสู้ให้คนตายอยู่ทุกวัน
ในประเทศมีกลุ่มเสื้อแดงที่ยังทวงถามความรับผิดชอบต่อคนตาย (รวมถึงคนเป็นที่ยังอยู่ในคุก) ส่วนนอกประเทศมีทนายฝรั่งของกลุ่มเสื้อแดง
การที่มีสมาชิกพรรครัฐบาลขู่อาฆาตว่าต้องเอาตัวนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายคนที่ว่านี้มาเข้าคุกในเมืองไทย เพราะเผยแพร่สมุดปกขาว "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ" จึงเป็นเรื่องน่าขำ
เพราะคนเป็นทนายมีหน้าที่ขุดคุ้ยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อลูกความ หากข้อมูลนั้นเป็นเท็จฝ่ายตรงข้ามจะต้องโต้แย้งและหักล้างด้วยข้อมูลอีกด้าน
ถึงไปจับนายโรเบิร์ตมาได้ แต่ยังเถียงไม่ได้ว่า รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับการตายในเหตุการณ์นี้
มันก็ไม่มีประโยชน์อันใดเลย
คนฆ่าลอยนวล คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สับไก กระสุนธรรม
มี รายงานอีกฉบับเกี่ยวกับชะตากรรมนักข่าวทั่วโลกในปี 2553 เพิ่งแถลงในสัปดาห์นี้ เป็นของคณะกรรมาธิการคุ้มครองนักข่าวในนครนิวยอร์ก สหรัฐ อเมริกา หรือ CPJ
สรุปตัวเลขนักข่าวที่ถูกสังหารทั่วโลก อย่างน้อย 44 ราย ถูกจำคุก 145 ราย
ประเทศที่มีนักข่าวถูกสังหาร ปรากฏชื่อ "ไทยแลนด์" อีกรอบ จากเหตุ การณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.2553
หนึ่งรายคือ นายฮิโร ยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของรอยเตอร์ ซึ่งผลการสอบสวนที่ดีเอสไอแถลงเมื่อ 20 ม.ค.54 จัดอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง
อีกชีวิตคือ นายฟาบิโอ โปเลงกี นักข่าวอิตาลี อยู่ในกลุ่มที่ไม่รู้ว่าใครสังหาร
"ไทยแลนด์" ยังมีชื่ออยู่ในความเห็นของรายงานที่เขียนว่า "บรรดาประเทศประชาธิปไตยของเอเชีย เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ดูเหมือนไม่มีศักยภาพในการยกเลิกคำสั่งนิรโทษกรณีที่นักข่าวถูกสังหาร"
กล่าวให้ชัดอีกทีคือ คนที่ฆ่านักข่าวมักลอยนวลไปได้ จากช่องทางของการนิรโทษกรรม
คำสรุปดังกล่าวเป็นเรื่องที่พิสูจน์มาจากอดีต และยังรอการพิสูจน์ต่อไปในอนาคต
คำถามที่ตามมาก็คือ รัฐบาล "ใส่ใจ" หรือไม่ หรือคิดว่าเดี๋ยวเรื่องก็เงียบไปเอง
แต่การปล่อยผ่านในยุคนี้คงไม่ง่าย เพราะมีกลุ่มเคลื่อนไหวที่ต่อสู้ให้คนตายอยู่ทุกวัน
ในประเทศมีกลุ่มเสื้อแดงที่ยังทวงถามความรับผิดชอบต่อคนตาย (รวมถึงคนเป็นที่ยังอยู่ในคุก) ส่วนนอกประเทศมีทนายฝรั่งของกลุ่มเสื้อแดง
การที่มีสมาชิกพรรครัฐบาลขู่อาฆาตว่าต้องเอาตัวนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายคนที่ว่านี้มาเข้าคุกในเมืองไทย เพราะเผยแพร่สมุดปกขาว "การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ" จึงเป็นเรื่องน่าขำ
เพราะคนเป็นทนายมีหน้าที่ขุดคุ้ยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อลูกความ หากข้อมูลนั้นเป็นเท็จฝ่ายตรงข้ามจะต้องโต้แย้งและหักล้างด้วยข้อมูลอีกด้าน
ถึงไปจับนายโรเบิร์ตมาได้ แต่ยังเถียงไม่ได้ว่า รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับการตายในเหตุการณ์นี้
มันก็ไม่มีประโยชน์อันใดเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น