วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


http://www.thaiaccountability.org/background/?lang=t

ประวัติความเป็นมา



Map of Thailand from the CIA World Factbook

การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2010 เกิดขึ้นเพราะประชาชนจำนวนมากของไทยได้รับผลประโยชน์จากกฎเกณฑ์ในระบอบประชาธิปไตยและหวาดกลัวว่าประชาชนจะสูญเสียอิสรภาพและเสรีภาพแห่งประชาธิปไตยซึ่งต่อสู้มาด้วยความยากลำบากไป

ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองซึ่งผสมผสานไปด้วยความเป็นประชาธิปไตยและเผด็จการอำนาจนิยม และสิ่งที่กลุ่มอำนาจต่างๆ คุ้นเคยก็คือการครอบงำโดยกลุ่มที่เรียกว่า “เครือข่ายอำนาจรัฐ” (“Establishment”) ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนระดับสูง ผู้นำกองทัพ กลุ่มธุรกิจตระกูลใหญ่ และกลุ่มองคมนตรี ซึ่ง “เครือข่ายอำนาจรัฐ” นี้ ใช้อำนาจเหนือนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง การใช้อำนาจแบบนี้ถูกระงับไปชั่วคราวเพราะเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในเดือนพฤษภาคมปี 2535 เมื่อมีการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างพลเรือนและกองทัพ ซึ่งทำให้เกิดกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ที่นำไปสู่การใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ที่เรียกกันว่าเป็น “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” ซึ่งก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน และนำประเทศ เข้าสู่ทิศทางของการเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์แบบ
ในเดือนมกราคม 2544 ซึ่งเป็นการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผลของการเลือกตั้งคือการชนะได้เสียงข้างมากในสภาโดยพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งใหม่ภายใต้การนำของนักธุรกิจหนุ่มผู้มั่งคั่ง ทักษิณ ชินวัตร พรรคการเมืองพรรคนี้มีนโยบายที่ทะเยอทะยาน คือ การนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง โดยมุ่งไปที่การเปิดเสรีทางการตลาดและการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่กลุ่มประชากรในวัยทำงาน และในช่วงเวลาหลายปีหลังจากนั้น รายได้ของประชาชนก็เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละสามสิบ ในขณะที่จำนวนประชาชนที่ยากจนลดลงไปกว่าครึ่ง นโยบายเศรษฐกิจการตลาดแบบเสรีทำให้การค้าขายกับต่างประเทศและการลงทุนทางตรงของต่างประเทศเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้ การส่งเสริมด้านการศึกษา นโยบายสุขภาพสาธารณะและการส่งเสริมการลงทุนโดยธุรกิจขนาดเล็ก ก็มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจภายในประเทศ หลังจากที่เป็นนายกรัฐมนตรีจนครบวาระ 4 ปี ทักษิณก็นำพรรคไทยรักไทยไปสู่การเป็นผู้นำทางการเมือง โดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อมาอย่างขาดลอย ได้คะแนนเสียงกว่าสามในสี่ของที่นั่งในสภา และทำให้ทักษิณได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัยหนึ่ง

Thaksin Shinawatra
พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากของประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ และในกระบวนการจัดทำนโยบายเพื่อสนองตอบต่อประชาชน พรรคไทยรักไทยได้จัดนโยบายทางการทหารไว้ภายใต้การกำกับของพลเรือน และทำลายเครือข่ายผลประโยชน์ซึ่งกลุ่มองคมนตรีเคยใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอิทธิพลเหนือบรรดาหน่วยงานของราชการ ศาล และกองทัพ การปฏิบัติตามนโยบายเศรษฐกิจ “Dual Track” ของพรรคไทยรักไทย ทำให้กลุ่มนักธุรกิจระดับสูงไม่พอใจ เพราะนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดตลาดเสรีทำให้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ต้องปรับตัวเข้าสู่การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น และการที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยมุ่งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจนของชาวนาและคนจนในเมือง ทำให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มผู้สนับสนุนสำคัญของ “เครือข่ายอำนาจรัฐ”
การทำรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 คือความพยายามของกลุ่ม “เครือข่ายอำนาจรัฐ” ที่จะยึดอำนาจในการบริหารจัดการประเทศไทย รัฐบาลที่ตั้งโดยทหารเข้าแทรกแซงการดำเนินการของรัฐ สั่งยุบพรรคไทยรักไทยและห้ามผู้นำพรรคเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่การรัฐประหารครั้งนั้น “เครือข่ายอำนาจรัฐ” ได้พยายามยึดศูนย์อำนาจในการปกครองประเทศผ่านภาพลักษณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พวกเขาพยายามอย่างไม่ลดละที่จะลบชื่อและความนิยมของพรรคไทยรักไทยจากภูมิศาสตร์ทางการเมืองของประเทศ และพยายามทำให้การเลือกตั้งนำไปสู่รัฐบาลที่อ่อนแอ ทำให้ต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำของกลุ่มอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เมื่อไม่สามารถทำลายความนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักไทยได้ กลุ่ม “เครือข่ายอำนาจรัฐ” ก็เข้าแทรกแซงกระบวนการตุลาการ โดยเพิ่มอำนาจให้ตุลาการของฝ่ายตนผ่านรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่จะหยุดยั้งหรือล้มเลิกการดำเนินการใดๆ ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเมื่อพรรคการเมืองที่สืบทอดนโยบายของพรรคไทยรักไทยอย่างพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งในปลายปี 2550 ศาลโดยคณะผู้พิพากษาซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นพิเศษ ก็ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งปีในการยุบพรรคพลังประชาชน และห้ามผู้นำพรรคเข้ามีส่วนร่วมในทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในที่สุด ภายใต้การช่วยเหลือของศาลและการแทรกแซงนักการเมืองในกลุ่มที่เดิมเคยสนับสนุนทักษิณ บวกกับความวุ่นวายทางการเมืองโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่ม “เครือข่ายอำนาจรัฐ” ก็สามารถผลักดันอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ในเดือนธันวาคม 2551 และตั้งแต่เข้าสู่อำนาจ รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ก็ทำทุกวิถีทางที่จะทำลายล้างกระบวนการประชาธิปไตย เสรีภาพในการแสดงความเห็น สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการคุ้มครองพลเมืองที่เป็นชนกลุ่มน้อย ตัวอย่างเช่น การที่รัฐบาลสั่งปิดเวบไซต์กว่า 250,000 แห่ง ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายค้าน และดำเนินคดีบุคคลจำนวนมากภายใต้การกล่าวหาทางการเมืองว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” และยังบังคับใช้กฎหมายยุคโบราณที่จำกัดเสรีภาพอย่าง พรบ. ความผิดที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ และทุกครั้งที่มีการรวมตัวของประชาชนเพื่อแสดงออกทางการเมือง รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ก็สั่งกองทัพให้ใช้กำลังและยกเลิกเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ โดยประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายในและประกาศภาวะฉุกเฉินที่เลวร้ายยิ่งกว่า
ความโกรธและความไม่พอใจที่ถูกขัดขวางการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนจำนวนมากมายมหาศาลเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองระดับรากหญ้าที่เรียกว่า “กลุ่มคนเสื้อแดง” เป็นเหตุให้เกิดความสั่นคลอนต่ออำนาจของกลุ่ม “เครือข่ายอำนาจรัฐ”
“กลุ่มคนเสื้อแดง” หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) กลายเป็นพลังทางสังคมที่ขับเคลื่อนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง นปช. เป็นแนวร่วมและเป็นพลังทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และมีส่วนร่วมของมวลชนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
วันที่ 12 มีนาคม 2553 กลุ่มคนเสื้อแดงหลายแสนคนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศได้เดินทางเข้ามาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในกรุงเทพ และประกาศว่าจะไม่ยุติการชุมนุมจนกว่านายอภิสิทธิ์จะยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เพราะก่อนหน้านี้ในปี 2552 ก็เคยจัดการชุมนุมแล้ว แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ และตลอดระยะเวลา 2 เดือนหลังจากนั้น กลุ่มคนเสื้อแดงก็ยืนหยัดต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนมีการใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมอย่างเหี้ยมโหดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งถือได้ว่าเป็นการใช้ความรุนแรงโดยรัฐและกองทัพที่เลวร้ายที่สุดของประวัติศาสตร์ของไท

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 กรกฎาคม 2554 เวลา 02:50

    พูดแค่ สองประเด็นคือ มีกลุ่มเผด็จการ(ทหาร) กับคนรักทักษิณ ชินวัตร ไม่พูดเลยหรอว่า มีประเด็นอื่นอีกที่ทำให้ทักษิณ พ้นตำแหน่ง ทั้งโกงประเทศชาติ คอรัปชันสนามบิน คอรัปชันบ้านเอื้ออาทร โกงหุ้น ขายประเทศ และอีกมากมายไม่เห็นพูดเลย คงปลูก คงอยากใช้ฐานเสียงประชาชนที่มีอยู่มากหละสิที่บอกความนัยว่าแกนนำคนเสื้อแดงและทักษิณอยู่ข้างประชาชน ถ้าเป็นกลางจริงคงไม่พูดแบบนี้ และอ้างว่าทหารทำการเหี้ยมโหดกับผู้ชมนุ่ม ดูในทั้งข่าวในบ้านเรา และข่าวในต่างประเทศ ก็เห็นๆๆกันอยู่ว่าอะไรเป็นอะไรที่ใครกันแน่ทำอย่างเหี้ยมโหด ยิ่งแกนนำเสื้อแดงยิ่งปลุกระดม ไม่ใช่การพูดเชิงเหตุผลความเป็นจริงเลย บทความนี้จึงไม่น่าเชื่อถือเลยแม้แต่นิดเดียว

    ตอบลบ