วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554


แถลงการณ์จากคุก:
กรณีจับชาวบ้าน-นักศึกษาต้านกฟผ.สร้างเสาไฟฟ้าแรงสูง

ผ่านที่นาในอุดรธานี



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
29 พฤษภาคม 2554

นายณัฐวุฒิ พรมภักดี ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน (ศสส.) หนึ่งในกลุ่มนักศึกษาและชาวบ้าน 15 คนที่ถูกจับกุมกรณีคัดค้านการก่อสร้างเสา และแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (ขนาด 500 กิโลโวลต์ (kv.) น้ำพอง2-อุดรธานี3) ได้เขียนแถลงการณ์จาก “ คุก ” ณ สถานกักขังเสรีภาพและความถูกต้อง สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรอุดรธานี ลงในเฟซบุ๊ค ดังต่อไปนี้

พวกเราจะขอยืนหยัดต่อสู้เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรม และให้เกิดความเท่าเทียม จากกรณีปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชนที่การไฟฟ้าฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการสร้างโครงข่ายระบบไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ น้ำพอง2-อุดรธานี3 พาดผ่านที่พื้นที่ทำกินของชาวบ้านในจังหวัดอุดรธานี จึงนำมาซึ่งการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านในนาม คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (คชส.) เพื่อคัดค้านการดำเนินโครงการดังกล่าวของ กฟผ.

ด้วยเพราะหวั่นเกรงต่อผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเสียสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน อีกทั้ง กลุ่มชาวบ้านได้เล็งเห็นว่าการดำเนินการของ กฟผ. ไม่ชอบธรรม และมีพฤติกรรมการละเมิดสิทธิชาวบ้าน เสมอมา

ดังปรากฏมาแล้ว เช่น กรณีการบังคับขู่เข็ญเพื่อเข้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และตัดโค่นต้นไม้ของนางจันทร์เพ็ญ ที่จ.ร้อยเอ็ด เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเธอและครอบครัวมาตราบจนทุกวันนี้ และเหตุการณ์ล่าสุด ก็คือ การเข้าไปเหยียบย่ำ และทำลายแปลงนาของชาวบ้านที่อ.ภาชี จ.อยุธยา อย่างไม่มีความละอายต่อบาป และไม่สำนึกถึงบุญคุณของข้าวที่ได้หล่อเลี้ยงพวกเขาให้ได้เติบใหญ่มา

ถึงแม้ชาวบ้านจะวิงวอน ร้องขอแล้ว อย่างไรก็ดี เสียงท้วงติงจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสาธารณชน ว่าจะเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิ์ หากว่า กฟผ.จะดื้อดึงลงไปดำเนินการในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และขอให้ชะลอการดำเนินการเพื่อรอผลคำตัดสินของศาลปกครองเสียก่อน แต่ก็ไม่เป็นผล จึงนำมาซึ่งเหตุการณ์อัปยศในครานี้

ที่บ้านเหล่ากล้วย หมู่ 3 ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เจ้าหน้าที่ กฟผ.และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กว่า 200 นาย ได้ร่วมกันละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ด้วยการใช้กำลังข่มขู่ บังคับ และทำร้ายร่างกายก่อนเข้าจับกุมชาวบ้านและนักศึกษาที่มีจำนวนไม่ถึง 20 คน พร้อมยึดกล้องบันทึกภาพและลบภาพถ่ายทั้งหมดทิ้ง เพื่อทำลายหลักฐานอันเป็นพฤติกรรมป่าเถื่อนของพวกเขา ก่อนนำมาฝากขัง และยัดเยียด ข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ขัดขวางการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ กฟผ. ในการสำรวจและวางรากฐานเสาไฟฟ้า ทั้งที่ในความจริงกลุ่มชาวบ้านและนักศึกษาได้ร่วมกันปกป้องสิทธิชุมชนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญโดยการร่วมกันชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

พวกเราในนามเครือข่ายนักศึกษาคนรุ่นใหม่เเละประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่ได้ร่วมกันทำกิจกรรม และปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการโครงการของรัฐและนายทุนตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

จากข้อเท็จจริงที่พวกเราได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ และถูกเจ้าหน้าที่ กฟผ.ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำ เฉกเช่นเดรัจฉาน จึงมีข้อเรียกร้องและมีข้อเสนอต่อสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

ประการแรก พวกเราขอประณามพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ กฟผ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ร่วมกันปล้นทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น อย่างไร้ยางอายต่อกลุ่มเด็ก เยาวชน และคนแก่เฒ่า ที่ร่วมกันออกมาปกป้องสิทธิชุมชนท้องถิ่น

ประการที่สอง พวกเราขอเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน มาดำเนินการทางด้านกฎหมายต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ กฟผ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำการต่อกลุ่มชาวบ้านและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ถูกกระทำในครั้งนี้

ประการที่สาม พวกเราขอเชิญชวนและเรียกร้อง ให้คนรุ่นใหม่ คนหนุ่มสาว และบุคคลสาธารณะทุกกลุ่มองค์กร มาร่วมกันในภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชาวบ้าน เพื่อการปกป้องสิทธิชุมชนท้องถิ่น

ประการสุดท้าย พวกเราขอประกาศก้อง กังวาน ต่อความอยุติธรรม ที่หน่วยงานภาครัฐและกลุ่มทุน กระทำต่อชุมชนและสังคม ว่าพวกเราจะขอยืนหยัดต่อสู้เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและให้เกิดความเท่าเทียม ณ บัดนี้ และตลอดไป

ด้วยจิตคารวะ
27 พฤษภาคม 2554

เครือข่ายนักศึกษาคนรุ่นใหม่เเละประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
- กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
- กลุ่มอาศรมบ่มเพาะแนวความคิดและจิตวิญญาณ
- ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- กลุ่มนกกระจอก
- กลุ่ม Friend For Activity (FAN)
- กลุ่มไทยอิปูตาเย
- กลุ่มคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน
- กลุ่มสื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม อุดรธานี
- กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี

นักกิจกรรมออกแถลงการณ์คัดค้านโครงการข่ายไฟฟ้าอุดรธานี-น้ำพอง จี้ปล่อยตัวชาวบ้าน-นศ.

ประชาไท รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 54 ที่ผ่านมาศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน ออกแถลงการณ์ร่วมคัดค้านโครงการข่ายไฟฟ้าอุดรธานี-น้ำพอง ร่วมแสดงจุดยืนให้ปล่อยตัวชาวบ้านและนักศึกษา 15 คน โดยไม่มีเงื่อนไขโดยมีรายละเอียดดังนี้

แถลงการณ์ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน:ร่วมคัดค้านโครงการข่ายไฟฟ้าอุดรธานี-น้ำพอง ร่วมแสดงจุดยืนให้ปล่อยตัวชาวบ้านและนักศึกษา 15 คน โดยไม่มีเงื่อนไข!!!

วันที่ 27 พฤษภาคม 2554

สืบเนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเจ้าหน้าที่ กฟผ. ตำรวจและฝ่ายปกครอง จังหวัดอุดรธานี เข้าสลายการชุมนุมชาวบ้านในนามคณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสาย ส่งไฟฟ้าแรงสูง(คชส.)จ.อุดรธานี จับกุมชาวบ้านและนักศึกษาที่คัดค้านโครงการข่ายไฟฟ้าน้ำพอง-อุดรธานี จำนวน 15 คน ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2554

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน (ศปช.) ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายแรงงาน เกษตรกร นิสิตนักศึกษาเยาวชน ขอแสดงจุดยืนในการคัดค้านโครงการก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าฯ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

ประการแรก การดำเนินโครงการละเมิดสิทธิประชาชนอย่างร้ายแรง

จากการดำเนินโครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เกิดความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิประชาชนจากโครงการก่อสร้างแนวสายส่ง ไฟฟ้าในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดน่าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวันที่ 5 พฤษภาคม และวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 เจ้าหน้าที่ กฟผ. ได้ประสานกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองเข้ารื้อถอนทำลายทรัพย์สินชาว บ้านโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน พฤติกรรมดังกล่าวแสดงถึงเจตนาในการยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้าและความรุนแรง และเป็นการทำลายทรัพย์สินของประชาชน

ประการที่สอง เร่งรัดดำเนินการโครงการโดยไม่รอการพิจารณาของศาล

ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จ.อุดรธานี ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองจังหวัดขอนแก่นเมื่อ พ.ศ.2551 และยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่าการดำเนินโครงการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเร่งรัดดำเนินการโครงการฯ เพื่อบีบให้ประชาชนยินยอมหรือมัดมือชกประชาชน หากผลการพิจารณาของศาลระบุว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมลงชื่อคัดค้านการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของ หน่วยงานรัฐและ กฟผ. และร่วมลงชื่อให้กำลังใจต่อผู้บริสุทธิ์ทั้ง 15 คน โดยมีจุดยืนร่วมกันดังนี้

1. ปล่อยตัวชาวบ้านและนักศึกษา 15 คน โดยไม่มีเงื่อนไข !!!

2. ยุติการดำเนินการโครงการไว้ก่อน เนื่องจากโครงการได้ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง การละเมิดสิทธิประชาชน และการทำลายทรัพย์สินของประชาชน

3. เจ้าหน้าที่ กฟผ. ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ยุติการกระทำการใดๆ อันจะก่อให้เกิดลักษณะเผชิญหน้า ข่มขู่ ยั่วยุ ต่อชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จ.อุดรธานี

ด้วยจิตคารวะ

องค์กรร่วมลงชื่อองค์กร

1. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาชน (ศปช.)
2. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ
3. ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยม-ประชาธิปไตย (YPD)
4. กลุ่มเพื่อนประชาชน (FOP)
5. กลุ่มลูกชาวบ้าน (ม.บูรพา)
6. กลุ่มสะพานสูง (ม.ธรรมศาสตร์)
7. ซุ้มลาดยาว (ม.รามคำแหง)
8. ครอบครัวนักกิจกรรมภาคใต้
9. คนรุ่นใหม่ภาคอีสาน
10. คนรุ่นใหม่ภาคกลาง
11. กลุ่ม FAN
12. เครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคม
13. เครือข่ายนักศึกษาเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบเหมืองแร่แห่งประเทศไทย


ลงชื่อบุคคล

1.Dechawat Kajonnetiyut
2.กันต์ แสงทอง นักศึกษาปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
3.จิตตินันท์ สุขโน ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
4.จิตรา คชเดช ที่ปรึกษา/เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่แงประเทศไทย
5.ชัยวัฒน์ ตรีวิทยา
6.ชาติชาย แกดำ
7.ชุตินาถ ชุนวิมลศิริ
8.ณัฐพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์
9.ณัฐพงษ์ ราชมี
10.ณัฐพล ไทยสะเทือน
11.เดชาวัต ขจรเนติยุทธ
12.เทวฤทธิ์ มณีฉาย
13.เทิดพันธุ์ พวงเพ็ชร
14.ธนิสสร มณีรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ รามคำแหง
15.นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
16.นิรุทธ์ ธรรมธิ จ.เชียงใหม่
17.ประดิษฐ์ ลีลานิมิต
18.ประสิทธิ์ชัย มากพิณ
19.ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์
20.ปฤณ เทพนรินทร์ครับ
21.พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
22.ภมร ภูผิวผา จ.อุดรธานี
23.ไม้หนึ่ง ก.กุนที
24.รัฐกานต์ ขำเขียว
25.รัฐพล เจริญพงษ์
26.ฤทัยชนก สิมมะระ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
27.วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ กองบรรณาธิการนิตยสาร Democrazy
28.วันเพ็ญ ก้อนคำมงคล ไชยบุญแก้ว นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29.วินัย ผลเจริญ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
30.วิภา มัจฉาชาติ กลุ่มคนงาน Try Arm
31.สุกัญญา ใสงาม
32.สุธัมมะ ธรรมศักดิ์
33.อธิปัตย์ จันทร์ใส รัฐศาสตร์ มศว
34.อนุธีร์ เดชเทวพร อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2552-2553
35.อานนท์ ชวาลาวัณย์ ประชาชน
36.การันตี ดีเป็นแก้ว นักศึกษา ม.วลัยลักษณ์

ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปสามารถร่วมลงชื่อได้ที่http://www.facebook.com/event.php?eid=176358792417359

ในวันเดียวกัน (27 พ.ค.54) เครือข่ายนักศึกษากลุ่มต่างๆ ได้ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ต่อกรณีการจับกุมกลุ่มชาวบ้านและนักศึกษา โดยระบุให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของ กฟผ.และหน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการทั้งทางตรง ทางอ้อมหรือในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อประท้วงในการกระทำดังกล่าว


แถลงการณ์ต่อกรณีการทำร้ายร่างกายและจับกุมตัวพี่น้องชาวบ้านและกลุ่มนักศึกษา ที่ทำการประท้วงการก่อสร้าง
ระบบโครงการข่ายไฟฟ้า ๕๐๐ กิโลโวลต์ น้ำพอง ๒-อุดรธานี ๓ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พาดผ่านบ้านเรือนและที่ดินทำกินของประชาชน

สถานการณ์ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 5 และวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าตำรวจและฝ่ายปกครอง เข้าไปรื้อถอน ทำลายทรัพย์ของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฯ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน

วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านที่ดินและป่า แถลงข่าวกรณีการกระทำดังกล่าวว่า ถือเป็นการยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้ และมีข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาดังนี้

1. ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยุติการดำเนินการใดๆ อันจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ร้องหรือทรัพย์สินของผู้ร้อง จนกว่าคดีในศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญจะถึงที่สุด รวมทั้งยุติการนำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองกระทำการใดๆ ในลักษณะเผชิญหน้า ยั่วยุกับกลุ่มผู้ร้อง เพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้

2. ขอให้ศาลปกครอง ควรพิจารณามาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้กับประชาชนผู้เดือดร้อน

3. กฎหมายดังกล่าวนอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับกลุ่มประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีแล้ว ยังมีประชาชนในอีกหลายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในลักษณะดังกล่าว หากศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญไม่เร่งพิจารณาคดีความให้เป็นที่ยุติ การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในลักษณะดังกล่าวจะกลายเป็นการขยายความขัดแย้งจากโครงการก่อสร้างแนวสายส่งไฟฟ้าให้ลุกลามไปในอีกหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดน่าน จังหวัดอยุธยา เป็นต้น

สถานการณ์ล่าสุด

วันที่ 27 พฤษภาคม 54 ปรากฏว่าทาง กฟผ. ไม่ได้ปฏิบัติตามและละเลยต่อข้อเสนอ จากแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านที่ดินและป่านำกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง รวมแล้วกว่า 100 นาย เข้าพื้นที่เพื่อเดินหน้าก่อสร้างระบบโครงการข่ายไฟฟ้า ๕๐๐ กิโลโวลต์ ต่อไป

ในขณะที่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและกลุ่มนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการ ได้ทำการประท้วง โดยการนั่งในพื้นที่ที่ดินทำกินของตนเองเพื่อยืนยันสิทธิของตนเอง จนเป็นเหตุให้เกิดการเผชิญหน้ากัน นำไปสู่การนำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุม จนได้รับบาดเจ็บ และนำตัวผู้ชุมนุมไปกักขังที่สถานีตำรวจ

การดำเนินการดังกล่าวของ กฟผ. เป็นการไม่คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน และละเมิดสิทธิด้านข้อมูลข่าวสารและสิทธิชุมชน นอกจากนั้นยังพบว่ามีการเปลี่ยนแนวสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้พ้นที่ดินและบ้านเรือนตามอำเภอใจ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งถือเป็นการเลือกปฏิบัติและสร้างความไม่เป็นธรรมแก่กลุ่มประชาชนที่เดือดร้อน รวมทั้งไม่รอการพิจารณาของศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทางพี่น้องชาวบ้าน ได้ทำการยื่นฟ้องตั้งแต่ปี 2551

ทั้งหมดนี้ แสดงถึงการใช้อำนาจ จากภาครัฐที่ไม่เป็นธรรม อย่างต่อเนื่อง เราขอเรียกร้อง

1.ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวชาวบ้านและนักศึกษาทั้งหมด

2.กฟผ.ต้องดำเนินการตามข้อเสนอ จากแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจด้านที่ดินและป่า เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2554

3.ให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่อการกระทำทั้งหมดของ กฟผ. หรือหมดความหวังต่อการเรียกร้องใดๆ จากภาครัฐดำเนินการปฏิบัติการในด้านใดๆก็ตาม ที่ส่งผลทั้งทางตรงหรือทางอ้อมหรือในเชิงสัญลักษณ์ ต่อการทำลายความชอบธรรมในการใช้อำนาจของ กฟผ. เพื่อประท้วงในการกระทำดังกล่าว

เพื่อสิทธิของผู้ถูกกดขี่
27 พฤษภาคม 2554

องค์กรร่วมลงชื่อ

1. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ
2. ครอบครัวนักกิจกรรมภาคใต้
3. คนรุ่นใหม่ภาคอีสาน
4. คนรุ่นใหม่ภาคกลาง
5. กลุ่ม FAN
6. เครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคม (ภาคใต้)
7. เครือข่ายนักศึกษาเฝ้าระวังและติดตามผลกระทบเหมืองแร่แห่งประเทศไทย
8. กลุ่มแสงดาว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
9. กลุ่มนกกระจอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
10. ชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น
11. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12. กลุ่มระบายฝัน
13. กลุ่มลูกชาวบ้าน (ม.บูรพา)
14. กลุ่มสะพานสูง (ม.ธรรมศาสตร์)
15. ซุ้มลาดยาว (ม.รามคำแหง)


http://redusala.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น