22 ส.ค.2557 หลังจากที่วานนี้(21 ส.ค.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกใน พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นรัฐมนตรี ส่งผลให้ได้นายกคนที่ 29 และเป็นผลบวกให้สัดส่วนนายกฯ ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า(หรือโรงเรียนนายร้อยทหารบก) เพิ่มขึ้นเป็น 11 ราย หรือคิดเป็น ร้อยละ 38 ของจำนวนนายกฯ ทั้งหมด
ซึ่งประกอบด้วย พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), จอมพล แปลก พิบูลสงคราม, จอมพล ถนอม กิตติขจร, จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์, พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, พลเอก เปรม ติณสูลานนท์, พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ, พลเอก สุจินดา คราประยูร, พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และล่าสุดพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ขณะที่อันดับ 2 คือ นิติศาสตร์(หรือวิชากฏหมาย) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4 ราย ร้อยละ 14 ของจำนวนนายกฯ ประกอบด้วย ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ชวน หลีกภัย, สมัคร สุนทรเวช และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์
โดยมีอันดับ 3 อยู่ 2 สถาบันละ 2 ราย ร้อยละ 7 คือ วิชาปรัชญา,เศรษฐศาสตร์ และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple)ประเทศอังกฤษ ประกอบด้วย พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) และ สัญญา ธรรมศักดิ์
ทั้งนี้นายกฯ ที่เหลืออีก 10 ราย นั้นกระจายวิชาและสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ลำดับ
|
รายชื่อนายกรัฐมนตรี
|
สถาบันการศึกษา
|
1
|
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
|
โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม (เนติบัณฑิตสยาม) The Middle Temple (เนติบัณฑิต) ประเทศอังกฤษ
|
2
|
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
|
โรงเรียนนายร้อยทหารบกและ โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมนี
|
3
|
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
|
โรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส และโรงเรียนทหารขั้นสูง ประเทศเยอรมัน
|
4
|
พันตรี ควง อภัยวงศ์
|
ศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธา ที่เอกอล ซังตรัล เดอ ลียอง ประเทศฝรั่งเศส
|
5
|
ทวี บุณยเกตุ
|
คิงส์คอลเลจ ประเทศอังกฤษ วิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศฝรั่งเศส
|
6
|
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
|
โรงเรียนเทรนต์ (Trent College) ในเมือง นอตติงแฮมไชร์ ประเทศอังกฤษ และศึกษาต่อ ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ ที่ วิทยาลัยวอร์สเตอร์ (Worcester College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ในกรุงลอนดอน
|
7
|
ปรีดี พนมยงค์
|
วิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université de Caen) การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปารีส ฝรั่งเศส
|
8
|
พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
|
โรงเรียนนายเรือ กรุงเทพ และได้ศึกษาวิชากฎหมายจนสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตไทย
|
9
|
พจน์ สารสิน
|
ศึกษาที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยเข้าเรียนวิชากฎหมาย จนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2472 และศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษ
|
10
|
จอมพล ถนอม กิตติขจร
|
โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1)
|
11
|
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
|
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
|
12
|
สัญญา ธรรมศักดิ์
|
โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (The Middle Temple)
|
13
|
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
|
ศึกษาวิชาปรัชญา,เศรษฐศาสตร์ และการเมือง (Philosophy, Politics and Economics - PPE) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
|
14
|
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
|
วิชาวิชากฎหมาย ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ อังกฤษ
|
15
|
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
|
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5
|
16
|
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
|
โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า (โรงเรียนนี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
|
17
|
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
|
โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายทหารม้า และโรงเรียนยานเกราะกองทัพบก (อาร์เมอร์สคูล) รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา
|
18
|
อานันท์ ปันยารชุน
|
ดัลลิชคอจเลจ และปริญญาตรีด้านกฎหมาย (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร
|
19
|
พลเอก สุจินดา คราประยูร
|
โรงเรียนเตรียมทหารและเข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์ รุ่นที่ 5 หลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ (Fort Sill’s) รัฐโอคลาโฮม่า (Oklahoma) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ (Fort Leavenworth)
|
20
|
ชวน หลีกภัย
|
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
21
|
บรรหาร ศิลปอาชา
|
นิติศาสตรบัณฑิต และนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
|
22
|
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
|
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
|
23
|
ทักษิณ ชินวัตร
|
โรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต
|
24
|
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
|
โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
|
25
|
สมัคร สุนทรเวช
|
นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
|
26
|
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
|
นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
|
27
|
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
|
สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (philosophy, politics and economics, PPE) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
|
28
|
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
|
ปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ที่มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา
|
29
|
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
|
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น