วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นักเรียนไทยในยุโรปลงชื่อแถลงการณ์ อย่าปล่อยให้การเรียกร้อง ปชต.เป็นสิ่งผิด


1 ก.ค.2558   นักเรียนนักศึกษาไทยในหลายประเทศของยุโรปรวม 57 คน ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ ‘เพื่อเพื่อนเรา’ เรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ขอให้ปล่อยตัวทั้ง 14 คนโดยไม่มีเงื่อนไข 2. สนับสนุนแนวทางของขบวนประชาธิปไตยใหม่ซึ่งมีหลักการ 5 ข้อ 3.เรียกร้องให้องค์กรนานาชาติจับตาสถานการณ์ใกล้ชิดเพราะเป็นการคุกคามทางความคิดที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมประชาธิปไตย 4.ขอให้ประชาชนสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเท่าที่เป็นไปได้ อย่าปล่อยให้การเรียกร้องประชาธิปไตยกลายเป็นสิ่งผิด
ทั้งนี้ ตัวแทนกลุ่มระบุว่า จะนำแถลงการณ์ดังกล่าวไปยื่นกับองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ในยุโรป โดยตัวแทนของกลุ่มในฝรั่งเศส จะเข้าพบทูตสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรปที่ปารีส เพื่อยื่นจดหมายในวันที่ 6 กรกฎาคมนี้ สำหรับนักศึกษาในยุโรป ที่อยากจะร่วมลงชื่อเพิ่มเติม สามารถส่งชื่อ นามสกุล มหาวิทยาลัย ประเทศ มาตามอีเมล  europeforthe14@gmail.com

แถลงการณ์ “เพื่อเพื่อนเรา”
จากกลุ่มนักเรียนไทยในยุโรปที่ไม่เอารัฐประหาร
          ตั้งแต่มีการรัฐประหารขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มที่ต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างแข็งขันที่สุดกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มนักศึกษา พวกเขามาจากหลายสถาบัน หลายสาขาวิชา หลายภูมิภาค หลายพื้นเพทางสังคม จนกระทั่งอาจมีความคิดความเชื่อทางการเมืองที่หลากหลาย แต่พวกเขาก็ได้รวมตัวกันภายใต้อุดมการณ์ที่ว่า การรัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม สิ่งที่คณะรัฐประหารนำโดยพลเอกประยุทธ จันทร์ โอชาได้ทำ คือการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจอธิปไตยอันเป็นของปวงชน รวมทั้งละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนานัปการ
         นักศึกษาที่ต่อต้านรัฐประหารได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและด้วยสันติวิธี เป็นการเคลื่อนแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในวัฒนธรรมกระแสหลักและในชีวิตประจำวัน เป็นต้นว่าการกินแซนด์วิช การอ่านหนังสือ 1984 จนกระทั่งการชูสามนิ้ว ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อยืนยันถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และคัดค้านการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ได้รับการรับรองจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งอันเป็นหมุดหลักของการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกทำลายด้วยระบอบความกลัวและเผด็จการทหาร อย่างไรก็ตาม นักศึกษาเหล่านี้กลับโดนคุกคามโดยตลอดจากทหารและตำรวจ หลายคนถูก “เชิญตัว” ไปโรงพักหลายครั้งจนคุ้นหน้าคุ้นตาดีกับเจ้าหน้าที่ ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 นักศึกษาส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันอีกครั้งหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เพื่อทำกิจกรรม “ดูนาฬิกา” อย่างสันติ แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ซึ่งมีจำนวนมากกว่านักศึกษาหลายเท่า ใช้กำลังเกินกว่าเหตุควบคุมตัวนักศึกษาราวกับว่าพวกเขาได้ก่อเหตุร้ายแรง ในวันเดียวกันนั้น นักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งได้จัดกิจกรรมชูป้ายต่อต้านรัฐประหารอย่างสันติที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเช่นกัน นักศึกษาเหล่านี้ ได้รับการปล่อยตัว แต่ 16  คนกลับถูกหมายเรียกรายงานตัวตามมาภายหลัง ในวันที่ 24 มิถุนายน  2558  นักศึกษาและนักกิจกรรมที่รวมตัวกันอย่างสันติหน้าหอศิลป์พร้อมนักศึกษากลุ่มดาวดินเดินทางไปที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน กรุงเทพมหานคร  มิใช่เพื่อมอบตัว แต่เพื่อยืนยันว่าพวกเขาไม่มีความผิดและแจ้งความการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ  ซึ่งเป็นเหตุให้นักศึกษาส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ  แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับฟ้องคดี แต่ศาลทหารยังดำเนินการออกหมายจับและจับกุมนักศึกษาจำนวน 14 รายในวันที่ 26 มิถุนายน 2558  ขณะนี้พวกเขายังอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่รัฐในการฝากขังผลัดแรกจนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 เป็นเวลา 12 วัน  และอาจถูกดำเนินคดีในศาลทหาร
         ในฐานะส่วนหนึ่งของนักศึกษาในประเทศต่าง ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ผ่านประสบการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างโชกโชน พวกเราขอแสดงความนับถือในความกล้าหาญของนักศึกษาทั้ง 14 คน พวกเขาไม่เพียงเป็นตัวแทนของปัญญาชน ที่มีหน้าที่คิด เขียน วิพากษ์วิจารณ์ แต่ยังเป็นตัวแทนของประชาชนคนธรรมดาที่ออกมาแสดงออกเพื่อยืนยันในสิทธิที่ตนพึงมี โดยยอมแลกกับเสรีภาพอันน้อยนิดที่มีอยู่ภายใต้รัฐเผด็จการ ในวันนี้ พวกเขาถูกกักขังเพียงเพราะพวกเขาคิดและแสดงออกอย่างสันติ แต่ไม่ตรงกับสิ่งที่รัฐต้องการ พวกเขาถูกปฏิบัติราวกับอาชญากร ตำรวจเคลื่อนพลมาเป็นกองร้อยในขณะที่พวกเขารวมตัวกันเพียงสิบ ๆ คนในแต่ละครั้ง ยังไม่นับเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่คอยสะกดรอย และกดดันทางจิตวิทยาอยู่ตลอดเวลา พวกเขาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า รัฐเผด็จการนั้นกลัวความแตกต่างและพร้อมจะกระทำเกินกว่าเหตุได้ทุกเมื่อ
        ในฐานะส่วนหนึ่งของนักศึกษาในประเทศต่าง ๆ ของยุโรป พวกเราเชื่อว่าบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาทุกที่ในโลก คือการส่งเสริมให้นักศึกษาได้คิด พูด และแสดงออกในสิ่งที่เชื่ออย่างเป็นเหตุเป็นผล เราเชื่อว่าความแตกต่างในทางความคิด เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสิ่งจำเป็น หากไม่มีการถกเถียง ความรู้ก็ไม่มีทางจะก้าวหน้าได้ไม่ว่าในสาขาใด ๆ และสังคมก็จะไม่มีวันพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย และเราเชื่อว่าความรู้ ความคิด และความจริงที่เรายึดถือ ไม่ควรเป็นเหตุให้ใครต้องถูกข้อหาร้ายแรงอย่างที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในประเทศไทยทุกวันนี้ เราจึงมีข้อเรียกร้องดังนี้
  • 1. ขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 14 คนทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข พวกเขาเป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ เคลื่อนไหวโดยสันติด้วยตนเอง ไม่มีเบื้องหลังชั่วร้ายอย่างที่หลายคนพยายามกล่าวหาโดยไม่มีมูล
  • 2. ขอสนับสนุนกลุ่ม “ประชาธิปไตยใหม่” อันเป็นกลุ่มประชาชนผู้สนับสนุนนักศึกษา โดยมีหลักการ 5 ข้อ คือ หลักประชาธิปไตย หลักความยุติธรรม หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน  หลักสิทธิมนุษยชน และหลักสันติวิธี
  • 3. ขอให้องค์กรนานาชาติ เช่นสหภาพยุโรป สหประชาชาติ และองค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ร่วมกันจับตามองสถานการณ์ประเทศไทยอย่างใกล้ชิด การคุกคามนักศึกษา เป็นการคุกคามในเชิงความคิด ซึ่งเป็นภัยที่ร้ายแรงต่อสังคมประชาธิปไตย
  • 4. ขอเรียกร้องให้นักศึกษา อาจารย์ และประชาชนในสังคมผู้รักประชาธิปไตย ช่วยกันให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อย่าปล่อยให้การเรียกร้องประชาธิปไตยกลายเป็นสิ่งที่ผิด

เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ!

ลงชื่อ
  • ณัฐพล สุขประสงค์                     KULeuven, Belgium
  • สรวิชญ์ โตวิวิชญ์                        University of Jyväskylä, Finland
  • คีตนาฏ วรรณบวร                       Sciences Po Paris, France
  • ชิสา อธิพรวัฒนา                        Sciences Po Paris, France
  • ดิน บัวแดง                                 Université Paris-Diderot, France
  • ประกายดาว พฤกษาเกษมสุข      Sciences Po Paris, France
  • มัธวรรณศ์ สุจริตธนารักษ์           Sciences Po Paris, France
  • รตา สุวรรณทอง                         École Supérieure d'Électricité et Université Paris 11, France
  • วิจิตร ประพงษ์                           Université Paris Descartes, France
  • วิภาวี ศิลป์พิทักษ์สกุล                 Sciences Po Paris, France
  • ภาคภูมิ แสงกนกกุล                    INALCO, France
  • กัณฐณัฏฐ์ ปภพปัญจพัช            Freie Universität Berlin, Germany
  • กอทอง ทองแถม ณ อยุธยา        Hochschule Wismar, Germany
  • ลลิตตา สุริยาอรุณโรจน์              Georg-August-Universitaet, Goettingen, Germany
  • ปรีชา เกียรติกิระขจร                  Georg-August-Universität Göttingen, Germany
  • วีรเดช โขนสันเทียะ                    Georg-August-Universität Göttingen, Germany
  • พรพจน์ ดวงมาลา                       Universität Heidelberg, Germany
  • พีรจุฬา จุฬานนท์                          Humboldt-Universität zu Berlin, Germany
  • พรเทพ สุคนธ์วิมลมาลย์             Technische Universität Dresden, Germany
  • พวงสร้อย อักษรสว่าง                  The university of the Arts, Bremen, Germany
  • สุทธิลักษณ์ โอทาตะวงศ์             Physik Institut, Germany
  • สุนิสา อิทธิชัยโย                         University of Augsburg, Germany
  • สริตา ปิยะวงศ์รุ่งเรือง                  Humboldt Universität zu Berlin, Germany
  • สุขปวีณ์ เวชบุญชู                       Ëotvös Lórand University, Hungary
  • สุลักษณ์ หลำอุบล                      Central European University, Hungary
  • จิราพร เหล่าเจริญวงศ์                University of Amsterdam, The Netherlands
  • ธนัท ปรียานนท์                          Leiden University, the Netherlands
  • นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา             Amsterdam, The Netherlands
  • บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล              University of Amsterdam, The Netherlands
  • ประชาธิป กะทา                         University of Amsterdam, The Netherlands
  • กุลธิดา เลื่องยศลือชากุล            Ивановский государственный университет, Russian Federation
  • เบญจมาศ บุญฤทธิ์                     University of Aberdeen, Scotland
  • อสมา มังกรชัย                           University of Aberdeen, Scotland
  • ทศพล ทรรศนกุลพันธ์                Universitat de Barcelona, Spain
  • เนาวรัตน์ ปริ่นปรีชา                     University of Bern, Switzerland
  • ศิวัตม์ ชื่นเจริญ                           University of Bern, Switzerland
  • กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร            SOAS University of London, UK
  • กฤตภัค งามวาสีนนท์                  King's College London, UK
  • กิตติมา จารีประสิทธิ์                   University of Arts London, UK
  • กุลญาณี จงใจรักษ์                     SOAS University of London, UK
  • จิรธร สกุลวัฒนะ                        SOAS, University of London, UK
  • ชนกพร ชูติกมลธรรม                   SOAS University of London, UK
  • ชาญ นิลเจียรสกุล                       London Business School, UK
  • ธนกาญจน์ ว่องลีลาเศรษฐ์         University of Kent, UK
  • ธนวัฒน์ ศิลาพร                         SOAS, University of London, UK
  • ธีรดา ณ จัตุรัส                           University of Westminster, London, U.K.
  • พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง                    University of Sussex, UK
  • พิมพ์ชนก มีศรี                          University of Kent, UK
  • โม จิรชัยสกุล                              Royal College of Art, London, UK
  • วันรัก สุวรรณวัฒนา                    University of Oxford, UK
  • วิรุจ ภูริชานนท์                            Kingston University , UK
  • วิภาช ภูริชานนท์                         University of London, UK
  • ศิรดา เขมานิฏฐาไท                   London School of Economics and Political Science, UK
  • สุธิดา วิมุตติโกศล                       King’s College London, UK
  • สายใจ ตันติวิท                         The London School of Economics and Political Sciences, UK
  • อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา                     Goldsmiths, University of London, UK
  • เอกสุดา สิงห์ลำพอง                   University of Sussex, UK


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น