วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เครือข่าย 96 องค์กร ชี้ผลประชามติไม่ใช่ “ใบอนุญาต” ให้ คสช. ใช้อำนาจตามอำเภอใจ


เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติฯ ระบุการการออกเสียงประชามติไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระ และเป็นธรรม เรียกร้อง คสช. คืนชีวิตทางการเมือง หยุดปิดกั้นการแสดงความเห็นต่อร่าง รธน. ยุติการดำเนินคดีนักโทษประชามติ พร้อมยกเลิกอำนาจพิเศษ ม.44
11 ส.ค. 2559 เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุม โครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน นำโดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ได้จัดการแถลงข่าวต่อผลประชามติเมื่อวันที่ 7 ส.ค. ที่ผ่าน โดยระบุว่า ผลการลงประชามติไม่อาจนับเป็นฉันทานุมัติหรือ “ใบอนุญาต” ให้ คสช. ดำเนินการตามอำเภอใจโดยไม่ฟังเสียงฝ่ายใดได้ โดยมีเหตุผล 3 ประการคือ 1.การออกเสียงประชามติไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรม 2.เหตุผลของการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมีความหลากหลาย การที่ คสช. และ กรธ. แจ้งขั้นตอนข้างหน้าแต่เฉพาะกรณีร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความวิตกกังวลว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร จึงอาจตัดสินใจเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน และ 3.การที่มีผู้ออกเสียงไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 38.60 แสดงให้เห็นว่ายังคงมีประชาชนที่เห็นต่างต่ออนาคตสังคมไทยผ่านร่างรัฐธรรมนูญอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง คสช. และ กรธ. ไม่สามารถเพิกเฉยหรือละเลยเสียงเหล่านี้ได้
ทั้งทางเครือข่าย 96 องค์กรได้เรียกร้องให้ คสช. คืนชีวิตทางการเมือง หยุดปิดกั้นการแสดงความเห็นต่อร่าง รธน. ยุติการดำเนินคดีนักโทษประชามติ พร้อมยกเลิกอำนาจพิเศษ ม.44 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด



แถลงการณ์เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน ภายหลังการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 สิงหาคม 2559
ผลการออกเสียงประชามติเบื้องต้นมีผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 61.40 และคำถามพ่วงร้อยละ 58.11 แต่ก็มีผู้ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญถึงร้อยละ 38.60 และไม่เห็นชอบคำถามพ่วงร้อยละ 41.89 อีกทั้งยังมีผู้มีสิทธิที่ไม่ประสงค์ออกเสียงอีกถึงร้อยละ 45.39 ซึ่งแม้ผลดังกล่าวจะส่งผลให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านตามความประสงค์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทว่านอกจากหลักการประชาธิปไตยซึ่งต้องฟังเสียงจากทุกฝ่าย ผลประชามติดังกล่าวไม่อาจนับเป็นฉันทานุมัติหรือ “ใบอนุญาต” ให้ คสช. ดำเนินการตามอำเภอใจโดยไม่ฟังเสียงฝ่ายใดได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
  • 1. การออกเสียงประชามติไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระและเป็นธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ทั่วถึง ประชาชนจำนวนมากไม่มีโอกาสรับรู้ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ดำเนินการผ่านกลไกและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นหลักเลือกประชาสัมพันธ์เฉพาะด้านดี อีกทั้งด้านดีบางข้อในเอกสารสรุปยังประชาสัมพันธ์เกินไปกว่าที่เขียนไว้จริงในร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่ฝ่ายเห็นต่างกลับถูกปิดกั้น ข่มขู่คุกคาม จับกุมคุมขัง และดำเนินคดี เป็นเหตุให้ประชาชนไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่รอบด้านเพียงพอในการตัดสินใจออกเสียง

  • 2. เหตุผลของการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมีความหลากหลาย การที่ คสช. และ กรธ. แจ้งขั้นตอนข้างหน้าแต่เฉพาะกรณีร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความวิตกกังวลว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร จึงอาจตัดสินใจเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญไปก่อน และการที่ คสช. และ กรธ. ปิดกั้นฝ่ายเห็นต่างที่พยายามชี้ให้เห็นสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญก็ยิ่งส่งผลให้ประชาชนตัดสินใจรับร่างรัฐธรรมนูญได้โดยง่ายโดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องการไปให้พ้นจากสภาวการณ์ปัจจุบันหรือการบริหารประเทศโดยรัฐบาลทหารหรือ คสช. นอกจากนี้ หากพิจารณาในเชิงภาพรวมของผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ผู้เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 30 คสช. จึงไม่สามารถอาศัยผลนี้เป็นข้ออ้างในการตัดสินใจดำเนินการใดโดยไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนที่เหลือเหล่านี้ได้
  • 3. การที่มีผู้ออกเสียงไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 38.60 แสดงให้เห็นว่ายังคงมีประชาชนที่เห็นต่างต่ออนาคตสังคมไทยผ่านร่างรัฐธรรมนูญอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง คสช. และ กรธ. ไม่สามารถเพิกเฉยหรือละเลยเสียงเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อโต้แย้งและวิพากษ์วิจารณ์ที่ฝ่ายเห็นต่างหยิบยกขึ้นมายังไม่ได้รับการชี้แจงจาก คสช. กรธ. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างหนักแน่นชัดเจนพอ คสช. จึงไม่สามารถอาศัยผลการออกเสียงประชามติเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธที่จะตอบคำถามและข้อวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ รวมถึงสั่งห้ามการเคลื่อนไหวของฝ่ายเห็นต่างแม้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านความเห็นชอบแล้วก็ตาม

เพราะเหตุนี้ เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน ที่ติดตามการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่องจึงมีข้อเรียกร้องไปยัง คสช. ดังนี้

  • 1. คืนชีวิตการเมืองปกติให้กับสังคมไทยด้วยการยุติการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและการเมืองหยุดการใช้อำนาจพิเศษกฎหมายพิเศษและศาลทหารกับประชาชน
  • 2. เปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกฝ่ายทั้งที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญตลอดจนประชาชนและชุมชนซึ่งได้รับผลกระทบหรือจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายยุทธศาสตร์และโครงการของรัฐต่างๆได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาร่วมกันบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญและข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี
  • 3. ยุติการจับกุมคุมขังและดำเนินคดีประชาชนที่รณรงค์ประชามติและแสดงความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญและปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังก่อนหน้านี้โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขการแสดงออกดังกล่าวเป็นสิทธิของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่ผิดกฎหมาย
  • 4. ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ประกาศกำหนดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย ให้ประชาชนได้รับทราบโดยทั่วกัน
  • 5. ยกเลิกการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 กลับมาใช้กลไกตามกฎหมายปกติ และให้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาทบทวนยกเลิกประกาศและคำสั่งของคสช.ที่ละเมิดสิทธิประชาชนโดยเร็ว

เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาตั้งแต่ต้น โดยมีการนำเสนอข้อกังวลต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สู่สาธารณะไว้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559 และแม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการออกเสียงประชามติ แต่เครือข่ายฯ จะเฝ้าติดตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ รวมถึงการปฏิรูปตามที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดไว้อย่างใกล้ชิด และยืนยันว่าสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องเป็นองค์ประกอบหลักของรัฐธรรมนูญ


ด้วยความเคารพต่อสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน
เครือข่าย 96 องค์กรใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน

  • 1. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
  • 2. สมาคมรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 3. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  • 4. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
  • 5. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
  • 6. เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ-บำนาญแห่งชาติ
  • 7. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
  • 8. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
  • 9. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)
  • 10. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
  • 11. สมัชชาคนจน
  • 12. กลุ่มละครมะขามป้อม
  • 13. เครือข่ายพลเมืองเน็ต
  • 14. สมัชชาอู่ข้าวอู่น้ำภาคกลาง
  • 15. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
  • 16. ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM)
  • 17. กลุ่ม Mini Drama
  • 18. กลุ่มการเมืองครั้งแรก
  • 19. กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
  • 20. Focus on the Global South
  • 21. เครือข่ายสลัม 4 ภาค
  • 22. มูลนิธิโลกสีเขียว
  • 23. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
  • 24. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ประเทศไทย
  • 25. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน(พื้นที่คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)
  • 26. กลุ่มรักษ์บ้านแหง(พื้นที่คัดค้านสัมปทานทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
  • 27. ชมรมอนุรักษ์ลุ่มน้ำสรอย ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ (พื้นที่การขอสัมปทานสำรวจแร่เหล็กและทองคำ)
  • 28. เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
  • 29. กลุ่มเสรีนนทรี
  • 30. กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์
  • 31. กลุ่มศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย
  • 32. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
  • 33. กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา
  • 34. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)
  • 35. กลุ่มแก็งค์ข้าวกล่อง ม.รามคำแหง
  • 36. กลุ่มเพื่อนประชาชน
  • 37. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  • 38. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)
  • 39. กลุ่มกระเหรี่ยงภาคเหนือ
  • 40. เครือข่ายเพื่อนตะวันออกวาระเปลี่ยนตะวันออก
  • 41. โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
  • 42. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
  • 43. กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง(กสรก.)
  • 44. กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
  • 45. สมัชชาเสรีแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อประชาธิปไตย
  • 46. กลุ่มแม่โจ้เสรีเพื่อประชาธิปไตย
  • 47. สมัชชาสิทธิเสรีภาพนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • 48. กลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่(NGC)
  • 49. กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
  • 50. กลุ่มพลเรียน
  • 51. ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาเชียงใหม่
  • 52. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
  • 53. กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
  • 54. เครือข่ายพลเมืองสงขลา
  • 55. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
  • 56. สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ
  • 57. กลุ่ม Save Krabi
  • 58. กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำท่าสะท้อนและสิ่งแวดล้อม สุราษฎร์ธานี
  • 59. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
  • 60. เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สงขลา สตูล
  • 61. เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
  • 62. เครือข่ายรักษ์ชุมพร
  • 63. เครือข่ายพลเมืองพัทลุง
  • 64. เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน
  • 65. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา รัตภูมิ
  • 66. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
  • 67. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ
  • 68. สภาทรัพยากรพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้
  • 69. สภาประชาชนอำเภอรัตภูมิ
  • 70. หน่วยวิจัยประชาธิปไตยชุมชนเพื่อการพัฒนา
  • 71. แนวร่วมนักเขียนแห่งประเทศไทย
  • 72. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
  • 73. Strawberry December
  • 74. Undergrad Rewrite
  • 75. Cafe Democracy
  • 76. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา
  • 77. สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR)
  • 78. เครือข่ายประชาชนชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ(PERMATAMAS)
  • 79. Seed of Peace
  • 80. พลังมด
  • 81. กลุ่มอนุรักษ์อ่าวบางละมุง
  • 82. กลุ่มอนุรักษ์อ่าวนาเกลือ
  • 83. เครือข่ายรักษ์อ่าวอุดม
  • 84. กลุ่มประมงต้นแบบบ้านอ่าวอุดม
  • 85. กลุ่มประมงต้นแบบบ้านนาเกลื
  • 86. กลุ่มประมงต้นแบบบ้านบางละมุง
  • 87. เครือข่ายสภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี
  • 88. โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนคนไร้รัฐ จ.อุบลราชธานี
  • 89. เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
  • 90. พระจันทร์เสี้ยวการละคร
  • 91. คณะทำงานนักเกรียนเปลี่ยนโล
  • 92. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน(กป.อพช.)
  • 93. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • 94. มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน
  • 95. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
  • 96. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น