วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ชวนส่งเสียงค้าน พ.ร.บ.คอมฯ ให้ถึง สนช. เข้าสภา 15 ธ.ค.นี้ ย้ำ ไม่ค้านผ่านแน่ๆ

13 ธ.ค. 2559 เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายพลเมืองเน็ต รณรงค์ผ่าน change.org เชิญชวนให้ประชาชนร่วมแสดงความกังวลต่อร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 3 ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการพิจารณาใหม่ โดยชี้ว่า ร่างพ.ร.บ.โดยรวมทั้งฉบับ "แย่ลงกว่าเดิม"
โดยเชิญชวนให้ส่งอีเมล ทวีตเมนชั่น เขียนข้อความ/อัปโหลดภาพและแท็กเฟซบุ๊ก ส่งไลน์ ถึงสมาชิก สนช.ทุกคนที่รู้จัก ก่อนเช้าวันพฤหัสที่จะถึงนี้ เพื่อแสดงความกังวลต่อประเด็นที่แต่ละคนสนใจ และหยุดร่าง พ.ร.บ.คอมฉบับนี้ ให้สภาพิจารณาใหม่ โดยจะคิดข้อความเองหรือใช้รูปและข้อความตามที่ iLaw แนะนำก็ได้ ตามลิงก์ https://www.ilaw.or.th/node/4364 และส่งไปตามช่องทางต่างๆ (ดูรายละเอียดด้านล่าง)
ล่าสุด ข้อมูล ณ วันนี้ เวลา 13.40 น. มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนแล้ว 46,744 ราย

รณรงค์: ขอเสียงประชาชนหยุด! ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่

ตามระเบียบวาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2559 มีการกำหนด "เรื่องด่วน" ไว้สี่อย่าง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว มีความเป็นไปได้มาก ที่ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ" ฉบับใหม่ จะผ่านวาระ 3 ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ทั้งที่ กลุ่มพลเมืองผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับผู้ให้บริการจำนวนไม่น้อยต่างก็ประสานเสียงกันว่า กฎหมายฉบับนี้ยังเต็มไปด้วยปัญหา เช่น นิยามความผิดที่ห้ามนำข้อมูลเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขว้าง จนประชาชนไม่สามารถรู้ได้ว่าขอบเขตอยู่ตรงไหน นอกจากนี้ ยังเพิ่มอำนาจการบล็อคเว็บแม้เนื้อหาจะไม่ผิดกฎหมายให้กับ "คณะกรรมการกลั่นกรอง" ซึ่งมีได้มากกว่าหนึ่งคณะ เป็นต้น (อ่านรายละเอียดได้ที่นี้)
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ออกแคมเปญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ส่งเสียงค้ดค้านไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ชะลอหรือยับยั้งการพิจารณากฎหมายฉบับนี้

โดยพวกเราสามารถรวมพลังกันเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับใหม่ ได้ดังนี้

1) โพสต์-แชร์ รูปภาพรณรงค์ (อยู่ด้านล่างสุด) ในประเด็นที่เราไม่เห็นด้วยไปยังหน้าเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ของประธาน รองประธาน และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามช่องทางนี้

1.1) เฟซบุ๊ก

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (@SenateThailand)
สนช. พบประชาชน (@NLAMeetPeople)
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา (@Thaiparliamentchannel)
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย  (@สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย)
สุรางคณา วายุภาพ (@surangkana.wayuparb)

1.2) ทวิตเตอร์
วิทยุโทรทัศน์รัฐสภา @TPchannel
สุรางคณา วายุภาพ @SurangkanaWayup


2) ส่งอีเมลพร้อมรูปภาพรณรงค์ไปที่ยัง ประธาน รองประธาน และสมาชิก สนช. ซึ่งเป็นกรรมาธิการร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่

พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง
พีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง
พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ภัทรศักดิ์ วรรณแสง รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่หนึ่ง
กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ คนที่สอง
จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพจ
สุรางคณา วายุภาพ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
พลตำรวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
ธานี อ่อนละเอียด กรรมาธิการวิสามัญและที่ปรึกษา
ฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล กรรมาธิการวิสามัญ
ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล กรรมาธิการวิสามัญ
ประมุท สูตะบุตร กรรมาธิการวิสามัญ

คัดลอกอีเมลทั้งหมดได้ตามนี้

chatchawal_su@police.go.th, sen031@senate.go.th, phattarasak.v@coj.go.th, jintanant.sub@mahidol.ac.th, sen057@senate.go.th, sen103@senate.go.th, sen007@senate.go.th, surangkana@etda.or.th, sen215@senate.go.th, sen085@senate.go.th, sen127@senate.go.th, sen058@senate.go.th, chatchai@metroply.com, sen115@senate.go.th, chusak.l@psu.ac.th, sen171@senate.go.th, sen080@senate.go.th, sen089@senate.go.th,
jatingja2479@hotmail.com, sen170@senate.go.th, p_senate@hotmail.com, sen096@senate.go.th,
wp2557@hotmail.com, ilaw@ilaw.or.th
สามารถดาวน์โหลดรูปภาพรณรงค์ไปใช้ได้ ตามนี้
หนึ่ง: ไม่เห็นด้วยกับ "การมีคณะกรรมการมาคิดแทนเราว่า เราควรดูอะไร ไม่ควรดูอะไร" (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)
 

สอง: ไม่เห็นด้วยกับ "การกำหนดนิยามความผิดกว้างขว้าง จนโพสต์อะไรแทบไม่ได้" (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)
 


สาม: รูปภาพรณรงค์ขอให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติยับยั้งการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ (ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี่)



 
ข้อมูลประกอบเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น