วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มาร์คไม่น่ารอด

ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันร่วมร่างคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศของคนเสื้อแดง

ในกระบวนการตระเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ทำงานร่วมกับทีมงานขนาดใหญ่ในประเทศไทยและทีมผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายที่มี่ชื่อเสียงอย่าง ศาสตราจารย์ดักลาสส์ คาสเซิล
ศาสตราจารย์คาสเซิลปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สิทธิพลเรือนและสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัยนอทเทอร์ดาม และได้รับการเสนอชื่อให้เป็น “Norte Dame Presidential Fellow” ได้ทำงานร่วมกับนักกฎหมาย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ศาสตราจารย์คนูปส์ และทีมงาน ตั้งแต่เเริ่มมีการเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในนามของเหยื่อจากการสลายการชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2554
บทความทางวิชาการทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาสเปนของศาสตราจารย์คาสถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา และยุโรป นอกจากนี้เขาได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาในมหาวิทยาลัยและงานประชุมสัมนาทั่วโลกหลายครั้ง  รวมถึงมีส่วนร่วมในการยื่นเอกสาร (amicus curiae briefs) ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของนักโทษในกัวตานาโม และการรับผิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎหมาย Alien Tort Claims Act (ATCA) ต่อศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในนามของนักการทูตเอมริกันที่เกษียรแล้วและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำทางด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้เขายังเป็นทนายให้กับเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในโคลัมเบีย กัวเตมาลา เปรู และเวเนซูเอล่า ในระหว่างการดำเนินคดีในศาลสิทธิมนุษยชนอเมริกันสากลและคณะกรรมการอเมริกันสากล และดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรสิทธิมนุษยชนและนักฎหมายระหว่างประเทศอีกหลายองค์กร
ศาสตราจารย์คาสเซิลกล่าวถึงการยื่นคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศในวันที่ 31 มกราคมว่า ผู้สังเกตการณ์บางท่านมองว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีอำนาจในไทย เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจศาลที่แน่ชัด ซึ่งเป็นไปได้ว่าศาสลอาญาระหว่างประเทศจะมีอำนาจพิจารณาคดีในประเทศที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น แม้ประเทศนั้นจะไม่เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม
เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผมได้ทำงานร่วมศาสตราจาย์แคสเซิลในคดีประวัติศาสตร์นี้ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมกล่าว ประสบการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของศาสตราจารย์คาสเซิลมีค่าอย่างมหาศาลในการช่วยเหลือเราในการบรรลุจุดประสงค์เพื่อหยุดระบบภูมิคุ้มกันการรับผิดของผู้นำในประเทศไทย และเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม โดยใช้วิธีทางกฎหมายระหว่างประเทศทุกวิธีที่มีอยู่ ความคาดหวังของเราอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และทุกคนควรเข้าใจว่าการต่อสู้ของเราเป็นการต่อสู้ที่ยากลำบากและยาวเวลานาน เราต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายกระบวนคุกคามทางการเมืองที่เป็นระบบและต่อเนื่องต่อการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง
โดยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟืเคยยื่นรายงานเบื้องต้นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น