วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554


AIA แหยงเหยื่อเผาเมืองหวนฟ้องคดี


http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC43Nzk4MS1kYWVya
HQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5p
Lnd3dy8vOnB0dGg%3D%0A


วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2011 เวลา 16:59 น.

แอกซ่าประกันภัยแหยงสินไหม "เผาเมือง" รุดกันสำรอง 40-50 ล้านบาท ชี้แนวโน้ม 5-10 ปีข้างหน้าผู้เอาประกันทั้งรายใหญ่-ย่อยยื่นฟ้องคดี ขณะที่ค่ายประกันภัยต่อยังไม่มีข้อสรุป ด้าน คปภ. เผยสถิติร้องเรียน 400-500 ราย จากผู้รับผลกระทบประมาณ 1,000 ราย

นายกี่เดช อนันต์ศิริประภา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าจากเหตุภัยเผาเมืองอันเป็นผลพวงจากการชุมนุมทางการเมืองในปีที​่ผ่านมา โดยประเมินภาพรวมความเสียหายทั้งธุรกิจประกันวินาศภัยไม่ต่ำกว่า จำนวน 20,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นบริษัทประกันวินาศภัยในเมืองไทยที่ต้องกันสำรองสินไหมในสัดส่วน 10% หรือมูลค่า 2,000 ล้านบาท ที่เหลืออีก 90% เป็นส่วนของบริษัทประกันภัยต่อต่างประเทศซึ่งต้องตั้งสำรองมูลค่า 18,000 ล้านบาท

ขณะที่ปัจจุบันบริษัทประกันวินาศภัยยังไม่มีการสินไหมทดแทนจากภัยเผาเมืองปีที่ผ่านม​า โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยในห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์วัน เซ็นทรัลเวิลด์และสยาม เนื่องจากกรมธรรม์ของผู้เอาประกันของผู้ที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่ไม่มีความคุ้มค​รองภัยก่อการร้าย อีกทั้งทางบริษัทประกันภัยต่อต่างประเทศ(รีอินชัวเรอร์)ยังไม่มีข้อสรุปว่าเป็นภัยจล​าจลหรือภัยก่อการร้าย โดยมีความเป็นไปได้ที่ประกันภัยต่อต่างประเทศจะประเมินเป็นภัยก่อการร้ายซึ่งไม่ต้อง​จ่ายสินไหมแต่จะกระทบฐานะทางการเงินของบริษัทประกัน

"บริษัทมีความเป็นห่วงว่า 1-2 ปีนี้จะมีผู้เอาประกันที่ได้รับความเสียหายหลักพันล้านบาทแต่ได้รับความช่วยเหลือจาก​รัฐบาลเพียง 50,000-100,000บาทต่อรายเท่านั้น และแนวโน้มอีก 5-10 ปีข้างหน้าทั้งผู้เอาประกันรายใหญ่และรายย่อยที่ได้รับความเสียหายจะฟ้องร้องบริษัทป​ระกันภัยเช่นกัน ซึ่งตัวอย่างในบริษัทผลิตแบตเตอรี่ประเทศอินเดียฟ้องเรียกสินไหมจากบริษัทประกันโดยใ​ช้เวลาถึง 26 ปี จึงชนะคดีได้รับสินไหม"
ในส่วนของบริษัทแอกซ่าฯ ประเมินความเสียหายจากกรณีเผาเมืองดังกล่าวจะกระทบบริษัททั้งหมดจำนวน 1,300 ล้านบาท แบ่งเป็นแอกซ่า กรุ๊ปที่รับความเสี่ยงภัยไว้เองสัดส่วน 70% (โดยในจำนวน 70% นี้เป็นของแอกซ่าประกันภัย 30%) ที่เหลือเป็นส่วนของประกันภัยต่อต่างประเทศ 30%

ดังนั้นทางบริษัทจึงได้ชี้แจงความเสี่ยงการจ่ายสินไหมกรณีดังกล่าวไว้ล่วงหน้ากับทาง​บริษัทแม่ หรือแอกซ่า กรุ๊ป ฝรั่งเศส โดยจะต้องมีการตั้งสำรองเงินจ่ายสินไหมไว้ที่จำนวน 40-50 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทรับประกันภัยไว้เองในสัดส่วน 30% ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการย่านเซ็นเตอร์วัน

ทั้งนี้แม้ว่ารายงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดให้มีการตั้งสำรองการจ่ายสินไหมต่อเมื่อมีลูกค้าฟ้องร้อง เพราะกรมธรรม์ของผู้ที่ได้รับความเสียหาย ยกเว้นคุ้มครองภัยก่อการร้าย กรณีที่ แอกซ่า ประกันภัยกันสำรองยังเป็นบริษัทเดียวที่มีการกันสำรองในรูปแบบดังกล่าวนั้น เพื่อต้องการตรวจเช็กสุขภาพของบริษัทว่าความเสียหายจะกระทบสินไหมที่ต้องจ่ายเป็นมูล​ค่าเท่าไร โดยย่านราชประสงค์ เป็นประกันภัยต่อต่างประเทศถึง 90% ถ้ามีลูกค้าฟ้องร้อง แต่ประกันภัยต่อยันไม่จ่าย บริษัทประกันภัยมีสิทธิ์เจ๊งได้

อย่างไรก็ตาม สำนักงานคปภ. พบว่าหลังจากเกิดภัยเผาเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา ถึงปัจจุบันมีลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อย มูลค่าธุรกิจ 5-10 ล้านบาท ย่านเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นเตอร์วัน ซึ่งผู้เอาประกันส่วนหนึ่งได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้ว แต่ยังมีผู้ที่ได้รับความเสียหายจำนวนมากกว่านั้นสามารถฟ้องร้องต่อศาลต่อไปได้ โดยมีมาร้องเรียนไว้ต่อ คปภ.จำนวน 400-500 ราย จากผู้เอาประกันที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดประมาณ 1,000 ราย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,621 27-30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น