วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น หมวด สมเด็จพระจักรพรรดิ

หมวด ๑ สมเด็จพระจักรพรรดิ

มาตรา ๑ [สัญลักษณ์แห่งรัฐ]

สมเด็จ พระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐและสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกภาพของ ประชาชน ทรงมีสถานะของพระองค์โดยเจตจำนงของประชาชนผู้เป็นที่มาของอำนาจอธิปไตย

มาตรา ๒ [การสืบราชสันตติวงศ์]

ราช บัลลังก์แห่งสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นไปตามหลักราชวงศ์และการสืบราชสันตติวงศ์ เป็นไปตามกฎแห่งราชสำนักแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิซึ่งออกโดยรัฐสภา

มาตรา ๓ [การให้ความเห็นชอบและความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี]

การ กระทำทั้งหลายของสมเด็จพระจักรพรรดิในกิจการต่างๆของรัฐ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีถวายความเห็นและความเห็นชอบ และให้คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบในการดังกล่าว

มาตรา ๔ [หลักการปกครองโดยกฎหมายสำหรับสมเด็จพระจักรพรรดิ]

(๑)สมเด็จพระจักรพรรดิอาจกระทำกิจการต่างๆ ของรัฐได้เท่าที่รัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้และไม่อาจทรงมีอานาจเกี่ยวกับการบริหารราชก​ารแผ่นดิน

(๒)สมเด็จพระจักรพรรดิอาจพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้อื่นกระทำการแทน พระองค์ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๕ [การสำเร็จราชการแทนพระองค์]

(๑)ใน กรณีที่มีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ให้ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มีอำนาจกระทำกิจการต่างๆ ของรัฐได้ในพระปรมาภิไธยของสมเด็จพระจักรพรรดิ

(๒)ในกรณีเช่นนี้ ให้นำความในมาตรา ๔(๑) มาใช้บังคับ

มาตรา ๖ [การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ]

(๑)สมเด็จพระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐสภาถวายคำแนะนำ

(๒)สมเด็จพระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งประธานศาลฎีกาตามที่คณะรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ

มาตรา ๗ [พระราชอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิ]

สมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีพระราชอำนาจกระทำการตามที่คณะรัฐมนตรีถวายความเห็นและความเห​็นชอบ ในกิจการดังต่อไปนี้ในนามของประชาชน

๑.การประกาศแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การประกาศใช้กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และสนธิสัญญาต่างๆ

๒.การเรียกประชุมรัฐสภา

๓.การยุบสภาผู้แทนราษฎร

๔.การประกาศการเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิกรัฐสภา

๕.การ รับรองการแต่งตั้งและการลาออกของรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อื่นตามที่กฎหมาย บัญญัติ และการรับรองการเป็นผู้แทนและมีอำนาจเต็มของเอกอัครราชฑูตและรัฐมนตรี

๖.การรับรองนิรโทษกรรมทั่วไปและนิรโทษกรรมกรณีพิเศษ อภัยโทษ การละเว้นโทษประหารชีวิต และการคืนสิทธิต่างๆ

๗.การให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์

๘.การรับรองเอกสารการให้สัตยาบันและเอกสารทางการฑูตอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

๙.การต้อนรับเอกอัครราชฑูตและรัฐมนตรีของประเทศอื่น

๑๐.การประกอบพระราชพิธีต่างๆ

มาตรา ๘ [การอนุมัติเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค์]

การถวายและการพระราชทาน รวมตลอดถึงการถวายเครื่องบรรณาการในทรัพย์สินส่วนพระองค์จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากรัฐสภา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น