การปกปิดอาชญากรรมที่ถูกทำนายล่วงหน้าในรายงานของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์วันนี้ที่ระบุว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษเหมือนจะถูกกองทัพไทยกดดันให้เปลี่ยนข้อสรุปว่าใครเป็นคนสังหารนักข่าวช่างภาพรอยเตอร์ นายฮีโรยูกิ มูราโมโตนั้นเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่สำหรับเราแล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด ในคำร้องศาลอาญาระหว่างประเทศของเราซึ่งเป็นเอกสารที่ดูเหมือนว่าหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์หลีกเลี่ยงที่จะอ่าน–คำให้การของพยานนิรนามปากที่ 20 (คำให้การดังกล่าวฉบับแก้ไขดังกล่าวแสดงในข้างล่าง) ทำนายถึงการปกปิดนี้ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ “มันเป็นนโยบายทางการของรัฐบาลไทยที่จะปกปิดหรือทำลายหลักฐานการกระทำผิดทางอาญาของรัฐบาลหรือผู้นำทางการทหารเกี่ยวกับการสังหารทั้งหมด หลังจากความเหตุการณ์รุนแรงในกรุงเทพมหานครเมื่อเดือนเมษายน ปี 2553ซึ่งมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 24 ราย ศอฉ. ได้มอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ในวันที่ 16 เมษายน นายธาริตมีอำนาจสอบสวนการสังหารอย่างเป็นทางการ ในขณะนี้ การสอบสวนถึงการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงทั้งแปดสิบสี่รายในระหว่างการชุมนุมจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการและได้มีการสรุปบ้างแล้ว อย่างน้อยเบื้องต้นพวกเขาถูกสังหารโดยทหารกลุ่มหนึ่งจากกองทัพไทยภายใต้คำสั่งของของรัฐบาลไทยและศอฉ. พนักงานสอบสวนของดีเอสไอบางรายที่สรุปแบบนี้ถูกผู้บัญชาการสั่งให้เปลี่ยนข้อสรุป อธิบดีดีเอสไอ นายธาริตมีส่วนร่วมในการพยายามทำให้ผลการสอบสวนของดีเอสไอล้าช้า และนี่คือหลักฐานความล้มเหลวของเขาในการสั่งให้ทำการสอบสวนโดยรวดเร็วและยังเป็นความล้มเหลวของเขาในการเริ่มต้นสอบสวนเกี่ยวกับประเด็นของเจตนาผู้กระทำ ความล้มเหลวในการเร่งกระทำการสอบสวนของเขานั้นเนื่องจากมีแรงจูงใจอย่างน้อยที่สุดคือในเรื่องข้อเท็จที่เขาเป็นสมากชิกศอฉ. ซึ่งในสถานการณ์ปกติเป็นประเด็นสำคัญในการสอบสวน นอกจากนี้ ยังประกอบกับความพยายามของรัฐบาลในการปกปิดหลักฐานอีกด้วย อธิบดีดีเอสไอ นายธาริตได้ออกคำสั่งห้ามพนักงานสอบสวนดีเอสไอเรียกทหารจากกองทัพมาสอบสวน ซึ่งต่างจากกระบวนการสอบสวนทั่วไปของดีเอสไออย่างสิ้นเชิง ในส่วนที่ดีเอสไอจะสอบสวนใครก็ตามที่เจ้าหน้าที่สรุปว่ามีส่วนทำให้เกิดการเสียชีวิตนั้น ในเดือนพฤศจิกายน 2553 รายงานอย่างเป็นทางการของดีเอสไอเกี่ยวกับการสังหารในเดือนพฤษภาคม 2553 ได้รั่วไปถึงมือสื่อมวลชน แกนนำคนเสื้อแดงนายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้กล่าวต่อสาธารณชนเกี่ยวกับประเด็นข้อสรุปว่าทหารบางกลุ่มมีส่วนร่วมในการสังหารประชาชน ไม่นานหลังจากเหตุการณ์นี้ มีรายงานในสื่อไทยว่าผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันโอชาได้ออกมาเรียกร้องให้ถอดถอนอธิบดีดีเอสไอนายธาริต รองนายกรัฐมนตีสุเทพ เทือกสุบรรณจึงเรียกอธิบดีดีเอสไอธาริตเข้าพบ ทันทีหลังจากการประชุม นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้กล่าวสนับสนุนอธิบดีดีเอสไอนายธาริตต่อสื่อมวลชน นายธาริตไม่ถูกถอดถอนเพราะเขาจะได้มีอำนาจในการตัดสินชี้ขาดไม่ให้ดำเนินคดีต่อผู้นำทางการทหาร หรือสมาชิกศอฉ. ในส่วนของนายธาริต เขาได้กล่าวต่อสื่อว่าคำพูดของนายจตุพรเกี่ยวกับเอกสารรายงานดีเอสไอที่รั่วออกมานั้นไม่ตรงกับข้อสรุปของพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ซึ่งคำพูดของนายธาริตไม่ใช่เรื่องจริง ทันทีหลังจากประชุมกับรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ อธิบดีดีเอสไอ นายธาริตออกคำสั่งภายในดีเอสไอให้เขามีอำนาจในการตัดสินว่าการสังหารมีเจตนาทางอาญาหรือไม่เพียงคนเดียว และหากไม่มีการสรุปเรื่องเกี่ยวกับเจตนาทางอาญาแล้ว จะทำให้ผู้นำทางการทหารหรือรัฐบาลไทยไม่ต้องรับผิดทางอาญา เป็นเรื่องที่ชัดเจนอย่างมากที่อธิบดีดีเอสไอให้ความเชื่อมั่นนายกรัฐมนตีรอภิสิทธิ์ผ่านทางรองนายกรัฐมนตรีสุเทพว่า ไม่ว่าพนักงานสอบสวนของดีเอสไอจะสรุปผลของการเสียชีวิตว่าอย่างไรก็ตาม แต่เขาจะสรุปให้ทหารไม่มีเจตนาทางอาญาในเหตุการณ์การเสียชีวิตของพลเรือนและทหารในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 เพื่อแลกเปลี่ยนที่รัฐบาลอนุญาติให้นายธาริตอยู่ในตำแหน่ง” ก่อนที่ความพยายามของเราจะถูกเพิกเฉยอีกครั้ง เราขอให้หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ใช้เวลาอ่านคำร้องของเรา เพื่อจะเรียนรู้บางอย่างจากคำร้องดังกล่าว |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น