วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

“แต้อ๊วง”ในมุมมองลูกหลานจีนVSพระเจ้าตากสินบวชเป็นพระ
ที่เมืองนครตามการโฆษณาชวนเชื่อ
http://thaienews.blogspot.com/2011/04/vs.html




โดย ปาแด งา มูกอ
7 เมษายน 2554

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นวันสวรรคตของ “แต้อ๊วง” เมื่อวานนี้ก็ครบรอบ 229 ปีพอดี ผมเลยขอนำประวัติศาสตร์อีกด้านหนึ่ง มาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบถึงความเป็นมา ระหว่างความคิดและความยึดติดในเรื่องราวของ “พระเจ้าตาก” ของลูกหลานเหลนโหลนไทย และ ลูกหลานเหลนโหลนจีน เพื่อพิสูจน์ว่าของใครจริงของใครเท็จ

ขอนำท่านผู้อ่านติดตาม แต้อ๊วงในมุมมองลูกหลานจีน


เถ่งไฮ่ เป็นอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีประชากรประมาณ ๗๑๐,๐๐๐ คน

ปัจจุบันเถ่งไฮ่เป็นเขตอุตสาหกรรมสำคัญแห่งหนึ่ง ตุ๊กตาต่างๆจากบริษัทผลิตของเล่นชื่อดังของโลก ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตาบาร์บี้ หรือตุ๊กตาของวอลต์ดีสนีย์ที่ส่งไปขายทั่วโลก ผลิตมาจากโรงงานในอำเภอเถ่งไฮ่แทบทั้งสิ้น

คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จักอำเภอเล็กๆ อย่างเถ่งไฮ่ แต่สำหรับลูกหลานชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย น่าจะคุ้นหูกับชื่อนี้ดี

คนจีนที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาทำมาหากินบนแผ่นดินไทยในอดีตส่วนใหญ่มาจากเมืองแต้จิ๋ว โดยเฉพาะจากอำเภอเถ่งไฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล การเดินทางข้ามมาเมืองไทยสะดวกกว่า ด้วยเหตุนี้คนจีนในเมืองไทยส่วนใหญ่จึงพูดภาษาแต้จิ๋ว

บุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนนับตั้งแต่ ปรีดี พนมยงค์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมถึงคนในตระกูล รัตตกุล ตระกูลหวั่งหลี ตระกูลเจียรวนนท์ ก็ล้วนมีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากอำเภอเถ่งไฮ่

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่เรามักเรียกกันว่า พระเจ้าตาก ก็ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋ว พระบิดาของพระองค์เป็นชาวแต้จิ๋ว เกิดในตระกูลแต้ ชื่อนายแต้เจียว อพยพจากอำเภอเถ่งไฮ่เข้ามาค้าขายในเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระมารดาเป็นคนไทยชื่อนางนกเอี้ยง มีอาชีพค้าขาย พระ

เจ้าตากทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๒๗๗ (หนังสือบางเล่มกล่าวว่าทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๒๗๗)

มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าตากทรงได้กลับไปศึกษาที่ประเทศจีนระยะหนึ่งด้วย

พระสุสานด้านในมีแผ่นหินจารึกพระนามแปลเป็นไทยว่า
"สุสานในพระเจ้าตากสินแห่งราชตระกูลแต้จิ๋วสร้างในพระเจ้าแผ่นดินจีนเฉียนหลงฮ่องเต้พ.ศ.2339"


นายนิ้ม แซ่ตั้ง วัย ๗๙ ปี ชาวจีนซึ่งเกิดในอำเภอเถ่งไฮ่ และอพยพมาตั้งรกรากในเมืองไทยเมื่อ ๖๐ปีก่อน เล่าให้ฟังว่า

“สมัยที่ผมอยู่เมืองจีน คนเถ่งไฮ่รู้จักเมืองไทยดี เพราะเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วที่คนเถ่งไฮ่เดินทางมาค้าขายที่เมืองไทย ที่มาตั้งรกรากอยู่เมืองไทยเลยก็มีมากความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นแน่นแฟ้นมาก ถึงกับมีคำไทยที่กลายเป็นภาษาแต้จิ๋ว คือคำว่า ตลาด ชาวแต้จิ๋วเอาไปใช้โดยออกเสียงว่า ตั๊กลัก


เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย คนจีนที่นั่นก็รับรู้กันโดยตลอด

คนเถ่งไฮ่รู้จักและรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากดี เขาเรียกกันว่า แต้อ๊วง แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินตระกูลแต้ บ้านเกิดของผมก็อยู่ไม่ไกลจากบ้านของท่าน จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปเที่ยวบ้านหลังหนึ่งที่เก่าทรุดโทรมมาก เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าตาก ผมยังเคยได้ยินเรื่องเล่าว่าเมื่อ แต้อ๊วงเกิด พ่อของท่านก็พาท่านกลับมาเรียนภาษาที่เมืองจีน จนอายุได้ ๑๐ ขวบจึงส่งมาอยู่เมืองไทย


นายนิ้มกล่าวว่าคนจีนที่อพยพมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองนิยมส่งลูกหลานกลับมาเรียนหนังสือที่บ้านเกิด เพราะต้องการให้ลูกหลานได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน และที่สำคัญคือเมื่อกลับมาเมืองจีนยังมีครอบครัว และญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดคอยดูแล ซึ่งต่างจากเมืองไทยที่อาจต้องใช้ชีวิตตามลำพัง

จากการศึกษาประวัติพระบิดาของพระเจ้าตาก ก็พบว่า ไม่มีญาติพี่น้องอยู่เมืองไทยมากนัก บริเวณแหล่งดูดทรายแห่งหนึ่งในอำเภอเถ่งไฮ่ มีฮวงซุ้ยหรือสุสานเล็กๆแห่งหนึ่ง ทางเข้าทำเป็นซุ้มขนาดใหญ่ สุสานแห่งนี้เป็นสุสานเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฉียนหลงฮ่องเต้ (พ.ศ.๒๒๗๘-๒๓๓๙) มีป้ายหินจารึกไว้ว่า

"สุสานของ แต้อ๊วง ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ฤดูใบไม้ผลิ"

คนเถ่งไฮ่เชื่อกันว่า หลังจากที่พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน บรรดาญาติพี่น้องได้นำฉลองพระองค์กลับมายังบ้านเกิด และฝังไว้ที่สุสานแห่งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ

คนเถ่งไฮ่ภูมิใจใน แต้อ๊วง มากว่า เป็นคนบ้านเราที่มีวาสนาเป็นถึงพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย และมีความกล้าหาญยิ่ง เสี่ยงชีวิตไปรบกับพม่าเพื่อกอบกู้ชาติไทย
นายนิ้มกล่าว

บริเวณสุสานยังมีป้ายหินอีกแผ่นจารึกไว้ว่าสุสานแห่งนี้เป็นที่ฝังฉลองพระองค์ของ แต้อ๊วง ที่นำมาจากเมืองไทย ห้ามผู้ใดทำลายเด็ดขาด ลงชื่อโดยรัฐบาลท้องถิ่นแห่งอำเภอเถ่งไฮ่

ปัจจุบัน สุสานแห่งนี้ยังมีผู้นำดอกไม้ธูปเทียนมาแสดงความคารวะอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากบรรดาลูกหลานคนจีนจากเมืองไทยที่มีโอกาสไปเยี่ยมญาติในประเทศจีน

น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อแผ่นดินไทย พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงมีพระราชประวัติหายไปกับหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย

สิ่งที่ท่านจะได้เห็นนี้... คือพระสุสานพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในต่างแดน

คำถาม...ที่ว่า...?

จะเป็นแค่สุสานเก็บฉลองพระองค์ หรือ พระบรมสรีระของพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ความลับที่เก็บซ่อนมาเกือบ 230 ปียังคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป…

ทีนี้เรากลับมาเมืองไทยกันบ้าง สำหรับประเด็นการโฆษณาชวนเชื่อว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งพระราชจักรีวงศ์นั้นไม่ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจและประหารชีวิตพระเจ้าตากสินมหาราชแต่ประการใด แต่เป็นข้อตกลงลับของพระเจ้าตากสินกับพระพุทธยอดฟ้าที่จะให้พระเจ้าตากสินลงจากบัลลังก์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ไทยไม่มีเงินไปชำระหนี้จีนในช่วงยืมเงินมากู้ชาติ หลังเสียกรุงครั้งที่ 2 จากนั้นพระเจ้าตากได้แอบหนีไปบวช และมีชีวิตต่อมาในเพศภิกษุที่นครศรีธรรมราช

ประเด็นนี้น่าคิดครับ ถ้าหากเป็นจริง ก็ต้องขอชมเชยบรรพบุรุษยอดนักวางแผนและกุศโลบายที่เยี่ยมยอดที่สุดหาใดปานของไทยเรา 

ทางภาคใต้ มีร่องรอย ที่อ้างว่า พระเจ้าตากได้ทรงผนวชและใช้ชีวิตในบั้นปลายของพระองค์ท่านที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จนแตกหน่อออกกอมาเป็นสกุล “ณ นคร” จนถึงปัจจุบันนี้

เรื่องนี้ผมเคยถามพรรคพวกที่ใช้นามสกุล “ณ นคร” ว่านามสกุลนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร บุคคลใดเป็นต้นสกุลตัวจริง ร้อยทั้งหลายต่างยืดอกอย่างภาคภูมิใจว่า พระยาตาก คือ บรรพบุรุษต้นสกุลของเขา แต่พอถามต่อว่า แล้วมีหลักฐานอะไรยืนยัน มันก็ตอบว่า ประวัติศาสตร์ไทยเขียนไว้ตั้งนานแล้วจบ...!!!

ร่องรอยประวัติศาสตร์ของพระองค์ มีปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ ก็ไม่ทราบว่า ลูกอีช่างคิดตนใด ที่ล่วงรู้ถึงเรื่องราวของพระองค์ยังกับเหตุการณ์เพิ่งเกิดเมื่อปีกลาย

"กษัตริย์ผู้เกรียงไกร พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นกษัตริย์ที่สร้างกรุงธนบุรีหลังจากที่ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า นักประวัติศาสตร์ไทยบางคนกลับไม่เชื่อว่า พระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แต่เสด็จหนีลงเรือมาประทับ ณ วัดเขาขุนพนม ทรงดำรงพระองค์อย่างสมณเพศ ทรงสั่งสอนสมถะวิปัสสนา และทรงรับบิณฑบาตจากราษฎรและสวรรคต ณ ที่ประทับวัดเขาขุนพนม"
เป็นข้อความที่จารึกอยู่ ณ ปากถ้ำบนภูเขา วัดเขาขุนพนม แต่ไม่ยักบอกว่านักประวัติศาสตร์คนไหน เพราะที่ผ่านๆมาก็มักเป็นเรื่องเล่าปรำปรา หรือแม่ชี หรือพระเกจิอาจารย์ท่านบอกว่านิมิตเห็นบ้าง หรือนั่งทางในพบบ้างเป็นพื้น

นอกจากนี้ยังมี เรื่องเล่ากันในหมู่สมาชิกตระกูล "ณ นคร" บางกลุ่มในปัจจุบัน ที่บอกว่าหลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงผนวชที่วัดเขาขุนพนมระยะหนึ่งแล้ว ก็ได้ประชวรด้วยพระโรคอย่างหนึ่ง จึงจำเป็นต้องทรงลาผนวช แล้วเสด็จไปประทับอยู่ในจวนของเจ้าพระยานคร (น้อย) ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการอ้างด้วยว่า เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตแล้ว ได้มีใบบอกเข้าไปแจ้งรัฐบาลในกรุงเทพฯ ว่า "ท่านข้างใน" สิ้นแล้ว ส่วนพระบรมศพนั้นก็ได้ไปตั้งทำการพระเมรุที่ชายทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ มีการอ้างถึง "หลักฐาน" เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรื่องนี้อีกว่า ที่วัดแจ้งและวัดประดู่ซึ่งมีเก๋งไว้อัฐิของเจ้านคร (หนู) หม่อมทองเหนี่ยวชายา และของเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้น มีศิลาจารึกภาษาจีนอยู่ ๓-๔ หลัก หนึ่งในนี้มีผู้อ้างว่า มีข้อความกล่าวถึงว่าเป็นหลุมศพของ "ผู้เป็นใหญ่แซ่เจิ้ง" เนื่องจากพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน "แซ่เจิ้ง"สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงใช้ "แซ่เจิ้ง" ด้วย สำเนียงแต้จิ๋วเรียก "แต้"เรื่องนี้เป็นความจริงเพราะมีหลักฐานชั้นต้นยืนยันจำนวนมาก รวมทั้งพระราชสาส์นของพระเจ้าตากสินที่ทรงมีถึงพระเจ้ากรุงจีนก็ใช้ "แซ่เจิ้ง"

ก็เหมือนเดิมครับ พอถามว่า พระราชสาส์น และหลักฐาน ที่อ้างมันมีอยู่ที่ไหน หอสมุดแห่งชาติก็ไม่มี นักประวัติศาสตร์ก็ไม่มี แล้วนี่ผมจะเชื่อใครดี..???

สุดท้ายนี้ผู้เขียน ขอน้อมเกล้าคารวะต่อพระดวงวิญญาณของพระองค์ท่าน “แต้อ๊วง” ถ้ามีจริง ขอได้โปรดเมตตาช่วยเหลือให้ประเทศชาติไทย จงพ้นภัยจากภัยพิบัติธรรมชาติและมหันตภัยทางการเมือง ดั่งเช่นที่พระองค์ท่านได้ทรงกอบกู้เอกราชชาติไทยให้พ้นจากภัยพิบัติมาแล้วในประวัติศาสตร์ จนอยู่รอดปลอดภัย


เพื่อให้ลูกหลานเหลนโหลนในประเทศไทยมาฟัดกันเองในปัจจุบัน ด้วยเทอญ............

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-229ปีตากสินมหาราช:กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้ 
-เพื่อร่วมรำลึกวันจักรี: ย้อนประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยสายตาของไพร่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น