วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554


คำถามเรื่องการบริหารเขื่อนที่สังคมต้องได้รับคำตอบ


Where is Thailand: 
คำถามเรื่องการบริหารเขื่อนที่สังคมต้องได้รับคำตอบ


ดูภาพขนาดใหญ่ คลิ๊ก...
"ประเทศไทยอยู่ตรงไหน"
15 ตุลาคม 2554
คำถามเรื่องการบริหารเขื่อนที่สังคมต้องได้รับคำตอบ

เรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดโดยคุณ Tum Bussayasakul


ในเมื่อนักข่าวไม่ทำงานที่ควรจะทำ เราทำกันเองก็ได้ ทำเพื่อตอบข้อสงสัยที่ผมมีมานานแล้ว คำถามคือเหตุการณ์น้ำท่วมคราวนี้เกิดมาจากอะไร สาเหตุมาจากตรงไหน เพื่อที่เราจะได้เห็นปัญหาและนำไปแก้ไขได้ในอนาคต

ปัญหาหลักๆ ที่เจอเมื่อต้องการนั่งศึกษาหาข้อมูลเองก็คือ ระบบการจัดการกับข้อมูลของหน่วยราชการในเมืองไทยย่ำแย่เอามากๆ (ไม่มีข้อมูล, มีแต่นำเสนอได้ห่วยแตก เอามาใช้อะไรไม่ได้, ไม่เห็นข้อมูลในภาพรวม)

รูปแรกด้านบนสุด คือภาพแสดงปริมาณน้ำฝนทั้งประเทศ (หาได้แค่นี้จริงๆ) ที่ได้มาจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร [1] (อยากหาปริมาณน้ำฝนเฉพาะเขตภาคเหนือ แต่หาไม่ได้เลยครับ)

รูปที่ 2 และ 3 คือปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ทั้งสองของประเทศไทย ได้มาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย [2]
เท่าที่ลองไปค้นหาตามข่าวย้อนหลัง ปีนี้เรามีปัญหาเรื่องน้ำหลาก น้ำท่วม ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว ยกตัวอย่างเช่นตามข่าวเหล่านี้ [3] [4] [5] จนมาถึงปลายเดือนกรกฏาคม ต้นสิงหาคม เราเจอพายุนกเตนซ้ำเข้าไปอีก [6]

แต่คำถามที่น่าสนใจเมื่อดูกราฟปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ทั้งสองแล้ว จะเห็นจุดที่ผมใส่หมายเลข 1 และ 2 ไว้

หมายเลข 1 (เขื่อนภูมิพล) ปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จริงอยู่ที่เราเริ่มมีฝนตกเยอะตั้งแต่เดือนนั้นแล้วแต่การบริหารจัดการปริมาณน้ำในเขื่อน ถ้าดูจากเส้นกราฟแล้วจะเห็นได้ว่ายังคงปล่อยให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงจุดวิกฤตในเดือนตุลาคมนี้

คำถามแรกคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีเหตุผลอะไร ที่ยังคงปล่อยให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงจุดวิกฤตในช่วงปลายฤดูฝน? (ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำปี 2553 ที่เป็นเส้นสีเขียว จะเห็นได้ชัด)

คำถามที่สองคือ ทำไมน้ำในเขื่อนภูมิพลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทั้งที่เมื่อดูปริมาณน้ำฝนแล้ว ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด? (ข้อนี้ข้อมูลผมไม่ละเอียดพอ ที่จะแยกว่าปริมาณน้ำฝนทั้งประเทศเป็นน้ำฝนในบริเวณภาคเหนือมากน้อยแค่ไหน เช่น อาจจะมีข้อโต้แย้งว่าน้ำฝนรวมทั้งประเทศเท่าเติม แต่มันไปตกเยอะตรงภาคเหนือ)

หมายเลขที่ 2 (เขื่อนสิริกิติ์) ปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนกรกฏาคม สาเหตุมาจากอะไร? และมีการจัดการบริหารปริมาณน้ำอย่างไร ทำไมถึงยังปล่อยให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบนั้น?

ยิ่งถ้าไปดูกราฟปริมาณเก็บกักน้ำย้อนหลัง 7 ปี แล้ว [7] [8] ยิ่งเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ลิ้งก์ข้อมูลอ้างอิงทั้งหมดในคอมเมนต์
==========
หมายเหตุจากแอดมิน(เว็บWhere is Thailand):

เราเห็นการตั้งประเด็นเรื่องนี้มามาก แต่จำนวนไม่น้อยเป็นเหมือนเรื่องเล่าเสียมากกว่าจะมีข้อมูลยืนยัน แอดมินได้รับข้อมูลชุดนี้มาจากผู้อ่านคนหนึ่ง ซึ่งเรียบเรียงออกมาได้ดีมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ มี 2 ประเด็นที่แอดมินคิดว่าน่าสนใจคือ

1. หลายคนที่พยายามค้นข้อมูลเรื่อง ฝน-น้ำ พูดเป็นเสียงเดียวว่าข้อมูลด้านนี้หายาก ไม่ค่อยมีแหล่งข้อมูลอ้างอิง ไม่ละเอียด ไม่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ และไม่ค่อยเปิดเผยสู่สาธารณะสักเท่าไหร่ – ซึ่งก็น่าสนใจว่าเป็นเพราะเราไม่มีการจัดเก็บข้อมูลจริงๆ หรือเป็นเพราะหน่วยงานราชการไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลกันแน่ ?

2. สังคมควรได้รับการชี้แจงอย่างชัดเจนว่าเราบริหารเขื่อนกันอย่างไร อยู่ในความรับผิดชอบของใครบ้าง มีกระบวนการตัดสินใจอย่างไร แล้วเกิดอะไรขึ้นในอดีต และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เพราะถ้าเราไม่รู้สาเหตุของ “ปัญหา” แล้วเราจะหาแนวทาง “แก้ไข” ได้อย่างไร

อ้างอิง :
[1] http://www2.oae.go.th/mis/Forecast/02_journal/dike.pdf
[2] http://ichpp.egat.co.th/graphIN/hydro/bigdam.php?year=2011
[3] http://goo.gl/vguar
[4] http://goo.gl/7v951
[5] http://goo.gl/7ibtd
[6] http://goo.gl/08iwv
[7] ปริมาณน้ำย้อนหลัง 7 ปีเขื่อนภูมิพล http://www.kromchol.com/DailyUDQ/GIS/DamGraph/DGraph.asp?p1=1
[8] ปริมาณน้ำย้อนหลัง 7 ปี เขื่อนสิริกิติ์ http://www.kromchol.com/DailyUDQ/GIS/DamGraph/DGraph.asp?p1=2

นิวยอร์กไทมส์: น้ำท่วมไทยเกิดจากฝีมือมนุษย์Sat, 2011-10-15 07:12
แปลและเรียบเรียงจาก As Thailand Floods Spread, Experts Blame Officials, Not Rains.
โดย Seth Mydans

เซธ ไมดันส์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติของไทย ชี้อุทกภัยที่เกิดขึ้นและลามไปหลายพื้นที่ในเวลานี้ ไม่ได้มาจากปริมาณน้ำฝนที่มากผิดปกติ หากแต่เป็นเพราะการวางแผนการจัดการน้ำและผังเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพกรุงเทพ - ท่ามกลางอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย ที่ส่งผลให้จังหวัดต่างๆ และนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงโบราณสถานกลายเป็นเมืองบาดาลอยู่ใต้น้ำ ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการน้ำชี้ว่า สาเหตุของหายนะครั้งนี้ เป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ปัจจัยหลักๆ ของอุทกภัยในครั้งนี้ คือการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกสิ่งก่อสร้างที่มากเกินไปในเขตพื้นที่รับน้ำ การสร้างเขื่อนและการหันเหธารน้ำธรรมชาติ การเจริญเติบโตของเมืองที่กระจัดกระจาย รวมถึงคูคลองในเมืองที่เริ่มอุดตันและการขาดการวางแผน เขาชี้ว่า เขาเคยเตือนทางการไปแล้วหลายครั้งในเรื่องนี้ หากแต่ก็ไม่มีผล “ผมได้พยายามจะบอกทางการไม่รู้กี่ครั้งกี่หน แต่เขาบอกผมว่าผมน่ะบ้าไปเอง” ดร. สมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ผู้ซึ่งโด่งดังจากการคาดการณ์ภัยพิบัติสึนามิหลายปีก่อนที่คลื่นยักษ์จะเข้าถล่มชายฝั่งในพ.ศ. 2547

ฤดูพายุร้อนในปีนี้ นำหายนะมาสู่กัมพูชา ฟิลลิปินส์ เวียดนามและไทย ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้ว 283 คน

ในฟิลิปปินส์ มีหลายพันคนที่ต้องอพยพเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นที่เข้าถล่มประเทศ ส่วนนาข้าวขั้นบันไดขนาfใหญ่ที่เมืองบานาวของฟิลลิปินส์ ก็ถูกโคลนถล่มทำลายเสียหายย่อยยับ
เช่นเดียวกับในกัมพูชา มีรายงานว่าที่กรุงเสียมราฐ เมืองหลวงของกัมพูชา ระดับน้ำก็สูงขึ้นมาระดับเข่า และกระแสน้ำเริ่มท่วมนครวัดแล้วทางการไทยได้แจ้งเตือนว่า ในไม่อีกกี่วันนี้ กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมด้วยน้ำหลากจากภาคเหนือ น้ำหนุนและน้ำฝนจากพายุฤดูร้อน
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ก็ได้เริ่มขนกระสอบทรายมากั้นไว้เพื่อเตรียมความพร้อม และกว้านซื้ออาหารแห้ง น้ำดืม แบตเตอรี่ และเทียนไขมากักตุนส่วนการเตรียมการในกรุงเทพฯ ก็เป็นที่วุ่นวายมากทีเดียว กระสอบทรายเรียงรายกันยาวกว่า 45 ไมล์ ถูกวางกั้นตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนแนวกั้นนำและคูคลองก็กำลังสร้างขึ้นมารองรับกระแสน้ำ และประชาชนก็ได้รับคำเตือนจากทางการให้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ

ในขณะที่น้ำไหลบ่าลงจากทิศใต้จากจังหวัดนครสวรรคและอยุธยา ทำให้โบราณสถานจมอยู่ใต้น้ำ สื่อท้องถิ่นรายงานว่าทหารก็ได้เตรียมขนย้ายกระสอบทรายกว่า 150,000 ถุง ไล่ลงตามกระแสน้ำจากที่ที่ประสบความเสียหายแห่งหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งซึ่งมีความเสี่ยงต่อไป
ในขณะที่รัฐบาลพยายามปกป้องพื้นที่ในตัวเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรมโดยการหันเหน้ำไปทางอื่นเท่าที่จะทำได้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องเผชิญกับการตัดสินใจว่าจะเลือกช่วยเมืองไหน และเมืองไหนที่จะต้องเสียสละในอยุธยา มีรายงานว่ามีชาวบ้านสองกลุ่มเกิดการทะเลาะวิวาทเนื่องมาจากทำนบที่กั้นน้ำจากฝั่งหนึ่ง ไม่ให้ไหลเข้าไปอีกฝั่งหนึ่ง ชาวบ้านฝั่งที่โชคร้ายรับน้ำท่วมเกิดความไม่พอใจ ได้ขุดรูตรงคันกั้นน้ำเพื่อปล่อยน้ำให้ไหลไปยังอีกฝั่งหนึ่ง จึงเกิดการยิงต่อสู้กัน ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ ในบางพื้นที่ ยังมีรายงานว่า ทหารได้ถูกส่งไปยังคันกั้นน้ำในบริเวณต่างๆ เพื่อเฝ้าระวังคันกั้นน้ำด้วยเอวา นาร์คีวิกซ์ ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารองค์กร Elephantstay ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ดูแลช้างสูงอายุ ให้ข้อมูลว่า มีช้างราว 15 ตัวในอยุธยาที่ถูกปล่อยเกาะ โดยพวกมันหนีเอาตัวรอดโดยการปีนขึ้นหนีน้ำบนกำแพงยอดสูง ช้างโขลงนั้นประกอบด้วยแม่ช้างเจ็ดตัว และลูกๆของมัน ในจำนวนนั้น ยังรวมถึงช้างอายุ 9 ปีตัวหนึ่งที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้วยทักษะการวาดภาพด้วยงวง “ถ้าหากความช่วยเหลือที่เหมาะสมยังไม่มาถึงเร็วๆ นี้ แม่และลูกช้างจะอยู่ในอยู่ในอันตรายมาก” นาร์คีวิกซ์กล่าว เธอเสริมว่า ช้างแต่ละตัวบริโภคอาหารมากถึง 440 ปอนด์ (ราว 200 กิโลกรัม) ต่อวัน แต่เรือที่อาจใช้ขนส่งกล้วย สับปะรดและอ้อย จำเป็นต้องกู้ภัยและช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ตามที่ต่างๆ

นายสมิทธ นักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ถูกทำให้เลวร้ายกว่าเดิม เป็นเพราะแผนการจัดการน้ำที่ไม่ดี “พวกเขาคำนวณระดับน้ำผิดไป และไม่ได้ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนให้เร็วพอในฤดูฝน” เขากล่าว “และตอนนี้ระดับน้ำในเขื่อนก็เกือบจะเต็มหมดแล้ว พอเมื่อเขาปล่อยน้ำในเวลานี้ น้ำก็ไหลลงมายังพื้นที่ราบต่ำ”

เขากล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวได้กลายเป็นอุปสรรคต่อกระแสการไหลของน้ำ เนื่องจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายยังคงดำเนินการการปลูกสร้างต่อไปไม่หยุดหย่อน “พวกเขาสร้างอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ที่ควรจะเป็นอ่างเก็บน้ำ” เขากล่าว “และเมื่อพวกเขาสร้างเขื่อนหรือทำนบกั้นน้ำตรงนั้นขึ้นมา มันก็จะปิดกั้นการไหลของกระแสน้ำ ทั้งๆ ที่มันควรจะเป็นทางผ่านของน้ำในฤดูฝน”

เมื่อกระแสน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามายังกรุงเทพฯ มันก็จะไหลเข้ามายังมหานครที่สูญเสียปราการกั้นน้ำตามธรรมชาติไปแล้ว กล่าวคือ คูคลองต่างๆ ที่ควรจะรองรับน้ำ ได้อุดตันไปด้วยเศษขยะต่างๆ ที่มาพร้อมกับประชากรที่อยู่อาศัยอย่างหนาแน่นในเมือง “การวางผังเมืองของเรานั้นไร้ประสิทธิภาพ” นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

“ฤดูกาลมิได้เปลี่ยนไปมากเท่าไหร่หรอก” เขากล่าว “เรามักจะมีน้ำเยอะมากเป็นพิเศษในฤดูฝน แต่ถ้าหากเรายังไม่มีแผนการจัดการน้ำที่ดี เราก็จะเผชิญกับปัญหานี้อีกในปีหน้า”
เขากล่าวต่อว่า มนุษย์และธรรมชาติเริ่มขัดแย้งกันมากขึ้นเรื่อยๆ และการอยู่ร่วมกันก็กลายเป็นสมรภูมิขนาดย่อย “นี่เป็นสัญญานที่เตือนให้เรารู้ว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะอนุรักษ์ผืนป่า... เราทำลายธรรมชาติไปมากพอแล้ว และตอนนี้ ก็เสมือนว่าเป็นเวลาที่ธรรมชาติจะขอเอาคืน”

ที่มาแปลและเรียบเรียงจาก Seth Mydans. As Thailand Floods Spread, Experts Blame Officials, Not Rains. New York Times. 13/10/54

http://www.nytimes.com/2011/10/14/world/asia/a-natural-disaster-in-thailand-guided-by-human-hand.html

หมายเหตุ: ประชาไทได้แก้ไขข้อความและสำนวนตามคำท้วงติงจากผู้อ่านเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 54 เวลา 7.50 น.
http://redusala.blogspot.com


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 ตุลาคม 2554 เวลา 17:30

    อันนี้เป็นกราฟน้ำที่เค้าทำกันคับ ผมไม่แน่ใจว่าอันไหนถูก อันไหนผิด จาก
    สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

    http://tiwrm.haii.or.th/DATA/REPORT/php/rid_lgraph.php?dam_id=1

    ผมสับสน ผมงงมาก ต่างกันเป็น พัน เล็กๆ น้อยๆ แต่มีผลต่างกัน ผมงงมาก

    ตอบลบ