วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

กอ.รมน. บุกจับหนุ่ม "สายล่อฟ้า" พร้อมรถ "ส.ส.ถาวร เสนเนียม" ค้าน้ำมันเถื่อน

กอ.รมน. บุกจับหนุ่มใหญ่ใส่เสื้อ "สายล่อฟ้า" พร้อมรถ "ส.ส.ถาวร เสนเนียม" บอกปัดค้าน้ำมันเถื่อน




วันที่ 26 เมษายน 2556 (go6TV)  ตะลึงหนุ่มสวมเสื้อ “สายล่อฟ้า” ปากสั่นบอกปัดชื่อนักการเมืองดัง “สส.ถาวร เสนเนียม”  เอี่ยวน้ำมันเถื่อน หลักฐานชัดรถยนต์ชื่อ สส.ถาวร เสนเนียมแปะในปั้มน้ำมันเถื่อน  หนุ่มสายล่อฟ้า ยอมรับ พื้นที่บ้านค้าน้ำมันเถื่อน ปัดเอี่ยวไม่รู้เรื่อง  ในพื้นที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา



เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ทีมเฉพาะกิจ 011200 - 012000 ต.ค.55 มว.ปล.ที่ 50212 ร่วมกับ คณะทำงานภัยแทรกซ้อน, กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า, กรมทหารพรานที่ 43, กรมสอบสวนคดีพิเศษ ( DSI. จชต. ) ได้ทำการตรวจค้นโดยใช้อำนาจตาม พรบ.กฎอัยการศึก ปี 2457 ในพื้นที่ อ.สะเดา จำนวน 3 เป้าหมาย ได้ผู้ต้องหาและของกลางเป็นน้ำมันเถื่อน จำนวน 30,400 ลิตร ทางหน่วยฯจึงได้นำส่งผู้ต้องหาและของกลาง ด่านศุลกากรสะเดา และ ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ไปดำเนินคดี



ระหว่างการตรวจจับ พบชายไทยสวมเสื้อสายล่อฟ้า เดินเข้ามายังทีมสอบสวน ระล่ำละลัก ปฏิเสธขอร้องไม่ให้บันทึกภาพรถภายในบ้านที่เป็นปั้มน้ำมันเถื่อน มีการดัดแปลงภายในรถเป็นถังน้ำมัน บรรจุน้ำมันเต็ม 2700 ลิตร อ้างรถเป็นของ สส.ถาวร  เสนเนียม สส.พรรคประชาธิปัตย์   อ้างไม่อยากให้เจ้านายเดือดร้อน หากภาพหลุดออกไปว่ามีรถ สส. อยู่ในบ้านค้าน้ำมันเถื่อน ผมต้องโดนไล่ออกแน่ๆ ขอร้องว่าอย่าออกทางสื่อฯ เพราะการเมืองน่ากลัว  น่ะๆๆ ฝากด้วยแล้วกัน  บอกก่อนนะ สส.ถาวรแกไม่รู้เรื่องเดี่ยวแกเดือดร้อน

 


“ผมกลัวว่าเกิดออกไปทางสื่อ อะไรเนี้ย ยาว...พี่ก็รู้ว่าการเมืองน่ากลัว เกิดเรื่องมา ผมก็ต้องแย่ คือ..อธิบายนิดนึงว่า สส.ถาวร (เสนเนียม) แกไม่ชอบเลยเรื่องอย่างนี้  ผมก็แอบทำ..แอบให้ที่บ้านทำไม่ใช่ผมทำ ให้ที่บ้านเขาทำ ให้ได้เดือน...ได้ค่าใช้จ่าย ก็เช่านั้น พี่สาวเป็นเจ้าของบ้าน ผมอยู่หาดใหญ่  หากออกข่าวออกสื่อเนี้ย.. สส.อยู่ในปั้มน้ำมันอะไรเงี้ย ตายเลย ใช่ม่ะ ... ใครบริหารไม่รู้ ผมไม่รู้!

ชายหนุ่มใส่เสื้อสายล่อฟ้า ในคลิป กอ.รมน. ไล่จับน้ำมันเถื่อน

"แกนนำแดงหน้าศาลรัฐธรรมนูญ" โดนศาลฟ้องข้อหา ดูหมิ่นศาลฯ

โดนฟ้องถ้วนหน้า! "แกนนำแดงหน้าศาลรัฐธรรมนูญ" โดนศาลฟ้องข้อหา ดูหมิ่นศาลฯ


เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นายภัทรพงษ์พันธ์ ศรีสะอาด เจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ 4 รับมอบอำนาจจากนายปัญญา อุดชาชน รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เข้าพบ พ.ต.อ.ปิยะ เจริญสุข ผกก.1 บก.ป. เพื่อแจ้งความกล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับนายพงษ์พิสิษฐ์ พงษ์เสนา หรือ เล็ก บ้านดอน นายธนชัย สีหิน หรือดีเจหนุ่มวีคลอง 11 ผู้ดำเนินรายการวิทยุชุมชนเอฟเอ็ม 107.4 เมกะเฮิรตซ์ นายมงคล หนองบัวลำภู และนายศรรัก มาลัยทอง ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และมาตรา 198 โดยทำหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ พร้อมกับแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงคำปราศรัยในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ มอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาดำเนินคดี

สืบ เนื่องจากเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ได้มีกลุ่มบุคคลประมาณ 200 คน จัดชุมนุมกันที่บริเวณหน้าที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ) อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม. โดยมีและใช้เครื่องขยายเสียงกล่าวพาดพิงการปฏิบัติหน้าที่ขององค์คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจส่งผลให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง อีกทั้งยังมีพฤติการณ์ยั่วยุปลุกระดมมวลชนให้เกิดการกระด้างกระเดื่องในหมู่ ประชาชน และเข้าข่ายหมิ่นประมาทศาลรัฐธรรมนูญ อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หลายบท ทางเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จึงส่งผู้แทนเข้าแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าว


พ.ต.อ.ปิยะกล่าวว่า ได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้ร้องไว้แล้ว ก่อนจะนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการต่อไป

พิชัย รัตตกุล ผมเศร้าใจจริง ๆ

 http://s.exaidea.com/upload2/1/20130124/6e7dada4d4097335a907cb82fa66d38c.jpg
     
        ไม่ใช่ครั้งแรก ที่นายพิชัย รัตตกุล อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พยายามเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์มองถึงความล้มเหลวกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อกลับมาปฏิรูปพรรคให้มีความแข็งแกร่ง และมีโอกาสได้เป็นรัฐบาล โดยเฉพาะการวิพากษ์วิจารณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน อย่างตรงไปตรงมาถึงความตกต่ำของพรรคประชาธิปัตย์อย่างมากที่สุดยุคหนึ่ง

        นี่คืออีกครั้งที่นายพิชัยได้ พูดถึงนายอภิสิทธิ์ในช่วงก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) ว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีโอกาสสูงที่จะพ่ายแพ้ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ซึ่งนายพิชัยยืนยันว่า หาก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์แพ้ นายอภิสิทธิ์ต้องพิจารณาตัวเอง และยังย้อนอดีตอีกหลายเรื่องที่ได้พูดคุย
บทสัมภาษณ์คำต่อคำของนายพิชัย ครั้งนี้จึงเหมือนปัจฉิมบทที่เราขอแนะนำว่า “พรรคเพื่อไทยต้องอ่าน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้น..ยิ่งต้องรีบอ่าน”
และต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มที่ไม่มีการเซ็นเซอร์



“เป็นต่อตั้งเยอะ แต่ทำตัวเอง..”
 
       สถานการณ์ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์

       พรรคประชาธิปัตย์ตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2489 นับเป็นเวลา 64 ปีมาแล้ว และผมเป็นสมาชิกพรรคมา 50 กว่าปีแล้ว ขณะนี้อาจจะพูดได้ว่าผมเป็นสมาชิกที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ จุดยืน นโยบาย หลักการ หรืออุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่เริ่มแรกตั้งมานั้นมีเพียงอย่าง เดียวเท่านั้นเองคือ การต่อต้านเผด็จการ ใครก็แล้วแต่ที่ทำการรัฐประหารเราจะต่อสู้ทุกวิถีทาง แต่ไม่ใช่ตีหัวเขา เพราะฉะนั้นจุดยืน ฐานของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นอย่างที่ผมว่านี้

        จะเห็นได้ว่าเมืองไทยมีการทำรัฐ ประการมาหลายสิบครั้ง และมีรัฐธรรมนูญ 18-19 ฉบับ พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่ตลอดมา พรรคต่างๆ ที่ตั้งโดยผู้มีอำนาจแต่ละครั้งแต่ละคราวนั้น เมื่อคนมีอำนาจจากไป พรรคนั้นก็ล้มไป

        อันนี้เป็นความจริงที่คนรุ่นใหม่อาจ จะไม่ทราบ ตั้งแต่พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคสหประชาไทย พรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญ อะไรเหล่านี้เป็นต้น เป็นพรรคของเผด็จการทั้งสิ้น เมื่อหัวหน้าเผด็จการหมดไปแล้ว พรรคก็หมดไป แต่พรรคประชาธิปัตย์ตั้งอยู่ได้จนกระทั่งบัดนี้ก็เพราะมีจุดยืน ที่สำคัญมีอุดมการณ์ที่มั่นคง ที่แน่วแน่

        อะไรที่ผ่านมาผมภูมิใจในฐานะที่เป็น สมาชิกพรรคคนหนึ่ง ถึงแม้ขระนี้ไม่ได้มีส่วนหรือมีบทบาทในพรรคก็ตาม แต่ความกังวลและความเป็นห่วงของผมที่มีต่อพรรคนั้นมีมาก ปีนี้ผมอายุ 87 แล้ว เป็นสมาชิกมา 50 กว่าปีตั้งแต่อายุ 32 เพราะฉะนั้น ความที่ผมรักประชาธิปัตย์จึงมีมาก และต้องยอมรับความจริงว่าผมเป็นนักการเมืองได้เป็น ส.ส. เป็นรัฐมนตรี หรือเป็นอะไรต่างๆ ก็ดี ก็เพราะพรรคประชาธิปัตย์ ผมจึงไม่มีวันลืมบุญคุณที่พรรคประชาธิปัตย์มีต่อผม

        ขณะเดียวกันผมก็ไม่เคยลืมพี่น้อง ประชาชนที่เลือกประชาธิปัตย์ แล้วประชาธิปัตย์เลือกผม มันต่อโยงไป เมื่อผมมีความคำนึงถึงบุญคุณที่พรรคทีต่อผม ตลอดเวลามาผมลงสมัครผู้แทนฯ 10 ครั้ง ได้มา 9 ครั้ง ตกครั้งหนึ่งเมื่อปี 2520 ตอนคุณธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีตอนปฏิวัติ

        เลือดเนื้อเชื้อไขของพรรคประชา ธิปัตย์ที่แท้จริงมีตั้งแต่นายควง อภัยวงศ์ อาจารย์เสนีย์ ปราโมช มีผม มีคุณชวน หลีกภัย นี่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขประชาธิปัตย์ที่ต่อสู้กันมา อีกคนผมไม่เอ่ยชื่อเขา เขามาเป็นหัวหน้าพรรคทดแทนชั่วครั้งชั่วคราว เพราะความจำเป็น เพราะฉะนั้น ความที่มีความห่วงใยพรรคจึงมีมาก

         คำถามที่ว่าสถานการร์ของพรรคประชา ธิปัตย์และแนวโน้มในอนาคตของพรรคดังกล่าวจะเป็นอย่างไร ก็ต้องมาดูพฤติกรรมการทำงานของคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน คุณอภิสิทธิ์ก็เป็นคนหนุ่มที่ผมและพรรคประชาธิปัตย์หลายคนพยายามสร้างขึ้นมา สั่งสอน แนะนำ ตั้งแต่อายุ 14-15 ปี เริ่มตั้งแต่ให้เขาไปติดโปสเตอร์ตามกำแพงตามที่ต่างๆ คุณอภสิทธิ์มีประสบการณ์จากตรงนั้น เป็นเด็กที่มีแววฉลาด มีความรักเรื่องการเมือง มีฐานจากครอบครัวที่ดี มีการศึกษาที่ดี ในพรรคประชาธิปัตย์จึงมองดูหลังจากการเปลี่ยนบุคคลหลังจากคุณชวน จึงมาคิดดูว่าจะเอาใครดีระหว่างคุณอภิสิทธิ์กับคุณบัญญัติ บรรทัดฐาน ผมดูคุณอภิสิทธิ์ว่ายังหนุ่มมาก เด็กมากเกินไป ผมจึงสนับสนุนคุณบัญญัติ

         จนถึงขณะนี้ผมก็ยังสนับสนุนคุณ บัญญัติ เพราะเป็นคนดี เป็นผู้ใหญ่ที่ดีคนหนึ่งของพรรค แต่เมื่อพ้นวาระของคุณบัญญัติไปแล้ว คุณอภิสิทธิ์ก็เหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้าพรรค ทั้งๆ ที่ยอมรับความจริงว่าคุณอภิสิทธิ์อายุยังน้อยอยู่ แต่จากการได้รับการฝึกฝนมาตลอด เป็นนักการเมืองที่เราน่าจะไว้ใจได้

          อย่างไรก็ตาม จากการทำงานของคุณอภิสิทธิ์ในการเป็นรัฐบาลครั้งที่ผ่านมา ผมไม่ทราบความจริงเป็นอย่างไร เพราะเขาไม่เคยมาปรึกษาผมทราบจากสื่อเท่านั้นเองว่าคุณอภิสิทธิ์และพรรคพวก หลายคนไปตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ถ้าเป็นความจริงว่าคุณอภิสิทธิ์นำพรรคไปตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ผมถือว่าผิดหวังมาก

          อย่างที่ผมเล่าตั้งแต่เริ่มแรกว่า อุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์คือ ไม่ยอมรับเผด็จการ เรายอมรับการเลือกตั้งเท่านั้น เรายอมรับระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียง ประชาชนว่าอย่างไรเราทำตามนั้น แต่เราจะไม่ยอมรับการใช้อำนาจ ใช้อาวุธปกครองประเทศ ถ้าคุณอภิสิทธิ์นำพรรคไปตั้งรัฐบาลในค่ายทหารจริงผมก็เสียใจ เพราะเท่ากับยอมรับอำนาจทหาร ยอมรับอำนาจการปฏิวัติ

          การที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ผมไม่เห็นด้วยเลย ทั้งๆ ที่ผมเองไม่รู้จักคุณทักษิณ แล้วคุณทักษิณก็อยู่ตรงข้ามกับผม ถึงแม้จะเป็นศัตรูทางการเมือง แต่ผมไม่เคยมีอารมณ์เคียดแค้นคุณทักษิณหรือพรรคของคุณทักษิณ ไม่เคยเลย หรือพรรคเก่าๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็นพรรคของจอมพลถนอม กิตติขจร หรือพรรคอื่นๆ ก็ดี ผมไม่เคยมีความเคียดแค้นในใจ

         วันที่ พล.อ.สนธิทำการปฏิวัติ ซึ่งคุณทักษิณเป็นรัฐบาลโดยประชาชนเลือกมา เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เราต้องยอมรับ ชอบไม่ชอบไม่รู้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนวิธีการเขาจะใช้เงินใช้ทองอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเขาทำผิดก็ว่ากันไปตามกฎหมาย แต่เมื่อเขาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วไม่ใครมีสิทธิที่จะไปใช้อำนาจล้มล้างเขาไป

          เมื่อ พล.อ.สนธิเป็นหัวหน้าปฏิวัติล้มคุณทักษิณ วันรุ่งขึ้นมีศาสตราจารย์คนหนึ่งโทรศัพท์มาหาผม ถามว่าท่าคงดีใจมากใชไหมที่คุณทักษิณถูกล้มโดยรัฐประหาร เพราะเขารู้ว่าผมอยู่ตรงข้ามกับคุณทักษิณ ผมตอบไปว่าผมไม่ดีใจเลย ตรงกันข้ามผมกลับเสียใจและแค้นใจแทนคุณทักษิณ เพราะผมเห็นว่า พล.อ.สนธิไม่มีอำนาจ ไม่มีสิทธิที่จะมาล้มล้างคนที่มาลงคะแนนให้คุณทักษิณ ไม่มีเลย

        กลับมาที่คุณอภิสิทธิ์ แม้คุณอภิสิทธิ์ไม่ได้ใช้อำนาจในทางรัฐประหาร แต่ว่าพฤติกรรมการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ถ้าเป็นความจริงก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีเลย ถ้าเป็นผม ผมจะไม่ยอม ผมไม่ต้องการ ไม่กระสันที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีหรืออยากจะเป็นนายกรัฐมนตรีโดยยอมเสีย เกียรติภูมิ ยอมเสียศักดิ์ศรี อย่างนี้ผมไม่มีทางยอมได้

         ผมเชื่อว่าคนอย่างคุณชวน คุณบัญญัติก็ไม่ยอม แน่นอนคนอย่างอาจารย์เสนีย์หรือคุณควงอดีตหัวหน้าพรรค ก็ไม่ยอม แต่เมื่อคุณอภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วเขาก็ทำงานไป ผมได้แต่ภาวนาว่าเขาจะใช้คนที่ถูกต้อง ที่ดี เพื่อแก้ไขบ้านเมือง ช่วงนั้นในโอกาสของคุณอภิสิทธิ์ที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ถือว่าดีมากๆ ในการที่จะปกครองเร่งรัดนโยบายต่างๆ ที่ตัวเองเชื่อมั่น นโยบายในที่นี้ไม่ได้หมายความว่านโยบายประชานิยม ผมไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ เพราะกลัวบ้านเมืองจะล่มจมเหมือนประเทศกรีซ

         ผมเสียดายที่คุณอภิสิทธิ์ได้โอกาสใน การทำงาน แต่ไม่ได้ใช้โอกาสนั้นทำงานที่ดีได้ ตรงกันข้ามกลับใช้คนไม่กี่คน แค่ 2-3 คน ที่ใกล้ชิด ผมไม่ขอเอ่ยชื่อคนเหล่านั้น มาเป็นกุนซือให้ตัวเองทำงาน คุณอภิสิทธิ์จึงทำงานไม่ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาปักษ์ใต้ ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาความปรองดองในประเทศ
ถ้าผมเป็นรัฐบาล ผมจะเน้น 3 ประเด็นนี้คือ 
  • 1.ความปรองดองในประเทศ คุณอภิสิทธิ์มีโอกาสดีอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความปรองดองขึ้นมา 
  • 2.ปัญหาปักษ์ใต้ ซึ่งคุณทักษิณบอกว่าเป็นโจรกระจอก คุณอภิสิทธิ์ต้องแก้ไขให้ได้ เป็นโอกาสดี และ 
  • 3.ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน แต่ตรงกันข้าม กลับมีปัญหากับประเทศกัมพูชา 

       ผมเสียใจเหลือเกิน เพราะผมเองมีส่วนในการไปปรับความสัมพันธ์กับกัมพูชาในสมัยเขมรแดง สมัยลาว เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์ ผมเป็นคนที่บุกเบิกในการปรับความสัมพันธ์ เพราะผมเชื่อว่าความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านรอบเรานั้น กับพม่า มาเลเซีย เวียดนาม เขมร ลาว มีความสำคัญยิ่งกว่าเราสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาเสียอีก

       ผมเสียดายที่เรามีสัมพันธไมตรีที่ดี กับทุกประเทศ แต่มีความขัดแย้งกับเขมร ผมเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์พลาดงานนี้ พลาดความปรองดอง พลาดการแก้ปัญหาปักษ์ใต้ และพลาดเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสมากเหลือเกิน ถ้าแก้ไข 3 ปัญหานี้ได้ เรื่องอื่นก็จะตามมาเอง

        สิ่งที่ผมเป็นห่วงมากคือปัญหาเฉพาะ ประเด็นเรื่องความปรองดอง ผมเรียกคุณอภิสิทธิ์มานั่งคุยที่บ้านผม 2 ครั้ง และแนะนำให้เขาทราบว่าวิธีการหาความปรองดองทำอย่างไร แต่ไม่ได้หมายความว่าผมจะทิ้งหลักกระบวนการยุติธรรม

        ผมเห็นว่าความปรองดองในประเทศชาติของ เราจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราแก้ปัญหาคุณทักษิณ ถ้าเราไม่แก้ปัญหานี้เราจะไม่มีทางเกิดความปรองดองหรือความสามัคคีกลับมาได้ ขณะเดียวกัน เราจะต้อนให้คุณทักษิณเข้ามุมอย่างเดียว คุณทักษิณก็ไม่ยอม เขาก็มีพวกเหมือนกัน แต่มันมีทางออกที่ต้องรักษาหลักการของกระบวนการยุติธรรม ขณะที่คุณทักษิณก็มีทางออกเหมือนกัน

       ข้อสำคัญมีทางที่จะเจรจากันว่า ทางออกของทั้งสองฝ่ายมีอย่างไรบ้าง ไม่ใช่ตั้งเงือนไข แต่คุณอภิสิทธิ์ตั้งเงื่อนไขว่า จะปรองดองได้คุณทักษิณต้องติดตะรางก่อน คุณทักษิณบอกว่าถ้าจะปรองดองได้ กูก็ไม่ยอมติดตะราง อะไรอย่างนี้เป็นต้น คือต่างฝ่ายต่างตั้งเงื่อนไขก่อนเจรจา ผมคุยกับคุณอภิสิทธิ์หลายครั้งเรื่องนี้ นั่งตรงนี้ 2 ครั้ง ผมได้แนะนำว่าทางออกควรจะเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เพื่อหาทางปรองดอง แต่ไม่หมายความว่ายอมทิ้งหลักการกระบวนกรยุติกรรม และไม่ใช่ต้อนให้เขาจนมุม มีทางทำได้ แต่คุณอภิสิทธิ์ไม่ตอบผมเลย และไม่ตอบว่าผมทำอย่างนี้ดีกว่า พูดอย่างเดียวว่าไม่ได้ คุณทักษิณต้องติดตะราง แน่นอนว่ากระบวนการยุติธรรมต้องติดตะราง แต่ยังมีทางออกอื่นอยู่

         ผมรำคาญจึงได้เชิญ คุณปานปรีย์ พหิทธานุกร ตอนนั้นเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยมานั่งคุย ก็แนะนำว่าวิธีการจะเป็นอย่างไร ให้ทั้งสองฝ่ายแก้ปัญหาได้ คุณทักษิณกับคุณอภิสิทธิ์ก็จะกลายเป็นฮีโร่ ประชาชนจะเห็นว่าผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายยอมจับมือกันได้ คนไทยจะโล่งอก และคนที่จะโล่งอกที่สุดคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์จะมีความสบายใจมาก ท่านจะไม่ป่วอย ไม่กลุ้มอกกลุ้มใจแบบนี้ ถ้าท่านเห็นคนไทยรักกัน เมื่อคุยกับคุณปานปรีย์ไม่ได้ความอีก

          ไม่กี่เดือนต่อมา ผมเรียกคุณนพพล ปัทมะมานั่งคุยที่นี่ ผมก็แนะนำเหมือนที่แนะนำคุณอภิสิทธิ์ ถึงวิธีความสร้างความปรองดอง คุณนภดลโทรศัพท์คุยกับคุณทักษิณที่ดูไบ ผลตอบรับออกมาดีมาก เห็นด้วยกับหลักการของผม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผมจะไปเจรจากับคุณทักษิณด้วยตัวเองถึงรายละเอียด เพื่อคุณทักษิณจะได้สบายใจ ตกลงนัดหมายจะไป แล้วก็เกิดมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่

         คุณทักษิณก็ฉลาด เพราะคิดว่ายังไงเสียงเขาต้องชนะ เมื่อเขาชนะเลือกตั้งแล้วจะทำอะไรก็ได้ ที่จะนำไปสู่ความปรองดอง ออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่ขณะนี้กำลังมีการพูดกันอยู่ ผมจึงเสียใจอยู่ทุกวันนี้ว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่ได้ฟัง เพราะถ้าทำอย่างผมว่า ซึ่งตอนนั้นคุณอภิสิทธิ์สามารถทำได้ เป็นรัฐบาลอยู่ ผมเชื่อว่าคุณทักษิณจะยอม ผมยอมแม้กระทั่งเอาตัวเองไปติดตะรางเพราะคุณทักษิณผมยอมแม้กระทั่งเอาตัวเอง การันตี ถ้าคุณอภิสิทธิ์อยู่เป็นรัฐบาล ผมการันตีผมจะไปนอนกับคุณทักษิณ ถ้าต้องติดตะรางเพื่อที่จะดำเนินการต่อไป
เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงเมื่อพรรคของคุณ ทักษิณชนะ ได้เป็นรัฐบาล 

        แต่ผมเป็นห่วงถ้ารัฐบาลเพื่อไทยออกกฎหมายนิรโทษกรรม รวมถึงจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นการฟอกคนอื่นๆ อย่างคนที่พลอยฟ้าพลอยฝนไปเฮๆ กับเขาด้วย ผมเห็นด้วย เพราะเขาไม่รู้เรื่องเลย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อขาว เสื้อเขียว แต่บุคคลที่ทำผิดต้องยอมรับผิด แต่ผิดยังไงรับยังไงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผมจึงไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลขณะนี้ที่กำลังคิดทำอยู่ เพราะเชื่อว่าถ้าทำฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยจะลุกฮือขึ้นมา บ้านเมืองจะฉิบหายเลย ผมถือว่านี่คือความผิดพลาดของคุณอภิสิทธิ์ เหมือนกัน ถ้าหากบ้านเมืองจะเกิดเช่นนั้นก็เพราะคุณอภิสิทธิ์มีโอกาสแล้วแต่ไม่ทำ

มองบทบาทและการทำงานของคุณอภิสิทธิ์ด้านอื่นๆ อย่างไร

       มีอีกหลายอย่างไม่ถูกใจผม แย่มากเลย เพราะไปเชื่อคนใกล้ชิดไม่กี่คน อย่างไรก็ตาม โอกาสที่คุณอภิสิทธิ์จะทำก็หมดไปแล้ว แต่ไม่หมดทีเดียวในฐานะเป็นฝ่ายค้าน สิ่งที่คุณอภิสิทธิ์ทพลาดมากคือ คุณอภิสิทธิ์ไม่ปรึกษาผู้ใหญ่ในพรรค เป็นข้อผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ยกตัวอย่างผู้ใหญ่ในพรรคคนหนึ่งคือ คุณสัมพันธ์ ทองสมัคร เป็นผู้แทนฯ มาหลายสมัย อยู่กับพรรคมา กัดก้อนเกลือกินกันเลย การเลือกตั้งล่าสุดอยู่ในบัญชีรายชื่อ 48-49 แล้วคุณอภิสิทธิ์ไปเอาใครไม่รู้ คนใหม่ๆ ไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ 4-10 คนเก่าๆ หลุดหมด คุณสัมพันธ์ก็สอบตก

       นี่เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า คุณอภิสิทธิ์ใช้คนไม่เป็น แต่กลับใช้คนใหม่ๆ เช่น กรณ์ จาติกวณิช อภิรักษณ์ โกษะโยธิน ศิริโชค โสภา แต่คนเก่าอย่างคุณบัญญํติ คุณชวน คุณสัมพันธ์ คุณสาวิตต์ โพธิวิหค คุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ คนเหล่านี้ คนเก่าแก่ของพรรค หรือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ทำไม่ไม่ไปปรึกษาหารือล่ะ เมื่อคุณอภิสิทธิ์ไม่ใช้คนเก่าๆ มาปรึกษาหารือ มันล้มกันไปใหญ่ ผมเลยมองแนวโน้มพรรคประชาธิปัตย์ด้วยความเป็นห่วงมาก ถ้าสถานการณ์ของพรรคยังเป็นอย่างนี้ต่อไป

        สมมุติการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คราวนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร แพ้ คุณอภิสิทธิ์อยู่ไม่ได้ ต้องออก ตัวเองเป็นต่อตั้งเยอะแยะ แต่ตัวเองทำให้ตัวเองตก ถ้าชนะก็แล้วไป แต่ผมเปรียบเทียบให้เห็นว่า คนของพรรคเพื่อไทยลงมาหมดเลย ตั้งแต่หัวหน้าพรรค ส.ส. แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรี ลงมาหาเสียงเต็มที่ ผมบอกกับคุณอภิสิทธิ์นานแล้ว ผมบอกเอาคนอย่างผม คุณชวน คุณบัญญัติก็ดี คนเก่าขึ้นบนเวที ให้ชาวบ้านเห็นบ้างว่า ประชาธิปัตย์ก็มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีเอกภาพ แต่นี่ไม่เอา เอาเฉพาะ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กับคุณอภิสิทธิ์

        เมื่อมองแนวโน้มแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ไม่ดีเลย ถ้ายังดำเนินการวิธีการแบบที่คุณอภิสิทธิ์ทำอยู่ในเวลานี้ วันหนึ่งประชาธิปัตย์จะค่อยๆ หายไป เมื่อถึงตอนนั้นผมก็ตายแล้ว แต่ถึงแม้ว่าผมตายแล้วผมก็จะเสียใจมาก ที่ผู้ใหญ่เขาสร้างพรรคมาเป็นพรรคที่ต่อต้านเผด็จการ แล้วมาโดนเด็กและคนกลุ่มหนึ่งมาทำลายพรรค ในอนาคต ประชาธิปัตย์อาจมีสมาชิกอยู่ 10-20 คน ไม่เป็นสถาบันทางการเมืองอย่างที่ฝัน ดีไม่ดีคนก็ไม่มาเพราะตัวเองไม่มีตังค์ ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ ประชาธิปัตย์อาจะเป็นฝ่ายค้านอย่างน้อย 20 ปี และต่อไปอีก 30-50 ปีก็ได้

ใครเหมาะสมจะนั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคคนต่อไป

         ผมมองว่า ดร. สุรินทร์ อดีตเลขาธิการอาเซียน หรือ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผมสนับสนุนสองคนนี้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนต่อไป ผมไม่สนับสนุนกรณ์ หรือ อภิรักษ์ บอกตรงๆ เลย เพราะยังไม่ซึมทราบอุดมการณ์ของประชาธิปัตย์ แต่อย่างคุณจุรินทร์ ถือเป็นคนเก่าแก่ของพรรค มันซึมในสายเลือดแล้ว หรือ ดร. สุรินทร์ ก็ซึมในสายเลือดแล้ว ส่วน ดร. ศุภัย พานิชภักดิ์ ยังมาไม่ได้เพราะยังทำงานอยู่ในต่างประเทศ ถ้าหาก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์แพ้เลือกตั้งครั้งนี้ คุณอภิสิทธิ์ต้องทำ

ดร. สุรินทร์ กับ คุณจุรินทร์ ใครเหมาะสมที่สุด

        ผมคิดว่าเหมาะสมทั้งคู่ ใครจะเป็นก็ได้ แต่ที่ผมเป็นห่วงคือทั้งสองคนนี้ไม่มีสตางค์ และผมไม่แน่ใจว่าทั้งสองคนนี้จะไปเอาสตางค์ที่ไหน เพราะทั้ง ดร. สุรินทร์ และคุณจุรินทร์ ไม่ใช่คนที่มีสันดานโกง ขอย้ำว่า สองคนนี้ไม่มีสันดานโกง และไม่มีสันดานไปรีดไถเงินคน แล้วใครจะให้ล่ะ ผมเองเคยเป็นหัวหน้าพรรคต้องขายที่ดิน ก็ไม่มีสันดานโกง ผมก็ไม่ได้ไปรีดไถใคร แต่ผมบังเอิญมีที่ดินพ่อแม่ซื้อไว้ ให้ราคาตารางวาละ 5 บาท 10 บาทอยู่หลายแปลง ผมก็เอาที่นั้นไปขายเอามาช่วยพรรค

        ถ้าจะเอา ดร. สุรินทร์หรือคุณจุรินทร์มาเป็นหัวหน้าพรรค 2 คนนี้ก็ไม่มีตังค์ ผมเป็นห่วง แต่ผมว่าไม่ควรจะท้อถอย ถ้าหาก 2 คนนี้ยังกลับมาฟื้นประชาธิปัตย์ให้เหมือนอย่างเก่า ให้ชาวบ้านเห็นอุดมการณ์ที่เราเคยมีอยู่ ไม่ใช่คนเห็นว่าเขามีประชานิยมเราก็ไปตามเขา แต่เห็นว่าเราทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานอย่างจริงจัง เงินชาวบ้านจะมาให้เราเอง ซึ่งเงินเหล่านั้นเป็นเงินบริสุทธิ์

        ผมหวังว่า ดร. สุรินทร์ หรือ คุณจุรินทร์ก็ดี ถ้าต้องมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคคงจะรื้ออุดมการณ์ของพรรคขึ้นมาใหม่ แล้วค่อยๆ สร้างพรรคขึ้นมาใหม่อีก อาจไม่ใช่ชั่วชีวิตของ ดร. สุรินทร์หรือคุณจุรินทร์ อาจจะมีคนรุ่นใหม่มารับไป แต่ต้องเริ่มสร้างเริ่มฟื้นใหม่แล้วให้เหมือนเก่า ถึงแม้ไม่มีเงินก็หวังว่าพี่น้องประชาชนจะมาช่วยเรา ถ้าเราทำงานให้เขาเห็น ถ้าเราฟื้นอุดมการณ์เดิมของเราให้เขาเห็น ถ้าไม่ทำอย่างนี้ บ้านเมืองเราจะเหมือนกับสิงคโปร์ ถ้าแพ้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. บ้านเมืองจะเหมือนสิงคโปร์ จะเหมือนมาเลเซีย พรรคอัมโนพรรคเดียว เมืองไทยก็จะมีพรรคเพื่อไทยพรรคเดียว นอกนั้นเป็นพรรคที่ต้องพึ่งพาอาศัยบารมีเขา

ทั้ง 2 คนมีศักยภาพเป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่

         ไม่มีปัญหาเลย ทั้ง ดร. สุรินทร์ และคุณจุรินทร์ มีศักยภาพที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ดร.สุรินทร์เคยเป็นเลขาธิการอาเซียน ทำงานได้ดีมาก คุณจุรินทร์เองก็ทำงานได้ดีมาก สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่ถ้าหาก 2 คนนี้ไม่เอา กลับไปให้คุณชวนก็ยังได้ หรือกลับไปที่คุณบัญญัติก็ยังได้ แต่ผมไม่เห็นด้วยถ้าจะเอาคนรุ่นใหม่ เช่น กรณ์ อภิรักษ์ พวกเหล่านี้ยังไม่ถึง ที่สำคัญเลือดยังไม่ซึม แต่พวกเหล่านี้อาจจะมาเป็นเลขาธิการพรรคได้แล้วค่อยๆ ฝึกขึ้นมา

        ถามว่าคุณชวนกับคุณบัญญัติจะจับมือ สนับสนุนใครคนใดคนหนึ่งระหว่าง ดร. สุรินทร์ หรือ คุณจุรินทร์ ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่หรือไม่ ผมไม่ทราบเหมือนกัน เพราะการเลือกหัวหน้าพรรคก็ต้องแล้วแต่สมาชิกพรรคและมติของเสียงส่วนใหญ่ ส่วนที่มีการมองว่าการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ค่อนข้างแรง ผมก็ไม่ทราบ ขณะนี้ผมโกรธมาก แล้วผมจะไม่ไปที่ทำการพรรคอีกเลย เมื่อก่อนผมไปปีละครั้ง วันทำบุญวันเกิดพรรค วันเกิดพรรคปีนี้วันที่ 6 เมษายน ผมตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ได้ เพราะผมเห็นแล้วทุเรศ ไม่อยากไปเห็นอีก

ฝากอะไรถึงคุณอภิสิทธิ์ ดร. สุรินทร์ และ คุณจุรินทร์

        ผมอยากเปรียบคุณอภิสิทธิ์เหมือนเด็ก ดื้อ แล้วก็ดื้อแบบไม่พูดด้วย ดื้อเงียบ เดี๋ยวนี้ผมเจอผมไม่คุยด้วย ผมไม่คุยเรื่องการเมืองเลย ไม่อยาก

        ขอย้ำอีกครั้งว่า ถ้า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ชนะ คุณอภิสิทธิ์ก็ทำงานต่อไป แต่ถ้าใจดีก็ควรปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น และสร้างคนขึ้นใหม่ เอาคุณจุรินทร์ ดร. สุรินทร์เข้ามาช่วย เอาคนเก่าๆ ขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาช่วยกันแก้ปัญหาพรรค มันก็ไปได้ ศึกคราวหน้าถึงจะสู้กับเขาได้ ส่วน ดร. สุรินทร์ คุณจุรินทร์ ผมขอฝากให้ช่วยกันรักษาพรรคไว้ให้ได้ ถ้าหากมีความจำเป็นต้องเป็นตัวหน้าพรรคต้องรับ ถ้าผมยังมีชีวิตอยู่ จะหาทางช่วยทุกอย่างให้หน้าที่ของเขาสำเร็จ ก็เท่านั้น

ผมเศร้าใจจริงๆ

นายอภิสิทธิ์ กับวาทกรรม "พรรคเพื่อไทยทำลายศาลและระบบกระบวนการยุติธรรม"

นายอภิสิทธิ์ กับวาทกรรม "พรรคเพื่อไทยทำลายศาลและระบบกระบวนการยุติธรรม"

        นสพ มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556 รายงานบทสัมภาษณ์ นาย อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เกี่ยวกับการรณรงค์ของสมาชิกรัฐสภาและประชาชนทั่วไปชาวเสื้อแดงในการไม่ยอม รับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ผมคัดลอก เนื้อหามาดังนี้

" เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลพยายามล้มอำนาจตุลาการ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เขาพยายามอยู่ ท้าทายอำนาจตุลาการมาโดยตลอด เมื่อไหร่ที่ตัดสินใจถูกใจก็เฉยๆ แต่ถ้าไม่พอใจจะพยายามสร้างกระแส เปลี่ยนแปลงและล้มระบบตรงนี้จะอันตราย”

         และเว็บไซท์ประชาไท รายงาน การปราศัยของนาย อภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 2 มิย 2555 ที่ลานคนเมือง กทม ในหัวข้อ "ผ่าความจริงกฎหมายล้างผิด" (http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40818) 
ข้อความตอนหนึ่งว่า

"ทั้ง นี้ เขา(อภิสิทธิ์)ย้ำว่าประชาธิปัตย์เป็นนักประชาธิปไตยต้องการให้บ้านเมือง ระบบสภา และประชาธิปไตย เดินหน้า และเริ่มต้นที่นักการเมืองต้องไม่สร้างเงื่อนไข และแม้จะมีการรัฐประหารหลายครั้งก็ไม่เคยมีการล้มล้างอำนาจตุลาการเช่นที่กำลังเกิดขึ้น แต่ความเลวร้ายจากการรัฐประหารที่เคยเกิดขึ้นหลายยุคหลายสมัยฉีกรัฐธรรมนูญล้มรัฐบาล แต่ไม่เคยมีการคิดล้มล้างอำนาจตุลาการ"

"แต่กฎหมาย 4 ฉบับที่พูดถึงอยู่นี้ ไม่ใช่การรัฐประหาร แต่เป็นการประหารรัฐ เหมือนหนึ่งบ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป บ้านเมืองไม่มีกฎหมายบ้านเมืองขึ้นอยู่กับอำเภอใจของคนมีอำนาจ และถ้าเรามีบ้านเมืองอย่างนี้อนาคตของประเทศ อนาคตของลูกหลายมืดมน "

"ผมจึง ต้องย้ำกับพี่น้องว่า การต่อสู้ของพี่น้องทุกคนในวันนี้เป็นการต่อสู้ที่มีความสำคัญ ไม่มีเรื่องผลประโยชน์ของพวกเราเองเลย ไม่มีเรื่องไปแย่งชิงอำนาจเลย เราขอเพียงว่าคนมีอำนาจอย่าลุแก่อำนาจทำลายชาติบ้านเมืองและอนาคต วันนี้ จึงเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นเท่านั้นของการต่อสู้พวกเราทุกคนต้องเหนื่อยอีกมาก และหลายคนที่ขึ้นมาพูดบนเวทีนี้ได้ให้กำลังใจกับพี่น้องทุกคน ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ขอให้กำลังใจพี่น้องที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้องและผม จะยืนยันว่าพรรคปชป. จะก้าวเดินไปกับพี่น้องในการต่อต้านกฎหมายทำลายชาติฉบับนี้ ยืนยันคำเดิมไม่นิรโทษกรรมคนจงใจทำผิดทางอาญา ไม่คืนทรัพย์สินให้ทักษิณ สี่หมื่นหกพันล้าน พี่น้องสู้ไม่สู้ สู้ไม่สู้ สู้ไม่สู้ ถ้าพี่น้องสู้ประชาธิปัตย์จะสู้กับพี่น้อง ขอขอบคุณครับ” นายอภิสิทธิ์ กล่าวส่งท้ายกับประชาชน จากนั้นเวทีปราศรัยจึงจะยุติลง"

          จากที่ผมติดตามมาตลอดจะเห็นได้ว่า นาย อภิสิทธิ์ สร้างวาทกรรมที่ว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ของ นส ยิ่งลักษณ์ มีความพยายามที่จะล้มล้างอำนาจตุลาการ เพื่อเป็นวาทกรรมทางการเมืองที่ แยกระหว่าง ผู้เคารพอำนาจตุลาการ (พรรคประชาธิปัตย์) กับ ผู้ที่พยายามล้มล้างอำนาจตุลาการ (พรรคเพื่อไทย และนายทักษิณ ชินวัตร)

       เนื้อหาของ บันทึกนี้ผม ไม่ต้องการตัดสินว่า ใครกันแน่ที่ล้มล้างอำนาจตุลาการ? เพราะคนไทยส่วนใหญ่มากๆลืมหมดแล้วว่า ผู้ที่ล้มล้างอำนาจตุลาการมีอยู่จริง คือ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเรียกว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดยดูจากราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พศ 2549 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 95ก หน้า 5)
  • ที่ทำลาย รัฐธรรมนูญ ปี 2540
  • ทำลาย วุฒิสภา
  • ทำลาย สภาผู้แทนราษฎร
  • ทำลาย คณะรัฐมนตรี
  • และทำลาย ศาลรัฐธรรมนูญ

       แต่แปลกดีครับ คดี ที่อยู่ใน ศาลรัฐธรรมนูญชุดที่ คมช หรือ คปก ทำลายนั้น ให้เก็บไว้เพื่อให้ตุลาการ(ไม่มีคำว่าศาล เพราะ คปก ได้ทำลายศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว) รัฐธรรมนูญชุดใหม่ ที่ได้รับเลือกเข้ามาตัดสินคดีต่อไป

ดังนั้น คนไทยทั้งหลายพึงระลึกไว้เถอะครับว่า รัฐประหาร ปี 2549 ได้ทำลายอำนาจตุลาการจริง (ฝากเรียน นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยความเคารพครับ)

ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง: หนังแห่ง ‘พรมแดน’ ประเทศ-ความคิด ที่ 18+ อดดู

เปิดใจผู้กำกับ ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง: หนังแห่ง ‘พรมแดน’ ประเทศ-ความคิด ที่ 18+ อดดู

        The Boundary หรือ ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง นับเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 3 แล้วที่ถูกคณะอนุกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์สั่ง “ห้ามฉาย” ในราชอาณาจักร ตามหลังรุ่นพี่อย่าง Insects in the Backyard และ Shakespeare Must Die

        ประชาไท พูดคุยกับผู้กำกับหนุ่มวัย 30 ปี นนทวัฒน์ นำเบญจพล ไล่ไปตั้งแต่การสำรวจแนวคิดเบื้องหลังการสร้าง แรงบันดาลใจ เส้นทางวิบากในการเข้าถึงข้อมูล การตีความชื่อเรื่อง พล็อตเรื่องและข้อโต้แย้งต่อเหตุผลในคำพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งหยิบยกประเด็นอ่อนไหวสูงสุด 2 ประการในสังคมเรื่อง สถาบันมหากษัตริย์และความมั่นคงของชาติ


แรงบันดาลใจในการทำเรื่องนี้คืออะไร? 

     หนังโฟกัสไปที่ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา แต่ว่าตอนแรกผมไม่ได้สนใจประเด็นกัมพูชาเลยแม้แต่นิดเดียว ผมสนใจปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เสียมากกว่า จากกรณีของม็อบแดงที่ราชประสงค์

     เมื่อก่อนผมก็เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่ไม่ได้สนใจการเมือง แต่วันหนึ่งก็พบว่าการเมืองเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นทุกวัน จนมา peak สุดก็ตอนที่มีการปราบปรามการชุมนุม มีคนตายไปเกือบร้อย ผมรู้สึกว่ามันเศร้า สะเทือนใจมาก บวกกับช่วงนั้นพอเปิด facebook แล้วเจอเพื่อนเก่าที่สนิทกัน นิสัยดีๆ หลายๆ คนเขาสนับสนุนและรู้สึกยินดีที่มันเกิดการฆ่ากันเกิดขึ้น ผมเลยรู้สึกตกใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นในสังคมไทย แล้วก็เกิดการตั้งคำถามตรงจุดนั้น

    จนวันหนึ่งผมได้เจอกับทหารคนหนึ่ง เขาเลือกส่งตัวเองไป 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่นราธิวาสประมาณปีหนึ่ง แล้วเขาก็ถูกส่งมาในการสลายการชุมนุมม็อบแดงเมื่อเดือนเมษายน 2553 แต่เขาปลดประจำการไปก่อนเดือนพฤษภาที่มีการฆ่ากันเยอะๆ ช่วงนั้นที่เจอเขาคิดจะเดินทางกลับบ้านเกิดเขาที่ศรีสะเกษ ก็เลยสนใจว่าคนที่อยู่ในเหตุการณ์จริงๆ ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองไทยเขามีทัศนคติยังไง พบเจออะไรมาบ้าง ก็ขอตามเขาไปที่จังหวัดศรีสะเกษด้วยซึ่งเขาก็ยินดี ได้ไปตามถ่ายสารคดี ไปอยู่บ้านเขา ถ่ายชีวิตเขา คุยกับเขาว่าคิดยังไง เขาก็เล่าเรื่องการเป็นทหารว่าทำอะไรบ้าง

     ผมอยู่ศรีสะเกษ ตอนนั้นปี 2011 พอดีจังหวะนั้นเกิดกรณีพิพาทขึ้น มีการปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชา ผมก็เลยไปถ่ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ มีชาวบ้านอพยพ มีคนที่บ้านไฟไหม้ มีคนที่สามีตาย ไปถ่ายที่จังหวัดสุรินทร์ แถวปราสาทตาควายที่กลายเป็นหมู่บ้านร้าง มีรอยกระสุน

      พอได้มุมมองทางฝั่งไทยที่ถูกกระทำเยอะ ๆ ผมก็รู้สึกว่ามันมีข้อมูลด้านเดียวถ้าออกไปสู่สายตาชาวโลกจะดูไม่ดีเพราะเรา ก็เป็นคนไทย ผมเลยคิดว่าควรไปถ่ายจากฝั่งกัมพูชาด้วย สุดท้ายก็ได้มุมมองจากฝั่งกัมพูชา เป็นชาวบ้านและทหารบริเวณชายแดน

เข้าไปถ่ายในกัมพูชา เขาอนุญาตหรือ ?

     ตอนแรกผมพยายามข้ามไปทางชายแดนแต่ก็เข้าไม่ได้ ผมเลยบินไปที่พนมเปญแล้วก็พยายามหาคนพาไปชายแดน ก็ไม่มีใครยอมพาไป เพราะเราเป็นคนไทย เขาก็กลัวว่าเป็นสปายมาหรือเปล่า

ค่อนข้างเสี่ยงนะ

     สนุกดี จนหนังผมได้ไปได้ทุนที่เทศกาลหนังปูซานที่เกาหลี พอดีมีผู้กำกับที่ไปฉายหนังในเทศกาลหนังปูซานเหมือนกัน ชื่อ ดาวี่ เขาเป็นคนกัมพูชาที่ไปโตที่ฝรั่งเศสก็มาช่วยเป็น co-producer และช่วยหา connection ให้ ตอนแรกก็แนะนำให้ทำ permit ขอเป็นทางการก่อนว่าอยากไปถ่ายที่ไหนบ้าง อะไรบ้าง แต่ปรากฏว่าสิ่งที่ผมเขียนมาเขาบอกว่ามันไม่สามารถไปขอได้ ก็เลยต้องไปแบบกองโจร ใช้กล้องเหมือนนักท่องเที่ยว

     จริง ๆ ตอนแรกใช้เวลานานมากกว่าจะหา connection ได้ พอดีว่าดาวี่ไปฉายหนังที่นิวยอร์กแล้วเจอคนกัมพูชาซึ่งมีครอบครัวอยู่ จังหวัดพระวิหารพอดี แต่เราก็ต้องบอกทุกคนว่าไม่ใช่คนไทย ไม่อย่างนั้นจะถ่ายทำลำบาก เลยบอกว่าเป็นนักท่องเที่ยว สัญชาติ Chinese American  พอเราไม่ใช่คนไทยแล้ว ทุกอย่างก็ very easy ง่ายสุดๆ เขาก็พร้อมจะบอกว่าคนไทยทำอะไรกับเขาไว้บ้าง


สรุปแล้วเรื่องนี้เป็นสารคดีหรือภาพยนตร์ 

      มันเป็นสารคดี เพราะทุกอย่างถ่ายจากเหตุการณ์จริง ความต่างของสารคดีกับภาพยนตร์แบบเล่าเรื่องทั่วไป คือ ภาพยนตร์จะมีการควบคุมสภาพแวดล้อม มีการใส่บทพูดให้กับนักแสดง แต่เรื่องนี้ไม่ เรื่องนี้ให้สภาพแวดล้อมพาเราไป

หนังยาวเท่าไร 

96 นาที

ชื่อเรื่องดูเหมือนจะเป็นอีกจุดที่มีการตีความเยอะ ที่มาของชื่อเรื่องมาจากไหน ต้องการหมายถึงอะไร

     ชื่อเรื่อง Boundary หรือเขตแดนนั้น นอกจากมันจะเป็นเรื่องของเขตแดนไทย-กัมพูชาแล้ว มันก็ยังพูดถึงเรื่องเขตแดนในความคิดของผู้คน มันมี fact อย่างหนึ่งแต่คนก็ยังมอง fact นั้นต่างกัน คนหนึ่งก็ว่าอย่าง อีกคนก็ว่าอย่าง

     ตอนแรกผมตั้งชื่อเรื่องก็ไม่ได้คิดเลยว่าแรง และคนจะโยงไปถึงสถาบัน  ตอนแรกพยายามหาชื่อไทยให้เหมาะ ภาษาอังกฤษมันชื่อว่า boundary ซึ่งแปลว่าเขตแดน ก็พยายามคิดอยู่ จะชื่อพรมแดนจะดีไหม ยังดูสะเหร่อนะ (หัวเราะ) วันหนึ่งก็ไปถามแม่ แม่ผมก็เป็นอาจารย์สอนมนุษยศาสตร์ ปรัชญา เขาก็นึกๆ ให้ แล้วจู่ๆ ก็ร้องเพลงสมัยเขาขึ้นมาชื่อเพลงฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เป็นเพลงที่ดังมากในยุค 70 รุ่นป้าๆ เขาจะร้องคาราโอเกะกัน เนื้อหาของเพลงพูดถึงความรักที่แม้ว่าจะมีพรมแดนมากั้นก็สามารถข้ามพรมแดนมา อยู่ร่วมกันได้ ออกแนวปรองดอง ร้องโดยคุณเกศิณี วงษ์ภักดี แต่งโดยคุณรัก รักพงศ์ คือ สมณะโพธิรักษ์ ที่ก่อตั้งสันติอโศก

    อีก moment หนึ่งที่ชอบชื่อฟ้าต่ำแผ่นดินสูง คือ วันที่ผมไปยืนที่เขาพระวิหาร ตรงจุดที่สูงที่สุดแล้วผมไปยืนตรงหน้าผา ผมเห็นว่าจุดที่ผมยืนอยู่มันเห็นแผ่นดินสูงกว่าเส้นขอบฟ้า ผมเลยเลือกชื่อนี้ แล้วความหมายมันก็ดูย้อนแย้งกับเรื่องเส้นเขตแดน แล้วก็ตีความได้หลากหลายดี


ถ้าดูจากคำพิจารณาของคณะ กรรมการเซ็นเซอร์ก็มีการพูดถึงสถาบันกษัตริย์ด้วย คาดหมายอยู่แล้วไหมว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่น่าผ่านการพิจารณา 

     อย่างที่เขายกมาในข้อที่พูดถึงสถาบัน ผมตกใจมาก มันเป็น scene ที่ผมถ่ายที่ราชประสงค์ปี 2010 ช่วงปีใหม่ มีคนไปร่วมฉลองปีใหม่เต็มไปหมด แล้วพิธีกรบนเวทีก็พูดก่อนที่จะ countdown กันว่าร่วมฉลองให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสพระชนมายุครบ 84 พรรษา ซึ่งเสียงมันแทบจะเป็นบรรยากาศ เบามากๆ เบาขนาดที่ผมไม่ได้แปล subtitle ภาษาอังกฤษไว้

แปลว่าไม่ได้มีเนื้อหาที่เชื่อมโยงสถาบันชัดเจน

     ไม่เลยๆ มีแค่นั้น ถ้าคนได้ดูจริงๆ จะเห็นว่าไม่ได้พูดประเด็นสถาบันเลย แต่ถ้าคนจะตีความเรื่องฟ้าต่ำแผ่นดินสูงไปในทางนั้น ก็จะตีความไปในทางการปกครองได้ เช่น มีคนบริเวณชายแดนพูดว่า สุดท้ายคนที่ซวยก็คือพวกเขาที่อยู่ในพื้นที่ตรงนั้น แต่คนที่เย้วๆ ก่อเรื่อง หรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมามันไม่ใช่พวกเขา เป็นคนที่อยู่สูงกว่าพวกเขา แค่นั้น

ในคำพิจารณาแบนยังระบุชัดเจนว่า “เหตุที่นำมาเผยแพร่อ้างว่าเป็นสารคดี แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นการสรุปความคิดเห็นของผู้จัดทำ” เรื่องนี้คิดยังไง

      แล้วสารคดีจะต้องเป็นยังไงล่ะครับ คือคณะกรรมการเขียนเหตุผลในการแบนว่าเป็นเรื่องการเขียน caption ไม่สอดคล้องกับภาพ ซึ่ง caption เหล่านั้นมันจะแทนทัศนคติของผม อันที่จริงมันก็ไม่ชิงสรุปความ มันไม่ได้มีมุมมองของผมคนเดียว ถ้าไปถามคนที่เคยดูหนังเรื่องนี้ เขาจะบอกว่าเรื่องนี้ค่อนข้างที่จะพยายามนำเสนอให้เป็นกลางที่สุดแล้ว นอกจากจะมีทัศนคติของผมในช่วงต้นๆ อย่างที่ได้อธิบายไปแล้วว่าผมเกิดความสงสัย แต่ตัวผมในเรื่องก็ค่อยๆ fade หายไป กลายเป็นมุมมองของคนในพื้นที่ กลายเป็นมุมมองของชาวบ้านพูดแทน แถมชาวบ้านก็ไม่ใช่แค่ฝั่งไทย ไปฟังชาวบ้านเขมรด้วยซ้ำ

       ถึงมันจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่คนไทยพูดว่าเขมรเขาเอาเขตแดนรุกเข้ามาทางฝั่ง ไทย และฝั่งไทยก็เขตแดนกระเถิบเข้าไปทางฝั่งเขา คณะกรรมการก็เขียนให้เหตุผลในการแบนบอกว่ามันเป็นข้อมูลที่ยังอยู่ในชั้นศาล ยังไม่ได้เป็นข้อมูลที่ออกมาเป็นเอกสารสรุปชัดเจนเหมือนกรณีที่มีคนตายที่ ราชประสงค์ คือ มันเป็นมุมมองของชาวบ้าน ชาวบ้านเขาคิด ชาวบ้านเขาพูด แล้วไม่ได้มีแค่มุมมองเดียวด้วย แต่มีหลายมุมมอง debate กันอยู่ในหนัง
 
      ผมก็ เอ๋ มันยังไง ต้องเป็นเอกสารด้วยเหรอ แล้วการขึ้น caption มาไม่สอดคล้องกับภาพ มันทำไม ทำไมได้เหรอ ผมก็สงสัยอยู่เหมือนกัน

หนังเรื่องนี้ใช้เวลาถ่ายทำนานเท่าไร 

     ประมาณ 2 ปีกว่า ส่วนใหญ่จะนานตอนหา connection ในเขมร

คณะกรรมการใช้เวลาพิจารณาเท่าไร

     ผมส่งเป็นดีวีดีไป ใช้เวลาพิจารณาอาทิตย์กว่า เพราะตามกฎหมายต้องพิจารณาในเวลา 15 วัน ถ้าเกิดเลยจากนั้นยังไม่ได้รับการพิจารณาจะยกประโยชน์ให้กับผู้ยื่น ถือว่าผ่านไปเลย พออาทิตย์กว่าๆ เขาก็โทรมา

เข้าใจว่าโดยกระบวนการต้องมีการให้คนทำหนังเข้าไปชี้แจง/หารือกันว่าจะมีการเซ็นเซอร์หรือไม่ จุดไหน 

      ตอนแรกพอรู้ว่าหนังไม่สามารถฉายได้ ก็คุยกับคนหนึ่ง เหมือนเขาจะเป็นคณะกรรมการด้วย เขาบอกเหตุผลมาอย่างที่ได้เห็นกันอยู่ในข่าว ผมก็พยายามขอไปชี้แจงแต่เขาไม่ยอม ผมถามเขาว่าจะตัดส่วนไหนได้บ้าง เพื่อแก้ไข เขาก็บอกว่ามันแทบจะทั้งเรื่อง น่าจะแก้ไม่ได้
สักพักก็มีผู้ชายอีกคนชื่อคุณประดิษฐ์ เป็นผู้ใหญ่สักคนในกองพิจารณา เขาก็ให้คำพิจารณามาดูได้ แล้วบอกว่าเราสามารถปรับแก้ตามนี้แล้วยื่นมาใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งพอคุณประดิษฐ์เดินไป คุณคนแรกก็บอกเลยว่า ถึงจะปรับแก้ยังไง กรรมการก็ชุดเดิมอยู่ดีนะคะ ผมก็เลยตีความไปเองว่า เขาคงต้องการบอกว่าแก้ไปก็เท่านั้นแหละ

แล้วตัดสินใจได้หรือยังว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ หลังจากที่ผลออกมาแบบนี้ 

      ปรึกษาผู้ใหญ่แล้ว เขาก็แนะนำให้อุทธรณ์เหมือนทุกเรื่องที่ผ่าน  แม้ว่าทั้งสองเรื่องที่ผ่านมามา  (เชคสเปียร์ต้องตาย, insects in the backyard) อุทธรณ์ไปแล้วจะไม่คืบหน้าอันใด ชะงักอยู่อย่างนั้น ก็คงต้องทำไปในทางกฎหมาย แต่ในด้านอื่น ผมก็คงจะใช้การพูด การเขียนข้อมูลที่ผมได้มาและเพื่อเคลื่อนไหวให้คนไทยได้รู้ว่า การทำอย่างนี้ถือว่าไม่ให้เกียรติคนไทยได้คิด

       ผมขอเรท 18+ โดยผมมองว่าคนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปเขามีสิทธิที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งได้แล้ว น่าจะมีวิจารณญาณในการรับชม เลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อในชุดข้อมูลที่ผมนำเสนอได้โดยตัวของเขาเอง ผมพยายามจะเรียกร้องข้อนี้ว่า ถ้ามีการจัดเรทติ้งแล้วไม่ควรจะมีการแบน ผมอยากให้เคารพสติปัญญาแล้วก็ให้เกียรติผู้ชมได้ตัดสินด้วยตัวเขาเอง

มองวงการภาพยนตร์ไทยยังไง โดยเฉพาะเมื่อเจอกรณีนี้ด้วยตัวเอง

        ผมว่าช่วงนี้หนังไทยเป็นช่วงขาขึ้น มีหนังดีๆ ออกมาเยอะเลยแล้วก็ทำเงินกัน ในต่างประเทศก็ให้ความสนใจดี ถ้ากองตรวจสอบพิจารณาภาพยนตร์ยังคงมีทัศนคติหรือมุมมองต่อภาพยนตร์อย่างนี้ ผมคิดว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วงการภาพยนตร์ถอยหลัง


คิดว่าโดยรวมหนังตัวเองแรงไหม

       ไม่คิดว่าแรงเลย เพราะผมถามคนที่ดูมา เขาก็ไม่ได้ว่ามันแรง หลายคนก็บอกว่าเป็นหนังที่คนไทยควรได้ดูด้วยซ้ำ เพราะน่าจะทำให้สถานการณ์ทุกอย่างดีขึ้น และโดยความตั้งใจแล้วก็ตั้งใจว่าอยากให้คนยอมรับความเห็นต่าง ความคิดต่าง ผมพยายามนำเสนอ fact หนึ่งขึ้นมา และจะมีคนที่พูดในมุมมองที่ตรงข้ามกันอยู่ตลอดในหนัง

คิดว่าหนังเรื่องนี้ คนที่มีแนวคิดชาตินิยมมากๆ อนุรักษ์นิยม หรือแม้แต่กลุ่มเคลื่อนไหวทวงคืนปราสาทพระวิหารดูได้ไหม

       นี่คือกลุ่มที่ผมต้องการที่สุดเลยที่อยากให้ดูหนังเรื่องนี้ ผมก็อยากรู้มากเลยว่าเขาจะคิดยังไง

หนังการเมืองที่เป็น mass ไม่ค่อยมี ถ้ามีก็เป็นลักษณะแนวมาก สัญญะซับซ้อนมาก ตอนทำมีแอบกังวลกับโจทย์เรื่องว่าจะไปสร้างความแตกแยกทางความคิด เหมือนที่คนบางส่วนเป็นห่วงไหม

      กังวลไหม ผมรู้สึกว่าหนังผมมีแค่คนกลุ่มเดียวที่ผมไม่มั่นใจว่าเขาจะรู้สึกยังไง คือ กลุ่มทวงคืนเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมอยากให้ดูที่สุด ผมมองว่าถ้ามันออกไปจริงๆ มันน่าจะเกิดการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กัน เกิด debate ในหนังผมพยายามจะนำเสนอให้เข้าใจความเห็นต่างและการอยู่ร่วมกันด้วย คนดูน่าจะได้ย้อนมองตัวเอง โดยเฉพาะคนที่อาจจะมองอะไร bias สุดๆ มันน่าจะมีแง่มุมที่ทำให้เขาเปิดใจกว้างมากขึ้น ผมก็เลยไม่ค่อยกังวลและอยากให้คนได้ดูมากกว่า

หลังจากเป็นประเด็นขึ้นมาได้รับผลกระทบในทางสังคมอย่างไรไหม ท่ามกลางสภาวะที่มีความขัดแย้งกันทางความคิดค่อนข้างสูง 

      วันนี้ยังไม่ค่อยมีผลกระทบในชีวิตเท่าไร ยกเว้นรับโทรศัพท์ทั้งวัน (หัวเราะ)  เท่าที่ดู feedback จาก facebook อะไรอย่างนี้ ส่วนใหญ่น่าจะร้อยละ 95 เลยที่เชียร์เรา แต่ก็มีบางคนที่อาจจะอนุรักษ์นิยมมากๆ ที่ฟังชื่อเรื่องแล้วแบบว่า เรียกว่ายังไงดีล่ะ แทบดิ้นอะไรแบบนี้ เขาก็ด่าเลยว่าสมควรแล้ว ทั้งที่เขายังไม่ได้ดูเลยว่าเป็นยังไง

สุดท้าย ขอถามถึงแบ็คกราวน์ในการทำหนังว่าเข้ามาสู่เส้นทางนี้อย่างไร 

      สำหรับเรื่องนี้ก็อย่างที่บอกว่าแต่ก่อนก็เหมือนวัยรุ่นกรุงเทพฯ ทั่วไป ไปเที่ยวเล่นกับเพื่อน แล้วมาถึงจุดที่บอกว่า วันหนึ่งมีคนตายเยอะ ๆ แล้วเพื่อนที่สนิทสนมกันเขาไปสนับสนุนการฆ่าล้าง ผมว่ามันไม่ใช่แล้ว

      ส่วนการเข้าสู่เส้นทางการทำหนัง จริงๆ ตอนเรียนผมเรียน visual design เป็นออกแบบ graphic design อยากเรียนภาพยนตร์แหละแต่เอ็นไม่ติด เรียนไป 2-3 ปีก็เบื่อแต่โชคดีว่าเราเรียน visual design เลยทำอะไรก็ได้ที่เป็น visual ส่งอาจารย์ตอนจบ  ผมเลยเลือกทำสารคดี ตอนนั้นกลุ่มเพื่อนเป็นเด็กเล่น sketboard เขาเล่ากันเก่งมาก เล่นทั้งวี่ทั้งวัน แต่ประเด็นของเรื่องคือ เขาไปเล่นที่ไหนก็ยังโดนคนไล่ พ่อแม่ก็ด่า แต่เขาก็ยังเล่นอยู่ หนังก็เลยพูดถึงกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่ต้องการหาพื้นที่ยืน  อันนั้นเรื่องแรกที่ทำกับเพื่อน หนังยาว 40 นาที เสร็จแล้วก็ไปยื่นขอทุนดู ได้ทุนก้อนเล็กๆ จาก GTH ก็ทำต่อไปจนเสร็จ ชื่อ ‘โลกปะราชญ์’ มาจากคำว่าปราชญ์ผสมประหลาด ใน youtube ก็มีอยู่ part หนึ่งสั้นๆ
จากนั้นก็ได้เจอพี่ปุ่น (ธัญสก พันสิทธิวรกุล) ที่ทำหนังอิสระ ตอนนั้นมีกลุ่มไทยอินดี้ เขาเห็นก็ชอบแล้วก็เอาหนังเรื่องนี้ไปฉายตามงานเทศกาลหนังต่างๆ เราก็เลยได้รู้จักคนที่อยู่ในสังคมทำหนังอิสระ สืบเนื่องต่อกันมาเรื่อยๆ ทำหนังสั้นมาเรื่อยๆ

เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ทำแบบเต็มรูปแบบฉายตามโรงทั่วไป

     ใช่แล้ว เรื่องนี้ได้ทุนมาจากเทศกาลภาพยนตร์ปูซาน ได้ทุนมาจากสิงคโปร์ แล้วก็ฉายเปิดตัวที่ Berlin เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติของที่นั่นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  แล้วก็มาฉายที่มูลนิธิหนังไทย หอภาพยนตร์ เพิ่งจัดไปเมื่อเดือนเมษายนนี้เอง ก็มีคนได้ดูพอสมควร แล้วก็ไปฉายที่ธรรมศาสตร์ทีที่ห้องเรียนประวัติศาสตร์ ในชั้นเรียนของอาจารย์ชาญวิทย์ (เกษตรศิริ) และอาจารย์อัครพงษ์ (ค่ำคูณ) มีการพูดคุยกันถึงหนังและ background ของผู้คนในพื้นที่นั้น

     ทีนี้เราก็รู้สึกว่าให้คนได้ดูส่วนหนึ่งแล้ว อยากจะลองให้วงมันกว้างขึ้น เพราะมี feedback ในทางที่ดี คนก็ชอบและเชียร์ให้เราได้ฉายในวงกว้าง ก็เลยส่งเซ็นเซอร์ดูเพื่อจะเอาเข้าโรงภาพยนตร์

ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง : “เขาพระวิหาร” ในภาพยนตร์ที่ห้ามคนไทยดู

ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง : “เขาพระวิหาร” ในภาพยนตร์ที่ห้ามคนไทยดู

      ช่วงการต่อสู้ทางการศาลเพื่อแย่งชิงสิทธิในการครอบครองพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรใกล้ชิดติดกับปราสาทเขาพระวิหาร ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง หรือ Boundary ภาพยนตร์สารคดีเล็ก ๆ โดยนนทวัฒน์ นำเบญจกุล ได้รับเลือกเป็นภาพยนตร์ฉายเปิดในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีศาลายา อีกราวสี่วันต่อมาจากพิธีเปิด ฟ้าต่ำ แผ่นดินสูง ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้ชมแทบเต็มความจุของห้องประชุมชั้นห้าของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และปิดท้ายด้วยการฉายที่ธรรมศาสตร์พร้อมการเสวนาของชาญวิทย์ เกษตรศิริ


     น่าเสียดายว่าผู้ชมที่ได้ชมไปอย่างเป็นทางการในสามรอบที่ว่าน่าจะเป็น “ผู้โชคดี” เพราะ ล่าสุดภาพยนตร์เรื่องนี้โดยคณะกรรมการเซนเซอร์ให้เรทห้ามฉายด้วยเหตุผล เกี่ยวกับความมั่นคงและอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ซึ่งนนทวัฒน์จะยื่นอุทธรณ์อีกเช่นเดียวกับท่านอื่นที่โดนก่อนหน้า)

       มีภาพยนตร์ไทยน้อยเรื่องที่นำเขาพระวิหารมาเป็นใจกลางการเล่าเรื่อง โดยมากมักเป็นสารคดีทางโทรทัศน์ที่ถูกผลิตในทิศทางการสูญเสียดินแดนและเรียก ร้องนำดินแดนทับซ้อนเหล่านี้คืน มีวาทกรรมมากมายถูกผลิตขึ้นในช่วงพันธมิตรประชาชนประชาธิปไตยกลับมาแสดง บทบาททางการเมืองช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์

       จุดเริ่มต้นของฟ้าต่ำ แผ่นดินสูงเกิดขึ้นเมื่อนนทวัฒน์เดินทางตามทหารเกณฑ์นายหนึ่งกลับไปยังบ้าน เกิดที่อยู่ใกล้ ๆ ภูมิซรอล เดิมทีนนทวัฒน์ตั้งใจเล่าเรื่องของทหารที่ต้องปฏิบัติภารกิจทั้งในภาคใต้และ เหตุการณ์ที่คอกวัวในเดือนเมษายน 2553 ดังนั้นในช่วงแรกฟ้าต่ำฯ จึงคล้ายสำรวจชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่นที่ทหารคนนี้ใช้ชีวิต ทว่าจุดเปลี่ยนของเรื่องก็เปลี่ยนไปเมื่อเขาพบว่าพื้นที่หมู่บ้านแห่งนี้ อยู่ในเขตได้รับผลกระทบจากการเรียกร้องเขาพระวิหารเช่นเดียวกัน

       หนังสำรวจความคิด ความรู้สึก และความเสียหายทั้งเชิงกายภาพและความรู้สึกของชาวบ้านในเขตพื้นที่นั้น กล้องแบบแฮนด์เฮลด์ติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารหลังการยิง ถล่มกันไป แม้เหตุการณ์ผ่านไปพักใหญ่แต่เรื่องราวและร่องรอยยังหลงเหลือเหมือนเกิดขึ้น เมื่อราวสิบนาทีที่แล้ว เจ้าหน้าที่ต่างเล่าเหตุการณ์เฉียดตาย  พร้อมพาไปดูร่องรอยกระสุนที่สถานที่ราชการ บ้านเรือนของชาวบ้าน พวกเขาต่างอยู่ด้วยกำลังใจพร้อมมีองค์ความรู้ที่หลายคนในเมืองไม่มีวันรู้ เช่น ถ้าได้ยินเสียงปืนดังขึ้นจากอีกฝั่ง ให้รีบหมอบ ถ้านับเวลาถึงกำหนดแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ถือว่ารอด

       บทสนทนากับชาวบ้านเต็มไปด้วยความโกรธแค้นและคำถามมากมาย พวกเขาไม่เคยต้องการพื้นที่ดังกล่าวเหมือนที่คนในเมืองกลุ่มหนึ่งเรียกร้อง แล้วทำไมพวกเขาต้องมาเป็นคนรับผลกรรมด้วย (พร้อมโบ้ยกลาย ๆ ว่าเป็นเพราะรัฐบาลในเวลานั้นที่ทำให้เกิดการยิงต่อสู้กัน) บางบ้านหายไปในพริบตาจนเจ้าของบ้านร้องไห้ด้วยความสิ้นหวัง แม้เวลาต่อมาจะได้เงินบริจาคมาสร้างบ้านหลังใหม่ได้ แต่ก็มิอาจทดแทนบ้านหลังเดิมที่เธอมีควาทรงจำมากมายจากการเก็บหอมรอมริบ สร้างขึ้น

      นนทวัฒน์ใช้เทคนิคบางอย่างทำให้ได้ความคิดเห็นของผู้คนฝั่งกัมพูชามาด้วย ความรู้สึกของคนที่ต้องผจญกับเสียงปืนนั้นไม่ต่างกัน ทว่าในข้อมูลเรื่องเล่าเหล่านั้นต่างมีน้ำเสียงแค้นเคืองอยู่บ้างที่รัฐไทย กระทำกับรัฐกัมพูชามาเสมอ จากข้อมูลของนนทวัฒน์ ชาวบ้านไม่ได้ทราบความขัดแย้งภายในประเทศของไทย คนกัมพูชาส่วนใหญ่ก็มักเหมารวมว่ารัฐบาลไทยต้องการดินแดนเพิ่มเติม

      เหตุผลหนึ่งที่ออกจากปากทหารในเขมรได้น่าสนใจมากคือเรื่องหลักเขตแดนที่ โดยทำลายหรือโดนโยกย้าย (พวกเขาบอกว่าหลักถูกเลื่อนเข้าไปในเขตแดนกัมพูชา) สำหรับพวกเขาแล้วพรมแดนไม่เคยมีอยู่จริง มีเพียงหลักเขตแดนที่โดยทำลายไปในช่วงเขมรแดงและโดนเคลื่อนย้ายจากฝ่ายทหาร ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม ดังนั้นสำหรับพวกเขา พรมแดนก็เป็นแค่เส้นสมมติที่เคลื่อนที่ได้และไม่เคยมีอยู่จริง

     หนังสารคดีไม่ใช่ความจริงแท้ คนทำหนังสารคดีทุกคนล้วนมีประเด็นที่ต้องการเล่า และจุดมุ่งหมายสำคัญก็คือโน้มน้าวให้คนเชื่อในสิ่งที่เขาต้องการบอก ผ่านการใช้ข้อมูลและภาพฟุตเตจจริง และเมื่อชมเราก็พบว่าสายตาของนนทวัฒน์และสายตาที่เขาเล่าคือสายตาเดียวกัน สายตานั้นมุ่งต้องการให้คนที่ได้ชมหันมาสนใจคนที่อยู่ในพื้นที่บ้าง พวกเขาไม่เคยเรียกร้องอะไรจากเขาพระวิหารและดินแดนดังกล่าว แต่ทำไมถึงต้องมาซวยทั้งที่ต้นเหตุเกิดขึ้นจากใครไม่รู้ในเมืองกรุงผู้โดน ชาตินิยมขวาจัดกัดกลืน

       อย่างน้อย ๆ ที่สุด ความดีงามของภาพยนตร์เรื่องนี้คือการได้พาไปเห็นชีวิตที่ได้รับผลกระทบ และก่อให้เกิดการถกเถียงกันว่าการเรียกร้องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น คุ้มค่าหรือเปล่า (ยิ่งเมื่อเทียบกับสิ่งที่สูญเสียของคนย่านนั้นไม่ว่าไทยหรือกัมพูชา)
น่าเสียดายที่ภาพยนตร์เรื่องนี้โดนแบนด้วยข้อหาอันแสนใจแคบว่ามีปัญหาต่อ ความมั่นคงและอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่หากพินิจพิเคราะห์กันแล้ว ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้แสนมนุษยนิยม มุ่งให้ความสำคัญกับชีวิตคนมากเสียกว่าดินแดนที่เรียกร้อง ซึ่งในทัศนะผู้เขียน ถึงได้ไปแล้วก็ยังไม่รู้ว่าจะนำไปทำประโยชน์อะไรต่อ ความมั่นคงจะมีไปทำไมถ้าชีวิตคนในชายแดนไม่มีความสุขในชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะสนใจไปทำไมทั้ง ๆ ที่คนในประเทศไม่น้อยต่างซวยเพราะผลของนโยบายต่างประเทศ ณ เวลานั้น ๆ (จนมีคนพูดว่าแล้วหนังอย่างพระนเรศวร / บางระจันที่ประกาศว่าหงสาวดี ที่ประวัติศาสตร์ไทยประกาศชัดว่า คือพม่า ศัตรู อันดับหนึ่ง มิยักเคยถูกข้อหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบ้าง)

        ผู้เขียนก็ขอให้กำลังใจกับนนทวัฒน์ (ซึ่งก็เคยพูดคุยกันเป็นการส่วนตัว) และขอให้การอุทธรณ์นั้นผ่าน ส่วนสำคัญคืออยากให้ผู้ชมได้ชมในโรงภาพยนตร์ตามความหวังของผู้กำกับ และ ขอแสดงความไม่นับถือต่อผู้ที่แบนหนังเรื่องนี้ ที่แสดงความไร้อารยธรรมเป็นครั้งที่สามนับแต่ที่พระราชบัญญัติภาพยนตร์อัน แสนขัดแย้งต่อแนวคิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถูกประกาศใช้

ท้ายที่สุด ฎีกาแล้วยังไม่ได้ผล  ช่องทาง new media จะทลาย boundary ทางกฎหมายและท้าทายอำนาจที่รัฐมอบให้คนงี่เง่าอย่างชนิดคนเหล่านั้นไม่มีวัน คาดถึง

ไม่ใช่นักมวยไล่ชกกรรมการ กรรมการต่างหากที่ไล่ชกนักชกมวย

ไม่ใช่นักมวยไล่ชกกรรมการ กรรมการต่างหากที่ไล่ชกนักชกมวย

http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/165/48165/images/1231251040.jpg        เห็นข่าวคุณจรัญบอกว่างงที่นักมวยไล่ชกกรรมการ และก็พูดทำนองว่าไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดเพราะมีงานต้องทำ ผมก็เข้าใจได้ทันทีว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายๆคนกำลังจะจนมุมเข้าทุกทีแล้ว

        ใช้คำว่า "จนมุม" ก็ดูจะเข้ากับบรรยากาศดีทีเดียวเพราะเป็นเรื่องหมัดๆ มวยๆ

      คุณจรัญ นับได้ว่าเป็นระดับมันสมองของศาลรัฐธรรนูญที่คอยทำหน้าที่ปกป้องรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้อย่างหัวชนฝามาตลอด ด้วยความสามารถระดับคุณจรัญ ถ้าไม่จนมุมจริง ๆ คงไม่ออกลูกนี้แต่ที่ต้องมาเปรียบเทียบเป็นนักมวยกับ กรรมการก็เพราะเรื่องที่กำลังโต้แย้งเกี่ยวกับบาทบาทที่เลยเถิดของศาลรัฐ ธรรมนูญกันอยู่ในขณะนี้ ฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญไม่มีทางโต้แย้งด้วยเหตุผลได้เลย

       ยิ่งโต้กันไปโต้กันมา คนทั้งบ้านทั้งเมืองก็ยิ่งเห็นตรงกันว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายผิดเต็มประตู คือกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง ก้าวก่ายการทำหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆที่ตนเองไม่มีอำนาจ และตั้งตัวอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ
 
      เมื่อรู้ว่าโต้ไปก็ยิ่งแพ้ ยิ่งเข้าเนื้อ คุณจรัญจึงใช้วิธีเปรียบเทียบที่ง่ายๆและคงหวังว่าสังคมไทยจะคล้อยตามได้ง่าย

       แต่ผมคิดว่าในหลายปีมานี้ สังคมไทยได้เรียนรู้อะไร ๆ มามากพอที่จะรู้เท่าทันคุณจรัญแล้ว ความจริงเรื่องระหว่างรัฐสภากับศาลรัฐธรรมนูญนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่จะ เปรียบเทียบว่าฝ่ายหนึ่งเป็นนักมวยและอีกฝ่ายเป็นกรรมการ ต้องอธิบายกันหลายแง่มุม

       แต่ถ้าจะเปรียบอย่างที่คุณจรัญเปรียบคงต้องบอกว่าขณะนี้ไม่ใช่นักมวยไล่ ชกกรรมการ แต่คนดูทั้งสนามเขาเห็นว่ากรรมการนั้นไม่เป็นกลาง และทราบกันโดยทั่วไปว่า กรรมการนั้นสังกัดค่ายมวยค่ายหนึ่ง ค่ายมวยนี้นักมวยชกไม่เป็นแต่ที่ยังมีนักมวยชกอยู่ได้และบางทีก็ชนะเสียด้วย ก็เพราะมีกรรมการคอยช่วยอยู่เรื่อย มาช่วงหลังๆนักมวยก็ยิ่งชกไม่เป็น ภาษามวยเขาเรียกว่า"ออกทะเล" กรรมการก็เลยใจร้อน โดดเข้าช่วยนักมวยในสังกัดเดียวกัน ถึงขั้นชกเสียเองเลย

      เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว คนดูเขาจึงไม่สนใจแล้วว่ามวยที่ชกกันนั้นใครจะแพ้ ใครจะชนะ แต่เขาสนใจว่า จะเปลี่ยนกรรมการได้ยังไงมากกว่า

      ใครที่ชอบดูมวยหรือดูกีฬาอะไรก็ตาม ลองพบว่ากรรมการเอียงกระเท่เร่เสียแล้ว ดูยังไงก็ไม่สนุกหรอกครับ นุ่มนวลที่สุดก็คือต้องโห่ไล่กรรมการกันละครับ

       พูดเรื่องศาลรัฐธรรมนูญต่ออีกหน่อยครับ ศาลรัฐธรรมนูญกำลังเข้าตาจนแล้ว ขอใช้ภาษาหมากรุกสักหน่อย ความจริงต้องเรียกว่า หมดสภาพ คือไม่ว่าจะพิจารณาในแง่มุมไหนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะนี้ก็ไม่เหลือความน่าเชื่อถืออะไรอยู่อีกแล้ว
  • ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ใช่หรือที่ปลดนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง  โดยอ้างพจนานุกรมในเรื่องที่คนทั้งโลกเขางงกันไปหมด
  • ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ใช่หรือที่ยุบพรรคการเมือง 3 พรรคเพื่อจะล้มรัฐบาลๆหนึ่งลงไป เพื่อจะให้มีการตั้งรัฐบาลกันในค่ายทหาร แล้วต่อมาก็มาอธิบายว่าทำกันไปแบบสุกเอาเผากิน ถ้าฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลจับมือกันก็คงไม่ยุบพรรคการเมืองเหล่านั้น
  • ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ไม่ไช่หรือที่มีคลิปหลุดออกมาเป็นภาพตุลาการหลายคน กำลังหารือกันว่าจะช่วยพรรคการเมืองพรรคหนึ่งให้รอดจากการถูกยุบพรรคได้ อย่างไร และยังมีภาพการหารือกันในลักษณะทุจริตเพื่อช่วยลูกหลานของพวกตนสอบเข้าทำงาน ในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญด้วย ที่แย่กว่านั้นก็คือแทนที่จะสอบหาคนผิดมาลงโทษ ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้กลับไปเอาเรื่องคนปล่อยคลิปแทน
  • ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ได้ตัดสินไม่ยุบพรรคปชป.ด้วยการตีความว่านายทะเบียน พรรคการเมืองคนเดียวใหญ่กว่ากกต.ทั้งคณะ ทั้งๆที่มีหลักฐานการกระทำผิดเป็นคันรถๆ
  • ศาลรัฐธรรนูญชุดนี้อีกเช่นกันที่ตัดสินว่าแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทย กับกัมพูชาเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ แล้วต่อมาเราก็มาพบว่าแนวทางตามแถลงการร่วมนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศ มากกว่าการเดินหน้าไปขึ้นศาลโลก และแถลงการร่วมก็ไม่ได้เป็นสนธิสัญญาที่จะต้องผ่านรัฐสภาแต่ก็ตีความว่าต้อง ผ่าน
  • ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ยังได้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับ การพ้นจากสมาชิกภาพของส.ส.ไปแล้วเมื่อคราวปลดนายจตุพร พรหมพันธ์ุจากส.ส.
  • ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ได้เข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของรัฐสภาในการ แก้รัฐธรรมนูญทั้งๆที่ตนเองไม่มีอำนาจแต่อย่างใดเลย บอกว่าการแก้มาตรา 291 ขัดเจตนาของมาตรา 291 ซึ่งเป็นการใช้ตรรกะที่พิสดารที่สุด แนะนำว่าสมควรลงประชามติเสียก่อนทั้งๆที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับ พร้อมทั้งบอกให้ไปแก้เป็นรายมาตรา

        พอเขาจะแก้รายมาตรา ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ก็รับคำร้องคัดค้านอีก ทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่มีอำนาจ รัฐธรรมนูญเขาบัญญัติไว้ชัดเจนว่า หากมีการออกกฎหมายหรือแก้กฎหมายในรูปแบบ ต่าง ๆ แล้วขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐสภาพิจารณาเสร็จแล้วก็เปิดโอกาสให้ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ พิจารณาว่าร่างกฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรนูญหรือไม่ แต่สำหรับการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชดเจนว่าเป็นอำนาจ หน้าที่ของรัฐสภาและไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่บอกว่าเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

        แต่นี่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังใช้อำนาจที่ไม่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญในทุกขั้นตอนตามอำเภอใจ

       มาถึงการแก้มาตรา 68 เพื่อไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินขอบเขต ศาลรัฐธรรมนูญก็กำลังรับพิจารณาในประเด็นว่าการแก้มาตรา 68 ขัดต่อมาตรา 68 หรือไม่ ตรรกะแบบพิสดารมาอีกแล้ว

      เมื่อศาลรัฐธรรมนูญจงใจขัดรัฐธรรมนูญเสียเองอย่างโจ่งแจ้งอย่างนี้ จึงถูกต้องแล้วที่สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจ ที่จะรับคำร้องและพิจารณาตรวจสอบการแก้รัฐธรรมนูญอย่างที่ศาลรัฐธรรมนูญทำ อยู่และก็เป็นการถูกต้องแล้วที่สมาชิกรัฐสภาหลายๆคนรวมทั้งประชาชนจะหาทาง ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญถอดถอนตุลาการบางคนที่จงใจขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง

        นอกจากนั้น ขั้นตอนต่อไปที่ดูเหมือนจะไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วก็คือการแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดที่มา องค์ประกอบ บทบาท อำนาจ หน้าที่ กระบวนการ วิธีการทำงานตลอดจนการตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญเสียใหม่ให้สอดคล้องกับหลัก ประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม

       วิกฤตของบ้านเมืองเราในหลายปีมานี้ ความจริงแล้วต้นเหตุสำคัญอย่างยิ่งก็มาจากบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญนี้เอง วิกฤตที่เกิดจากการตั้งตนอยู่เหนือรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะ ได้รับการแก้ไขได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อสังคมเราร่วมกันยกเครื่องระบบ กติกาเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญทั้งระบบเสียใหม่ให้ถูกต้องครับ

ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

ประเด็นน่ากังวลจากข่าวเขาพระวิหารคือสงคราม

         ตัวแทนสื่อกัมพูชา เปิดใจประเด็นที่คนกัมพูชากังวลคือสงคราม พร้อมยอมรับคำตัดสินเพราะกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องต่อศาลโลกเอง ขณะสื่อชายแดนไทย-กัมพูชาเรียกร้องความร่วมมือระหว่างประเทศ

          ซก สุวรรณ ประธานกรรมการสื่อมวลชนกัมพูชา และรองเลขาธิการสหพันธ์สื่อมวลชนอาเซียน กล่าว ในการเสวนาหัวข้อ “ไทย-กัมพูชา-ปราสาทพระวิหาร..รู้ทันข่าว รู้ทันสื่อ” ซึ่งจัดโดยมีเดีย อินไซด์เอาท์ ว่าคนกัมพูชารวมถึงนักข่าวจะติดตามข่าวถ่ายทอดสดจากช่อง 11 ของกัมพูชา และสิ่งที่กังวลคือสงครามมากกว่าเรื่องผลคำตัดสิน ทั้งนี้ฝั่งกัมพูชาเชื่อว่าชนะคดีเพราะกัมพูชาอ้างอิงแผนที่1:200,000 เตามคำตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

          “นักการเมืองกัมพูชาพูดน้อยในเรื่องนี้ เพราะเขาเห็นว่าอยากตีความคำตัดสินใหม่ให้ชัดเจน ไม่อยากให้เป็นเรื่องซ้ำไปซ้ำมาเกี่ยวกับปราสาทเขาพระวิหารซึ่งต้องการการ พัฒนา”

          “แต่การนำเสนอไม่เหมือนไทย ผมเห็นว่าไทยออกข่าวทุกช่วงเวลาเลย ทั้งช่องสาม ช่อง 11 ผมดูทีวีของไทยสามช่อง”

         สำหรับประเด็นในศาลโลกนั้น สำหรับกัมพูชาเชื่อมั่นว่าต้องชนะนะ เพราะเรามีแผนที่ 1:200,000 เพราะเป็นตัดสินจากศาลโลก ซึ่งกัมพูชาชนะมา 50 ปีแล้ว

         ส่วนความสนใจของประชาชนนั้น ซก สุวรรณกล่าวว่าประชาชนไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่ติดตามจากข่าวไทย ส่วนนักข่าวกัมพูชานั้นไปที่กรุงเฮกนั้นมีการรายงานประมาณ 2 ช่วงเท่านั้น คือ  11.00 น. และ 18.00 น.

        “การติดตามข่าวสารของฝั่งกัมพูชา กลัวอย่างเดียวคือกลัวสงคราม ส่วนเรื่องคำตัดสินไม่มีความกังวล” ซก สุวรรณกล่าวและว่าประชาชนกัมพูชาผ่านความขัดแย้งมานานแล้วและไม่ชอบเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมีความขัดแย้งทางกัมพูชาก็จะถือว่ารัฐบาลเป็นตัวแทนของเขา

        ในส่วนการนำเสนอข่าวสาร เขากล่าวว่า กัมพูชามีเสรีภาพในการเขียน แต่ถ้าทำให้เกิดความเสียหาย อะไรที่ไม่แน่นอนก็ไม่เขียน ประเด็นความขัดแย้งจะเขียนค่อนข้างเบา และระมัดระวัง

        เขาย้ำว่าผลการตัดสินนั้นกัมพูชาต้องยอมรับเพราะคนที่ร้องขอให้ศาลตีความคำตัดสินอีกครั้งเป็นฝ่ายกัมพูชาเอง

          ประสิทธิ์ แสงรุ่งเรือง นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย กล่าว ว่า ปัญหาเรื่องเขาพระวิหาร คนภาคกลางหรือรัฐบาลอาจจะมองอย่างหนึ่ง แตกต่างจากคนกลุมหนึ่งที่อยู่ชายแดนมองต่างกัน สิ่งที่คนชายแดนเป็นห่วงคือความกระทบกระทั่ง คนชายแดนเคยเห็นผู้อพยพกัมพูชาอพยพมายังประทเศไทยเป็นล้าน เห็นคนเวียดนามไหลทะลักเข้ามา ล้มตายนับแสนคน ภาพเหล่านี้ยังประทับอยู่ในใจ

           “อย่างที่คุณ ซก สุวรรณกล่าว คนชายแดนเป็นห่วงเรื่องสงครามจริงๆ ถ้าเกิดความขัดแย้งขึ้นมาเราเสียหาย ตลอดเวลาที่ผ่านมา เวลามีปัญหาด้านสงครามขึ้นมา ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก ฉะนั้นเมื่อมาพูดถึงเรื่องปัญหาเขาพระวิหาร เรามีความเห็นว่าฝ่ายตุลาการนั้นควรปล่อยให้เขาดำเนินการ ส่วนจะออกเป็นรูปแบบใดก็ตาม เชื่อว่าทุกคนจะหาผลประโยชน์เพื่อตนเองและประเทศชาติ แต่ในฐานะที่พัมูชาเป็นประเทศข้างเคียงกับเรา มีอะไรก็น่าจะได้พูดคุยกันปรึกษาหารือกัน”

         “ทางที่ดีที่สุดคือพยายามที่จะอย่าเสนอความคิดเห็นที่เป็นความขัดแย้งแต่ ต้น ผมไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นถึงแม้ว่าเขาจะพิพากษาว่าอย่างไรก็ตาม แต่ที่มองโดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเป็นคนที่อยู่ที่นั่นและทำข่าวสู้รบชายแดนมา นาน ผมเห็นว่าปัญหานี้น่าจะได้พูดคุยกันและตกลงกันให้ได้ แต่ถ้าตกลงเรื่องเส้นเขตแดนไม่ได้ก็น่าจะใช้พื้นที่นี้ร่วมกันไปเลย แต่เท่าที่มองถ้าหากว่าเราต่างฝ่ายต่างรักชาติ ต่างฝ่ายต่างระดมความคิดเห็น ในที่สุดเราจะไม่สารรถรอมชอมกันได้”

         ประสิทธิ์กล่าวว่า ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นประเทศเล็กๆ ที่ร่ำรวยทางทรัพยากร ถ้าขัดแยน้งกันมาก ปัญหาในอดีตอาจจะกลับมาคือประเทศมหาอำนาจอาจจะกลับเข้ามาอีกครั้งหยนึ่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดนั้น เป็นเพราะประเทศอาเซียนสร้างขึ้นและไปเชื้อเชิญมหาอำนาจจากภายนอกเข้ามาเอง

        เขาเท้าความถึงกรณีเผาสถานทูตไทยในกัมพูชาที่เกิดขึ้นเพราะปัญหาการสื่อ สาร สื่อมวลชนชายแดนจึงตั้งสมาคมขึ้นมา และอยากให้เอาความจริงมาพูดและพยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้งอยากให้กลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ด้วยกันและมีความร่วมมือระหว่างกัน

           สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ เดอะเนชั่น กล่าว วา คนทั่วไปอาจจะอยากให้นักข่าวประเมิน หรือชั่งน้ำหนักว่าใครมีน้ำหนักมากกว่ากัน แต่เขาคิดว่านักข่าวไม่ควรตอบในเชิงสร้างความคาดหวังต่อประเด็นความขัดแย้ง นี้

         “ผมตอบว่า ประการแรกผมไม่มีความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศมากพอ และทำไมผมจึงไม่พยายามจะบอกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะถ้าพูดโดยทั่วไป ผมคิดว่าผมไม่ควรจะตอบให้เกิดความคาดหวังใดๆ

        “ผมทำข่าวเรื่องนี้ตื่นเต้นน้อยกว่าการทำข่าวเขาพระวิหารที่คณะกรรมการ มรดกโลก เพราะประเด็นเป็นเรื่องทางการเมืองและหาประโยชน์จากความเพลี่ยงพล้ำ ในประเด็นนี้เขาเห็นว่าเมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ความขัดแย้งให้อยู่ในศาล แต่รัฐบาลต่อรัฐบาลไม่เกลียดกัน ประชาชนต่อประชาชนไม่เกลียดกัน พื้นที่ต่อให้เสีย 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 2875 ไร่ ถ้าเทียบกับทั้งหมดในไทยนั้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้พื้นที่ฉบับเดียวกันแล้วไทยได้พื้นที่จากลาวจำนวนมาก นั้น มากกว่า”

      “ความลำบากในฐานะสื่อมวลชน คือการเอาตัวเองถอยออกมาจากเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของชาติทั้งเป็นผู้ต้านหรือสนับสนุนรัฐบาลก็ตาม แต่ผมคิดว่าเราสามารถแยกแยะได้”

       “เขาพระวิหารเป็นต้นไม้หนึ่งต้นในป่าทั้งป่าของความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา คนไทยรู้สึกกับมันมากเกินเหตุ ผมรู้สึกกับกรณีนี้ ต่างกับกรณีขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะตอนนั้นคนไทย emotional เกินเหตุ” สุภลักษณ์กล่าวพร้อมตั้งคำถามว่าถ้าเราได้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรแล้วเรายอมเสียความสัมพันธ์กับกัมพูชา เสียอะไรอีกหลายๆ อย่าง เราจะยอมเสียอย่างนั้นหรือ

เบื่อเรื่องเขาพระวิหาร


สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: เบื่อเรื่องเขาพระวิหาร

           สัปดาห์หลังสงกรานต์ที่ผ่านมา ทั้งข่าววิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ต่างก็พากันโหมประโหมข่าวเรื่องศาลโลกและเขาพระวิหาร แต่สำหรับผมขอบอกตามตรงว่า ข่าวเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก ไม่มีสาระอะไร และไม่เป็นประโยชน์อะไรต่อประชาชนเลย ข่าวทั้งหมดที่มีการรายงานเป็นเพียงการเบี่ยงเบนประเด็น ทำเรื่องที่ง่ายที่สุด กลายเป็นเรื่องทางเทคนิกทางกฎหมายระหว่างประเทศอันสลับซับซ้อน เรื่องง่ายอันนี้มีอยู่แต่เพียงว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่พวกคลั่งชาตินิยมในไทยไม่ยอมรับ อยากได้ปราสาทคืน หรือถ้าจะจำยอมต้องรับว่าปราสาทเป็นของเขมร ก็อยากได้ดินแดนที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.ให้เป็นของไทย ซึงทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องเหลวไหลของลัทธิชาตินิยม และไปไม่ได้เลยกับกระแสบูรณาการระหว่างชาติที่จะนำไปสู่ประชาคมอาเซียนในขณะ นี้

           ประเด็นปัญหาเรื่องเขาพระวิหารนี้ มีรากฐานมาจากในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ราชสำนักสยามตัดสินใจยกดินแดนมณฑลบูรพา อันประกอบด้วยเมืองพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้กับฝรั่งเศส เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2449 ในขณะนั้น ฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมที่ครอบครองกัมพูชา การยกดินแดนครั้งนี้นำมาซึ่งการปักปันพรมแดนใหม่ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขตเทือกเขาพนมดงรักกลายเป็นเส้นพรมแดน คณะกรรมการร่วมระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ประกอบสนธิสัญญา ซึ่งในแผนที่นั้น ฝ่ายฝรั่งเศสได้ขีดให้เขาพระวิหารอยู่ในเขตของฝรั่งเศส โดยฝ่ายสยามก็ไม่ได้ทักท้วง สาเหตุที่ไม่ได้ทักท้วง เพราะขณะนั้นราชสำนักสยามไม่ได้เห็นความสำคัญของปราสาทหินอันหนึ่งในป่าเขา ที่ห่างไกล ขณะที่ในประเทศสยามมีโบราณสถานตั้งมากมายจนดูแลรักษาไม่ไหว นอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ลัทธิชาตินิยมก็ยังไม่เติบโต แนวคิดที่ว่าจะเสียดินแดนให้ประเทศอื่นไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียวก็ยังไม่ มี มิฉะนั้น ราชสำนักสยามคงไม่สามารถที่จะยกดินแดนบูรพาทั้งมณฑลให้ฝรั่งเศสไปได้ หรือถ้าจะอธิบายให้ชัดเจนในอีกด้านหนึ่ง ก็คือ ในเมื่อสามารถยกดินแดนทั้งมณฑลให้ฝรั่งเศสไปได้ จะมาสนใจอะไรกับปราสาทโบราณสักแห่งหนึ่งที่ชนชั้นนำในกรุงเทพฯไม่รู้จักเลย

           อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เปลี่ยนแปลงหลังจาก พ.ศ.2475 เมื่อลัทธิชาตินิยมเฟื่องฟูในประเทศไทย เกิดการสร้างวาทกรรมเรื่องการเสียดินแดนเพื่อปลุกเร้าความรักชาติ เกิดความเสียดายในดินแดนที่เสียไป แต่เรื่องเขาพระวิหารก็ยังไม่เป็นประเด็น จนกระทั่ง พ.ศ.2483 รัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม อาศัยเงื่อนไขที่ฝรั่งเศสแพ้สงครามเยอรมนี ทำสงครามรุกเข้าไปในกัมพูชาเพื่อยึดดินแดนคืน กรณีนี้จะเรียกกันว่า สงครามอินโดจีน ซึ่งญี่ปุ่นจะเข้ามาไกล่เกลี่ยให้ทำสัญญาใหม่ โดยให้ฝ่ายไทยได้ดินแดนพระตะบอง ศรีโสภณ และเสียมราฐบางส่วนคืน ในสถานการณ์นี้เอง ที่ทำให้ฝ่ายไทยได้เข้ายึดเขาพระวิหารไว้
ต่อมาเมื่อสงครามโลกยุติลง ไทยอยู่ในสถานะแพ้สงคราม ต้องคืนดินแดนให้ฝรั่งเศส แต่ไทยถือโอกาสยึดเขาพระวิหารไว้ไม่คืน ฝรั่งเศสเมื่อกลับเข้ามาในอินโดจีนก็ถูกต่อต้านอย่างหนักจากขบวนการชาตินิยม ทั้งในเวียดนาม และกัมพูชา จึงไม่ได้มีโอกาสในการทักท้วงฝ่ายไทย จนในที่สุด เมื่อกัมพูชาเป็นเอกราชสมบูรณ์แล้ว สมเด็จเจ้าสีหนุกษัตริย์กัมพูชาจึงได้รณรงค์ขอเขาพระวิหารคืนจากไทย เมื่อฝ่ายไทยไม่ยินยอมให้คืน กัมพูชาก็ยื่นฟ้องต่อศาลโลก อันนำมาซึ่งความสัมพันธ์อันร้าวฉานระหว่างสองประเทศ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2505 ศาลโลกก็ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ไทยจึงต้องยอมถอนทหาร และคืนปราสาทเขาพระวิหารให้กับฝ่ายกัมพูชาไป

            ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ทั้งในทางประวัติศาสตร์ และในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ปราสาทเขาพระวิหารก็เป็นของกัมพูชา แต่ยังคงมีพื้นที่ 4.6 ตารางกม.บริเวณรอบปราสาทด้านไทย ที่ถือเป็นพื้นที่ทับซ้อน คือ ทั้งสองประเทศต่างก็อ้างสิทธิ ซึ่งต้องเข้าใจว่าประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันจำนวนมากในโลก การมีพื้นที่ทับซ้อนเป็นเรื่องธรรมดา ไทยก็ยังมีพื้นที่ทับซ้อนกับเพื่อนบ้านประเทศอื่น ทั้งมาเลเซีย ลาว พม่า แต่ในทางการต่างประเทศ เป็นแบบแผนในการปฏิบัติในการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้านด้วยการ ตั้งกรรมการมาปักปันเขตแดนร่วมกัน และก็วางเฉยเสียกับพื้นที่ที่ตกลงกันไม่ได้ หรือหลายประเทศก็ใช้วิธีกำหนดเขตผลประโยชน์ร่วมกัน การทำสงครามเพื่อช่วงชิงดินแดนให้เด็ดขาดในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัจจุบันถือเป็นเรื่องอันโง่เขลา ตัวอย่างก็มีมาแล้ว ในกรณีสงครามอิรัก-อิหร่าน ทำสงครามชิงดินแดนชัตอัลอาหรับราว 10 ตร.กม. รบกันตั้งแต่ พ.ศ.2523-2531 ประชากรเสียชีวิตในสงครามนับล้านคน บาดเจ็บอีกหลายล้าน ทรัพยากรสูญเสียไปมากมาย ในที่สุดต้องสงบศึกและเปิดการเจรจากัน

           สำหรับไทยและกัมพูชา หลังจากที่หมางเมินกันมานาน ก็ได้ฟื้นฟูมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นต้นมา การค้าระหว่างสองประเทศมูลค่าเพิ่มทวี พรมแดนระหว่างสองประเทศก็เปิดติดต่อกัน ปราสาทเขาพระวิหารก็เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งกัมพูชาและไทยก็ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้ความสัมพันธ์อันดีนี้เอง กัมพูชาก็ได้เสนอให้เขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพื่อพัฒนาแหล่งโบราณสถาน ทางฝ่ายไทยก็ตกลงทำแถลงการณ์ร่วมเมื่อ พ.ศ.2551 ในหลักการที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายโดยไม่ขัดแย้งกัน

           แต่ปรากฏว่า ฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ได้ถือโอกาสนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการ เมือง เพื่อล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน โดยหยิบเอาเรื่องแถลงการณ์ร่วมมาโจมตี คุณนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศ ว่าขายชาติและทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้กัมพูชา และประณามฝ่ายกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร กรณีนี้กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศทันที เพราะฝ่ายกัมพูชาปิดเขาพระวิหารทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวฝ่ายไทยเสียหายนับพัน ล้าน นอกจากนี้ ยังนำมาซึ่งความตึงเครียดตามพรมแดน และการประทะกัน สร้างความเดือดร้อนอย่างมากแก่ประชาชนในบริเวณพรมแดน แต่ฝ่ายพันธมิตรก็ไม่ได้สนใจ กลับนำเรื่องแถลงการณ์ร่วมไปฟ้องศาลปกครอง ในที่สุด ศาลปกครองก็เข้ามาแทรกแซงอำนาจบริหารการต่างประเทศโดยสั่งให้แถลงการณ์ร่วม เป็นโมฆะ เพื่อร่วมทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลพลังประชาชน ทั้งที่แถลงการณ์ร่วมนั้น เป็นการดำเนินการมาช้านานโดยฝ่ายกระทรวงต่างประเทศและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยว ข้อง ไม่ได้เป็นผลงานพิเศษของรัฐมนตรีต่างประเทศแต่อย่างใด คำตัดสินของศาลปกครองขณะนั้น จึงสร้างความเสียหายทางการเมือง และการต่างประเทศอย่างมาก และกรณีนี้เอง เป็นที่มาให้ฝ่ายกัมพูชายื่นเรื่องต่อศาลโลกให้ตีความดินแดน 4.6 ตร.กม. ที่เป็นประเด็นอยู่ในปัจจุบัน

            ที่อธิบายมา จะเห็นได้ว่า การรื้อฟื้นเรื่องเขาพระวิหารจนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศเช่น นี้ เป็นการกระทำอันโง่เขลาของฝ่ายพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ ที่เอาประเด็นระหว่างประเทศมาเล่นการเมืองภายในจนมั่ว แล้วยังพยายามปลุกกระแสคลั่งชาติ ให้ไทยเป็นศัตรูกับเพื่อนบ้าน โดดเดี่ยวตนเองจากอาเซียน และมิตรประเทศตะวันตก เรารู้กันหรือไม่ว่า เรื่องเขาพระวิหารนี้ ไทยไม่มีผู้สนับสนุนในเวทีการเมืองโลกแม้แต่ประเทศเดียว สหรัฐกับจีนก็ไม่เคยแสดงท่าทีสนับสนุน ยิ่งกว่านั้น การพิพาทดินแดนเช่นนี้ ก็ไม่สอดคล้องกับการสร้างเอกภาพของภาคีอาเซียน

           ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างเป็นจริงต้องเริ่มด้วยการยอมรับในสิทธิของ กัมพูชา และในส่วนพื้นที่ทับซ้อนก็หาทางพัฒนาร่วมกันอย่างเป็นมิตร อย่าเอาความสัมพันธ์อันเป็นมิตรดีของประชาชนสองประเทศ และมูลค่าการค้าหลายพันล้านไปแลกกับพื้นที่ 4.6 ตร.กม. มิฉะนั้นแล้ว คนรุ่นหลังจะมากล่าวกันได้ว่า ทำไมคนรุ่นเราจึงทำอะไรที่โง่เขลากันเหลือเกิน

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ศาลโลกวันแรก กัมพูชาชี้ปัญหาเกิดจากการเมืองภายในของไทยเอง


ศาลโลกวันแรก กัมพูชาชี้ปัญหาเกิดจากการเมืองภายในของไทยเอง

กัมพูชาแถลงด้วยวาจาวันแรก ชี้ ไทยทำให้เกิดความคลุมเครือในการอ้างแผนที่ ระบุปัญหาการเมืองภายในไทยเป็นเหตุความขัดแย้ง ด้านกลุ่ม 'กำลังแผ่นดิน' นัดระดมพลปักธงชาติไทยที่ผามออีแดงวันที่ 17 เม.ย. นี้
เวลา 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ศาลโลก กรุงเฮก เริ่มการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร ฝ่ายกัมพูชาได้เริ่มการแถลงด้วยวาจา โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายสุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาต่างเข้าร่วมในการพิจารณาวันแรก
สำหรับคำร้องของกัมพูชานั้น กัมพูชาอ้างว่าคำพิพากษาเดิมไม่ชัดเจน และไทยยังไม่ได้ปฏิบัติตาม โดยยังมิได้ถอนกำลังทหารหรือตำรวจออกจากบริเวณใกล้เคียงปราสาท โดยกัมพูชาให้เหตุผลว่า วรรคปฏิบัติการที่ 2 ของคำพิพากษาเดิมไม่ระบุชัดเจนว่า “บริเวณใกล้เคียงปราสาท” ครอบคลุมพื้นที่แค่ไหน ดังนั้น กัมพูชาจึงขอให้ศาลฯ ตัดสินว่า ขอบเขตของ “บริเวณใกล้เคียงปราสาท” จะต้องเป็นไปตามเส้นเขตแดนที่ปรากฏบน “แผนที่ภาคผนวก 1” ซึ่งแนบท้ายคำฟ้องของกัมพูชาในคดีเดิม ตามที่กัมพูชาถ่ายทอดเส้นดังกล่าวในปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเห็นว่าบริเวณดังกล่าว มีขนาด 4.6 ตารางกิโลเมตร
โดยนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ชี้แจงด้วยวาจาระบุถึงสาเหตุที่กัมพูชาต้องยื่นให้ศาลโลกตีความ คำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ.2505 (ค.ศ. 1962) เนื่องจากกัมพูชาต้องการความชัดเจนในเรื่องของเขตแดน อธิปไตยและบูรณภาพ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่า ศาลโลกตัดสินไปแล้วว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในการครอบครองของกัมพูชา
ทนายความของฝายกัมพูชา ระบุด้วยว่าปัญหาระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของไทยเอง ซึ่งปี 2006 (พ.ศ. 2549) นั้น นายกรัฐมนตรีทักษิณ เป็นนายกนั้นไทยได้เห็นชอบกับการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ในเดือนกันยายนปี 2006 มีการรัฐประหาร ในวันที่ 17 พ.ค. 2007 (พ.ศ.2550) ประเทศไทยได้ส่งบันทึกช่วยจำมายังกัมพูชา มีการพูดถึงเขตพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และอ้างเรื่องเขตแดนตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนที่ L7017 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ไทยจัดทำขึ้นมาฝ่ายเดียว และเป็นแผนที่ใหม่ที่เขียนว่า “ลับ” ไม่ได้เป็นแผนที่ที่อยูในเอ็มโอยู ปี 2000 (พ.ศ.2543)
พอมาถึงปี 2008 (พ.ศ.2551)ไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกครั้ง และผู้แทนสองรัฐบาลได้ลงนามในแถลงการร่วมปี 2008 โดยรัฐบาลไทยได้ให้ความสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารของทางกัมพูชา และ 7 ก.ค. ปี 2008 คณะกรรมการมรดกโลกได้เตรียมขึ้นทะเบียน แต่ ศาลปกครองของไทยได้ระบุให้ลงนาม MOU ระหว่างไทย-กัมพูชา ของรมต.ต่างประเทศไทยขณะนั้น (นพดล ปัทมะ) เป็นโมฆะ
กัมพูชาจึงต้องทำการประท้วงไปยังสมัชชาสหประชาชาติ ว่าแผนที่ใหม่ของไทยไม่สอดคล้องกับภาคผนวก และไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาล และสิ่งท่ำไทยกำลังทำตอนนี้คือการพยายามรื้อฟื้นการตีความคำพากษาของศาลโลก
และนำมาสู่การร้องขอต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษาศาลโลกอีกครั้ง
กลุ่มกำลังแผ่นดิน เตรียมปักธงที่ผามออีแดง 17 เม.ย.
สำหรับการเคลื่อนไหวในส่วนของประชาชนไทย เว็บไซต์มติชนออนไลน์รายงานว่า กลุ่มพลังจะรวมตัวกันในวันที่ 17 เม.ย. เพื่อรวมพลังนำ"ธงชาติไทย" ไปปักในพื้นที่เขาพระวิหาร โดยนายกิติศักดิ์ พ้นภัย หัวหน้ากลุ่มกำลังแผ่นดิน กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้นัดหมายกับกลุ่มพลังมวลชนทวงคืนแผ่นดินเขาพระวิหารทุกกลุ่มทุกเครือข่าย โดยในวันที่ 17 เมษายนนี้ จะรวมพลังชาวไทยผู้รักชาติจำนวนประมาณ 10,000 คนนำเอาธงชาติไทย ความสูง 21 เมตรขึ้นไปปักที่บริเวณเขาพระวิหาร หรือบริเวณภูมะเขือให้ได้ ซึ่งจะเริ่มรวมพลังกันตั้งแต่เวลา 07.00 น. บริเวณศาลหลักเมืองกันทรลักษ์ จากนั้นจะเคลื่อนขบวนขึ้นไปบริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งหากมีการสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ จะทำไม้ง่ามประมาณ 50 อันเพื่อใช้สำหรับผลักดันลวดหนามหีบเพลงที่ขวางถนนให้พ้นทาง เพื่อนำขบวนขึ้นไปบริเวณผามออีแดงให้ได้
ลำดับเหตุการณ์ความขัดแย้งระลอกใหม่ไทย-กัมพูชา
หลังจากศาลโลกเคยมีคำสั่งเมื่อปี 2505 ให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา เวลาผ่านไปกว่า 50 ปี ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารก็ได้เกิดขึ้นระลอกใหม่ในปี 2551
โดยในวันที่ 26 มิถุนายน 2551 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาที่สนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ขณะเดียวกันพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งได้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ในปี 2551 ก็นำประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารมาเป็นประเด็นหนึ่งในการขับไล่รัฐบาล
และหลังจากที่ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็นำมาซึ่งความตึงเครียดอีกครั้งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยและกัมพูชา ได้ต่างเพิ่มกำลังทหารที่บริเวณชายแดน กระทั่งหลังเปลี่ยนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความขัดแย้งที่ชายแดนได้ลุกลามเป็นการปะทะเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายนปี 2552
และต่อมาการปะทะระหว่างกองกำลังไทยและกัมพูชาได้ทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งในปี 2553 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ทำให้ต่อมารัฐบาลกัมพูชาต้องขอคำสั่งคุ้มครองจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งต่อมาได้ออกคำสั่งให้ทั้งสองประเทศต้องถอนกำลังทหารในวันที่ 18 กรกฎาคม 2554
กระทั่งล่าสุดเมื่อ 18 กรกฎาคม 2555 หรืออีก 1 ปีต่อมาทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชามีการถอนทหารออกจากเขตปลอดทหารรอบปราสาทพระวิหารเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
























ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่า รัฐบาลมีนโยบายให้ถ่ายทอดสดการให้การทางวาจา พร้อมแปลเป็นภาษาไทยทันทีคำต่อคำ โดยกระทรวงการต่างประเทศจะถ่ายทอดผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ (๑) เว็บไซต์ที่กระทรวงฯ จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ทาง www.phraviharn.org  (สามารถเลือกฟังเสียงภาษาที่ใช้จริง เสียงภาษาอังกฤษ และเสียงภาษาไทย) (๒) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑) (๓) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM ๙๒.๕ และ AM ๘๙๑ และ (๔) สถานีวิทยุสราญรมย์ AM ๑๕๗๕
โดยวันนี้เป็นการแถลงด้วยวาจาของฝ่ายกัมพูชา ส่วนกำหนดการแถลงด้วยวาจาของทั้ง 2 ฝ่ายมีดังนี้
วันจันทร์ 15 เมษายน 2556 - โดยกัมพูชา
เวลากรุงเฮก   เวลากรุงเทพ
10.00 น. – 13.00 น. 15.00 น. – 18.00 น.
15.00 น. – 16.30 น. 20.00 น. – 21.30 น.
           
วันพุธ 17 เมษายน 2556 - โดยไทย
เวลากรุงเฮก   เวลากรุงเทพ
10.00 น. – 13.00 น. 15.00 น. – 18.00 น.
15.00 น. – 16.30 น. 20.00 น. – 21.30 น.
           
รอบสองของการให้การทางวาจา
วันพฤหัสบดี 18 เมษายน 2556 - โดยกัมพูชา
เวลากรุงเฮก   เวลากรุงเทพ
15.00 น. – 17.00 น. 20.00 น. – 22.00 น.
           
วันศุกร์ 19 เมษายน 2556 - โดยไทย
เวลากรุงเฮก   เวลากรุงเทพ
15.00 น. – 17.00 น. 20.00 น. – 22.00 น