4 มี.ค.2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 13.00 น. นายอานนท์ นำภา พร้อมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในความผิดฐาน “นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ” ตามมาตรา 14 (2) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีโทษจำคุกจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เมื่อรวม 5 ข้อความที่กล่าวหา จะมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 25 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท
คดีนี้ พอ. บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญเข้าแจ้งความในวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว จำนวน 5 ข้อความเข้าข่ายผิดกฎหมาย ข้อความทั้งหมดประกอบด้วย
1. “ซวยแล้วครับ นายทหารพระธรรมนูญชื่อ พ.อ.บุรินทร์ มาที่ สน.ครับ คนนี้เคยถูกผมซักค้านในศาลทหาร เขาดูเหมือนจะไม่พอใจผมเรื่องถามเรื่องรัฐประหาร ซวยแล้วครับ ในศาลนี่ทนายทำหน้าที่ได้ แต่ในโรงพักนี่ห้องเริ่มหนาวแล้วครับ”
2. “พี่ๆทหารช่วยเอ็นดูผมด้วยนะครับ เรื่องในศาลผมแค่ซักค้านตามหน้าที่น่ะครับ เพราะเจ้านายพี่เขาเป็นกบฏจริงๆ”
3. “สถานการณ์ล่าสุด ตำรวจจะให้กลับแล้ว แต่ทหารยังไม่ให้กลับ”
4. “ปัญหามันไม่ใช่เรื่องทหารในระดับตัวบุคคลไม่ดี แต่มันเรื่องหลักการไม่ดี ไม่ดีตรงที่เราปล่อยให้มีกฎอัยการศึก ซึ่งมันเปิดช่องให้ทหารใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ”
5. “ในแง่อำนาจสืบสวนสอบสวนกรณีเหตุการณ์วันนี้ ตำรวจมีความเห็นให้ปล่อยตัวแล้ว แต่ทหารไม่ยอม ซึ่งการปล่อยให้ทหารเข้ามาแทรกแซงได้แบบนี้มันผิดหลักการแน่ๆ เพราะกิจกรรมมันเป็นปฏิปักษ์กับทหารในตัวของมันเอง คนที่ถูกควบคุมก็เป็นคนที่ต่อต้านทหาร หรืออย่างผมก็ทำหน้าที่ตรวจสอบทหารในการละเมิดสิทธิมนุษยชน นี่คือความป่าเถื่อนของกฎอัยการศึก มันทำลายหลักการไปอย่างสิ้นเชิง”
2. “พี่ๆทหารช่วยเอ็นดูผมด้วยนะครับ เรื่องในศาลผมแค่ซักค้านตามหน้าที่น่ะครับ เพราะเจ้านายพี่เขาเป็นกบฏจริงๆ”
3. “สถานการณ์ล่าสุด ตำรวจจะให้กลับแล้ว แต่ทหารยังไม่ให้กลับ”
4. “ปัญหามันไม่ใช่เรื่องทหารในระดับตัวบุคคลไม่ดี แต่มันเรื่องหลักการไม่ดี ไม่ดีตรงที่เราปล่อยให้มีกฎอัยการศึก ซึ่งมันเปิดช่องให้ทหารใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ”
5. “ในแง่อำนาจสืบสวนสอบสวนกรณีเหตุการณ์วันนี้ ตำรวจมีความเห็นให้ปล่อยตัวแล้ว แต่ทหารไม่ยอม ซึ่งการปล่อยให้ทหารเข้ามาแทรกแซงได้แบบนี้มันผิดหลักการแน่ๆ เพราะกิจกรรมมันเป็นปฏิปักษ์กับทหารในตัวของมันเอง คนที่ถูกควบคุมก็เป็นคนที่ต่อต้านทหาร หรืออย่างผมก็ทำหน้าที่ตรวจสอบทหารในการละเมิดสิทธิมนุษยชน นี่คือความป่าเถื่อนของกฎอัยการศึก มันทำลายหลักการไปอย่างสิ้นเชิง”
(ข้อความจากเฟซบุ๊ค "อานนท์ นำภา" ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558)
ในระหว่างสอบคำให้การพนักงานสอบสวนได้ขอรหัสผ่านในการเข้าถึงบัญชีเฟสบุ๊กส่วนตัวโดยอ้างอำนาจตามมาตรา 132 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งนายอานนท์ไม่ให้ความยินยอม เนื่องจากเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หากต้องการข้อมูลเจ้าหน้าที่ต้องใช้อำนาจตามมาตรา 18 และมาตรา 19 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้นายอานนท์ได้แจ้งว่าจะให้การเป็นหนังสือต่อพนักงานสอบสวนอีกครั้งภายใน 1 เดือน
ทั้งนี้ ข้อความทั้งหมดเป็นการโพสต์ระหว่างถูกเจ้าหน้าที่สอบสวนที่ สน.ปทุมวัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวนายอานนท์ พร้อมประชาชนอีก 3 คนจากหน้าหอศิลป์ ซึ่งมีการจัดงาน "เลือกตั้งที่(รัก)ลัก" เมื่อวันที่ 14 ก.พ.58 วันดังกล่าวเจ้าหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหาทั้ง 4 คนในข้อหา "ชุมนุมทางการเมือง ฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557” ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ คดีที่เกิดขึ้นจะถูกดำเนินคดีภายใต้ศาลทหาร ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 37 และ 38/2557
ด้าน iLaw ระบุว่า อานนท์ นำภา เป็นทนายความที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองมาตั้งแต่ปี 2553 โดยเขาเป็นทนายความที่ผ่านการทำคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาเป็นจำนวนมาก ในช่วงที่สังคมไทยยังรู้จักกฎหมายฉบับนี้กันน้อยมาก เช่น
คดี จีรนุช ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท http://freedom.ilaw.or.th/th/case/112
คดี ธันย์ฐวุฒิ หรือ หนุ่มเรดนนท์ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/19
คดี อำพล หรือ อากงSMS http://freedom.ilaw.or.th/th/case/21
คดี คธา : Wet dream (คดีหุ้นตก) http://freedom.ilaw.or.th/th/case/83
และปัจจุบันเขายังเป็นทนายความในคดีของสิรภพด้วย http://freedom.ilaw.or.th/th/case/622
คดี จีรนุช ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท http://freedom.ilaw.or.th/th/case/112
คดี ธันย์ฐวุฒิ หรือ หนุ่มเรดนนท์ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/19
คดี อำพล หรือ อากงSMS http://freedom.ilaw.or.th/th/case/21
คดี คธา : Wet dream (คดีหุ้นตก) http://freedom.ilaw.or.th/th/case/83
และปัจจุบันเขายังเป็นทนายความในคดีของสิรภพด้วย http://freedom.ilaw.or.th/th/case/622
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น