'รสนา' ชี้ถ้าจะใช้คำถามพ่วงประชามติ เรื่อง "ให้นายกรัฐมนตรีมาจากการโหวตของ ส.ส. และ ส.ว. ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี" สนช.-สปท. ต้องเพิ่มเงื่อนไข ยอมเว้นวรรค 2 ปี หากประชามตินี้ผ่าน ป้องคำครหาประโยชน์ทับซ้อน
7 เม.ย. 2559 รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม. เขียนสเตตัสเฟซบุ๊ก ระบุว่า หากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตั้งคำถามพ่วงประชามติตามข้อเสนอจาก สปท. ที่ว่า "จะเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้นายกรัฐมนตรีมาจากการโหวตของที่ประชุมรัฐสภา ได้แก่ ส.ส. และ ส.ว.ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี" ขอเสนอให้เพิ่มเงื่อนไขว่า หากคำถามดังกล่าวผ่านประชามติ และต้องนำไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ ทั้ง สปท.และ สนช.จะต้องเว้นวรรคการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปีเช่นเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันคำครหาเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญได้แสดงเจตนาว่าต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญปราบโกงและขจัดการมีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง
รายละเอียดมีดังนี้
"เรียกร้อง สนช.และสปท.เว้นวรรคตัวเอง แลกกับคำถามพ่วงประชามติ"
ประเด็นข้อถกเถียงเรื่องคำถามพ่วงในการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีข้อเสนอจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า "จะเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้นายกรัฐมนตรีมาจากการโหวตของที่ประชุมรัฐสภา ได้แก่ ส.ส. และ ส.ว.ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี"
คำถามดังกล่าวได้รับการโหวตในที่ประชุม สปท.ถึง 138 ต่อ 7 ให้ส่งคำถามพ่วงนี้ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจว่าจะตั้งคำถามตามนี้หรือไม่อย่างไร
เท่าที่ทราบจากข่าวว่าวิป สนช.มีมติว่าจะมีคำถามพ่วงในการทำประชามติ 1 ข้อ ส่วนจะเป็นคำถามเดียวกับข้อเสนอของ สปท.หรือไม่อย่างไร ฟังว่าจะมีการชี้ขาดในวันนี้ วันที่ 7 เมษายน 2559
คำถามพ่วงดังกล่าวก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นการหมกเม็ดหลบประเด็นไว้นอกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่? และเลือกไปใช้เสียงประชาชนโหวตในการทำประชามติเพื่อให้เอากลับมาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ
ดังคำถามนักข่าวที่ถามรองฯวิษณุว่า "หากคำถามพ่วงประชามติมีความขัดแย้งกับเนื้อหารัฐธรรมนูญ เช่น ในร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้อำนาจ ส.ว.ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี แต่คำถามพ่วงประชามติกลับต้องการให้ ส.ว.มีอำนาจดังกล่าว จะต้องทำอย่างไร"
รองฯวิษณุตอบว่า "ก็ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญมาแก้ตามคำถามพ่วงประชามติที่ผ่านโดยยึดคำถามพ่วงประชามติเป็นหลัก เพราะการทำประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญเป็นการพิจารณาทั้งฉบับ แต่เมื่อมีคำถามเฉพาะเจาะจงในเรื่องหนึ่ง ประชาชนก็มีสิทธิตอบเจาะจงได้ ซึ่งเป็นหลักธรรมดา"
:http://www.dailynews.co.th/politics/389756
:http://www.dailynews.co.th/politics/389756
ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่สาธารณชนมีโอกาสตั้งข้อสงสัยได้ว่าเป็นการออกแบบที่จงใจหมกเม็ดประเด็นอำนาจ ส.ว.ไว้นอกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสืบทอดอำนาจของ คสช. โดยที่ ส.ว. 250 คน มาจากการเลือกโดย คสช.ทั้ง 100% เมื่อ ส.ว.มีอำนาจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี ย่อมถูกตั้งข้อสงสัยได้ว่า คสช.ต้องการใช้ ส.ว.จากการสรรหาที่เป็นกลุ่มก้อนที่มีความเป็นปึกแผ่นที่ตนเลือกมาเพื่อเป็นฐานกำลังในการสืบทอดอำนาจของ คสช.ต่อไปได้
สิ่งที่รองฯวิษณุตอบคำถามนักข่าว มีความชัดเจนว่า คำถามจาก สปท.และ สนช.หากผ่านประชามติ ต้องนำไปแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเสียใหม่ในการเพิ่มอำนาจให้กับ ส.ว. ที่ร่างเดิมไม่ได้บัญญัติให้มีอำนาจนั้น
สิ่งที่รองฯวิษณุตอบคำถามนักข่าว มีความชัดเจนว่า คำถามจาก สปท.และ สนช.หากผ่านประชามติ ต้องนำไปแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเสียใหม่ในการเพิ่มอำนาจให้กับ ส.ว. ที่ร่างเดิมไม่ได้บัญญัติให้มีอำนาจนั้น
ร่างรัฐธรรมนูญนี้ตั้งฉายากันเองว่าเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง จึงต้องให้ความสำคัญกับหลักการเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์เป็นสำคัญ ไม่ใช่แค่บัญญัติไปตามประเพณีการเขียนรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่บัญญัติให้ ส.ส. ส.ว. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและความผาสุกของประชาชนโดยรวมและ "โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์" ดังที่บัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยในมาตรา 114 และในมาตรา 267 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า " เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคสอง"
หากคำถามพ่วงของ สปท.และ สนช.ผ่านประชามติ ก็ต้องนำไปแก้ไขในร่างรัฐธรรมนูญ ย่อมถือได้ว่าท่านสมาชิกทั้งสองสภาได้ทำหน้าที่ดุจเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และได้แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของ ส.ว. ที่ไม่มีอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญเดิม ท่านสมาชิกทั้งสองสภาย่อมเข้าข่ายเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่อาจถูกครหาได้ว่าจงใจชงคำถามนี้ให้เข้าตากรรมการ คสช.เพื่อแลกกับการที่จะได้รับเลือกเข้ามาเป็น ส.ว.อีกตามบทเฉพาะกาลหรือไม่?
หากคำถามพ่วงของ สปท.และ สนช.ผ่านประชามติ ก็ต้องนำไปแก้ไขในร่างรัฐธรรมนูญ ย่อมถือได้ว่าท่านสมาชิกทั้งสองสภาได้ทำหน้าที่ดุจเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และได้แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจของ ส.ว. ที่ไม่มีอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญเดิม ท่านสมาชิกทั้งสองสภาย่อมเข้าข่ายเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่อาจถูกครหาได้ว่าจงใจชงคำถามนี้ให้เข้าตากรรมการ คสช.เพื่อแลกกับการที่จะได้รับเลือกเข้ามาเป็น ส.ว.อีกตามบทเฉพาะกาลหรือไม่?
เพื่อป้องกันคำครหาดังกล่าว และเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญได้แสดงเจตนาว่าต้องการให้เป็นรัฐธรรมนูญปราบโกงและขจัดการมีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ดิฉันขอเสนอว่าหากทั้งสองสภาตกลงใจจะให้มีคำถามพ่วงนี้ขึ้นมา ก็ขอให้เพิ่มเงื่อนไขว่า หากคำถามดังกล่าวผ่านประชามติ และต้องนำไปปรับแก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญ ทั้ง สปท.และ สนช.จะต้องเว้นวรรคการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปีเช่นเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยขอเสนอให้เพิ่มเติมในมาตรา 267 ของร่างรัฐธรรมนูญดังนี้
"เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งของแต่ละสภา"
"เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งของแต่ละสภา"
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่เคยคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2550 และเป็นผู้หนึ่งที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้เพิกถอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนั้น ที่มีการแก้ไขประการหนึ่งเพื่อให้ ส.ว.เลือกตั้งไม่ต้องเว้นวรรคหลังดำรงตำแหน่งครบ 6 ปี และให้สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งต่อไปได้เลย
แม้จะมี ส.ว.เลือกตั้งหลายคนมองว่าการแก้ไขเช่นนี้ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ได้เสียของตน เพราะการลงรับสมัครเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับเลือก แต่ในการอภิปรายในครั้งนั้น ทั้ง ส.ว.สรรหา และ ส.ว.เลือกตั้งอย่างดิฉัน เห็นว่าการแก้ไขจากการ "ไม่มีสิทธิ" มาเป็น "การมีสิทธิ" และ ส.ว.เลือกตั้งเป็นผู้ได้รับสิทธินั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยหลักการแห่งการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของส่วนตนและส่วนรวม เราจึงร่วมกันคัดค้านจนศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
กรณีคำถามพ่วงประชามติก็เป็นการเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของ สปท.และ สนช. การมีเงื่อนไขให้สภาผู้เสนอคำถามพ่วงประชามติต้องเว้นวรรคการดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นเดียวกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นทางออกให้ทั้งสองสภาไม่ตกอยู่ภายใต้คำครหาเดียวกับบรรดานักการเมืองที่ถูกตำหนิมาแล้วว่าเป็นพวกนิยม "ชงเอง กินเอง" หรือ "ผลัดกันเกาหลังให้กันและกัน"
ในยุครัฐธรรมนูญปราบโกงจึงต้องเข้มงวดในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างจริงจังไม่ใช่แค่สร้างเป็นวาทกรรมลอยๆ
ท่านนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ได้ทำเป็นแบบอย่างแล้ว โดยการให้สัมภาษณ์สำนักข่าววอยส์ออฟอเมริกาภาคภาษาไทยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ว่า "การเลือกตั้งจะมีขึ้นกลางปี 2560 ซึ่งจะไม่มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตัวแทนหรือนอมินีมาลงเลือกตั้งเพื่อสืบทอดอำนาจแน่นอน"
ดิฉันเชื่อโดยสุจริตใจว่า สปท.และ สนช.ยินดีพิจารณาข้อเสนอของดิฉันและ
พร้อมที่จะเดินตามแบบอย่างที่ดีของท่านนายกรัฐมนตรี ด้วยการยืนตรงและเดินตรงไปตรงมาอย่างสง่างามโดยปราศจากความขัดกันแห่งผลประโยชน์ใดๆ
ดิฉันเชื่อโดยสุจริตใจว่า สปท.และ สนช.ยินดีพิจารณาข้อเสนอของดิฉันและ
พร้อมที่จะเดินตามแบบอย่างที่ดีของท่านนายกรัฐมนตรี ด้วยการยืนตรงและเดินตรงไปตรงมาอย่างสง่างามโดยปราศจากความขัดกันแห่งผลประโยชน์ใดๆ
รสนา โตสิตระกูล
7 เมษายน 2559
7 เมษายน 2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น