เว็บประชามติสำรวจคำถามที่สองในการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ คำถามที่ได้โหวตมากที่สุดคือ “ยกเลิกนิรโทษกรรม รัฐบาล คสช.” ตามด้วย “ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้” และ “ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมด” ขณะผลจากแอพฯ พีเพิลโพลล์ คนสงสัย "ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะทำอย่างไร"
7 เม.ย. 2559 เว็บไซต์ประชามติ เปิดผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านเฟซบุ๊กประชามติ หลังตั้งคำถามว่า อยากจะตั้งคำถามอะไรเป็นคำถามที่สองในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยปรากฏว่ากว่า 600 ความคิดเห็นที่ตอบเข้ามามีไปในหลากหลายทาง แต่เมื่อสรุปแล้วมีข้อเสนอที่ตั้งคำถาม ที่มีคนกดไลค์แสดงความชื่นชอบกันมากอยู่สามคำถามหลัก คือ
คำถาม 1 “เห็นชอบหรือไม่ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้”
คำถาม 2 “เห็นชอบหรือไม่ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมด” และ
คำถาม 3 “เห็นชอบหรือไม่ ยกเลิกนิรโทษกรรม รัฐบาล คสช.”
เพจเฟซบุ๊กประชามติ จึงนำสามคำถามข้างต้นมาให้ผู้ใช้ช่วยกันโหวตเลือกคำถามที่ชอบที่สุดตั้งแต่วันที่ 1-6 เมษายน 2559 ผลปรากฏว่าคะแนนของทั้งสามคำถามสูสีกันอย่างมาก จากจำนวนผู้โหวต 1,367 คน คำถามที่ได้รับการโหวตมากที่สุดคือ คำถาม 3 “ยกเลิกนิรโทษกรรม รัฐบาล คสช.” มีจำนวน 491 คน ลำดับที่สอง คือ คำถามที่ 1 “ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้” มีจำนวน 470 คน และลำดับที่สาม คือ คำถาม 2 “ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมด” มีจำนวน 406 คน
คำถาม 1 “เห็นชอบหรือไม่ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้”
คำถาม 2 “เห็นชอบหรือไม่ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมด” และ
คำถาม 3 “เห็นชอบหรือไม่ ยกเลิกนิรโทษกรรม รัฐบาล คสช.”
เพจเฟซบุ๊กประชามติ จึงนำสามคำถามข้างต้นมาให้ผู้ใช้ช่วยกันโหวตเลือกคำถามที่ชอบที่สุดตั้งแต่วันที่ 1-6 เมษายน 2559 ผลปรากฏว่าคะแนนของทั้งสามคำถามสูสีกันอย่างมาก จากจำนวนผู้โหวต 1,367 คน คำถามที่ได้รับการโหวตมากที่สุดคือ คำถาม 3 “ยกเลิกนิรโทษกรรม รัฐบาล คสช.” มีจำนวน 491 คน ลำดับที่สอง คือ คำถามที่ 1 “ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้” มีจำนวน 470 คน และลำดับที่สาม คือ คำถาม 2 “ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมด” มีจำนวน 406 คน
นอกจากการโหวตโดยการกดชื่นชอบแล้ว หากดูที่การแสดงความคิดเห็นจะพบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากไม่เชื่อว่าการแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกคำถามที่สองโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
เช่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Boat Hong แสดงความคิดเห็นว่า "จะโหวตไปทำไม ในเมื่อ เขาเหล่านั้น ก็ไม่เห็นจะฟังใคร.... แสดงออกอะไรที่ขัดแย้งกับของเขา ก็ต้องโดนเชิญไปปรับทัศนคติก็เท่านั้น..." หรือผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Chaiyaporng Fungfoo ที่แสดงความคิดเห็นว่า ตั้งคำถามที่มันเป็นไปไม่ได้เลยชาตินี้ ปชช ต้องเป็นทาสต่อไป เศร้าวะ"
ขณะที่ผลโหวตจากแอปพลิเคชัน People Poll ที่ตั้งคำถามในประเด็นใกล้เคียงกัน คือคำถามเพิ่มเติมในการออกเสียงประชามติ นับถึงวันที่ 6 เมษายน 2559 มีผู้โหวตทั้งสิ้น 753 คน
โดยประชาชนจำนวนเกินครึ่ง คือ 65.5% (493 คน) ไม่ทราบว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะมีคำถามเพิ่มเติมอีกหนึ่งคำถาม เมื่อถามว่าประชาชนอยากให้คำถามไหนเป็นคำถามเพิ่มเติมในการลงประชามติมากที่สุด ผลคือ 47.1% (355 คน) เห็นว่าอยากให้ตั้งคำถาม หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะนำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ ขณะที่คำถามที่เสนอจาก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ให้ ส.ว.มีอำนาจร่วมกับ ส.ส.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี มีประชาชนเห็นด้วยจำนวน 7.4% (56 คน)
ขณะที่ผลโหวตจากแอปพลิเคชัน People Poll ที่ตั้งคำถามในประเด็นใกล้เคียงกัน คือคำถามเพิ่มเติมในการออกเสียงประชามติ นับถึงวันที่ 6 เมษายน 2559 มีผู้โหวตทั้งสิ้น 753 คน
โดยประชาชนจำนวนเกินครึ่ง คือ 65.5% (493 คน) ไม่ทราบว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะมีคำถามเพิ่มเติมอีกหนึ่งคำถาม เมื่อถามว่าประชาชนอยากให้คำถามไหนเป็นคำถามเพิ่มเติมในการลงประชามติมากที่สุด ผลคือ 47.1% (355 คน) เห็นว่าอยากให้ตั้งคำถาม หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะนำรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ ขณะที่คำถามที่เสนอจาก สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ให้ ส.ว.มีอำนาจร่วมกับ ส.ส.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี มีประชาชนเห็นด้วยจำนวน 7.4% (56 คน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น