ไม่กล้ายุบ ( นายกฯ จอมทรราชย์ ) ข่าวสดเช้านี้
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7385 ข่าวสดรายวัน
ไม่กล้ายุบ
คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือเสือ
ยุบสภาเลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่ยังคลุมเครือ ส
เดิม นายกฯ อภิสิทธิ์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 เดือนก.พ. นี้ก็น่าจะชัดเจนเรื่องวันยุบสภา
แต่ทีนี้ดันเกิดปัญหาติดขัดเสียก่อน
ฝ่าย ค้านชิงยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านรัฐสภาแล้วนั้นถูกต้องหรือไม่ ขั้นตอนการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เลยต้องหยุดไว้ก่อน
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่อาจทำให้เวลายุบสภาต้องทอดยาวออกไป
คือเสียงคัดค้านของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล
พรรคภูมิใจไทยอ้างปัญหาไทย-กัมพูชาที่ยังคาราคาซัง ว่าถ้ายุบสภาตอนนี้อาจทำให้เกิดสุญญากาศในการต่อกรกับฝ่ายกัมพูชาได้
ส่วนแกนนำชาติไทยพัฒนานั้น ไม่เห็นด้วยที่นายกฯ จะชิงยุบสภาโดยไม่แก้กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้งให้เรียบร้อยเสียก่อน
สรุปคือยังไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลใดอยากลุกออกจากอำนาจ กลับไปลงสนามเลือกตั้งใหม่ เพราะตอนนี้กำลัง "ปากมัน" กันดีอยู่แล้ว
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์คงอยู่ระหว่างสับสนพอสมควรว่าจะเลือกยุบสภาตอนไหนดี ตนเองถึงจะได้เปรียบสูงสุด
จากที่เคยเชื่อว่าหากการเลือกตั้งใช้สูตร 375+125 แล้ว พรรคมีโอกาสสูงจะได้กลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกในรอบหน้า
แต่แล้วดันเกิดปัญหาแทรกซ้อนมากมาย
ไม่ว่าไฟใต้ที่จู่ๆ ก็ปะทุรุนแรงอีกระลอก ปัญหาพิพาทไทย-กัมพูชาที่ยังเดี๋ยวยิงเดี๋ยวหยุด
ไหนจะปัญหาทุจริตที่อื้อฉาวมากขึ้นทุกวัน ปัญหาข้าวยากหมากแพงลุกลามรุนแรง ม็อบเสื้อแดงก็ยังแรงฤทธิ์ ม็อบเหลืองก็ดื้อด้านไม่เลิก
ปัจจัยที่งวดเข้ามาเหล่านี้ชวนให้เริ่มแกว่ง
ไม่มั่นใจว่าหลังเลือกตั้งจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหรือไม่ หรือว่าจะไปแล้วไปลับ
ถึงโพลหลายสำนักจะสำรวจพบคะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์อยู่เหนือเพื่อไทย
แต่โพลก็คือโพล
ขนาดเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2550 พรรคประชาธิปัตย์มีทั้งมือที่มองเห็นและมองไม่เห็นช่วยหนุนหลังเต็มที่กว่านี้มาก
ยังแพ้ให้กับพรรคพลังประชาชนมาแล้ว
คือบทเรียนสอนว่าเมื่ออำนาจอยู่ในมือประชาชนเมื่อไหร่ อะไรก็เกิดขึ้นได้
และเป็นคำตอบว่าทำไม นายกฯ อภิสิทธิ์ ถึงลังเล
ไม่กล้ายุบสภาตอนนี้
ไม่กล้ายุบ
คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือเสือ
ยุบสภาเลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่ยังคลุมเครือ ส
เดิม นายกฯ อภิสิทธิ์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระ 3 เดือนก.พ. นี้ก็น่าจะชัดเจนเรื่องวันยุบสภา
แต่ทีนี้ดันเกิดปัญหาติดขัดเสียก่อน
ฝ่าย ค้านชิงยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านรัฐสภาแล้วนั้นถูกต้องหรือไม่ ขั้นตอนการนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เลยต้องหยุดไว้ก่อน
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่อาจทำให้เวลายุบสภาต้องทอดยาวออกไป
คือเสียงคัดค้านของแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล
พรรคภูมิใจไทยอ้างปัญหาไทย-กัมพูชาที่ยังคาราคาซัง ว่าถ้ายุบสภาตอนนี้อาจทำให้เกิดสุญญากาศในการต่อกรกับฝ่ายกัมพูชาได้
ส่วนแกนนำชาติไทยพัฒนานั้น ไม่เห็นด้วยที่นายกฯ จะชิงยุบสภาโดยไม่แก้กฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้งให้เรียบร้อยเสียก่อน
สรุปคือยังไม่มีพรรคร่วมรัฐบาลใดอยากลุกออกจากอำนาจ กลับไปลงสนามเลือกตั้งใหม่ เพราะตอนนี้กำลัง "ปากมัน" กันดีอยู่แล้ว
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์คงอยู่ระหว่างสับสนพอสมควรว่าจะเลือกยุบสภาตอนไหนดี ตนเองถึงจะได้เปรียบสูงสุด
จากที่เคยเชื่อว่าหากการเลือกตั้งใช้สูตร 375+125 แล้ว พรรคมีโอกาสสูงจะได้กลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกในรอบหน้า
แต่แล้วดันเกิดปัญหาแทรกซ้อนมากมาย
ไม่ว่าไฟใต้ที่จู่ๆ ก็ปะทุรุนแรงอีกระลอก ปัญหาพิพาทไทย-กัมพูชาที่ยังเดี๋ยวยิงเดี๋ยวหยุด
ไหนจะปัญหาทุจริตที่อื้อฉาวมากขึ้นทุกวัน ปัญหาข้าวยากหมากแพงลุกลามรุนแรง ม็อบเสื้อแดงก็ยังแรงฤทธิ์ ม็อบเหลืองก็ดื้อด้านไม่เลิก
ปัจจัยที่งวดเข้ามาเหล่านี้ชวนให้เริ่มแกว่ง
ไม่มั่นใจว่าหลังเลือกตั้งจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกหรือไม่ หรือว่าจะไปแล้วไปลับ
ถึงโพลหลายสำนักจะสำรวจพบคะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์อยู่เหนือเพื่อไทย
แต่โพลก็คือโพล
ขนาดเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2550 พรรคประชาธิปัตย์มีทั้งมือที่มองเห็นและมองไม่เห็นช่วยหนุนหลังเต็มที่กว่านี้มาก
ยังแพ้ให้กับพรรคพลังประชาชนมาแล้ว
คือบทเรียนสอนว่าเมื่ออำนาจอยู่ในมือประชาชนเมื่อไหร่ อะไรก็เกิดขึ้นได้
และเป็นคำตอบว่าทำไม นายกฯ อภิสิทธิ์ ถึงลังเล
ไม่กล้ายุบสภาตอนนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น