ข่าวด่วน: ศาลแพ่งสั่ง 13 แกนนำพันธมิตร จ่าย 522 ล้าน คดีชุมนุมปิดสนามบิน"สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง"http://thaienews.blogspot.com/2011/03/13-522.htmlหลังจากคดีพันธมิตรยึดสนามบินตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2551 วันนี้ครบรอบการยึดสนามบิน 2 ปี กับ 4 เดือนเต็ม ศาลแพ่งเพิ่งตัดสินคดีพันธมิตรโดยสั่งให้แกนนำจ่ายค่าเสียหาย 552 ล้านบาท แต่ก็อย่าเพิ่งดีอกดีใจ เพราะยังมีศาลฎีกาให้พันธมิตรเล่นชักกะเย่อกับกระบวนการกฎหมายไทยได้อีก ซึ่งไม่รู้ว่าครั้งนี้จะกินเวลาอีกกี่ปี มติชนออนไลน์ ลงข่าว "ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 603 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีที่บริษัท การท่ากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กับพวกที่เป็นแกนนำร่วม รวม 13 คน เรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหาย จากการฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่ การชุมนุมบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ศาลวิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้ง 13 คน กระทำผิดจริงฐานละเมิด นำกลุ่มประชาชนเข้าไปชุมนุม ทำให้ท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่งของโจทก์ไม่สามารถเปิดบริการขึ้นลงได้ สร้างความเสียหายทั้งกายภาพและทางพาณิชย์ พิพากษาให้จำเลยทั้ง 13 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์เป็นเงินรวม 522 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 75 ต่อปี นับจากวันที่ 3 ธันวาคม 2551 ที่จำเลยนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่ง และให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าฤชาทนายความแก่โจทก์เป็นเงิน 8 หมื่นบาท" เดลินิวส์ออนไลน์ ลงรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ที่ห้องพิจารณา 403 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 25 มี.ค.นี้ ศาลได้อ่านคำพิพากษาคดีที่ บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.โดยนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต. จำลอง ศรีเมืองแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ร่วมกันเป็น จำเลยที่ 1 – 13 เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย จำนวนทุนทรัพย์ 245 ล้านบาทเศษ ไทยอีนิวส์เห็นว่าเดลินิวส์ลงเนื้อหาการพิจารณาในศาลที่ละเอียดกว่าสำนักข่าวฉบับอื่น จึงขออนุญาตนำมาลงเสนอให้ผู้อ่านไทยอีนิวส์ที่ติดตามคดีนี้มาลงไว้ที่ข่าวนี้ด้วย เมื่อระหว่างวันที่ 24 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2551 พวกจำเลย ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรนำผู้ชุมนุมบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง เพื่อประท้วงรัฐบาลและขับไล่นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) ทำให้การให้บริการต่างๆภายในท่าอากาศยานทั้งสองแห่งต้องหยุดลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และขอให้พวกจำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7. 5 ต่อปีด้วย จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ และให้การทำนองเดียวกันว่า โจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง และ จำเลย มิได้ละเมิดโจทก์ เพราะการชุมนุมของจำเลยได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ในชั้นพิจารณา โจทก์นำพยานเข้าสืบ 24 ปาก และอ้างส่งเอกสารรวม 164 ฉบับ วัตถุพยาน 9 อันดับ ส่วนจำเลย นำพยานเข้าสืบ 15 ปาก และอ้างส่งเอกสารรวม 28 ฉบับ ศาล พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายและคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรมไม่ใช่ศาล ปกครอง ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ไม่มีเจตนาฟ้อง แต่คดีนี้โจทก์กล่าวหาจำเลยร่วมกันกระทำละเมิด จึงย่อมใช้สิทธิอันพึงมี ฟ้องศาลได้ จึงเป็นการฟ้องโดยสุจริต มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลย ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่า ผู้ร่วมชุมนุมมาโดยสมัครใจและใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และนาย เสรีรัตน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. เป็นผู้ออกคำสั่งให้หยุดบริการสนามบินเอง เห็นว่าฝ่ายโจทก์มีภาพถ่ายและเทปบันทึกภาพการชุมนุมทั้งสองสนามบินและภาพพวก จำเลย ขึ้นเวทีชุมนุมกล่าวปราศรัย และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ เรียกร้อง และระดมให้ผู้ชุมนุมออกมาให้มากเพื่อกดดันรัฐบาล ทำให้ประชาชนเข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก แม้เป็นการเข้าชุมนุมโดยสมัคร ใจแต่เกิดจากการเรียกร้องปราศรัยของพวกจำเลย และการเข้าไปในท่าอากาศยานทั้งสองแห่ง แม้จะเป็นพื้นที่สาธารณะที่จะต้องเข้าไปใช้บริการอย่างหนึ่งอย่างใด แต่จำเลยกลับใช้เป็นพื้นที่ชุมนุมกดดันรัฐบาล อีกทั้งกลุ่มพันธมิตรชุดแรกที่เข้าไปในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนมากสวมหมวกหรือผ้าปิดบังใบหน้า บางคนถือไม้ ท่อนเหล็ก มีดดาบ และหน้าไม้ ส่งเสียงโห่ร้องอื้ออึง มีการปิดกั้นถนนสาธารณะทางเข้าออกของท่าอากาศยายทั้งสองแห่ง ตรวจค้นรถยนต์ทุกคันที่จะผ่านก่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อบุคคลอื่นว่าจะไม่ ได้รับความปลอดภัย นอกจากนี้ฝ่ายโจทก์ยังมี พยานและภาพถ่ายเป็นหลักฐานว่า เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ หนึ่งในผู้ชุมนุมได้นำกลุ่มพันธมิตรเข้ายึดหอบังคับการบิน ซึ่งเป็นเขตหวงห้าม อันเป็นการแสดงเจตนาอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้การบริการด้านการบินและการพาณิชย์หยุดชะงักลง ถือได้ว่าเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์ต้องยึดถือความปลอดภัยของผู้โดยสาร ลูกเรือ เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินและสาธารณชนเป็นอันดับแรก การกระทำของจำเลยทั้งหมด และกลุ่มพันธมิตร ทำให้โจทก์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาการบินได้ จนเป็นเหตุให้ให้นายเสรีรัตน์ ออกคำสั่งหยุดให้บริการ เนื่องจากเกรงว่าพนักงานและประชาชนจะไม่ได้รับความปลอดภัย ทั้งนี้ การชุมนุมที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ม.63 นั้น ศาลแพ่งเห็นว่า หมายถึงการชุมนุมที่เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตาม ม.63 วรรคหนึ่ง แต่การชุมนุมของพวกจำเลย มิได้เป็นไปตามหลักการ และยังส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและประโยชน์สาธารณะ ละเมิดสิทธิและเสรีภาพการประกอบอาชีพและการคมนาคมของประชาชน ซึ่งการชุมนุมจะต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีตาม ม.28 แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งการชุมนุมจะต้องตั้งอยู่บนหลักแห่งความสมดุลกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อื่นและมิใช้สิทธิเด็ดขาดที่พวกจำเลย เป็นผู้จัดการชุมนุม หรือผู้เข้าร่วมชุมนุมจะสามารถกระทำการใดๆก็ได้โดยไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติ แห่งกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆทั้งสิ้น คดีนี้การเข้าไปชุมนุมใน พื้นที่สนามบินทั้งสองแห่งของจำเลยกับพวกมีวัตถุประสงค์ปิดท่าอากาศยานทั้งสองแห่งให้หยุดให้บริการ เพื่อยกระดับการกดดันรัฐบาลนายสมชาย ให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง เป็นผลให้ท่าอากาศยานทั้งสองแห่งไม่สามารถให้บริการได้ ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในหมู่ผู้โดยสารทั้งชายไทยและต่างประเทศ ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ เสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างรุนแรง จึงเป็นวัตถุประสงค์ให้เกิดความไม่สงบภายในบ้านเมือง ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธแล้วยังเป็นการใช้สิทธิ เสรีภาพการชุมนุมที่เกินสัดส่วน พวกจำเลย จะอ้างความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ม.63 ย่อมมิได้ การกระทำของจำเลยทั้ง 13 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลเห็นว่า เมื่อการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตามมูลค่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับทางกายภาพเช่น ประตู กระจก เครื่องสุขภัณฑ์ กล้องวงจรปิด เครื่องหมายบอกทางจราจร อุปกรณ์ต่างๆ และค่าเสียหายเชิงพาณิชย์ อาทิ ค่าเสียหายจากการหยุดให้บริการการบิน ค่าธรรมเนียมการใช้เส้นทาง ค่าเช่าพื้นที่ต่างๆ จึงเห็นควรให้จำเลย ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จากการบุกยึดสนามบินดอนเมือง12 ล้านบาทเศษ และชดใช้ค่าเสียหายจากการบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิรวม 510 ล้านบาทเศษ และเมื่อคำนวณวามเสียหายของสนามบินทั้งสองแห่งแล้วเป็นเงิน ทั้งสิ้น522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 3 ธ.ค. 2551จนกว่าจะชำระเสร็จ รวมทั้งให้จ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์เป็นเงินจำนวน 80,000 บาทด้วย ส่วนที่โจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลัง จากการชุมนุม ซึ่งโจทก์นำสืบว่ายังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องและได้รับความเสียหาย จำนวนมากจนถึงช่วงปี 2552 แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องและไม่ได้ขอให้จำเลย ชดใช้ในคำขอบังคับคดีนี้ ศาลจึงไม่อาจบังคบตามคำขอของโจทก์ได้เพราะถือว่าเกินคำขอของโจทก์ตาม ป.วิธี แพ่ง ม.412 วรรคแรก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการฟังคำพิพากษาในวันนี้ คู่ความ รวมทั้งทนายความทั้งสองฝ่ายไม่ได้เดินทางมาศาล คงมีแต่เสมียนทนายความมาฟังคำพิพากษาแทน อย่างไรก็ตามคดีนี้เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลก็สามารถยื่นอุทธรณ์ – ฎีกาต่อศาลได้ตามกฎหมาย ย้อนหลังข่าวพันธมิตรยึดสนามบินกับไทยอีนิวส์ ศุกร์13ครบ80วันพันธมิตรยึดสนามบิน กับคำสัญญาจับผู้ก่อการร้ายในสายลม ครึ่งปีคดียึดสนามบินโดนดอง ตำรวจโบ้ยเข้าเวรรอหลักฐานจากกรมขนส่งทางอากา ครบ2ปียึดสนามบิน:100บาทเอาขี้หมากองเดียวลอยนวล สิ้นหวังประเทศนี้ไม่มีเหลือความยุติธรรม |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น