CPJ:กรณีฟอกขาวของไทยในการสังหารมูราโมโตhttp://thaienews.blogspot.com/2011/03/cpj.htmlที่มา คณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าวโลก(CPJ) แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ 5 มีนาคม 2554 Concerns of Thai whitewash in killing of Reuters' Muramoto:กรณีการฟอกขาวของไทยในการสังหารช่างภาพของรอยเตอร์ นายมูราโมโต กรุงเทพฯ, กุมภาพันธ์ 28, 2554 –คณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าวโลก( The Committee to Protect Journalists-CPJ) กังวลในความไม่แน่นอน ไม่คงเส้นคงวาของการสืบสวนของรัฐไทยในการสืบสวนการสังหารช่างภาพของรอยเตอร์ ฮิโร มูราโมโต ซึ่งถูกฆ่าด้วยกระสุนปืนในขณะกำลังถ่ายทำการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลและกองกำลังความมั่นคงเมื่อ 10 เมษายน ปีที่แล้วในกรุงเทพฯ กรมสืบสวนคดีพิเศษของประเทศไทย(DSI)กล่าวต่อผู้สื่อข่าววันนี้ว่า การสืบสวนแสดงให้เห็นว่า มูราโมโต ไม่ได้ถูกยิงโดยกองกำลังความมั่นคง ผลการสืบสวนแตกต่างจากผลสรุปก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง เกี่ยวกับการเสียชีวิตของนักข่าวซึ่งแผยแพร่และรายงานโดยสำนักข่าวต่าง ๆ เมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งการค้นพบนั้น แสดงให้เห็นว่า กระสุนที่ยิงมูราโมโต มาจากทิศที่ทหารตั้งกำลังอยู่และยิงมาจากปืน M-16 เจ้าหน้าที่ปฏิเสธ ว่าเป็นแรงกดดันที่จะล้างความรับผิดชอบของกองทัพ DSI แก้การชันสูตรโดยใช้หลักฐานที่อ้างว่า มูราโมโต ถูกสังหารโดยกระสุนที่ยิงจาก AK 47 สืบเนื่องจากหัวหน้า DSI ธาริต เพ็งดิฐษ์ ซึ่งกล่าวต่อผู้สื่อข่าวในวันแถลงข่าว เขาบอกนักข่าวว่าทหารติดอาวุธด้วยอาวุธที่แตกต่าง ได้แก่ M-16 ในช่วงการสลายการชุมนุมในวันนั้น หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รายงานวันอาทิตย์ว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ. ดาวพงศ์ รัตนสุวรรณ ไปเยือน DSI เพื่อไปต่อว่าเกี่ยวกับการชันสูตรเบื้องต้นที่กล่าวหาว่า ทหารสังหารมูราโมโต ธาริต ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้พบดาวพงศ์ในการแถลงข่าว บางกอกโพสต์รายงานว่าทหารไทยราว 20,000 คน ติดอาวุธ AK 47 ด้วย “ความแตกต่างของการชันสูตรเบื้องต้นของการสืบสวนของการตายของนักข่าว ฮิโร มูราโมโต เป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นอิสระของการสืบสวนของรัฐ” ฌอน คริสปิน ผู้แทนระดับสูงฝ่ายเอเชียตะวันออกของ CPJ กล่าว “เรากังวลอย่างยิ่งต่อรายงานว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทหารอาจกดดัน DSI ในการเซ็นเซอร์ผลการชันสูตรเบื้องต้น” หัวหน้าบรรณาธิการของสำนักข่าว ทอมสัน รอยเตอร์ นายสตีเฟ่น เจ แอดเลอร์ กล่าวในแถลงการณ์ว่า “ความขัดแย้งที่เด่นชัดของการสืบสวนเบื้องต้นและรายงานนี้ ทำให้เห็นชัดแจ้งเกี่ยวกับกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดจากการถูกบังคับ” อย่างน้อย 90 คนถูกสังหาร และกว่า 1,800 คน บาดเจ็บ ระหว่าง เมษายน และพฤษภาคม ในปี 2553 เป็นความรุนแรงทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของไทย นักข่าว 2 คน มูราโมโตและนักข่าวอิสระชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ โพเลงกี ถูกฆ่าตาย และอย่างน้อย 9 ราย ที่นักข่าวไทยและต่างชาติยาดเจ็บสาหัส ในขณะที่กำลังเก็บภาพการปะทะระหว่างกองทัพและผู้ชุมนุม ผู้เชี่ยวชาญนิติวิทยาศาสตร์ของตำรวจ พล.ต.ท. อัมพร จารุจินดา บอกผู้สื่อข่าวมื่อวันจันทร์ว่า ยัง “ไม่เป็นที่แน่ชัด” ว่าใครยิง โพเลงกี (สืบเนื่องจาก AP) เขากล่าวว่าการสืบสวนของ โพเลงกียังดำเนินการอยู่ การสืบสวนของCPJ ของปีที่แล้ว “ความไม่สงบในประเทศไทย นักข่าวตกอยู่ในอันตราย” เปิดเผยกรณีของการขัดขวางจากรัฐในการสอบถามจากเอกชนในกรณีการเสียชีวิตของมูราโมโต และโพเลงกี แหล่งข่าวของ CPJ กล่าวว่าทหารปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์นายทหารที่เชื่อว่าอยู่ใกล้กับมูราโมโตในขณะเวลาที่เขาถูกยิง DSI ไม่เปิดเผยว่า ผลนั้นมาจากกล้องวงจรปิดในบริเวณที่รัฐบาลครอบครอง ที่มูราโมโตเสียชีวิต ธาริตกล่าวว่ารายงานของ DSI จะส่งไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ “ซึ่งอาจจะมีหลักฐานเพิ่มเติมที่จะทำให้กระจ่างขึ้น” ทั้งนี้จากรายงานของสำนักข่าว AP ****** เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ดูจะๆ!! ใบชันสูตรศพ "ฮิโรยูกิ" นักข่าวญี่ปุ่นระบุ "กระสุนความเร็วสูง" ไม่ใช่ "อาก้า"?? |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น