วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554


ถ้าศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณากรณีลิเบียได้ ประเทศไทยก็อาจมีโอกาสเช่นกัน




























เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้นำเหตุการณืในลิเบียขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยการร้องขอให้สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเปิดพิจารณาคดีที่อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งรัฐบาลกัดดาฟี่กระทำต่อกลุ่มผู้ประท้วง ท่าทีของคณะมนตรีความมั่นคงต่อประเทศลิเบียแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้และท้าทายความพยายามของเราที่จะนำรัฐบาลไทยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในกรณีของเหตุการณ์สังหารประชาชนในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553
องค์กรฮิวแมนไรต์วอซซ์ระบุว่า การนำคดีลิเบียขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการส่งข้อสัญญาณชัดเจนต่อผู้นำเผด็จการในภูมิภาคดังกล่าว “ประชาคมโลกจะไม่อดทนต่อการปราบปรามที่เลวทรามต่อการชุมนุมที่สงบอีกต่อไป” ซึ่งเป็นสัญญาณที่เราเคยหวังว่าประชาคมโลกจะมีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเอปีที่แล้ว แน่นอนคำร้องที่เรายื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อหกอาทิตย์ที่แล้วก่อให้เกิดการอภิปรายถึงความเป็นไปได้ที่คณะมนตรีความมั่นคงจะหยิกยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของอำนาจการพิจารณาคดีศาล การที่ประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันต่อบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าผู้นำไทยจะรอดพ้นจากการดำเนินคดีของอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลไทยรอดพ้นจากควารับผิดตราบเท่าที่คณะมนตีความมั่นคงหันไปสนใจเรื่องอื่นอยู่
การที่คณะมนตรีความมั่นคงมีอำนาจที่จะร้องทุกข์ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศในกรณีของประเทศไทยไม่ได้หมายความว่าเขาควรจะทำหรือจะทำเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของสถานการณ์ในลิเบียและไทยนั้นเป็นเพียงเรื่องความร้ายแรง แต่ไม่ใช่ประเภทของเหตุการณ์ แน่นอนที่สุดว่ากองทัพไทยไม่ได้ใช้เครื่องบินทิ้งทุ่นระเบิดใส่ประชาชนเหมือนที่รัฐบาลกัดดาฟี่ทำ แต่ “เขตใช้กระสุนจริง” การลอบสังหาร และการใช้พลซุ่มยิงของรัฐบาลไทยก็เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ตามมาตรฐานการควบคุมฝูงชน นอกจากนี้ แม้สมมุติว่าว่า มีการยอมรับว่าคนเสื้อแดงเป็นคนก่อจลาจลและทำลายอาคารในเหตุการณ์เมื่อปีที่แล้ว (ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่ยอมรับว่าเป็นความจริง) แต่การกระทำนี้ดูจืดชืดไปถนัดตาเมื่อเทียบกับการชุมนุมโดยใช้อาวุธของกลุ่มผู้ประท้วงในลิเบีย
เราควรกล่าวด้วยว่าการแสดงละครทุกฉากและการตอบโต้ต่อประชาคมโลกของกัดดาฟี่นั้นเหมือนกับสิ่งที่รัฐบาลไทยกระทำทุกอย่าง แม้จะมีหลักฐานที่ระบุตรงข้ามกับสิ่งที่เขาพูด แต่กัดดาฟี่ยังอ้างว่า “ประชาชนทุกคน” รักเขา และระบุว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นเข้าหน้าที่ต่างชาติ ผู้ก่อการร้าย ม๊อบที่ถูกจ้างมา และเป็นเยาวชนที่ถูกล่อลวงให้หลงผิดในความคิดประหลาด หรือใช้สารเสพติดหลอนประสาท เมื่อถูกสื่อต่างชาติถามด้วยคำถามยากๆ กัดดาฟี่จ้างโฆษกที่พูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วเพื่อจะประณามอคติของหนังสือพิมพ์ต่างชาติ และยังพูดอย่างซ้ำซากว่าคนต่างชาติไม่เข้าใจลิเบีย พูดอีกนัยหนึ่งคือ รัฐบาลลิเบิยกำลังขายนิยายเรื่องเดียวกับที่รัฐบาลไทยพยายามเร่ขายมาได้ระยะหนึ่งแล้ว สิ่งที่แตกต่างคือ ตอนนี้ ไม่มีใครเชื่อเรื่องดังกล่าวแล้ว ปัญหาคือ ขณะที่กัดดาฟี่เพิ่งจะสร้างนิยายและสร้างความเห็นใจต่อต่างชาติเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่รัฐไทยกลับสร้างและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาติในศิลปะดังกล่าวมาหลายสิบปีแล้ว
เนื่องจากระดับของความรุนแรงในไทย ความเป็นไปได้ที่คณะมนตรีความมั่นคงจะหยิบยกกรณีประเทศไทยต่อศาลอาญาระหว่างประเทศจึงห่างไกล เพราะในลิเบียนั้น จำนวนประชาชนที่ถูกสังหารอาจมีราวหลายพันราย ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่เคยรับพิจารณากรณีความรุนแรงของรัฐที่จำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกล่าวพันราย แลอีกกรณีหนึ่งคือ คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติมีสมาชิกถาวรสองประเทศ ที่รัฐบาลของประเทศนั้นไม่ลังเลที่จะสังหารฝ่ายตรงข้ามนับน้อยเพื่อจะอยู่ในอำนาจหากจำเป็น
เรารับทราบเรื่องเหล่านี้ก่อนที่จะยื่นคำร้อง และนั้นคือสาเหตุที่เรายกประเด็นที่เป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง (การที่นายมาร์ค อภิสิทธิ์เป็นพลเมืองอังกฤษ) ขององค์ประกอบพื้นฐาน ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศอาจจะรับพิจารณาคดีโดยไม่ต้องได้รับคำร้องทุกข์จากคณะมนตรีความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะรับพิจารณาคดีหรือไม่ แต่หนทางการพยายามกดดันให้ผู้นำไทยรับผิดผ่านประชาคมโลกเป็นหนทางที่คุ้มค้า เพราะ ประการแรกคือ เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศไทยที่เจ้าหน้าที่รัฐมักได้รับการละเว้นความผิดต่อการสังหารหมู่ในแบบเดียวกัน และในปัจจุบันมีการพยายามเปลี่ยนดำให้เป็นขาว ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงยังเป็นความหวังที่ดีที่สุดที่จะนำตัวเหล่านายพลและตำรวจเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แล ประการที่สองคือ ความลังเลที่จะเรียกร้องความจริงความไม่เต็มใจและกระตือรือร้นที่จะทำการสอบสวนเหตุการณ์ของสื่อไทย  และ(ในกรณีของสื่อภาษาอังกฤษ) ยังพยายามปกป้องประเพณีการละเว้นโทษ ซึ่งมันเป็นเรื่องสำคัญากที่จะรวบรวมหลักฐานเพื่อโต้แย้งเรื่องโกหกของรัฐบาลและเปิดเผยความว่างเปล่าของสัญญาเรื่อง “การปรองดองสมานฉันท์” หากคอลัมน์ “the world’s window to Thailand” (หน้าต่างโลกสู่ประเทศไทย) เป็นคติของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์แล้วล่ะก็ โลกน่าจะต้องการหน้าต่างใบใหม่ เพราะสื่อนี้มักจะกระจายการโฆษณาประชาสัมพันธ์จากรัฐบาล กระตุ้นความรุนแรง ยกย่องการสังหาร และสนับสนุนประเพณีการละเว้นความผิด ปกป้องนโยบายการลิดรอนเสรีภาพสื่อ หรือเพ้อฝันถึงระบอบเทวาธิปไตยเป็นประจำ
การจะหยุดยั้งประเพณีการละเว้นความผิดในประเทศไทยหรือที่ไหนก็ตามเป็นเรื่องยาก  อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องหาความเป็นธรรมของคนเสื้อแดง เปิดโอกาสให้ประชาคมโลกส่งสารที่ชัดเจนว่าการที่รัฐหลายรัฐสังหารประชาชนจำนวนปานกลางเพื่อจะปกป้องอำนาจเบ็ดเสร็จนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่รับไม่ได้เช่นเดียวกับการสังหารประชาชนจำนวนมาก ท้ายที่สุดแล้ว หากเผด็จการเชื่อว่าประชาคมโลกจะบังคับให้เขาต้องรับผิดแม้มีการสังหารประชาชนหลักสิบก็ตาม ความคาดหวังหวังในการรับผิดอาจเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การลดจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยและมีคนตายรวมกันจนถึงหลักพัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น