10 เมษา" สอนให้รู้ว่า "กำลัง-อำนาจ" หยุดคนไม่ได้ http://easy-net.appspot.com/u?purl=bG10aC4yNTIwMi1kY WVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLnd3dy8vOnB0 dGg%3D%0A สิทธิ เสรีภาพ คือ หน้าต่างของบ้านที่นำแสงสว่างแห่งมนุษยธรรมเข้ามา และเสรีภาพเป็นพื้นฐานของความดีทั้งมวล ที่เทิดทูน "คุณค่าของมนุษย์" จุดประสงค์ใหญ่ของเสรีภาพไม่ใช่เพียงแค่ความเพ้อฝัน แต่ต้องการแสวงหา"ความจริง" ไม่ใช่ต้องการเฉพาะเพื่อลดอำนาจของรัฐบาล แต่ต้องการให้เกิดความยุติธรรมขึ้นภายในชาติและความสุขของประชาชน ความจริงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดไม่มีอำนาจใดมาคัดค้าน หรือเอาชนะได้ การรวมตัวกันของกลุ่มคนเสื้อแดงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับจากวันที่ถูกเจ้าหน้าที่้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในวันที่ 10 เมษายน 2553 หลังจากที่พวกเขามาปักหลักชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาและทวงความมยุติธรรม ยุติสองมาตรฐาน ตามสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย โดยไม่กลับไม่ถอยไม่หนี ช่วยกันปกป้องอาณาเขตพื้นที่ชุมนุม เพื่อแสดงให้ผู้ปกครองเห็นว่า พวกเขาจะไม่ไปไหนจนกว่าข้อเรียกร้องจะถูกนำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม มีพื้นที่แสดงความคิดความเห็นแสดงออกได้อย่างเสรี ไม่ใช่ความยุติธรรมที่ต้องอยู่อย่าง ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ และง่อยเปลี้ยเสียขา แต่การทวงความยุติธรรมผ่าน "ลิ้น" ไม่อาจสู้กับอิทธิพลดินปืนได้ ไม่มีใครคาดคิดว่าการเรียกร้องตามเสรีภาพอันพึงมีต้องกลายเป็น "ผี" เฝ้าถนน เมื่อกองทัพนำกำลังทหารพร้อมอาวุธ โล่กระบองไว้ทุบตี ปืนลูกซองบรรจุกระสุนกระยางไว้ยิง ปืนเอ็ม 16 ไว้ป้องกันตัว และมีรถสายพานลำเลียงเป็นเกราะป้องกันอีกชั้นหนึ่ง และมีเฮลิคอปเตอร์ไว้หย่อนแก๊สน้ำตา เจ้าหน้าที่ตั้งแถวเข้าโอบล้อมพื้นที่ชุมนุม เกือบทุกด้าน ยืนประชันหน้ากับคนเสื้อแดงที่ไม่ยอมถอยหนี ในที่สุดเจ้าหน้าที่ได้เข้าประชิดและผลักดันผู้ชุมนุมเสื้อแดงตามคำสั่ง "ขอพื้นที่คืน" แต่เมื่อปฏิบัติจริงไม่รู้ว่าเป็น "ขอ"หรือ"ขู่" การบัญญัติศัพท์ที่ทำให้ คำว่า "สลายการชุมนุม" ดูละมุนละไมได้ขนาดนี้ เป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งของนักการเมือง คือ การใช้คำพูดใหม่ๆกับเรื่องเดิมๆ เพราะรู้ว่าประชาชนมักเบื่อง่าย และชอบการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เสียงกระสุนนัดแรกดังขึ้นตามด้วยเสียงรัวถี่ยิบขนาดนั้น ไม่ใช่คำขอหรือคำขู่แต่เอาจริง ขณะที่ผู้ชุมนุมยังคงหยัดยืน ตั้งหลักปักธงไม่ยอมออกจากที่มั่น โดยไม่มีใครคาดคิดว่า สนามประชาธิปไตยจะถูกแปรเปลี่ยนให้เป็น"สนามรบ" โดยมีกำลัง 2 ฝ่าย คือ "ทหาร"กับ"ประชาชน" ซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน ทหารผู้ทำหน้าที่ปกป้อง "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" แต่ต้องต่อสู้กับประชาชนตาม"คำสั่ง"ของผู้บังคับบัญชา เมื่อเกิดการปะทะ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ทหารต้องเป็นจำเลยทำร้ายประชาชน ในนาทีเผชิญหน้าระหว่าง"นักรบ"กับ"นักสู้" เสมือนฉากในอดีตที่กองทัพไทยไปตีเมือง"คืน" จากข้าศึก แต่ในคราวนี้ คือ ประชาชน ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ที่อ่อนแอกว่าทั้งกำลังและอาวุธ ครั้งนั้นเกิดการสูญเสียแบบไม่ทันตั้งตัวของทั้งฝ่ายประชาชนและฝ่ายทหาร ตัวเลขพลเรือนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บขยับขึ้นเรื่อยๆตามเสียงกระสุนปืนรัวดังอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เวลาบ่ายถึงดึก จากนั้นตัวเลขทหารขยับตามมาในช่วงหัวค่ำ เมื่อมีระเบิดไม่ทราบทิศทางตกลงกลางวงทหารที่พยายามเข้าสลายการชุมนุม แม้พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าไปนานแล้ว เสียงโห่ร้อง ครวญคราง โอยโอย ความเจ็บปวดทั้งกายทั้งใจ ดังขึ้นหลังจากเสียงกระสุน ระเบิด ควันจากแก๊สน้ำตา สงบลง สามารถนับยอดผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันนั้นได้จำนวน 25 คน เป็นพลเรือน 21 ราย ทหาร 4 ราย บาดเจ็บกว่า 800 คน และมีพลเรือนที่ตายเพิ่มอีกอย่างน้อย 2 คน ในจำนวนผู้บาดเจ็บยังมีผู้พิการอีกจำนวนไม่น้อยที่ ตาบอด เป็นอัมพาต ฯลฯ เวลาผ่านไป 1 ปีเต็ม ผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้พิการ และผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่รอดตายมาจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เหมือนกับว่าได้เดินผ่านสมรภูมิรบ ลิ้มรสความรุนแรง ความเจ็บปวดมาร่วมกันและกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง พร้อมข้อเรียกร้องที่เข้มมากขึ้นเพื่อ "คนเจ็บ-คนตาย-คนเป็น" อัดแน่นไปด้วยปริมาณส่วนคุณภาพต้องรอดูผลหลังจากนี้ ภาพของ "กูลกิจ สุริยะแก่นทราย" หญิงวัย 59 ปี พา "วสุ สุริยะแก่นทราย" สามีวัย 60 ปี นั่งรถเข็นคนพิการมาร่วมชุมนุมที่ จ.ปทุมธานี ในโอกาสครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ที่อ.ลาดหลุมแก้ว เธอเข็นสามีไปรอบๆพื้นที่การชุมนุมด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อเทียบกับปีก่อนที่เธอนอนสะอื้นอยู่ข้างเตียงคนไข้ผู้เป็นสามีที่นอนนิ่ง โดยแพทย์ระบุว่า เป็น"อัมพาต" ถูกของแข็งฟาดจนกะโหลกศีรษะร้าว มีเลือดคั่งในสมอง และแขนทั้งสองข้างถูกตีมีรอยเขียวช้ำ เพราะเดินลุยไปสกัดทหารด้วยมือเปล่าอาสาอยู่แนวหน้า ตามคำบอกเล่าของภรรยา "วสุ" ต่อสู้กับอาการอัมพาตจนดีขึ้นลุกขึ้นมาได้อีกครั้ง แม้จะยังเดินไม่ได้ แขนขวาพิการแต่ก็สามารถขยับปากพูดและพยายามอ้าปากที่บิดเบี้ยวไปข้างหนึ่งอธิบายและเล่าในสภาพลิ้นรั้ว จับใจความได้ว่า พวกเราดันกับทหารไม่ต้องมาถามว่าใครทำร้าย นี่คือ ข้อความจากปากของ "วสุ" ที่เคลือบไปด้วยรอยยิ้มนึกย้อนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปลงๆ ในวันที่ภรรยาพาออกมาเยี่ยมพี่น้องเสื้อแดง และพวกเขาทั้งคู่บอกว่าจะไปร่วมรำลึกเหตุการณ์ครบรอบ 1 ปี "10 เมษายน" "กูลกิจ" บอกว่า ถึงจะลำบากยังไงก็อยากพาสามีออกมาร่วมชุมนุม ทันทีที่สามีรู้สึกตัวสิ่งแรกที่เขาถามถึง คือ พวกเราชนะไหม ? เมื่อคำตอบคือ "ไม่" แต่พวกเราไม่มีเวลาต้องเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีใครมาขอร้องหรือมาจ้างให้เดินทางไปร่วมชุมนุม แต่พวกเราไปกันเอง ถ้าเราไม่ไปร่วมเวทีก็ต้องเลิกไป เขาก็ลำบากเราก็ลำบาก แต่จะทำอย่างไรได้ เพราะเราอยากได้ประชาธิปไตยและความยุติธรรมก็ต้องไปร่วมชุมนุมกันให้มากๆ แม้ไม่ได้วันนี้ก็ต้องได้สักวัน "วันที่ 10 เมษายนนี้ ครบรอบ 1ปี จะพาสามีไปร่วมงานกับคนเสื้อแดงรำลึกเหตุการณ์ เพราะเขาอยากไปดูตรงที่ถูกตีจนพิการ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยพาไปแล้วครั้งหนึ่งแกก็ชี้ให้ดูจุดที่ถูกตี แม้ว่าความจำเรื่องอื่นๆจะหลงลืมไปบ้างแต่แกไม่เคยลืมว่าถูกตีที่ไหนและใครเป็นคนลงมือ"กูลกิจ" กล่าวย้ำ นี่คือตัวอย่างหนึ่งของคนเสื้อแดงที่กลับมาชุมนุมอีกครั้ง ของคนทุพพลภาพที่ยังคงยืนหยัด มุ่งมั่นในอุดมการณ์ต่อไป เช่นเดียวกับคนอีกจำนวนมากที่ เชื่อมั่นว่า "เสรีภาพ" ในการรวมตัวกันเป็นล้าน จะทำลายล้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรม อำนาจเผด็จการและทรราชย์ อันเป็นปีศาจของประชาธิปไตยได้ "10 เมษา"สอนให้รู้ว่า การใช้กำลัง อำนาจ หรือเผด็จการ ใช้ได้ผลแค่ขณะหนึ่งเท่านั้น โดย ชฎา ไอยคุปต์ มติชน ///////////////// ถ้าชีวิตของผมสามารถแลกได้กับอำมาตย์ตัวใหญ่ๆ สักตัวสองตัว ผมก็พร้อมจะพลี.......... เสื้อแดงจนเจริญ.............. ทบทวนความทรงจำเหตุการณ์ "10 เมษาฯ 53" กับหนังสือ "คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต" เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ คนเสื้อแดง และ "กลุ่มชายชุดดำ" เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ผ่านพ้นมาได้เป็นเวลา 1 ปีเต็ม เวลาผันผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกระบวนการแสวงหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ ซึ่งยังคงเต็มไปด้วย "ความว่างเปล่า" อย่างไรก็ตาม ในขณะที่การแสวงหาผู้กระทำผิดมารับโทษดำเนินไปอย่างยากเย็น กระบวนการทบทวนความทรงจำของผู้สูญเสียกลับดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเหตุการณ์ "10 เมษายน 2553" ได้สร้างความสูญเสียให้แก่ทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ ความทรงจำของผู้สูญเสียทั้งสองฝ่ายจึงดำเนินเคียงคู่กันไป ดังนั้น เมื่อเวลา 1 ปีผ่านไป เราจึงยังมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึกของภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม นายทหารผู้เสียชีวิตบริเวณโรงเรียนสตรีวิทยา แต่ขณะเดียวกัน เสียงของผู้สูญเสียฝ่ายเสื้อแดง ก็เป็นเสียงอันก้องดังที่เรามิอาจแสร้งทำเป็นไม่ได้ยินหรือไม่ยอมรับรู้ถึงการดำรงอยู่ และเสียงเหล่านั้นก็ถูกนำเสนอออกมาอย่างเป็นระบบผ่านหนังสือชื่อ "วีรชน 10 เมษา : คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต" ผลงานการเขียนของ "กรกช เพียงใจ" เรียบเรียงข้อมูลโดย "กองบรรณาธิการประชาไท" มี "ไอดา อรุณวงศ์" และ "วริศา กิตติคุณเสรี" เป็นบรรณาธิการ และดำเนินการผลิตโดย "สำนักพิมพ์อ่าน" นอกจาก "ลำดับเหตุการณ์สำคัญ" ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม - 10 เมษายน 2553 ที่ถูกจัดทำอย่างละเอียดโดย กองบรรณาธิการประชาไท แล้ว เนื้อหาส่วนสำคัญที่โดดเด่นที่สุดในหนังสือเล่มนี้ ก็คือ การพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับพลเรือนทั้งไทยและเทศที่เสียชีวิตรวมทั้งสิ้นจำนวน 21 คน ในเหตุการณ์ 10 เมษาฯ 53 ผ่านประวัติโดยย่อของผู้เสียชีวิตแต่ละราย เรื่องราวภูมิหลังของพวกเขา รวมทั้งบาดแผลความทรงจำอันถูกทิ้งค้าง ที่ถูกเผยออกมาจากปากคำของคนใกล้ชิดที่อยู่ข้างหลัง อาทิ เรื่องราวของ "ยุทธนา ทองเจริญพูลพร" (เตย) เด็กหนุ่มวัย 23 ปี จากจังหวัดราชบุรี ว่าที่บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้า และกำลังจะแต่งงาน ทว่าการเสียชีวิตของเขา ก็ทำให้ความหวังความฝันทั้งมวลต้องมลายหายไป "หลังการจากไปของเตย บรรดาพี่ป้าน้าอาที่เลี้ยงเขามาต่างพากันโศกเศร้า พวกเขารักเตยเหมือนลูก เพราะอุปถัมภ์เตยมาแต่เล็ก เนื่องจากเตยเป็นลูกชายคนเดียวที่อยู่กับพ่อพิการ ไม่เคยพบหน้าแม่ "ถึงตอนนี้บ้านของเตยที่ราชบุรีถูกปิดร้าง พ่อของเตยจากไปก่อนหน้าเขา 6 เดือน บัดนี้ลูกชายคนเดียวก็มาเสียชีวิตตามไป ใหม่ (ว่าที่ภรรยาของเตย - มติชนออนไลน์) ตัดสินใจย้ายออกจากบ้านหลังนั้นกลับไปอยู่บ้านแม่ เพราะไม่สามารถทนบรรยากาศเวิ้งว้างว่างเปล่าได้ คงเหลือเพียงความทรงจำว่าครั้งหนึ่งบ้านหลังนี้เคยมีรอยยิ้ม ความหวัง ความฝันของคนคู่หนึ่ง" (หน้า 43) ความสูญเสียที่เกิดกับยุทธนาก็อาจคล้ายคลึงกับ "อำพน ตติยรัตน์" เด็กหนุ่มวัย 26 ปี ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาตรีเทอมสุดท้าย ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อำพนอาจยังไม่มีแผนการการสร้างครอบครัวของตนเอง แต่ความตายของเขาก็ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่แต่พ่อแม่และน้องที่บ้าน ดังที่พ่อของอำพนได้ระบายความแค้นด้วยการจินตนาการถึงวิธีการแบบตาต่อตาฟันต่อฟันที่ตนเองมิอาจลงมือกระทำได้ในโลกแห่งความจริงเอาไว้ว่า "ตอนนี้จิตใจก็ยังไม่ดี ยังทำใจไม่ได้ ถ้าผมสามสิบกว่าผมคงเอาแบบทางใต้ ทำกับลูกผม ผมก็ต้องเอาคืน เล่นเอาปืนกลไล่ยิงพวกผมแบบนี้ ถ้าเป็นไปได้อยากจะเอาลูกระเบิดวางไว้เลยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่พานรัฐธรรมนูญ แล้วปืนเอาวางไว้เลยรอบๆ นั่น แต่นี่ผมแก่แล้ว ผมก็ไม่รู้จะทำยังไง (เสียงเครือ) เราเป็นรากหญ้า สู้อะไรเขาไม่ได้ ก็ได้แต่สาปแช่ง ให้เขาได้รับเวรรับกรรมของเขา" (หน้า 82) ขณะที่แม่ก็เล่าเรื่องราวของน้องชายคนสุดท้องวัย 19 ปีของอำพนว่า "ลูกชายคนเล็กนี่คลั่งเลยนะ วันที่เขาจะเริ่มสลายที่นี่ (19 พ.ค. 53) เขากั้นที่นี่หมดเลย ปิดไฟ ปิดอะไร แล้วลูกชายมันเครียดมากเลย ก็เลยไปกินเบียร์ กินก็ไม่เมา ร้องไห้ใหญ่เลย มามองรูปพี่แล้วก็บอก ′เฮ้ย พี่อู๊ด (ชื่อเล่นของอำพน - มติชนออนไลน์) ทำไมต้องตาย ใครทำให้พี่อู๊ดตาย′ พูดเสร็จก็บอกจะไปฆ่าทหาร ′มันมาฆ่าพี่กู′ ฉันต้องจับไว้ บอกไม่เอานะลูกนะ ดึงไว้ยังไงก็ไม่ฟัง พ่อต้องเอาเชือกมามัดประตูไว้" (หน้า 82) ความสูญเสียยังเกิดกับ "เกรียงไกร คำน้อย" คนขับรถตุ๊กตุ๊กวัย 24 ปี จากอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเมื่อเดือนเมษายน 2552 เขายังเป็นทหารเกณฑ์ในสังกัดกองทัพเรือ แต่เพียงอีก 1 ปีถัดมา เขาก็กลายเป็นผู้ชุมนุมที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุม "ก่อนหน้าบ่ายวันที่ 10 ที่เขาไปดูเหตุการณ์เผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมและทหารที่สะพานมัฆวานกับเพื่อนอีก 3 คน น้าของเขาที่เป็นจ่าทหารอยู่กาญจนบุรีโทรมาเตือนกับน้าอีกคนหนึ่งว่า อย่าให้ลูกหลานออกไปเพราะ ′เขาเอาจริงแล้ว′ แต่คำเตือนก็ไม่อาจทัดทานคนหนุ่มได้ ขณะที่หน่วยงานของผู้เป็นน้าก็ถูกเรียกมายังกรุงเทพฯ แต่ยังไม่ทันได้ออกปฏิบัติการ "หลังจากเขาเสียชีวิต แม่ของเขาหัวใจสลาย ด้วยความโกรธแค้น เธอโทรไปต่อว่าน้องชายที่เป็นทหารผู้นั้นว่าทำไมต้องยิงหลาน มันคงเป็นคำถามที่หมายความถึงทหารโดยทั่วไป แต่พุ่งตรงไปยังเป้าหมายที่ล็อคตัวได้ ปลายสายได้แต่ตอบว่า เขาไม่ได้ตั้งใจลงมายิงหลาน แต่ต้องทำตามหน้าที่" (หน้า 112) มิใช่มีแค่การเสียชีวิตของคนหนุ่มเท่านั้น แต่ความตายของ "วสันต์ ภู่ทอง" วัย 39 ปี ก็ได้ส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวลุกขึ้นสู้ด้วยการเข้าร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดงที่สี่แยกราชประสงค์หลังวันที่ 10 เมษายน ด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ "น้ำทิพย์ พ่วงท้วม" น้องสาวคนเล็กของวสันต์กล่าวเอาไว้ว่า "มันไม่ได้เกี่ยวกับทักษิณเลย แค่ถามว่าขอประชาธิปไตย ขอเลือกตั้งเองได้ไหม ง่ายๆ ภาษาชาวบ้านคือ ฉันขอเลือกเอง แค่นี้เอง ฟังง่ายๆ ไม่ได้เหรอ" (หน้า 67) และ "คือคนที่เราเลือกของเรา เขายึดของเราไป ยึดประชาธิปไตยของเราไป แต่เราไม่มีสิทธิทำอะไรเลย" (หน้า 69) และสำหรับผู้เสียชีวิตที่มีสถานะเป็นพ่อคน ความทรงจำอันเจ็บปวดก็ต้องถูกฝังตรึงอยู่ในความคิดของลูกน้อยอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ดังกรณีของ "ไพรศล ทิพย์ลม" ชาวขอนแก่นวัย 38 ปี ที่เข้ามาทำงานเป็นชิปปิ้งของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ "สังวานย์ สุทธิเสน" ภรรยาชาวลาวของไพรศล เล่าให้ฟังถึงปฏิกิริยาของลูกน้อยในวันที่ผู้เป็นพ่อเสียชีวิตเอาไว้ว่า "วันที่พ่อเสีย เขาเห็นพ่อ เขาบอกทหารยิงพ่อ ทหารฆ่าพ่อน้อง ทหารใจร้าย เดี๋ยวนี้ลูกเจอทหารไม่ได้ เขาจะพูดว่าทหารคนนี้ฆ่าพ่อน้อง ไม่ว่าทหารคนไหน เขาจะพูดแบบนี้" (หน้า 151) เหล่านี้ คือตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้นของหนังสือ "วีรชน 10 เมษา : คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต" ที่บอกเล่าเรื่องราวความสูญเสียของสามัญชนใน "เหตุการณ์ 10 เมษา" ซึ่งกองบรรณาธิการประชาไทเห็นว่า "...เป็นจุดเริ่มต้นของความสูญเสียครั้งใหญ่ และวาทกรรม ′ผู้ก่อการร้าย′ ก็ถือกำเนิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ และยิ่งเข้มข้นขึ้นในช่วงก่อนและหลังการสลายการชุมนุมบริเวณสี่แยกราชประสงค์ที่ตามมาในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ผลจากปฏิบัติการทางทหารได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก "นับเป็นความสูญเสียทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่" (หน้า(11)) มติชน ///////////////// โหดที่สุดคือเฮีย เหี้ยที่สุดคือซ้อ กูจะอยู่ ดูมึงตาย |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น