วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

6 เมษายน คือวันสวรรคตพระเจ้าตาก

จำไว้ว่า วันที่ 6 เมษายน คือวันสวรรคต
ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  ตากสินมหาราช



สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก่อรัฐประหาร

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้วิเคราะห์ว่า การที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกอบพระราชกรณียกิจแปลกไปจากพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทำให้พระองค์ทรงถูกมองว่าไม่เคารพต่อขนบธรรมเนียมดั้งเดิม และได้รับการต่อต้านจากกลุ่มชนชั้นสูง ข่าวลือการเสียพระสติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกแพร่ออกไปเพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมืองให้กับกลุ่มผู้ต้องการโค่นล้มพระองค์จากพระราชอำนาจ กลุ่มชนชั้นสูง (ไม่รวมราษฎรสามัญ) ได้รับความเดือดร้อนจากความประพฤติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ยังได้สร้างความไม่ประทับใจให้กับฝ่ายของพระองค์เองอีกด้วย ท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ไม่สามารถรักษาพระราชอำนาจต่อไปได้ กลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางภายใต้การนำของพระยาจักรีได้ก่อรัฐประหาร
ในบทความ "ชำแหละแผนยึดกรุงธนบุรี" เขียนโดยปรามินทร์ เครือทอง ได้ลำดับเหตุการณ์การรัฐประหารไว้ว่า:
แผนรัฐประหารเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2324 ระหว่างการปราบปรามจลาจลในเขมร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าวความไม่ปกติในกรุงธนบุรี จึงให้พระยาสุริยอภัยผู้หลานมาคอยฟังเหตุการณ์อยู่ที่เมืองนครราชสีมา เวลาเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ลอบทำสัญญากับแม่ทัพญวน ฝ่ายแม่ทัพญวนก็ให้กองทัพญวน-เขมรนั้นล้อมกองทัพกรมขุนอินทรพิทักษ์ไว้
แรมเดือน 4 พ.ศ. 2325 ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์, นายบุญนาค นายบ้านในเขตกรุงเก่า และขุนสุระ นายทองเลกทองนอก ทั้งสามได้คิดก่อกบฎขึ้น ชักชวนกันซ่องสุมประชาชนจะไปสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และถวายราชสมบัติให้แก่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฝ่ายเจ้าเมืองอยุธยา พระอินทรอภัย หนีรอดมาได้ กราบบังคบทูลต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์จึงให้พระยาสรรค์ขึ้นไปปราบ แต่ภายหลังได้กลายเป็นแม่ทัพยกมาตีกรุงธนบุรี
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2325 ทัพพระยาสรรค์ได้เข้าล้อมกำแพงพระนคร รบกับกองทัพซึ่งรักษาเมืองจนถึงเช้า ครั้นรุ่งเช้า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบัญชาให้หยุดรบ พระยาสรรค์ก็ถวายพระพรให้ทรงผนวช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงออกผนวชเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2325 วันรุ่งขึ้น พระยาสรรค์ก็ออกว่าราชการชั่วคราว
แต่มาภายหลัง พระยาสรรค์ได้ปล่อยตัวกรมขุนอนุรักษ์สงครามมาช่วยกันรบป้องกันพระนครจากกองทัพพระยาสุริยอภัย ทั้งสองทัพรบกันเมื่อราว 2-3 เมษายน พ.ศ. 2325 พระยาสรรค์และกรมอนุรักษ์สงครามแตกพ่ายไป จนเมื่อถึงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ยกทัพมาถึงกรุงธนบุรี
ส่วนเหตุการณ์สวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบรีนั้นไม่แน่ชัด แต่ที่ปรากฏเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก คือ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ยกทัพมายังกรุงธนบุรีในระหว่างยกทัพไปเขมร เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ได้ควบคุมตัวพระยาสรรค์และขุนนางที่คิดก่อการกบฏเอาไว้ และสืบสวนสาเหตุของความวุ่นวายที่เกิดขึ้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกกล่าวโทษว่าพระองค์ทรงเสียพระสติทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงถูกสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วฝังพระบรมศพที่วัดบางยี่เรือใต้ เสด็จสวรรคตเมื่อสิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมเวลาในการครองราชย์ได้ 15 ปี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสืบต่อมา หลังจากนั้นพระองค์จึงสั่งให้นำตัวพระยาสรรค์และขุนนางที่คิดก่อการกบฏไปประหารชีวิตเสีย
ต่อมา ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 แนวคิดอื่น ๆ เกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ปรากฏขึ้น เช่น พระองค์ถูกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัฐประหาร, พระองค์มิได้เสียสติ 

1 ความคิดเห็น:

  1. พระเจ้าตากฯ ถูกรัฐประหาร = คิดไปเอง
    เสื้อแดง เผารถเมล์-รถแก๊ส = คิดไปเอง
    เสื้อแดง เผาบ้าน-เผาเมือง = คิดไปเอง
    นายกฯ ยิ่งลัก โง่!!! = คิดไปเอง
    น้ำท่วม = คิดไปเอง
    ของแพง = คิดไปเอง

    ตอบลบ