วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

เพื่อประชาธิปไตย แต่ไม่กล้าเลือกตั้ง


พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ?
 แต่ไม่กล้าต่อสู้การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

[Image: 13016577831301658076l.jpg]

รายงานพิเศษ

ทั้งๆ ที่การชุมนุมของเครือข่าย
คนไทยหัวใจรักชาติ ที่สะพานชมัยมรุเชษฐ์
และการชุมนุมของพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตย ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์
มีปริมาณน้อยมาก


สรุปตามสำนวน อัญชะลี ไพรีรักษ์ ก็ต้องว่า "หะร็อมหะแร็ม"

นั่นก็คือ จำนวนยืนพื้น
เพียงหลักร้อย น้อยครั้งยิ่งนักที่
จะทะยานไปถึงหลักพัน เว้นแต่จะมี
การเป่านกหวีดอย่างสุดแรงเกิด

ยิ่งจำนวน "หมื่น" แทบไม่เคยปรากฏ

กระนั้น หลายคนก็มี
ความรู้สึกร่วมว่า การชุมนุมทั้งที่สะพานชมัยมรุเชษฐ์
และสะพานมัฆวานรังสรรค์ ได้รับการเกรงอกเกรงใจ
อย่างมากเป็นพิเศษจากรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และจากพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อเปรียบเทียบกับการชุมนุมของคนเสื้อแดงหรือ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน

ความเกรงอกเกรงใจมิได้อยู่ที่คนน้อย
ไม่เคยกล่าวหา ประการเดียว หากที่สำคัญ
เป็นอย่างมากก็คือ จังหวะก้าวของรัฐบาล
ที่ดำเนินไปตามน้ำเสียงจากผู้ชุมนุม


รูปธรรม 1 คือ รูปธรรมที่บันทึกข้อตกลง
การประชุมเจบีซีที่ยื้อแล้วยื้ออีก

รูปธรรม 1 คือ การไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซีย
เข้ามาประจำในพื้นที่ที่มีข้อพิพาทบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

แม้จะเป็นมติจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน


กรณี "ผู้สังเกตการณ์" จากอินโดนีเซียถือได้ว่าเป็น
กรณีศึกษาที่สะท้อนสายสัมพันธ์ของผู้ชุมนุมกับ
ผู้กุมอำนาจอย่างแท้จริงได้อย่างเป็นรูปธรรม

แม้กรณี "ผู้สังเกตการณ์" จากอินโดนีเซียจะเป็นไปตาม "มติอาเซียน"

เป็นมติอาเซียนอันมาจากการประชุมร่วมของรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ อาเซียนที่กรุงจาการ์ตา
ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์

เมื่อเป็นมติแสดงว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยย่อมเห็นด้วย

แต่นับจากวันที่ 22 กุมภาพันธ์ จนผ่านวันที่ 22 มีนาคม
มาจนถึงวันที่ 1 เมษายน มตินี้ก็มิได้มี
การปฏิบัติในพื้นที่ของประเทศไทย

จะมีที่อ้าแขนและปฏิบัติตามมติก็เฉพาะในฝั่งของกัมพูชาเท่านั้น


ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า
กระทรวงกลาโหมอันเป็นตัวแทนของกองทัพไทยไม่เห็นด้วย
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในที่ชุมนุมของเครือข่าย
คนไทยหัวใจรักชาติที่สะพาน ชมัยมรุเชษฐ์
และในที่ชุมนุมของพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตยที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ไม่เห็นด้วย

แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไป
แสดงความเห็นด้วยในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนก็ตาม

แสดงว่า "กองทัพไทย" กับ "พันธมิตรฯ" ร้องเพลงเดียวกัน

ตรงนี้เองที่เมื่อแกนนำ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ออกมาเสนอความเห็นให้โหวตโน
ในการเลือกตั้งและยืนยันอย่างเฉียบขาดว่า

ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง

ต้องการให้มีการเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา
2-3 ปี เพื่อจัดระบบและโครงสร้างของการเมืองใหม่

หลายคนจึงล้างหูน้อมรับฟังด้วยความระมัดระวัง


แม้ว่าทหารใหญ่หลายคน
ออกมาปฏิเสธเรื่องการรัฐประหาร แต่ความโน้มเอียง
ในขณะนี้ก็เห็นว่า การเลือกตั้งไม่แน่ว่า
จะเกิดขึ้นแม้ว่าจะมีการยุบสภาก็ตาม

เพราะว่ามือที่แตะอยู่ข้างหลัง "พันธมิตรฯ" คือ มือจาก "กองทัพ"


ขณะเดียวกัน มือที่แตะ
อยู่ข้างหลัง "กองทัพ" เป็นสิ่งที่เรียกกัน
ในทางการเมืองว่า "มือที่มองไม่เห็น"

เป็น "มือที่มองไม่เห็น" ซึ่งเคยบงการให้เกิด
"รัฐประหาร" เดือนกันยายน 2549


เครดิต
http://www.matichon.co.th/news_detail.ph...o&catid=50*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น