วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

นักข่าวต่างชาติเขียนถึงดารุณี "ดา ตอปิโด: 

สตรีไทยในหน้ากากเหล็ก"


โดย Andrew Spooner
31 มีนาคม 2554
ที่มา ASEAN correspondent
ในขณะที่ภาพเจ้าหน้าที่ความมั่นคงลิเบียจับกุมIman al-Obeidi อย่างทารุณถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกในวันหยุดสุดสัปดาห์ สตรีไทยร่างเล็ก“ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล” ที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งของโลกกำลังพยายามข่มตาหลับในคุกอันคับแคบในกรุงเทพมหานคร
เป็นเวลาเกือบสามปีที่ ดารณี หรือดา ตอปิโดนอนร่วมกรงขังกับสตรีอีกกว่า 180 ราย และมีช่วงหนึ่งที่เธอถูกแยกขังเดี่ยวและถูกเลือกปฏิบัติ เช่น ถูกปฏิเสธสิทธิไม่ให้พบผู้มาเยี่ยม ไม่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลข้างนอกจากอาการโรคข้อขากรรไกรยึดติดอักเสบที่ แสนเจ็บปวดทรมาน (แม้ผู้ต้องหาฆ่าคนตายหรือข่มขืนกระทำชำเรายังได้สิทธิดังกล่าว) นอกจากนี้ทางเรือนจำยังไม่คำนึงถึงอาการป่วยของเธอโดยการไม่จัดหา “อาหารอ่อน” มาให้เธอรับประทาน และตอนนี้นักข่าวต่างชาติยังถูกห้ามไม่ให้เข้าพบหรือเข้าสัมภาษณ์เธออีกด้วย
นอกจากนี้ คดีของดายังถูกพิจารณาอย่างผิดธรรมดา โดยเป็นการพิจารณาคดีลับ (การพิจารณาคดีนี้ถูกตัดสินว่าผิดกระบวนการ แต่ ถึงกระนั้น เธอยังคงอยู่ในคุก และขอย้ำอีกครั้งว่านี่คือการกระทำที่ผิดธรรมดา เพราะถ้าผู้กระทำผิดฐานข่มขืนหรือฆ่าคนตายตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ส่วนใหญ่มักจะถูกปล่อยตัวเพื่อรอการพิจารณาคดีใหม่) อาชญากรรมที่เธอกระทำนั้น ‘ร้ายแรง’ มาก เพราะหากผมเล่าถึงรายละเอียดของการกระทำของเธอ ผมอาจถูกจับกุมคุมขังหากผมเดินทางกลับไปประเทศไทย และเป็นไปได้ว่า AsianCorrespondent.com อาจจะถูกแบน

Daranee Charnchoengsilpakul aka Da Torpedo... 18 years in prison for a speech. Pic: AP.
พวกคุณอาจสงสัยว่าดา ตอปิโดกระทำความผิดอะไร พูดอย่างสั้นๆคือ เธอวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ไทยในที่สาธารณะ และการกระทำดังกล่าวส่งผลให้เธอถูกพิพากษาจำคุกถึง 18 ปี ภายใต้กฎหมายที่ทุเรศและทารุณอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ผู้อ่านอาจเริ่มสงสัยด้วยว่าเหตุใดองค์กรอย่างองค์กรนิรโทษกรรมสากลไม่ให้ความช่วยเหลือคดีดา ตอปิโต ซึ่งเป็นคดีตัวอย่างของนักโทษทางความคิดอย่าง เห็นได้ชัด ย้อนกลับไปเมื่อปี 2552 ซึ่งไม่นานหลังจากคำพิพากษาตัดสินโทษจำคุกของดา นายเบนจามิน ซาวัคกี้ นักวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย จากสำนักงานเลขานุการระหว่างประเทศ องค์กรนิโทษกรรมสากล ได้กล่าวถึงคำพิพากษาของการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่า
“เรารู้สึกว่าวิธีการทำงานแบบส่วนตัวกว่ามากกว่าแบบสาธารณะ คือวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินการเรื่องปัญหากฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพในปัจจุบัน; เห็นได้ชัดว่ากฎหมายนี้มีความอ่อนไหว [และ] มีการต่อสู้กันระหว่างหลายสิ่งที่มีความสำคัญ; ประการแรกคือ สิทธิเสรีภาพการแสดงออก แต่คุณมีสถาบันที่นี่ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เราจึงเข้าใจว่าเหตุใดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์”
เมื่อพิจารณาจำนวนการจับกุมคุมขังด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มสูงขึ้น มากในช่วงสองปีที่ผ่านมา ความล้มเหลวของนโยบายการทำงานแบบ “ส่วนตัว” ขององค์กรนิรโทษกรรมจึงย่ำแย่พอแล้ว และเพราะกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเป็นกฎหมายตัวเดียวที่ใช้คุมขังดา ตอปิโดตั้งแต่แรกนี่เอง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะถกเถียงคำยืนยันของนายซาวัคกี้อย่างสมเหตุสมผลเกี่ยว กับบทบาทของสถาบันในการปกป้องสิทธิมนุษยชน และนี่คือสิ่งที่นายซาวัคกี้อาจจะทราบอย่างลึกซึ้งตอนที่เขาให้ความเห็น เรื่องดังกล่าว และเขาน่าจะรู้เป็นอย่างดีว่าเนื้อหาคำพูดของเขาไม่สามารถนำมาเป็นประเด็น พูดคุยได้อย่างจริงจัง
มากกว่านั้นคือ นอกจากจะกล่าวว่าองค์กรเข้าใจว่าเหตุใดจึงมีความจำเป็นที่สถาบันกษัตริย์ควร จะถูกปกป้องจากคำปราศรัยทางการเมืองโดยการพิพากษาจำคุก 18 ปีแล้ว ตามหลักฐานที่ผมรับรู้มา ดูเหมือนนายซาวัคกี้ยังสมรู้ร่วมคิดกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศไทย โดยเขียนรายงานว่าเนื้อหาคำปราศรัยของดา ตอปิโดนั้นมีลักษณะที่ “รุนแรง” ดังนั้นจึงไม่มีการให้สถานภาพ “นักโทษทางความคิด” แก่เธอ
แน่นอน หากพิจารณาถึงการที่สื่อมวลชนเผยแพร่ข่าวเจ้าหน้าที่ความมั่นคงปฏิบัติ ต่อIman al-Obeidiอย่างท้วมท้น เราอาจจะคาดหวังให้สื่อต่างชาติในไทยรายงานเรื่องของดา ตอปิโดบ้าง แต่จนถึงตอนนี้ เท่าที่ผมทราบ มีเพียงแค่นักข่าวต่างชาติสองสามคนพยายามจะเข้าสัมภาษณ์หรือช่วยเหลือคดีดา ตอปิโด เรื่องราวของเธอแทบจะไม่ถูกตีพิมพ์ในสื่อตะวันตกหรือต่างชาติสำนักไหนเลย
ปัจจุบัน เวปไซต์และบล็อกต่างๆ เช่น Political Prisoners in Thailandประชาไทและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียคือสื่อที่ยังคงนำเสนอเรื่องราวของการปฏิบัติต่อดา ตอปิโดต่อสาธารณชน นักกิจกรรมไทยและนักข่าวต่างชาติจำนวนหนึ่ง (รวมถึงผม) พยายามตั้งคำถามโดยตรง ต่อองค์กรนิรโทษกรรมสากลว่า เหตุใดจึงไม่เลือกที่จะประณามคำพิพากษาดาตอปิโด หรือให้สถานภาพนักโทษทางความคิดแก่เธอ แต่องค์กรนิรโทษกรรมสากลเพิกเฉยต่อคำถามดังกล่าว ส่วนฮิวแมนไรต์วอซซ์ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับคดีของดา ตอปิโด แต่ไม่เพียงพอหรืออาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีความหมายเลย
หนึ่งในบุคคลที่ควรได้รับยกย่องจากเรื่องราวที่น่าเศร้าและเลวทรามนี้คือ พี่ชายของดา ตอปิโด นายกิตติชัย ซึ่งต้องนั่งรถบัสเป็นเวลา 12ชั่วโมงจากภูเก็ตมายังกรุงเทพทุกอาทิตย์เพื่อนำอาหาร และแน่นอนสิ่งที่จำเป็นที่สุดนั้นคือกำลังใจมาให้น้องสาว เมื่อสองสามเดือนกว่า ผมพบกิตติชัยที่หน้าทัณฑสถานหญิงกลางกรุงเทพมหานครเพื่อเข้าเยี่ยมดา ตอปิโด ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวจะเผยแพร่ต่อไปในภาคสองของดาตอปิโด: สตรีไทยในหน้ากากเหล็ก อีกสองสามวัน
อ่านบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษได้ที่นี http://bit.ly/hbn5cV




******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:คลิปสัมภาษณ์ทนายความดา ตอร์ปิโด:ความจริงหลังกรงขังThailandmirror Talk สัมภาษณ์ ประเวศ ประภานุกูล "ทนายดา ตอปิโด" ผู้ต้องขังเหยื่อมาตรา 112

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น