วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555


คอม+ค่าโง่ เหม็นหึ่งสธ.
http://easy-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC40Nzk4MS1kYWVya
HQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5
pLnd3dy8vOnB0dGg%3D%0A

[Image: article-8609--252310[0].jpg]


1,300ล้านส่งกลิ่นเน่าตลบ!
ศาลปกครองตัดสินแล้ว!
แต่“ภักดี”อนุฯปปช.ไม่หยุด!!

ในสังคมไทยยุคปัจจุบันถือเป็นยุคพิเศษ อะไรที่รัฐบาลไม่อยากพูดถึง ก็ปล่อยให้เป็นคลื่นกระทบฝั่ง อะไรที่รัฐบาลไม่อยากจะตอบ ก็เลือกที่จะไม่ตอบ

ดังนั้นล่าสุดในการอภิปรายซักฟอกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จึงมีคำถามที่ไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาลอยู่ไม่น้อย ทั้งๆที่เป็นประเด็นคำถามที่สามารถมีผลลึกซึ้งทางการเมืองด้วยซ้ำ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสลายการชุมนุมที่รัฐบาลไม่ได้ตอบ
เรื่องกระสุนปืนกว่า 1 แสนนัดที่หายไปจากคลังสรรพาวุธ
เรื่องนายศุภชัย ถือครองที่ดิน700 ไร่ บริเวณป่าดงพะทาย อ.ท่าอุเทนจ.นครพนม

รวมถึงเรื่องความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับสัญญาสัมปทาน 3 จี ซึ่งฝ่ายค้านมีการเชื่อมโยง ในเชิงตั้งคำถามฝากเอาไว้ว่า มีอะไรเกี่ยวข้องหรือไม่??? กับการที่นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะบิดานายอภิสิทธิ์ที่ไปเป็นกรรมการบริหารและกรรมการตรวจสอบของ บมจ. ซีพีเอฟ ซึ่งบริษัทในเครือ ซีพี เช่นเดียวกับบมจ.ทรูคอร์ปเรชั่น

ในขณะที่อาของนายอภิสิทธิ์ คือนายวิทยา เวชชาชีวะ ก็เป็นกรรมการบริหารและกรรมการตรวจสอบ บมจ.ทรูคอร์ปเรชั่น

ซึ่งจริงๆการเป็นกรรมการบริหาร การเป็นกรรมการตรวจสอบให้กับบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นเรื่องที่ไม่ได้แปลกอะไร ถ้าไม่บังเอิญว่ามีธุรกรรมของทรูที่เกี่ยวข้องกับสัมปทาน 3 จี ในช่วงนี้พอดี เลยเป็นเหตุให้มีการตั้งข้อสังเกตุกันขึ้นมา

แต่ก็คงโทษว่าประชาชน หรือพรรคฝ่ายค้านที่เกิดข้อสงสัยไม่ได้เหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาเรื่องของการเมืองกับความอีรุงตุงนังทางธุรกิจสัมปทานนั้น อื้อฉาวมากในรัฐบาลชุดนี้

อื้อฉาวขนาดที่ หอการค้าไทย ยังต้องออกมารณรงค์”ไม่เอาคอรัปชั่น”กันเลยทีเดียว

แต่ผลประโยชน์ทางการเมืองก็ยังดำรงอยู่ ท่ามกลางเสียงสะท้อนในเรื่องของ”ตัวเลขเงินทอน 30-35%” ที่หนาหูอย่างมากในยุครัฐบาลของนายอภิสิทธิ์

ทอนเรื่องอะไร ทำไมต้องทอน ใครเป็นคนได้รับเงินทอน สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีคำตอบที่ชัดเจน
ซ้ำร้ายหากมีปัญหาเกิดขึ้น ดีไม่ดียังกลายเป็นว่า สุดท้ายแล้ว รัฐบาลต้องเป็นฝ่ายเสียค่าโง่ ต้องจ่ายเงินเป็นพันล้านหมื่นล้านให้กับภาคธุรกิจเอกชน

ซึ่งดูเหมือนว่าเหตุการณ์ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อาจจะต้องเสียค่าโง่อีกครั้งหนึ่ง กรณีโครงการคอมพิวเตอร์ฉาวซึ่งเกิดขึ้นที่กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่เมื่อปี 2546 - 47

โครงการนี้ เริ่มจากคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการประกวดราคาซื้อ และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริหารข้อมูลข่าวสารด้านการเงิน การคลัง และข้อมูลโรงพยาบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มูลค่าประมาณ 911,784,000 ล้านบาท
เริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2546 ในสมัยของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา โดยให้ นพ.ธวัช สุนทราจารย์ รองปลัด ขณะนั้นเป็นประธาน แต่หลังจากคณะกรรมการพิจารณาด้านเทคนิคได้สรุปผลการพิจารณาว่ามีบริษัทที่ผ่านเกณฑ์ 2 บริษัทได้แก่ บริษัทไพร์มลิงค์ จำกัด และกิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอม เพียง 1 วัน นพ.ธวัช ก็ลาออกจากการเป็นประธาน ในวันที่ 8 เม.ย. 2547

จากนั้น ได้มีการแต่งตั้งให้ นพ.ชาตรี บานชื่น ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ในขณะนั้นมารับหน้าที่แทนในวันที่ 9 เม.ย. 2547 และหลังจากพิจารณาผลการประกวดราคาครั้งแรกก็ได้ข้อสรุปว่า กิจการร่วมค้าพีสแควร์ไทยคอมมีราคาต่ำสุด แต่ปรากฏว่าภายหลัง ได้มีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมโดยบริษัทคู่แข่ง คือ ไพร์มลิงค์

หลังจากมีการประชุมพิจารณาเรื่องนี้อีกหลายครั้ง จึงได้ข้อสรุปโดย นพ.ชาตรี บานชื่น และคณะได้มีความเห็นเสนอไปยังปลัดกระทรวงฯ เพื่อสั่งให้ยกเลิกการประกวดราคาดังกล่าว

เรื่องน่าจะจบ แต่กลับไม่จบเพราะกิจการร่วมค้า พีสแควร์ ไทยคอม และบริษัท พีสแควร์ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นโจท์กยื่นฟ้องละเมิด กระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ที่มีคำสั่งยกเลิกการประกวดราคา พร้อมเรียกค่าเสียหายในขณะนั้น 1,200 ล้านบาท

ทำให้ลากเกมยาวมาจนถึงเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2553 ศาลปกครองกลาง มีการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การยกเลิกการประกวดราคา และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อผู้ฟ้อง

จึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่ผู้ฟ้อง
คดีนี้จึงมีคำสั่งพิพากษาให้ยกฟ้อง!!!

นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถูกฟ้องในคดีนี้ด้วย ได้กล่าวในวันนั้นว่ารู้สึกดีใจที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง ทำให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมยังมีความศักดิ์สิทธิ์ และ หากข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้องแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับการถูกฟ้อง

คดีนี้ถือเป็นบรรทัดฐานสำหรับข้าราชการที่ตั้งใจทำงานให้มีกำลังใจมากขึ้น

ที่สำคัญเมื่อกระทรวงสาธารณสุขไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายก็หมายความว่า ไม่ต้องนำภาษีของประชาชนมาใช้โดยเปล่าประโยชน์

พร้อมกับยืนยันด้วยว่า การประมูลจัดซื้อคอมพิวเตอร์มูลค่า 900 ล้าน ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการพิจารณาตัดสินโดยอาศัยความเห็นของทุกฝ่ายอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นกรมบัญชีกลางและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) รวมทั้งการดำเนินการก็ทำในรูปแบบคณะกรรมการ ที่มีการพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบทุกขั้นตอน

และที่สอดคล้องกันอีกประการก็คือ ก่อนที่ศาลปกครองกลางจะมีคำพิพากษายกฟ้อง ปรากฏว่าคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ได้พิจารณาสั่งยกโทษ นพ.ชาตรี บานชื่น นพ.เทียม อังสาชน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ นายวริทธินันท์ จินดาถาวรกิจ และ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ ซึ่งได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนของกระทรวงสาธารณสุขฐานกระทำผิด วินัยกรณีโครงการคอมพิวเตอร์ฉาวนี้มาก่อนแล้วเช่นกัน

ดูแล้วเรื่องน่าจะจบลง เพราะในเมื่อศาลปกครองตัดสินแล้ว ว่า “การยกเลิกชอบด้วยกฎหมาย เป็นประโยชน์ต่อราชการ” เพราะบริษัทผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่า TOR กำหนด
ซ้ำทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนี้ อาทิ กรมบัญชีการ กระทรวงการคลัง อัยการสูงสุด กพ. ต่างก็ชี้ขาดว่า การยกเลิกเป็นประโยชน์ต่อราชการ และชอบด้วยกฎหมาย

แต่ที่สร้างความงุนงงสงสัย และยากจะสร้างความเข้าใจกับสังคมได้ก็คือ ปรากฏว่าจนขณะนี้ยังคงมีแต่เฉพาะ อนุกรรมการ ปปช. ที่มี ดร.ภักดี โพธิศิริ เป็นประธานเท่านั้น ที่เห็นว่าการยกเลิก ไม่ซื้อจากบริษัทที่มีคุณภาพต่ำกว่า TOR เป็นการกระทำผิด

และพยายามจะเอาผิดกับผู้ที่ยกเลิกการประมูลให้ได้
นั่นคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ และข้าราชการสาธารณสุขร่วม 20 คน

ทั้งๆที่โครงการนี้ได้เสนอเข้า ครม. เพื่อยกเลิกโครงการและส่งคืนงบประมาณทั้ง 900 ล้านบาทไปแล้ว และไม่มีการจัดซื้อจากบริษัทใดๆเลย
ด้วยความไม่เข้าใจในวิธีคิดของ ปปช. ในเรื่องการติดตามคดีต่างๆ เพราะหลายๆเรื่องที่เกิดขึ้นและอยู่ในมือ ปปช. ไม่ได้มีการกระตือรือล้นติดตาม อย่างเช่นบางคดีที่เกี่ยวข้องกับ อดีตข้าราชการระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขเหมือนกัน ถูกร้องใน ปปช.เหมือนกัน คดีกลับไม่มีความคืบหน้า

กระทั่งต่อมาผู้ที่ถูกร้อง ได้รับการแต่งตั้งทางการเมืองให้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเสนาบดี จึงทำให้มีคนตั้งข้อสังเกตุขึ้นมาว่า บุคคลดังกล่าวสามารถจะรับตำแหน่งได้หรือไม่??? เพราะมีคดีค้างอยู่ใน ปปช.
แต่ปรากฏว่า ปปช. อ้อมแอ้มว่า คดีดังกล่าวหมดอายุและปิดคดีไปแล้ว ฉะนั้นสามารถรับตำแหน่งได้

ด้วยเหตุนี้ตลอดมา ปปช. จึงถูกตั้งคำถามจากสังคมอย่างมากมายที่ปล่อยให้มีคดีตกค้างกว่า 8,000 คดีที่ไม่มีความคืบหน้า แต่กับบางคดีนั้นกลับให้ความสำคัญเป็นพิเศษ อย่างเช่นกรณี คอมพิวเตอร์ฉาวที่กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

และที่สำคัญก็คือ มีการตั้งข้อสังเกตุกันอื้ออึงทั้งในกระทรวงสาธารณสุข และในสังคมว่า การที่ ปปช. เห็นชอบให้ ดร. ภักดี โพธิศิริ เป็นประธานอนุ ฯ ปปช. คดีนี้ ทั้งๆที่เคยเป็นอดีตรองปลัดกระทรวง ที่รับผิดชอบ TOR เรื่องนี้มาก่อนนั้น เป็นเรื่องที่เหมาะสมเพียงใด?

รวมทั้งจะไม่เป็นการซึ่งขัดต่อระเบียบ ปปช. ว่าด้วยการไต่สวนของคณะอนุกรรมการไต่สวนหรือ???

นอกจากนี้ ทั้งสังคมไทยล้วนรู้ว่า ดร. ภักดี โพธิศิริ และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ เคยเป็นคู่กรณีกัน กรณีคุณหญิงสุดารัตน์ ไม่แต่งตั้ง ดร.ภักดี เป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข แล้ว ปปช.ไม่เคยรู้เรื่องนี้เลยหรืออย่างไร จึงได้มีการตั้งให้ ดร.ภักดี มาเป็นประธานอนุฯปปช.ในคดีนี้

จริงอยู่แม้ว่า ดร.ภักดี อาจจะบรรลุแล้ว ละวาง ปล่อยวางกับเรื่องในอดีตได้แล้ว แต่กรณีเช่นนี้ ปปช.ก็น่าจะรู้ว่า เป็นเรื่องที่เสี่ยงและหมิ่นเหม่ต่อภาพลักษณ์ของ ปปช.เป็นอย่างยิ่ง หากว่า ดร.ภักดี ยังเป็นคนธรรมดา ที่มีรัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมา โอกาสที่ ปปช. จะถูกติฉินนินทาย่อมมีสูง
อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ในเมื่อศาลปกครองตัดสินแล้วว่า การยกเลิกชอบด้วยกฎหมายและเป็นไปเพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ เหตุใด อนุกรรมการ ปปช. จึงไม่ยุติการไต่สวน

ทั้ง ๆ ที่ พรบ.ปปช. มาตรา 86(2) ระบุไว้ชัดว่า “ไม่ให้ ปปช. ไต่สวนคดีที่ตัดสินแล้ว”

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาเมื่ออนุฯ ปปช. ไม่ยอมหยุด ก็คือทาง บริษัทเอกชนก็ได้ไปยื่นอุธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อเดินหน้าเรียกค่าเสียหาย 1,300 ล้านบาท จากกระทรวงสาธารณสุข

โดยคำร้องอุธรณ์ของบริษัทต่อศาลปกครองสูงสุดสอดคล้องกับคำกล่าวหาของอนุฯ ปปช. และยังใช้พยานคนเดียวกันกับที่อนุฯ ปปช. อ้างด้วย
เรื่องนี้หากบังเอิญเกิดมีขบวนการช่วยเหลือบริษัทเอกชน เพื่อให้ชนะคดีในศาลปกครอง โดยอาศัยการลงมติ ปปช. ว่าการยกเลิกเป็นความผิด เพราะการไม่ยอมหยุดของ อนุฯปปช.

มติของ ปปช. ก็จะกลายเป็นโอกาสให้กลุ่มผู้แสวงหาผลประโยชน์ นำไปยื่นต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อเรียกค่าเสียหาย 1,300 ล้านบาทจากรัฐ ซึ่งก็คือภาษีของประชาชนนั่นเองที่จะต้องสูญเสีย

อย่าทำให้รัฐต้องเสีย ค่าโง่ ซ้ำอีกเลย และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ก็ควรยุติการไต่สวนได้เสียทีแล้ว

อย่าให้ถูกกล่าวหาว่า 2 มาตรฐาน หรือไม่มีมาตรฐานอีกเลย

http://www.bangkok-today.com/node/8609

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น