วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"อนันต์ ดาโลดม"จวกยับโครงการรับจำนำข้าว

"อนันต์ ดาโลดม"จวกยับโครงการรับจำนำข้าว


วันอังคารที่ 9 ตุลาคม 2555 เวลา 19:42 น.นสพ.เดลินิวส์


          "อนันต์ ดาโลดม" จวกยับหากรัฐไม่หยุดทำลายชาติ ปล่อยให้ทุจริตมหาศาลในโครงการรับจำนำยังเดินหน้ารับจำนำต่อ ประเทศเจ๊งหมดภายในปี 2 ปีนี้ ร้อง สตง สำนักงบ ปปช.เข้าตรวจสอบโครงการก่อนให้งบโครงการใหม่
วันนี้ (9 ต.ค.) นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ในฐานะอดีตประธานกรรมาธิการเกษตรวุฒิสภา เปิดเผยถึงปัญหาทุจริตโครงการรับจำนำข้าวว่าตนได้ต่อสู้ให้ยกเลิกเรื่องการ รับจำนำสินค้าเกษตรมาหลายรัฐบาล แต่รัฐบาลชุดนี้ตนสิ้นหวัง และท้อแท้ เพราะคนที่ออกมาเรียกร้องล้วนแต่เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องรับฟัง นำไปแก้ไข กลับถูกโยนให้ไปเป็นศัตรูของชาวนา และอ้างข้างๆคูๆว่าทำเพื่อประโยนช์เกษตรกร แต่เมื่อมีคนอื่นได้ประโยนช์มากว่าชาวนาชาวไร่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้อง เร่งหาทางออก แต่คนในรัฐบาลปลุกระดมให้ออกมาต่อต้านนี่คืออันตรายของประเทศแท้จริง และกำลังทำลายประเทศชาติอีกไม่เกินปี 2 ปีต้องเจ๊งแน่นอน ไม่มีเงินมาใช้ในโครงการต่อไป และเงินสำรองโครงการอื่นๆถูกดูดมาถมให้กับการรับจำนำจนหมด 

            "เรียกร้องให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงบประมาณ สำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบรายรับ รายจ่ายทั้งหมดของโครงการและเปิดเผยให้สาธารณะชนรับทราบการดำเนินโครงการ ทั้งหมดของรัฐบาล ว่ามีกำไร ขาดทุนเท่าไหร่ ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับรัฐบาลในการนำไปใช้จ่ายโครงการรับจำนำข้าวนาปีและ นาปรังรอบใหม่ ในปี 55/56 ใช้วงเงินเกือบ 2 แสนล้าน หากรวมปี 54/55 ด้วยรัฐบาลใช้เงิน กว่า 5 แสนล้าน แต่การชี้แจงของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่น่าเชื่อว่าผู้รับผิดชอบบ้านเมือง ทำงานเกี่ยวข้องคนทั้งประเทศ ไม่ยอมรับความเห็นจากหลายภาคส่วนที่มองเห็นว่าประเทศชาติเสียประโยนช์ โดยรัฐบาลพยายามบิดเบือนว่าผู้ที่มาคัดค้านไม่เห็นอกเห็นใจชาวนา โดยออกมาปลุกเร้าให้ชาวนาลุกฮือเพื่อให้ชาวนาเป็นตัวประกันเพื่อให้โครงการ นี้ยกเลิกไม่ได้"นายอนันต์ กล่าว

            อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลจะเดินหน้าต่อ ต้องรู้ปริมาณข้าวที่แท้จริงในสต็อก ตนทราบมาว่ามีการประมูลข้าวแล้วเอามาขายในประเทศแล้วหลายหมื่นตัน ซึ่งหากทำจริงผิดกฏหมายร้ายแรงต้องตัดสิทธิบริษัทนั้นห้ามทำธุรกรรมกับรัฐ อีกต่อไป  และต้องป้องกันรับจำนำข้ามเขต ป้องกันทรุจิต เป็นเรื่องใหญ่มากที่ต้องทำจริงจังไม่ใช่ไปเอารายเล็กๆน้อยมาแสดง 

           "จริงอยู่ชาวนามีปัญหา ในเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงก็ควรไปดูจุดนี้ จัดหาพันธุ์ข้าว ช่วยเหลือลดค่าปุ่ย ดูแลดอกเบี้ยเงินกู้ชาวนาไม่ต้องเสียเลย  ปรับปรุงระบบชลประทาน มีวิธีการอีกมากมายที่พัฒนาช่วยชาวนาอยู่ได้ยั่งยืนและได้ประโยชน์ตกกับ ชาวนาแน่นอนไม่ตกหล่นไปให้พ่อค้า โรงสี เจ้าของโกดัง ที่ได้ประโยนช์มหาศาล ปัญหาคือตัวเลขการส่งออกไม่มีใครทราบ ถ้ามีการส่งออกจริงตัวเลขจากกรมศุลากร ข้อมูลใช้เรือบริษัทไหน วงการข้าวรู้หมด ว่าสิ่งที่รัฐบาลพูดมาเป็นตัวเลขมาได้อย่างไร ฝ่ายเอกชนไปดูข้อมูลไม่มี ในสต็อกไม่มีข้าวเชื่อว่ามีข้าวลมเยอะ จ่ายเงินตามใบประทวน ข้าวไม่มี เอาข้าวราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้าน ลาว เขมรมาสวมสิทธิจำนำในไทย ซื้อมาตันละ 5-6 พันบาทจ ตนรับประกันว่ามีการทุจริตมหาศาล รัฐบาลต้องแก้ไขให้ได้ก่อนเดินหน้าต่อไป" นายอนันต์ กล่าว

-------------------------------
แต่ขอโทษ อนันต์  ดาโลดม   ย้อนไปดูกำพืดพฤติกรรมตัวเองก่อนนะ... 

เลขเสร็จ 309/2526

เรื่อง  ผู้ถูกลงโทษทางวินัยที่จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติ ล้างมลทิน ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526 (กรณีนายอนันต์ ดาโลดม)

                                         ---------

           กรมส่งเสริมการเกษตรมีหนังสือ ลับ ที่ กส.1002/72 ลงวันที่ 21  เมษายน 2526  ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ความว่า  เนื่องจากกรมส่งเสริม การเกษตรได้มีคำสั่งที่ 1035/2525 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2525 ลงโทษภาคทัณฑ์ นายอนันต์ ดาโลดม ผู้อำนวยการกองพัฒนาการบริหารงานเกษตร ฐานกระทำผิดอัน ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วตามมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 เพราะได้กระทำอนาจารต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525  และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาเห็นชอบกับการสั่ง ลงโทษดังกล่าว โดยได้รับทราบการลงโทษภาคทัณฑ์แล้วตามนัยมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518

          แต่ต่อมาเมื่อกรมส่งเสริมการเกษตรได้รายงานการสั่งลงโทษไปยังสำนักงาน ก.พ.  สำนักงาน ก.พ.ได้มีหนังสือ ลับ ที่ สร.0711/ล 90 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2526 แจ้งว่า  ก.พ.เห็นว่าการกระทำของนายอนันต์ ดาโลดม มีมูลเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามมาตรา 81 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 

          การที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษ
นายอนันต์ ดาโลดม เพียงภาคทัณฑ์นั้นยังไม่เหมาะสมกับความผิดและไม่ได้มาตรฐานระดับโทษ  แต่เมื่อเรื่องนี้ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามนัยมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518  ก.พ. จึงลงมติให้รายงานนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 เพื่อพิจารณาและสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนนายอนันต์ ดาโลดม ฐานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ต่อไป ซึ่งปรากฏว่านายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการตามมติของก.พ.แล้ว  จึงขอให้ดำเนินการตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ต่อไป

          แต่โดยที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526 ได้มีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2526 และปรากฏว่า ผู้ถูกลงโทษรายนี้ได้กระทำผิดก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 กล่าวคือวันเกิดเหตุได้แก่ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2525 และได้ถูกลงโทษภาคทัณฑ์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2525 กรมส่งเสริมการเกษตรจึงขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นว่า ผู้ถูกลงโทษรายนี้จะได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ หรือไม่  และกรมส่งเสริมการเกษตรจะต้องดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่สำนักงาน ก.พ.แจ้งมาหรือไม่

          คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 2) ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าวแล้วมีความเห็นว่า  การที่นายอนันต์ ดาโลดม ได้กระทำผิดวินัยในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 และกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีคำสั่งให้ลงโทษภาคทัณฑ์ในการกระทำผิดนั้นไปแล้วเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2525  ย่อมถือได้ว่านายอนันต์ ฯ เป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2525 และได้ ถูกลงโทษก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ ใช้บังคับ*(1) จึงได้รับการล้างมลทิน ตามนัยมาตรา 5*(2) แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทิน ฯ ด้วย  เมื่อนายอนันต์ ฯ ได้รับ

-----------------------------------------------------------------

     *(1) พระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2526 ใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2526

     *(2) มาตรา 5  ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2525 และได้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  รวมทั้งบรรดาผู้กระทำผิดวินัยที่ได้รับนิรโทษกรรมก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2525 แล้ว ไม่ว่าจะได้มีการสอบสวนทางวินัยแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยหรือมิได้กระทำผิดทางวินัย แล้วแต่กรณี

          การล้างมลทินแล้วเช่นนี้  กฎหมายได้บัญญัติรับรองผลของการล้างมลทินไว้ว่า "ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย" ฉะนั้น แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะได้มีคำสั่งให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนายอนันต์ ฯ ฐานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังปรากฏตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร.0711/ล 90 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2526 ที่ได้แจ้งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบก็ตาม ก็ไม่มีผล ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจดำเนินการประการใด ๆ เพื่อลงโทษ นายอนันต์ ฯ ได้อีกต่อไป

                                                      (ลงชื่อ)  อมร จันทรสมบูรณ์

                                                      (นายอมร จันทรสมบูรณ์)

                                                 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น