วิพากษ์นโยบายของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บางหัวข้อ
ในการแถลงที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 30 ธ.ค. 2551
โดย ชัด
ไหนๆ ก็ไหนๆ ละนะ ในที่สุดรัฐบาลเทพประทาน (ฉายาที่สื่อมวลชนตั้งให้) ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็สามารถใช้ชั้นเชิงที่เหนือกว่ากลุ่มประท้วงเสื้อแดง ดอดไปแถลงนโยบายที่กระทรวงต่างประเทศได้สำเร็จ
ถึงแม้ว่านโยบายที่แถลงจะเป็นเพียงกรอบกว้างๆ ว่ารัฐบาลนี้มีหลักการที่จะบริหารประเทศอย่างไรบ้าง นโยบายจำนวนมากเขียนไว้เป็นเหมือนดั่งสูตรสำเร็จ (อันนี้หมายถึงรัฐบาลอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะรัฐบาลประชาธิปัตย์) และด้วยปัจจัยเสริม ปัจจัยแทรก และสถานการณ์เฉพาะหน้าต่างๆ ก็คงจำต้องยอมรับโดยอนุโลมว่านโยบายยืดยาวจะได้รับการปฏิบัติ และสานต่อไม่ทั้งหมด
ในที่นี้ผมจึงหยิบเอาเพียงบางข้อมาวิพากษ์ ในส่วนที่ใจผมอยากให้ทำ และอยากให้เป็น โดยอาศัยสื่อนี้เป็นเวทีสาธารณะเผยแพร่เพื่อว่าผู้ที่เห็นคล้าย เห็นค้าน จะเสริม จะคาน จะต่อยอด จะตัดตอน กันให้เป็นเสียงสะท้อนไปถึงรัฐบาลใหม่ เก็บไปคิดพิจารณา มากบ้างน้อยบ้าง แล้วที่สุดก่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนได้บ้างก็ยังดี
ผมใช้คำว่าวิพากษ์เพราะรู้ดีว่าคำวิจารณ์ของผมออกไปในทางติติงเสียมากกว่า ด้วยนึกว่าหากจะพยายามทำให้ติกับชมเท่ากัน ครึ่งหนึ่งในส่วนของการชมก็จะไม่เกิดประโยชน์ในการปรับปรุง ผมจึงยินดีเป็นผู้ร้ายจุดเล็กๆ ท่ามกลางจุดต่างๆ ที่เรียกว่าประชากรไทยหลายสิบล้าน เสนอบทวิพากษ์นี้
ในเบื้องต้นของการแถลงนโยบายเป็นการเสนอตัวแก้ปัญหา และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ที่ได้รับความฟกช้ำมามากจากวิกฤติการเมืองในประเทศ และกระแสเศรษฐกิจตกต่ำจากระบบสากล ซึ่งไม่ว่าขั้วไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาลแล้วไม่จับเอามาเป็นหัวใจก็ถือได้ว่าฆ่าตัวตาย จึงขอข้ามไปยังบางข้อปลีกย่อย ดังนี้
1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
ข้อนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนมาก เพราะความเสียหายได้เกิดต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการขนส่งกับต่างประเทศของไทยอย่างมากเมื่อมีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยกลุ่มการเมืองภาค เอกชนที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรฯ จนกระทั่งมีนานาชาติเรียกร้องให้ดำเนินคดีตามกฏหมายต่อกลุ่มดังกล่าว
รัฐบาลน่าจะพิจารณาดำเนินการต่อคำเรียกร้องเพื่อเป็นมาตรฐานให้นานาประเทศเกิดความไว้วางใจ ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นประโยชน์แก่พรรคประชาธิปัตย์ในเชิงกดดันให้ส.ส.กลุ่มหนึ่งที่เคยร่วมรัฐบาลเดิมตัดสินใจเปลี่ยนขั้วมาสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังอยู่ภายใต้และในกรอบของระเบียบกฏหมาย (Rule of Law)
ข้อสำคัญการพิจารณาดำเนินการจะต้องกระทำโดยด่วนที่สุด ไม่ใช่รอให้ครบสามปีตามกำหนดที่จะดำเนินนโยบายอื่นๆ ให้แล้วเสร็จ หรือถ้าหากทำนิ่งเฉยเป็นทองไม่รู้ร้อนรัฐบาลนี้ก็จะถูกมองว่าปากว่าตาขยิบ หรือดีแต่พูด ไม่คิดทำ เป็นผลกระทบไปถึงการดำเนินนโยบายอื่นๆ โดยมีการเปรียบเทียบกับในอดีตที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรม ชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว
ข้อนี้เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลนี้ส่งเสริม “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างเต็มที่ถึงขั้นที่จะจัดงบประมาณสนับสนุนให้อย่างเป็นรากเป็นฐาน และมั่นคง (Concrete) หากแต่ว่าในการปฏิบัติใช้หลักการดังกล่าวนี้ยังมิได้มีการจำกัดความและนิยามลักษณะความ “พอเพียง” ให้ชัดเจนและเป็นสากล (Universal) ถ้วนทั่วทุกส่วนของสังคมว่า ขอบเขตของความพอเพียงที่เป็นมาตรฐานกลางอยู่ตรงไหน อาทิ
ความพอเพียงสำหรับชาวไร่ชาวนาในชนบท และผู้ใช้แรงงาน รับจ้างขั้นต่ำ คือการที่ครอบครัวมีอาหารรับประทานสามมื้อ ลูกหลานได้รับการศึกษา ได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreations) จากโทร ทัศน์เครือข่ายของรัฐ และมหรศพเอกชนที่ไปเปิดแสดงเป็นรายสะดวก ได้รับบริการสื่อสารจากโทรศัพท์ประจำหมู่บ้าน คมนาคมจากรถเมล์สองแถว รถไฟ รถบัส หรือเป็นเจ้าของรถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ ตามอัตตภาพ ขณะที่สิ่งฟุ่มเฟือยเกินความพอเพียง อาจจะเป็นการมีโทรศัพท์มือถือส่วนตัว เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋ง และติดตั้งโทรทัศน์ตามสาย (Cable) หรือใช้จานดาวเทียม เป็นต้น
ส่วนความพอเพียงของคนในเมือง ในกรุงเทพฯ จะเป็นการกินอยู่ประจำวันจากการซื้อหาอาหารสำเร็จรูปจากซูเปอร์มาร์เก็ต หรือจากร้านค้าประเภทแฟรนไชส์ ไม่ว่า ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว แม็คดอแนลด์ เคเอฟซี สุกี้เอ็มเค ติ่มซั้มร้านเทคเอ๊าท์ สื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ คมนาคมด้วยรถเมล์ติดแอร์ รถไฟฟ้าบีทีเอส รวมทั้งขับรถส่วนตัวยี่ห้อเกาหลี ญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในประเทศไทย ในครอบครัวมีคอมพิวเตอร์เดสท้อปหรือแล้ปท้อปใช้ หาความบันเทิงจากโทรทัศน์สมาชิกตามสาย หรือไปชมภาพยนตร์ตามโรงฉายที่มีเกลื่อนกลาด โดยที่สิ่งฟุ่มเฟือยเกินพอเพียงของคนในเมืองจะเป็นการกินอาหารภัตตาคารโต๊ะจีน ปลาดิบญี่ปุ่น หรืออิตาเลี่ยน เป็นนิจสิน ชอบการเดินทางแบบส่วนตัวโดยรถชั้นดี เช่น บีเอ็ม โฟล์ค เบ๊นซ์ และรถไฮเอ็นด์ทั้งหลาย เพราะถึงแม้เงินเดือนแค่เกือบๆ สองหมื่นแต่ว่ารสนิยมสามแสน
เหล่านี้เป็นตัวอย่างแห่งการลักลั่นในหลักการพอเพียงที่มีการวิพากษ์วิจารณ์มาแล้วว่า ความพอเพียงของคนที่ออกมาเรียกร้อง (นักวิชาการ บุคคลชั้นนำ และผู้อาวุโส ของประเทศ) กับของผู้ที่ถูกเรียกร้อง (ชาวบ้าน และผู้ใช้แรงงาน) นั้นก่อให้เกิดความรู้สึกเอารัดเอาเปรียบ และยังไม่มีความพยายามคลี่คลาย หรือมีข้อเสนอในการปรับให้กลมกลืน
ดังนั้นรัฐบาลมีวาระจำเป็นก่อนอื่นในการกำหนดมาตรฐานกลางของความพอเพียง เพื่อขจัดความรู้สึกที่ว่าเป็นการกดดันจากชนชั้นสูงแก่คนชั้นต่ำให้หมดไปเสียก่อน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง
อันนี้จัดว่าเป็นการเพิ่มเติมของใหม่เข้าไปในนโยบายการศึกษา คือเพิ่มการบริการเรียนฟรีจาก ๙ ปี เป็น ๑๕ ปี นับว่ามากกว่ามาตรฐานสากลที่มักให้เพียง ๑๒ ปี หากรัฐบาลจัดทำได้อย่างรวดเร็วภายในปีแรก และสามารถคงมาตรฐานไว้อย่างราบรื่นไปอีกตลอดสามปีได้ จะเป็นผลงานน่าชื่นชมทีเดียว
เว้นแต่ ตลอดเวลาเหล่านี้มิได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพเปลี่ยน แปลง และเป็นไปของอารยธรรมโลก หรือกลับยิ่งมีการกำหนดหลักสูตรให้มีลักษณะจำกัดเฉพาะตัวของปรัชญา วัฒนธรรม และประเพณีไทย สถานเดียวเท่านั้น ก็จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมสังคมแบบเก็บตัว (Isolation) อันจะก่อปัญหาแก่อนุชนของชาติในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมโลกได้ในภายหน้า ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงไปถึงหัวข้อต่อไป
2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูก ต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ สินของประชาชนในบริเวณชายแดน
นี่เป็นข้อที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะยังไม่ทันที่รัฐบาลจะได้แถลงนโยบายอย่างเป็นทางการ ว่าที่รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยคำเป็นการดูหมิ่นดูแคลนผู้นำประเทศเพื่อนบ้านเสียแล้ว แม้จะทำการแถลงแก้ตัวในเวลาต่อมาก็มิได้หมายความว่าจะสามารถลบล้างความขุ่นมัวที่เกิดขึ้นแล้วไปได้โดยง่าย อีกทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศท่านนี้เคยมีบทบาทร่วมกิจกรรมการเมืองนอกระบบกับกลุ่มประท้วงที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรฯ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนต่างประเทศมากมาย รวมทั้งการให้สัมภาษณ์พล่อยๆ เรื่องการปิดสนามบินเป็นของสนุก นั้นได้สร้างรอยด่างขึ้นแล้ว การแก้ตัวน้ำขุ่นๆ ในเวลาต่อมาไม่สามารถลบล้างได้เช่นกัน
จึงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีจะต้องกำหลาบสั่งสอนรัฐมนตรีลูกทีมให้รู้จักมารยาท และสมบัติผู้ดีในชุมชนนานาชาติว่าการจะพูดจะจาขณะตนเองดำรงฐานะตำแหน่งตัวแทนของประเทศนั้นต้องคิดมาก่อนนานๆ จนได้ข้อสรุปเหมาะสมแล้วจึงค่อยพูด มิใช่นึกจะพูดอะไรก็พูดออกไปเหมือนพูดกับข้าทาสบริวารในบ้าน ทางที่ดีควรมีการแถลงในเชิงขออภัยต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นการลบความขุ่นมัวไปเสียชั้นหนึ่ง
(หมายเหตุ โปรดอ่านคำวิจารณ์สำหรับ ข้อ ๗.๑ และ ๗.๘ ประกอบกัน)
3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้
3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย
ทั้งสองข้อนี่เชื่อว่านี่เป็นนโยบายประชานิยมอันมาจากข้อแม้ของกลุ่มเพื่อนเนวินในการมาร่วม
สังฆกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์ แม้นว่าฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยสมบูรณ์ (หรือกลุ่มเสื้อแดง) จะเย้ยหยันว่าเป็นนโยบายเดิมของรัฐบาลทักษิณ ก็นับว่านายอภิสิทธิ์มีความมั่นคงต่อคำประกาศของตนเองที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของทุกฝ่าย ด้วยการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่าไม่ถือเขาถือเรา นโยบายไหนเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็จะทำ
ได้แต่หวังว่าเมื่อมาถึงการกระทำ รัฐบาลนี้จะได้ลงมือกระทำอย่างจริงจังจนก่อเกิดมรรคผลต่อประชาชนเช่นที่รัฐบาลชุดที่เป็นต้นคิดเรื่องนี้ได้กระทำมาแล้ว ขออย่าให้เป็นเพียงการรับปากให้สามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วเป็นพอ
7.1 พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีและการเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาค โดยส่งเสริมความร่วมมือในทุกสาขากับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ และเร่งแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติวิธีบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
7.8 สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและการเข้าถึงระดับประชาชน โดยส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องและความเชื่อมั่นของนานาประเทศ ต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และสนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนกับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศและประชาชนไทย
สองข้อข้างต้นมีคำวิพากษ์เดียวกับข้อ ๒.๓ โดยเพิ่มเติมในกรณีเขาพระวิหารที่พรรคประชาธิปัตย์เคยประกาศว่าจะต้องเอาเขาพระวิหารคืนมาเป็นของไทย ซึ่งเป็นคำประกาศที่ขาดความรับผิดชอบต่อคำพิพากษาศาลโลก ระเบียบกฎหมายระหว่างประเทศ และมารยาทระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการประกาศเพื่อปลุกเร้าระดมความรู้สึกของมวลชน (อย่างน้อยในหมู่ผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ) อันมีผลลัพท์เพียงเป็นแรงกดดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศนพดล ปัทมะ ต้องลาออกไป
มาบัดนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนและจัดตั้งรัฐบาลสมหวังแล้ว มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนโดยตรง (Accountability) ควรที่จะหวนไปพิจารณาคำประกาศเสียใหม่ว่าไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และความเป็นไปได้ หากมีเจตนาพัฒนาสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านจริงสมดังนโยบายที่แถลงออกมา ก็ควรที่จะต้องปรับท่าทีเสียใหม่ อย่างน้อยการขอโทษผู้นำประเทศเพื่อนบ้านต่อการกระทำของลูกทีมรัฐบาล ยอมรับเสียว่าเป็นความเฃลาเบาปัญญาเล็กน้อย ก็น่าจะสร้างบรรยากาศมิตรภาพขึ้นมาได้บ้าง
8.1.8 ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะ สมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
อันนี้มองในมิติทางการเมืองไทยที่เป็นมา จัดว่าเป็นเพียงนโยบายเอาใจข้าราชการ อันเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ปฏิบัติมาในทุกสมัยที่ได้เป็นรัฐบาลเพียงสองสามครั้ง และยังไม่เคยบรรลุผลถึงที่สุดก่อประโยชน์มหาศาลต่อประเทศและประชาชน (หากจะเทียบกับนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย) เหมือนดังว่าการย้ำปรัชญาการเมืองการปกครองของพรรคประชาธิปัตย์ว่าอยู่บนรากฐานของรัฐข้าราชการอีกครั้งหนึ่งนี้ เป็นการเสนอขอแก้ตัวอีกครั้งเฉกเช่นการเสนอนโยบายจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติที่เคยเสนอไว้ในรัฐบาลชวน ๑ แต่ไม่ได้รับการแตะต้อง หรือเริ่มลงมือดำเนินการ
8.2.1 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าสมัยและเปิดช่องให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบหรือทำให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน รวมทั้งออกกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ขยายและยกเลิกอายุความในคดีอาญาบางประเภทและคดีทุจริต ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับอย่างจริงจัง และสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น ส่งเสริมคุณธรรมคู่ความรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อปลูกฝังค่านิยม “คนไทยต้องไม่โกง”
ข้อนี้จะว่ามาจากหลักการข้อหนึ่งในการเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ ก็คงไม่ผิด ข้อสำคัญการปลูกฝังค่านิยม “ไม่โกง” นั้นไม่ใช่ของใหม่ การมีคุณธรรมในระดับการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนพลเมืองธรรมดาไม่เคยมีปัญหา แต่ปัญหาที่ผ่านมาอยู่ที่เกิดมาตรฐานซ้อนหลายชั้นในหมู่บุคคล และกลุ่มคนชั้นนำของประเทศ จนคุณธรรมความไม่โกงนั้นมีความแตกต่างในนิยามของผู้ได้อำนาจกับผู้เสียอำนาจ หรือต่างกันระหว่างผู้ชนะและผู้แพ้ทางการเมือง
ยกตัวอย่างคดีทุจริตที่ดินรัชดาของทักษิณกับคดีทุจริตที่ดิน สปก-๔๐๑ ของเทพเทือก จะถือเป็นการโกง หรือไม่โกงเหมือนกันไหม บางท่านอาจอ้างว่าเรื่องที่ดินรัชดาชั่วร้ายกว่าเพราะกระทำโดยผู้ถือตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เรื่อง สปก-๔๐๑ เป็นเพียงเกี่ยวพันกับระดับเลขาธิการพรรคเท่านั้น แค่นี้ก็แสดงถึงมาตรฐานซ้อนแล้ว
ดังนั้นการจะกำหนดนโยบายในเรื่องจริยธรรม ในความเป็นจริงแล้วมักเป็นการลูบหน้าปะจมูกเสมอ ที่ผ่านมาก็เป็นที่รู้เข้าใจกันดีว่าต้องไม่โกงกันทุกผู้ทุกนามอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนไทย คนเจ๊ก คนแขก คนลาว คนญวน หรือคนพม่า แต่ว่าการโกง การทุจริตที่เกิดขึ้นทั้งในวงการเมือง และวงราชการ เป็นวิธีที่ไม่ได้เรียกว่า “โกง” โดยตรง หากเป็นเรื่องของการ “กินตามน้ำ” บ้าง “ผลประโยชน์ต่างตอบแทน” บ้าง แม้กระทั่งความ “ได้เปรียบเพราะเส้นสาย”
การกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่าคนไทยต้องไม่โกง จึงเป็นเพียงการเล่นโวหาร (ที่พวกโจมตีมักบอกว่าเป็นความถนัดของประชาธิปัตย์) และเป็นเรื่องฉาบฉวยเสียนี่กระไร
ในการแถลงที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 30 ธ.ค. 2551
โดย ชัด
ไหนๆ ก็ไหนๆ ละนะ ในที่สุดรัฐบาลเทพประทาน (ฉายาที่สื่อมวลชนตั้งให้) ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็สามารถใช้ชั้นเชิงที่เหนือกว่ากลุ่มประท้วงเสื้อแดง ดอดไปแถลงนโยบายที่กระทรวงต่างประเทศได้สำเร็จ
ถึงแม้ว่านโยบายที่แถลงจะเป็นเพียงกรอบกว้างๆ ว่ารัฐบาลนี้มีหลักการที่จะบริหารประเทศอย่างไรบ้าง นโยบายจำนวนมากเขียนไว้เป็นเหมือนดั่งสูตรสำเร็จ (อันนี้หมายถึงรัฐบาลอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะรัฐบาลประชาธิปัตย์) และด้วยปัจจัยเสริม ปัจจัยแทรก และสถานการณ์เฉพาะหน้าต่างๆ ก็คงจำต้องยอมรับโดยอนุโลมว่านโยบายยืดยาวจะได้รับการปฏิบัติ และสานต่อไม่ทั้งหมด
ในที่นี้ผมจึงหยิบเอาเพียงบางข้อมาวิพากษ์ ในส่วนที่ใจผมอยากให้ทำ และอยากให้เป็น โดยอาศัยสื่อนี้เป็นเวทีสาธารณะเผยแพร่เพื่อว่าผู้ที่เห็นคล้าย เห็นค้าน จะเสริม จะคาน จะต่อยอด จะตัดตอน กันให้เป็นเสียงสะท้อนไปถึงรัฐบาลใหม่ เก็บไปคิดพิจารณา มากบ้างน้อยบ้าง แล้วที่สุดก่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนได้บ้างก็ยังดี
ผมใช้คำว่าวิพากษ์เพราะรู้ดีว่าคำวิจารณ์ของผมออกไปในทางติติงเสียมากกว่า ด้วยนึกว่าหากจะพยายามทำให้ติกับชมเท่ากัน ครึ่งหนึ่งในส่วนของการชมก็จะไม่เกิดประโยชน์ในการปรับปรุง ผมจึงยินดีเป็นผู้ร้ายจุดเล็กๆ ท่ามกลางจุดต่างๆ ที่เรียกว่าประชากรไทยหลายสิบล้าน เสนอบทวิพากษ์นี้
ในเบื้องต้นของการแถลงนโยบายเป็นการเสนอตัวแก้ปัญหา และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ที่ได้รับความฟกช้ำมามากจากวิกฤติการเมืองในประเทศ และกระแสเศรษฐกิจตกต่ำจากระบบสากล ซึ่งไม่ว่าขั้วไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาลแล้วไม่จับเอามาเป็นหัวใจก็ถือได้ว่าฆ่าตัวตาย จึงขอข้ามไปยังบางข้อปลีกย่อย ดังนี้
1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อยู่แล้ว เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
ข้อนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนมาก เพราะความเสียหายได้เกิดต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการขนส่งกับต่างประเทศของไทยอย่างมากเมื่อมีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง โดยกลุ่มการเมืองภาค เอกชนที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรฯ จนกระทั่งมีนานาชาติเรียกร้องให้ดำเนินคดีตามกฏหมายต่อกลุ่มดังกล่าว
รัฐบาลน่าจะพิจารณาดำเนินการต่อคำเรียกร้องเพื่อเป็นมาตรฐานให้นานาประเทศเกิดความไว้วางใจ ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นประโยชน์แก่พรรคประชาธิปัตย์ในเชิงกดดันให้ส.ส.กลุ่มหนึ่งที่เคยร่วมรัฐบาลเดิมตัดสินใจเปลี่ยนขั้วมาสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังอยู่ภายใต้และในกรอบของระเบียบกฏหมาย (Rule of Law)
ข้อสำคัญการพิจารณาดำเนินการจะต้องกระทำโดยด่วนที่สุด ไม่ใช่รอให้ครบสามปีตามกำหนดที่จะดำเนินนโยบายอื่นๆ ให้แล้วเสร็จ หรือถ้าหากทำนิ่งเฉยเป็นทองไม่รู้ร้อนรัฐบาลนี้ก็จะถูกมองว่าปากว่าตาขยิบ หรือดีแต่พูด ไม่คิดทำ เป็นผลกระทบไปถึงการดำเนินนโยบายอื่นๆ โดยมีการเปรียบเทียบกับในอดีตที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรม ชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว
ข้อนี้เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลนี้ส่งเสริม “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างเต็มที่ถึงขั้นที่จะจัดงบประมาณสนับสนุนให้อย่างเป็นรากเป็นฐาน และมั่นคง (Concrete) หากแต่ว่าในการปฏิบัติใช้หลักการดังกล่าวนี้ยังมิได้มีการจำกัดความและนิยามลักษณะความ “พอเพียง” ให้ชัดเจนและเป็นสากล (Universal) ถ้วนทั่วทุกส่วนของสังคมว่า ขอบเขตของความพอเพียงที่เป็นมาตรฐานกลางอยู่ตรงไหน อาทิ
ความพอเพียงสำหรับชาวไร่ชาวนาในชนบท และผู้ใช้แรงงาน รับจ้างขั้นต่ำ คือการที่ครอบครัวมีอาหารรับประทานสามมื้อ ลูกหลานได้รับการศึกษา ได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreations) จากโทร ทัศน์เครือข่ายของรัฐ และมหรศพเอกชนที่ไปเปิดแสดงเป็นรายสะดวก ได้รับบริการสื่อสารจากโทรศัพท์ประจำหมู่บ้าน คมนาคมจากรถเมล์สองแถว รถไฟ รถบัส หรือเป็นเจ้าของรถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ ตามอัตตภาพ ขณะที่สิ่งฟุ่มเฟือยเกินความพอเพียง อาจจะเป็นการมีโทรศัพท์มือถือส่วนตัว เป็นเจ้าของรถยนต์เก๋ง และติดตั้งโทรทัศน์ตามสาย (Cable) หรือใช้จานดาวเทียม เป็นต้น
ส่วนความพอเพียงของคนในเมือง ในกรุงเทพฯ จะเป็นการกินอยู่ประจำวันจากการซื้อหาอาหารสำเร็จรูปจากซูเปอร์มาร์เก็ต หรือจากร้านค้าประเภทแฟรนไชส์ ไม่ว่า ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว แม็คดอแนลด์ เคเอฟซี สุกี้เอ็มเค ติ่มซั้มร้านเทคเอ๊าท์ สื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ คมนาคมด้วยรถเมล์ติดแอร์ รถไฟฟ้าบีทีเอส รวมทั้งขับรถส่วนตัวยี่ห้อเกาหลี ญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่ผลิตในประเทศไทย ในครอบครัวมีคอมพิวเตอร์เดสท้อปหรือแล้ปท้อปใช้ หาความบันเทิงจากโทรทัศน์สมาชิกตามสาย หรือไปชมภาพยนตร์ตามโรงฉายที่มีเกลื่อนกลาด โดยที่สิ่งฟุ่มเฟือยเกินพอเพียงของคนในเมืองจะเป็นการกินอาหารภัตตาคารโต๊ะจีน ปลาดิบญี่ปุ่น หรืออิตาเลี่ยน เป็นนิจสิน ชอบการเดินทางแบบส่วนตัวโดยรถชั้นดี เช่น บีเอ็ม โฟล์ค เบ๊นซ์ และรถไฮเอ็นด์ทั้งหลาย เพราะถึงแม้เงินเดือนแค่เกือบๆ สองหมื่นแต่ว่ารสนิยมสามแสน
เหล่านี้เป็นตัวอย่างแห่งการลักลั่นในหลักการพอเพียงที่มีการวิพากษ์วิจารณ์มาแล้วว่า ความพอเพียงของคนที่ออกมาเรียกร้อง (นักวิชาการ บุคคลชั้นนำ และผู้อาวุโส ของประเทศ) กับของผู้ที่ถูกเรียกร้อง (ชาวบ้าน และผู้ใช้แรงงาน) นั้นก่อให้เกิดความรู้สึกเอารัดเอาเปรียบ และยังไม่มีความพยายามคลี่คลาย หรือมีข้อเสนอในการปรับให้กลมกลืน
ดังนั้นรัฐบาลมีวาระจำเป็นก่อนอื่นในการกำหนดมาตรฐานกลางของความพอเพียง เพื่อขจัดความรู้สึกที่ว่าเป็นการกดดันจากชนชั้นสูงแก่คนชั้นต่ำให้หมดไปเสียก่อน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง
อันนี้จัดว่าเป็นการเพิ่มเติมของใหม่เข้าไปในนโยบายการศึกษา คือเพิ่มการบริการเรียนฟรีจาก ๙ ปี เป็น ๑๕ ปี นับว่ามากกว่ามาตรฐานสากลที่มักให้เพียง ๑๒ ปี หากรัฐบาลจัดทำได้อย่างรวดเร็วภายในปีแรก และสามารถคงมาตรฐานไว้อย่างราบรื่นไปอีกตลอดสามปีได้ จะเป็นผลงานน่าชื่นชมทีเดียว
เว้นแต่ ตลอดเวลาเหล่านี้มิได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพเปลี่ยน แปลง และเป็นไปของอารยธรรมโลก หรือกลับยิ่งมีการกำหนดหลักสูตรให้มีลักษณะจำกัดเฉพาะตัวของปรัชญา วัฒนธรรม และประเพณีไทย สถานเดียวเท่านั้น ก็จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมสังคมแบบเก็บตัว (Isolation) อันจะก่อปัญหาแก่อนุชนของชาติในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมโลกได้ในภายหน้า ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงไปถึงหัวข้อต่อไป
2.3 เสริมสร้างสันติภาพของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจและการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูก ต้องตามข้อตกลงและสนธิสัญญา ประสานงานและร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ สินของประชาชนในบริเวณชายแดน
นี่เป็นข้อที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะยังไม่ทันที่รัฐบาลจะได้แถลงนโยบายอย่างเป็นทางการ ว่าที่รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยคำเป็นการดูหมิ่นดูแคลนผู้นำประเทศเพื่อนบ้านเสียแล้ว แม้จะทำการแถลงแก้ตัวในเวลาต่อมาก็มิได้หมายความว่าจะสามารถลบล้างความขุ่นมัวที่เกิดขึ้นแล้วไปได้โดยง่าย อีกทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศท่านนี้เคยมีบทบาทร่วมกิจกรรมการเมืองนอกระบบกับกลุ่มประท้วงที่เรียกตนเองว่าพันธมิตรฯ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนต่างประเทศมากมาย รวมทั้งการให้สัมภาษณ์พล่อยๆ เรื่องการปิดสนามบินเป็นของสนุก นั้นได้สร้างรอยด่างขึ้นแล้ว การแก้ตัวน้ำขุ่นๆ ในเวลาต่อมาไม่สามารถลบล้างได้เช่นกัน
จึงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีจะต้องกำหลาบสั่งสอนรัฐมนตรีลูกทีมให้รู้จักมารยาท และสมบัติผู้ดีในชุมชนนานาชาติว่าการจะพูดจะจาขณะตนเองดำรงฐานะตำแหน่งตัวแทนของประเทศนั้นต้องคิดมาก่อนนานๆ จนได้ข้อสรุปเหมาะสมแล้วจึงค่อยพูด มิใช่นึกจะพูดอะไรก็พูดออกไปเหมือนพูดกับข้าทาสบริวารในบ้าน ทางที่ดีควรมีการแถลงในเชิงขออภัยต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นการลบความขุ่นมัวไปเสียชั้นหนึ่ง
(หมายเหตุ โปรดอ่านคำวิจารณ์สำหรับ ข้อ ๗.๑ และ ๗.๘ ประกอบกัน)
3.5.1 แก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น การปลูกป่า สร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้านและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ในระดับชุมชน ให้มีกลไกที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพและให้ชุมชนสามารถตัดสินใจและนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนได้
3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย
ทั้งสองข้อนี่เชื่อว่านี่เป็นนโยบายประชานิยมอันมาจากข้อแม้ของกลุ่มเพื่อนเนวินในการมาร่วม
สังฆกรรมกับพรรคประชาธิปัตย์ แม้นว่าฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยสมบูรณ์ (หรือกลุ่มเสื้อแดง) จะเย้ยหยันว่าเป็นนโยบายเดิมของรัฐบาลทักษิณ ก็นับว่านายอภิสิทธิ์มีความมั่นคงต่อคำประกาศของตนเองที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของทุกฝ่าย ด้วยการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่าไม่ถือเขาถือเรา นโยบายไหนเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็จะทำ
ได้แต่หวังว่าเมื่อมาถึงการกระทำ รัฐบาลนี้จะได้ลงมือกระทำอย่างจริงจังจนก่อเกิดมรรคผลต่อประชาชนเช่นที่รัฐบาลชุดที่เป็นต้นคิดเรื่องนี้ได้กระทำมาแล้ว ขออย่าให้เป็นเพียงการรับปากให้สามารถจัดตั้งรัฐบาล ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วเป็นพอ
7.1 พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกมิติและทุกระดับ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีและการเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาค โดยส่งเสริมความร่วมมือในทุกสาขากับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคต่าง ๆ และเร่งแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติวิธีบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
7.8 สร้างความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อประเทศไทยและการเข้าถึงระดับประชาชน โดยส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องและความเชื่อมั่นของนานาประเทศ ต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และสนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนกับประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน รัฐบาล และประชาคมระหว่างประเทศมีทัศนคติในทางบวกต่อประเทศและประชาชนไทย
สองข้อข้างต้นมีคำวิพากษ์เดียวกับข้อ ๒.๓ โดยเพิ่มเติมในกรณีเขาพระวิหารที่พรรคประชาธิปัตย์เคยประกาศว่าจะต้องเอาเขาพระวิหารคืนมาเป็นของไทย ซึ่งเป็นคำประกาศที่ขาดความรับผิดชอบต่อคำพิพากษาศาลโลก ระเบียบกฎหมายระหว่างประเทศ และมารยาทระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการประกาศเพื่อปลุกเร้าระดมความรู้สึกของมวลชน (อย่างน้อยในหมู่ผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ) อันมีผลลัพท์เพียงเป็นแรงกดดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศนพดล ปัทมะ ต้องลาออกไป
มาบัดนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนและจัดตั้งรัฐบาลสมหวังแล้ว มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนโดยตรง (Accountability) ควรที่จะหวนไปพิจารณาคำประกาศเสียใหม่ว่าไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และความเป็นไปได้ หากมีเจตนาพัฒนาสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านจริงสมดังนโยบายที่แถลงออกมา ก็ควรที่จะต้องปรับท่าทีเสียใหม่ อย่างน้อยการขอโทษผู้นำประเทศเพื่อนบ้านต่อการกระทำของลูกทีมรัฐบาล ยอมรับเสียว่าเป็นความเฃลาเบาปัญญาเล็กน้อย ก็น่าจะสร้างบรรยากาศมิตรภาพขึ้นมาได้บ้าง
8.1.8 ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะ สมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการจ้างงานในแต่ละสายอาชีพที่เหมาะสม และตามความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้งการสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิตข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
อันนี้มองในมิติทางการเมืองไทยที่เป็นมา จัดว่าเป็นเพียงนโยบายเอาใจข้าราชการ อันเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ปฏิบัติมาในทุกสมัยที่ได้เป็นรัฐบาลเพียงสองสามครั้ง และยังไม่เคยบรรลุผลถึงที่สุดก่อประโยชน์มหาศาลต่อประเทศและประชาชน (หากจะเทียบกับนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย) เหมือนดังว่าการย้ำปรัชญาการเมืองการปกครองของพรรคประชาธิปัตย์ว่าอยู่บนรากฐานของรัฐข้าราชการอีกครั้งหนึ่งนี้ เป็นการเสนอขอแก้ตัวอีกครั้งเฉกเช่นการเสนอนโยบายจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติที่เคยเสนอไว้ในรัฐบาลชวน ๑ แต่ไม่ได้รับการแตะต้อง หรือเริ่มลงมือดำเนินการ
8.2.1 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าสมัยและเปิดช่องให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบหรือทำให้เกิดประโยชน์ทับซ้อน รวมทั้งออกกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ขยายและยกเลิกอายุความในคดีอาญาบางประเภทและคดีทุจริต ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกระดับอย่างจริงจัง และสนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น ส่งเสริมคุณธรรมคู่ความรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อปลูกฝังค่านิยม “คนไทยต้องไม่โกง”
ข้อนี้จะว่ามาจากหลักการข้อหนึ่งในการเมืองใหม่ของพันธมิตรฯ ก็คงไม่ผิด ข้อสำคัญการปลูกฝังค่านิยม “ไม่โกง” นั้นไม่ใช่ของใหม่ การมีคุณธรรมในระดับการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนพลเมืองธรรมดาไม่เคยมีปัญหา แต่ปัญหาที่ผ่านมาอยู่ที่เกิดมาตรฐานซ้อนหลายชั้นในหมู่บุคคล และกลุ่มคนชั้นนำของประเทศ จนคุณธรรมความไม่โกงนั้นมีความแตกต่างในนิยามของผู้ได้อำนาจกับผู้เสียอำนาจ หรือต่างกันระหว่างผู้ชนะและผู้แพ้ทางการเมือง
ยกตัวอย่างคดีทุจริตที่ดินรัชดาของทักษิณกับคดีทุจริตที่ดิน สปก-๔๐๑ ของเทพเทือก จะถือเป็นการโกง หรือไม่โกงเหมือนกันไหม บางท่านอาจอ้างว่าเรื่องที่ดินรัชดาชั่วร้ายกว่าเพราะกระทำโดยผู้ถือตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เรื่อง สปก-๔๐๑ เป็นเพียงเกี่ยวพันกับระดับเลขาธิการพรรคเท่านั้น แค่นี้ก็แสดงถึงมาตรฐานซ้อนแล้ว
ดังนั้นการจะกำหนดนโยบายในเรื่องจริยธรรม ในความเป็นจริงแล้วมักเป็นการลูบหน้าปะจมูกเสมอ ที่ผ่านมาก็เป็นที่รู้เข้าใจกันดีว่าต้องไม่โกงกันทุกผู้ทุกนามอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนไทย คนเจ๊ก คนแขก คนลาว คนญวน หรือคนพม่า แต่ว่าการโกง การทุจริตที่เกิดขึ้นทั้งในวงการเมือง และวงราชการ เป็นวิธีที่ไม่ได้เรียกว่า “โกง” โดยตรง หากเป็นเรื่องของการ “กินตามน้ำ” บ้าง “ผลประโยชน์ต่างตอบแทน” บ้าง แม้กระทั่งความ “ได้เปรียบเพราะเส้นสาย”
การกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่าคนไทยต้องไม่โกง จึงเป็นเพียงการเล่นโวหาร (ที่พวกโจมตีมักบอกว่าเป็นความถนัดของประชาธิปัตย์) และเป็นเรื่องฉาบฉวยเสียนี่กระไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น