วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กลุ่มไม่เอาสงครามนัดรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังต่อต้านการทำสงคราม

กลุ่มไม่เอาสงครามนัดรวมตัวกันเพื่อแสดงพลังต่อต้านการทำสงคราม
http://www.thairedsweden.com/





มื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่อนุสาวรียชัยสมรภูมิ กลุ่มไม่เอาสงครามนัดรวมตัวกัน
เพื่อแสดงพลังต่อต้านการทำสงครามและเรียกร้อง ให้รัฐบาลจัดการแก้ปัญหา
ภายในประเทศโดยเฉพาะการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงและไม่อยากให้
ประชาชนต้องเสียชีวิตอีก ไม่ว่าจะเป็นสงครามกลางเมืองหรือสงคราม
ชายแดน มติชน



แต่ถ้าไอ้พวก พธม คลั่งชาติที่ กทม มันกระหายสงครามก็ให้มันไปตั้งเวทีชุมนุม
ที่ชายแดนแล้วก็ทำการรบเอง อย่าเอาลูกหลานคนยากจนไปตายแทนพวกมัน



Posted by แดง สวีเดน at 2:40 PM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

อ.ใจ อึ๊งภากรณ์ เสวนา งานรากหญ้าสังคมนิยม Thai Red Sweden (ตอน 2)


Posted by แดง สวีเดน at 12:22 AM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

February 6, 2011



Press conference video in Thai - ประเทศไทย

และศาลอาญาระหว่างประเทศ


Posted by แดง สวีเดน at 10:56 PM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

Somsak Rachso: ปราสาทพระวิหาร เอ็มโอยู 2543 และแผนที่


ปราสาทพระวิหาร เอ็มโอยู 2543 และ แผนที่

โดย พวงทอง ภวัครพันธุ์ เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์
มติชน ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม 2553



จากการประท้วงของกลุ่มชาตินิยมครั้งล่าสุด มีประเด็นสำคัญ
ที่ผู้เขียนต้องการถกเถียงในที่นี้คือกรณี MOU ปี 2543 และ
คำอธิบายของกลุ่มชาตินิยมที่มีต่อแผนที่เจ้าปัญหา



ควรยกเลิก MOU 2543 จริงหรือ?



หนึ่งในข้อเรียกร้องของกลุ่มชาตินิยมคือ ให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศยกเลิก
บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการ
จัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2543 (MOU 2543) ที่ลงนามโดย
 ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รมช. กต.ในขณะนั้น และ นายวาร์ คิม ฮง
ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการชายแดนของกัมพูชา



เหตุผลที่ต้องยกเลิกก็เพราะ MOU 2543 ระบุว่า หนึ่งในเอกสารที่ต้องใช้
ในการปักปันเขตแดนทางบก คือ แผนที่ ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปัน
เขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเ​ศสตาม
อนุสัญญาปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1907 ซึ่งมีความหมาย
รวมถึงแผนที่ที่ทำให้ไทยแพ้คดีปราสาทพระวิหารในปี 2505 หรือที่ฝ่ายไทย
ชอบเรียกว่า แผนที่ 1: 200000  แต่ในที่นี้จะเรียกว่า แผนที่ตอนเขาดงรัก
แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีการปักหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา



เรื่องนี้ดูจะสร้างความตระหนกให้แก่กลุ่มชาตินิยมไม่น้อย เพราะพวกเขายืนยัน
มาโดยตลอดว่า ไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฉบับนี้ (ฉะนั้น ไทยจึงไม่ต้องยอมรับ
คำตัดสินของศาลโลกที่ยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา) แต่ปรากฏว่า
พวกเขาได้ค้นพบว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่พวกเขาช่วยกันอุ้มชู
กลับเป็นผู้ไปทำ MOU ที่แสดงการยอมรับแผนที่เจ้าปัญหาเสียเอง
ฉะนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์จะต้องเลิก MOU โดยด่วนที่สุด



คำถามที่จะต้องถามคือ
  1. ไทยจะอ้างเหตุผลอะไรเพื่อยกเลิก MOU 2543  
  2. การยกเลิกจะทำให้ประเทศไทย ได้และเสีย อะไรบ้าง
ตอบคำถามแรก:



MOU 2543 ไม่มีส่วนใดที่ระบุว่า คู่สัญญาสามารถบอกเลิกหรือเพิกถอนได้
แต่โดยลำพัง ทั้งนี้อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ.1969 ได้กำหนดว่า ในกรณี
หนังสือสัญญาไม่ได้ระบุเรื่องการบอกเลิกหรือเพิกถอน ก็จะกระทำไม่ได้
ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมขั้นพื้นฐานของสนธิสัญญาดังกล่าว



ในกรณีนี้ ไทยจะใช้เหตุผลอะไรเพื่อขอยกเลิก MOU การมาค้นพบภายหลังว่า
แผนที่ที่ใช้ปักปันเขตแดนมีปัญหา ย่อมไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ขั้นพื้นฐาน



ตอบคำถามที่สอง:



หากรัฐบาลอภิสิทธิ์เต้นไปตามแรงกดดันชาตินิยม และตัดสินใจเลิก MOU นี้
สิ่งที่ประเทศไทยจะได้ก็คือ นายกฯ ที่มีคะแนนนิยมที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็คงชั่วครู่
ชั่วคราวเท่านั้น โชคดีที่ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ไม่ใจร้อนเหมือนปีที่แล้ว ที่ด่วน
บอกเลิก MOU การปักปันพื้นที่ไหล่ทวีป กับการให้ความช่วยเหลือสร้างถนน
แก่กัมพูชา



การจะตอบคำถามว่าการยกเลิก MOU 2543 จะทำให้ไทยเสียอะไรบ้าง
จะต้องกลับไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่เจ้าปัญหาชุดนี้เสียก่อน
กล่าวคือ แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการ
ปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับ​ฝรั่งเศสชุดนี้ มีทั้งหมด 11 ตอน (ระวาง)
ครอบคลุมเขตแดนทางบกด้านตะวันออกของไทย ตั้งแต่ลาวลงมาถึง
กัมพูชา (ตอนเขาดงรัก หรือบริเวณปราสาทพระวิหาร เป็น 1 ใน 11 ตอน)
ฉะนั้น แผนที่ชุดนี้จึงไม่ได้ถูกใช้เป็นเอกสารในการปักปันเขตแดนระหว่าง
ไทย-กัมพูชาเท่านั้น แต่ยังถูกใช้ในการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-ลาวด้วย



หากฝ่ายไทยขอยกเลิก MOU 2543 กับกัมพูชา ด้วยเหตุผลว่า
ไทยไม่ยอมรับแผนที่ชุดนี้

ก็อาจกระทบต่อการปักปันเขตแดนที่กระทำร่วมกับลาวด้วย เพราะหาก
ไทยไม่ยอมรับสถานะของแผนที่ชุดนี้ในความสัมพันธ์กับกัมพูชา
แต่หันไปบอกกับลาวว่า ไม่เป็นไรไทยยินดีใช้แผนที่ชุดนี้เพราะมันเป็น
หลักฐานที่ทำให้ไทยได้เปรียบกรณีพิพาท​บ้านร่มเกล้า…..
เหตุผลเช่นนี้ก็คงพิลึกดี



สิ่งที่สังคมไทยควรรับทราบไว้ก็คือ



ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นับแต่ไทยสามารถทำข้อตกลงเพื่อปักปันเขตแดน
กับลาวและกัมพูชาได้ กระบวนการปักปันเขตแดนด้านตะวันออกได้ก้าวหน้า
ไปอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ข้อมูล กต. ระบุว่า เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา
ที่มีความยาวทั้งสิ้น 798 กม. ได้ปักหลักเขตแดนไปแล้ว 603 กม. คือ
ตั้งแต่ช่องสะงำ จ.ศรีษะเกษ–บ้านหาดเล็ก จ.ตราด ส่วนที่ยังไม่ได้ปักหลัก
มีระยะทาง 195 กม. ซึ่งก็คือตอนเขาดงรัก ที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร
และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. นั่นเอง



ในส่วนของพรมแดนไทย-ลาว การปักหมุดเขตแดนทางบกสามารถดำเนินไป
ได้ถึงร้อยละ 96 หรือเท่ากับ 676 กม.จากพื้นที่ทั้งหมด 702 กม. ส่วนที่
ไม่ค่อยคืบหน้าก็คือ บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง (บริเวณบ้านร่มเกล้า)
หากมีการยกเลิก MOU ความพยายามที่เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายช่วยกันผลักดัน
เพื่อยุติ-ป้องกันความขัดแย้งเหนือดินแดนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา…
ย่อมหยุดชะงักลงทันที



อย่างไรก็ตาม คำอธิบายเพียงแค่นี้อาจยังไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มชาตินิยม
ที่มักเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ไทยที่เกี่ยวข้อง.. โง่ .. ไม่ทำการบ้าน… แต่ในกรณี
MOU 2543 เป็นเช่นนั้นจริงหรือ?



สิ่งที่กลุ่มชาตินิยมไม่ได้อ้างถึงก็คือ MOU 2543 ยังระบุถึงเอกสารอีกชุดหนึ่ง
ที่ต้องใช้ประกอบการสำรวจและปักหลักเขตแดน นั่นก็คือ อนุสัญญาระหว่าง
สยามกับฝรั่งเศสลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญาระหว่าง
สยามกับฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 เอกสารทั้งสองนี้ระบุว่า
การปักปันเขตแดนบริเวณเขาดงรัก ให้ยึดเส้นสันปันน้ำ อันเป็นหลักการ
ที่ไทยยืนยันมาโดยตลอด



ในแง่นี้ MOU 2543 จึงประกอบด้วยเอกสารที่ถ่วงดุลอำนาจในการต่อรอง
และผลประโยชน์ของคู่เจรจาทั้งสองฝ่าย​ ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติในการเจรจา
ต่อรองระหว่างประเทศ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยืนยันให้ใช้แต่เฉพาะเอกสาร
ที่ให้ประโยชน์กับฝ่ายตนเท่านั้น​ การเจรจาก็ไม่มีทางคืบหน้าไปได้



นอกจากนี้ ยังหมายความต่ออีกว่า เจ้าหน้าที่ไทยที่เกี่ยวข้อง ก็เห็นประโยชน์
จากแผนที่ชุดนี้เช่นกัน เพราะในจำนวน 11 ตอน มีเฉพาะตอนเขาดงรัก
เท่านั้นที่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับ แต่อีก 10 ตอนที่เหลือ จะช่วยให้ไทยแก้ปัญห
าเรื่องดินแดนกับเพื่อนบ้านได้



ไทยไม่เคยยอมรับแผนที่จริงหรือ?

เหตุผลที่ฝ่ายชาตินิยมตอกย้ำ และนายกฯอภิสิทธิ์รับมาเป็นจุดยืนของตนด้วยก็คือ

  • ไทยไม่มีภาระผูกพันต่อแผนที่ตอนเขาดงรัก และไม่เคยยอมรับ เพราะ
  • เส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ไม่ได้ลากตามเส้นสันปันน้ำดังที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญ​า 
  • ฝรั่งเศสกระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว คณะกรรมการปักปันเขตแดนของไทยไม่ได้เข้าร่วมด้วย   
  • ไทยไม่เคยให้สัตยาบันรับรองแผนที่นี้..  
  • ไทยถูกฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศใหญ่กว่า กดดันรังแกให้ต้องยอมรับแผนที่..  
  • ในขณะนั้น ไทยไม่มีความรู้เรื่องการทำแผนที่ จึงรับแผนที่มาโดยไม่รู้ว่าเส้น
  • เขตแดนไม่ตรงกับเส้นสันปันน้ำ (ทั้งที่ สยามได้ก่อตั้งกรมแผนที่ขึ้นมาแล้ว
  • ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2428 ก็ตาม)
อันที่จริงทีมงานกฎหมายที่นำโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก็ใช้เหตุผลเหล่านี้เพื่อต่อสู้
คดีปราสาทพระวิหารในศาลโลก และทำให้ไทยแพ้มาแล้ว และศาลโลกก็ได้โต้แย้ง
เหตุผลไปแล้วด้วย



โดยศาลโลกยืนยันว่า ไทยมีภาระผูกพันต่อแผนที่ตอนเขาดงรัก เพราะมีหลักฐานว่า
ไทยได้เคยตีพิมพ์เผยแพร่ และจัดส่งแผนที่ทั้ง 11 ตอนหลายครั้งหลายครา ซึ่ง
 “เพียงพอที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมายได้”



โดยสรุปได้ดังนี้ (ดูคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร)



เมื่อสถานทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้รับแผนที่ทั้ง 11 ตอน อัครราชทูตไทยได้มี
หนังสือไปยังกระทรวงการต่างประเทศในกรุงเทพฯ มีข้อความตอนหนึ่งว่า



“ในเรื่องที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสม ตามคำร้องขอของกรรมการ
ฝ่ายสยามให้กรรมการฝ่ายฝรั่งเศสช่วยจัดทำแผนที่เขตแดนต่าง ๆ ขึ้นนั้น
บัดนี้ คณะกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสได้ปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว”



อัครราชทูตไทยคนดังกล่าวยังระบุว่า ตนได้รับแผนที่จำนวน 50 ชุด และจะได้
ส่งแผนที่อย่างละชุดไปยังสถานทูตไทยในยุโรปและอเมริกา นอกจากนี้
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทยยังได้ขอบคุณ
อัครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้น และได้ทรงขอ
แผนที่จากฝรั่งเศสอีกอย่างละ 15 ชุดเพื่อส่งไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่าง ๆ ของสยาม



ศาลโลกเห็นว่า ข้อความในหนังสือดังกล่าวชี้ว่า เจ้าหน้าที่สยามรับรู้ว่า
แผนที่ที่ตนได้รับนั้น คือ ผลงานปักปันเขตแดนที่รัฐบาลสยามได้ “ร้องขอ”
ให้ฝ่ายฝรั่งเศสจัดทำให้ตนนั่นเอง

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สยามได้ยอมรับแผนที่โดยมิได้มีการตรวจสอบโดยตนเอง



“จึงไม่อาจที่จะอ้างในเวลานี้ได้ว่า มีข้อผิดพลาดอันเป็นการลบล้าง
ความยินยอมที่แท้จริงได้”



เหตุการณ์ในยุคหลัง ร.5 ยังชี้ว่า สยามได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1
ในทางพฤตินัย และไม่ได้สนใจที่จะคัดค้านแผนที่นี้ แม้ว่าจะมีโอกาส
หลายครั้งก็ตาม กล่าวคือ



ในช่วงปี พ.ศ. 2477-2478 ไทยได้ทำการสำรวจบริเวณนี้ด้วยตนเอง
แล้วพบว่าเส้นสันปันน้ำกับเส้นบนแผนที่ไม่ตรงกัน และฝ่ายไทยได้จัดทำ
แผนที่ขึ้นมาเอง โดยแสดงว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทย
แต่ประเทศไทยก็ยังคงใช้แผนที่ที่จัดทำโดยฝรั่งเศสตลอดมา



และที่น่าประหลาดใจยิ่งขึ้นก็คือ ในปี พ.ศ. 2480 ในการลงนามในสนธิ
สัญญากับฝรั่งเศส เพื่อยืนยันเส้นเขตแดนร่วมที่มีอยู่แล้วอีกครั้งหนึ่ง
“กรมแผนที่ของสยาม ก็ยังคงพิมพ์แผนที่แสดงว่า พระวิหารอยู่ในเขต
ของกัมพูชาอยู่อีก”



ประเทศไทยมีโอกาสขอแก้ไขเส้นเขตแดนที่ผิดพลาดอีกครั้งหนึ่งในปี
พ.ศ. 2490 หรือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไทยต้องคืนดินแดนพระตะบอง
เสียมราฐ และจำปาสักให้แก่ฝรั่งเศส ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการประนอม
ฝรั่งเศส-ไทยขึ้น โดยภาระหน้าที่ประการหนึ่งคือ ตรวจแก้ไขเส้นเขตแดน
ซึ่งไทยอาจยกขึ้นมา ซึ่งไทยได้ยื่นคำร้องเกี่ยวกับเส้นเขตแดนในหลายบริเวณ
ด้วยกัน แต่กลับไม่เคยร้องเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเลย แต่กลับยื่นแผนที่
ฉบับหนึ่งต่อคณะกรรมการซึ่งแสดงว่าพระวิหารอยู่ในกัมพูชา



ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติหลายครั้งหลายหนของฝ่ายไทย ที่แสดง
การยอมรับแผนที่ตอนเขาดงรัก ศาลโลกจึงมีข้อวินิจฉัยว่า “ประเทศไทย
ได้ยอมรับเส้นเขตแดนตรงจุดนี้ดังที่ลากไว้บนแผนที่ โดยไม่คำนึงว่าจะ
ตรงกันกับเส้นสันปันน้ำหรือไม่”



ถึงแม้ว่าศาลโลกจะไม่ได้ตัดสินให้ตามคำขอของกัมพูชาที่ว่า แผนที่ตอน
เขาดงรักมีสถานะเท่ากับสนธิสัญญา และเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่
เป็นเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา แต่ไทยก็ต้องตระหนักว่า ศาลโลก
มีความเห็นว่า“ประเทศไทยใน ค.ศ. 1908-09 ได้ยอมรับแผนที่ในภาคผนวก 1
ว่าเป็นผลงานของการปักปันเขตแดน และด้วยเหตุนี้ จึงได้รับรองเส้นบน
แผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน อันเป็นผลให้พระวิหารตกอยู่ในดินแดนกัมพูชา



ศาลมีความเห็นต่อไปว่า เมื่อพิจารณาโดยทั่ว ๆ ไป การกระทำต่อ ๆ มาของไทย
มีแต่ยืนยัน และชี้ให้เห็นชัดถึงการยอมรับแต่แรกนั้น และว่า การกระทำของไทย
ในเขตท้องที่ก็ไม่พอเพียงที่จะลบล้างข้อนี้ได้ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยการ
ประพฤติปฏิบัติของตนเอง ได้รับรองเส้นแผนที่นี้ และดังนั้นจึงถือได้ว่า
เป็นการตกลงให้ถือว่าเส้นนี้เป็นเส้นเขตแดน”



ไทยต้องตระหนักว่ารัฐบาลกัมพูชามีสิทธิ์ร้องขอโดยลำพังให้ศาลโลกตีความ
คำพิพากษาปี 2505 ได้ เพื่อชี้ขาดว่าเส้นเขตแดนในบริเวณพิพาทคือเส้น
เขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่เจ้าปัญหาหรือไม่ ผู้เขียนเชื่อว่า หากความ
สัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาเลวร้ายลงเรื่อย ๆ กัมพูชาจะเลือกใช้หนทางนี้
เพื่อยุติปัญหาที่ยืดเยื้อมานานเสียที



ปัญหาคือ หากศาลชี้ขาดให้เป็นคุณกับฝ่ายกัมพูชา สังคมไทยจะมีปฏิกิริยา
ต่อเรื่องนี้อย่างไร ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อการสูญเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม.
ใครบ้างจะต้องกลายเป็นแพะรับบาป ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
จะเลวร้ายลงไปอีกเพียงใด ไม่มีใครรับประกันได้



บางทีการกลับไปอ่านเอกสารหลักฐานเก่าบ้าง อาจช่วยทำให้ผู้นำไทย
มีสติมากขึ้น ไม่ต้องวนเวียนกับคำอธิบายเก่า ๆ ที่เคยถูกตีตกไปแล้ว
ประการสำคัญ อาจทำให้เราพยายามคิดหาหนทางใหม่ ๆ ในการแก้ไข
ข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ต้องอิงกับกระแสชาตินิยมมากจนเกินไป

Posted by แดง สวีเดน at 1:47 AM 1 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

February 5, 2011



ชีวิตที่ต่างกัน ทำไม??

น่าสงสาร
พวกเขาอยู่เฉย ๆ ก็ต้องอุ้มลูกอุ้มหลาน ทิ้งบ้าน ทิ้งที่ทำมาหากิน ออกมาตกระกำลำบาก นอนกลางดินกินกลางทราย จะได้กลับบ้านเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ กลับไปแล้วจะเหลืออะไรบ้าง จะได้รับการช่วยเหลือหรือปล่าว ชีวิตชาวบ้านอย่างพวกเขาทำได้ดีที่สุดก็คือ ปล่อยไปตามยฐากรรมที่ถูกกำหนดโดยพวกศักดินาในเมืองหลวง ที่นอกจากจะไมได้สร้างชีวิตที่ดีให้พวกเขาชาวบ้านยากจนแล้ว ยังกลับชอบหาความวุ่นวายและเพิ่มความทุกข์ยากมาให้พวกเขาอีก



น่ารังเกียจ
ส่วนพวกเขาเวร พธม อยู่ดีมีสุข แต่งตัวสวย ไม่ต้องนอนในหลุมลบภัย ไม่ต้องนอนบนดิน ไม่ต้องนอนเสื่อ นอนห้องแอร์ มีพัดลม แต่ก็ยังไม่วายออกมาสร้างความวุ่นวาย ปลุกกระแสคลั่งชาติ ยุ่ยงให้เกิดความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านและใช้กำลังในการแก้ปัญหา เพื่อความสะใจตามแบบอย่างของพวกคนที่สำคํญผิดว่า ตัวเองมีปัญญามากกว่า รู้หมดรู้ถูกและมีค่ามากกว่าคนชนบท พูดจาสลับซับซ้อนดูเหมือนฉลาด ไม่แยแสกับความลำบากของคนอื่นเท่าไหร่นัก ขอให้พวกฉันได้ประโยชน์และความสะใจก็พอ เสียดายที่กระสุนปืนใหญ่กัมพูชามาไม่ถึงเวทีชุนุมของพวกคลั่งชาติ อยากให้ได้มีโอกาศสัมผัสกับความทุกข์ยากและลำบากของคนอื่นบ้าง บางทีอาจจะตาสว่างขึ้น หรือไม่ก็ตาบอดเพราะโดนสเก็ดระเบิด ก็ดีเหมือนกันอาจจะช่วยให้หายคลั่ง



Posted by แดง สวีเดน at 11:19 AM 1 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

February 4, 2011



ปลาไหลสนธิ ลิ้มทองกุล: คนที่มาร่วมกับพันธมิตรฯ มีแต่คนที่มีปัญญา



นายปลาไหลสนธิ ลิ้มทองกุล โม้ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลัวการชุมนุม
ของพันธมิตรฯ มากกว่าเสื้อแดง เพราะคนที่มาร่วมกับพันธมิตรฯ มีแต่คน
ที่มีปัญญา ปลาไหลตัวนี้ยังบอกอีกว่าตั้งแต่มีชีวิตมาจะ 63 ปีแล้ว
(ทำไมอยู่นานจัง) ยังไม่เคยเห็นรัฐบาลไหนที่โหดเหี้ยมอำมหิ
ตเท่ารัฐบาลนี้ เพราะไม่มองคนไทยเป็นคนด้วยกัน มองแค่เป็น
ฐานเสียงที่เขาจะหลอกลวงเท่านั้น ที่มา



อาจเป็นไปได้ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลัวการชุมนุมพันธมิตรฯ
 แต่ไม่ใช่สาเหตุเพราะว่าพันธมิตรฯ เป็นคนที่มีปัญญา เอาความจริง
มาเปิดเผย แต่เพราะว่าพันธมิตรฯเป็นม๊อบเด็กเส้น  แกนนำพันธมิตรฯ
ตัวจริงน่าจะอยู่ในสถาบันอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ เพราะเวลาที่ออกมา
ชุมนุมพวกพันธมิตรฯ  มักจะชูป้ายรูปภาพซึ่งน่าจะเป็นผู้นำตัวจริง
ป้ายนี้ทำให้พันธมิตรฯ สร้างความวุ่นวายให้กับประเทศได้ โดยไม่มี
เจ้าหน้าที่ของรัฐกล้าแตะต้อง และไม่ถูกเรียกว่าเป็นผู้ก่อการร้าย

นายปลาไหลสนธิบอกว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มองประชาชนแค่เป็น
ฐานเสียงที่เขาจะหลอกลวงเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ขัดแย้งกับที่นาย
ปลาไหลสนธิบอกว่า พันธมิตรฯ เป็นคนที่มีปัญญา เพราะว่าครั้งหนึ่ง
พวกพันธมิตรฯ ก็เป็นฐานเสียงให้กับ ปชป สุดท้ายก็ถูกเขาหลอกใช้
ตอนนี้พันธมิตรฯ ขาดมวลชนที่จะออกมาสร้างความวุ่นวาย เลยต้อง
ออกมาเห่าแบบสุนัขจิ้งจอก เพื่อหลอกล่อหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง
แต่เหตุผลที่นายสุนัขจิ้งจอกสนธิ สำรอกออกมาดูเหมือนจะเป็นเหตุผล
ที่ประณามความชั่วของตัวเองมากกว่า



Posted by แดง สวีเดน at 3:16 PM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

February 3, 2011



ใจ อึ๊งภากรณ์ "การปฏิวัติอียิปต์ บทเรียนสำหรับไทย"



3 ก.พ. ใจ อึ๊งภากรณ์ "การปฏิวัติอียิปต์ บทเรียนสำหรับไทย"
ดาวน์โหลดจาก Link 1  หรือ Link 2 Posted by แดง สวีเดน at 6:48 PM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายชินโซ อะเบะรับสำเนาคำร้อง



ในช่วงเช้าวันนี้ 3 ก.พ. อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนายชินโซ อะเบะ
รับสำเนาคำร้องขอให้มีการสอบสวนเหตุการณ์อาชญากรรมต่อ
มนุษยชาติที่คนเสื้อแดงยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่มา

Posted by แดง สวีเดน at 11:49 AM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

ไม่รู้ว่าตั้งใจไปเองหรือปล่าว?



สุดยอดอดีตนักเตะพรีเมียร์ลีก ประเทศอังกฤษ ร่วมลงนามถวายพระพรฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช
 Dailyworldtoday ไม่รู้ว่าตั้งใจไปเองหรือปล่าว?  ไม่น่าจะเป็น
นักเตะพรีเมียร์ลีกที่คิดได้ พวกที่คิดได้ต้องเป็นพวกเศรษฐกิจพอเพียง

Posted by แดง สวีเดน at 11:31 AM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

February 2, 2011



เผด็จการอียิปต์ใช้ม็อบชนม็อบ




เผด็จการอียิปต์ใช้ม็อบอันธพาลจากพรรครัฐบาลและตำรวจนอกเครื่องแบบ
เพื่อใช้ความรุนแรงกับประชาชนผู้รักประชาธิปไตย กองทัพที่เคยบอกว่า
จะไม่ยิงประชาชน นิ่งเฉยปล่อยให้อันธพาลของรัฐใช้ความรุนแรง ทำให้
เรานึกถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่ไทย และม็อบอันธพาลพันธมิตรฯ
  Redsiamsocialist

 

Posted by แดง สวีเดน at 6:06 PM 0 comments  

Email ThisBlogThis!Share to TwitterShare to FacebookShare to Google Buzz

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น