วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Thailand’s Democrat Party Is Hilariously Misnamed



นิตยสารไทม์ชำแหละปชป. โยงม็อบเทือก
Suthep Thaugsuban

          วันที่ 28 พ.ย. เว็บไซต์นิตยสารไทม์ ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่บทความเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย หัวข้อเรื่อง "พรรคประชาธิปัตย์ของไทย ชื่อพรรคนี้ตั้งผิดอย่างฮา" (Thailand’s Democrat Party Is Hilariously Misnamed) พร้อมโปรยใจความว่า อย่าไปเชื่อการพูดถึง "ปฏิวัติประชาชน" ของกลุ่มเสื้อเหลือง - สิ่งที่เรียกร้องนั้นไม่ใช่เรื่องอื่นใดที่ต่างจากการยึดอำนาจ Don′t believe Yellow Shirt talk of a "people′s revolution" — what′s being demanded is nothing short of a putsch เขียนโดย ชาร์ลี แคมป์เบล

         เนื้อหาของบทความชิ้นนี้ระบุว่า ความขัดแย้งทางการเมืองที่แสดงผ่านสีเสื้อปะทุขึ้นอีกครั้ง พร้อมกับเรียกกลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ว่ากลุ่มเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มที่บุกยึดอาคารราชการของรัฐบาลในเมืองหลวง และศาลากลางจังหวัดอื่นๆ อีกอย่างน้อย 19 จังหวัด เพื่อเรียกร้องให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเสื้อแดง ลงจากตำแหน่ง

         ในความเห็นของกลุ่มเสื้อเหลือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ วัย 46 ปี เป็นหุ่นเชิดของพี่ชาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ หลังจากถูกรัฐประหารในปี 2549 และต้องโทษจำคุก 2 ปี ในข้อหาคอร์รัปชั่น คลื่นคนเสื้อเหลืองก่อตัวขึ้นจากร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ตอนนี้ระงับไว้แล้ว ว่าจะเปิดทางให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน และความพยายามของน.ส.ยิ่งลักษณ์ที่จะรวมอำนาจด้วยการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของวุฒิสภา

          ในวันอังคารที่ 26 พ.ย. นายสุเทพ เทือกสุบรรณา อดีตรองนายกฯ พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องการปฏิวัติประชาชนอีกครั้ง และให้สภารอยัลลิสต์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้ามาแทนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มาจากการเลือกตั้ง นายสุเทพพยายามแสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีจุดมุ่งหมายส่วนตัว ด้วยการประกาศว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรีในอนาคต

ขณะที่มีหมายจับนายสุเทพในข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการผิดกฎหมายออกมาแล้ว

         ยิ่งเวลาผ่านมายิ่งเป็นเหมือนละคร แต่สิ่งที่เกิดในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ราชอาณาจักรแห่งนี้เป็นจุดหมายสุดหรูของนักท่องเที่ยวหลายล้านคนทุกปี ขณะที่เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งของโลก และมีเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญชัดเจนไปกว่านั้น ประชาธิปไตยของไทยเป็นตัวอย่างกับประชากรอื่นๆ ในชาติเพื่อนบ้าน พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม หลังจากเฝ้ามองด้วยสายตาอิจฉาการเจริญเติบโตของไทยมานาน

          กระทั่งการมาของพรรคชื่อกลับตาลปัตรว่าพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ท่ามกลางผู้ปฏิบัติในระบอบประชาธิปไตยที่แย่ที่สุด กลุ่มเสื้อเหลืองหลายหมื่นคนออกมาเดินขบวนไปทั่วประเทศ แต่กลับเรียกร้องสภารอยัลลิสต์ ที่ดูจะเป็นการปฏิวัติประชาชนได้ยาก

          ถ้าจะพูดถึงคนที่แสดงถึงการใช้พลังประชาชนแล้วล่ะก็นั่นคือผู้ลงคะแนนเสียง 15ล้านเสียงที่เลือกน.ส.ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยในเดือนกรกฎาคม 2554 และพรรคการเมืองที่พ.ต.ท.ทักษิณสนับสนุนก็ชนะการเลือกตั้งก่อนหน้าด้วยเสียงส่วนใหญ่มาแล้ว 5 ครั้ง นโยบายประชานิยมของพ.ต.ท.ทักษิณช่วยทำให้คนในชนบทหลายล้านพ้นจากความยากจน และยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475

          แน่นอนว่า มีเหตุผลมากมายที่จะต่อต้านมหาเศรษฐีพันล้านคนนี้ ไม่ว่า การทำสัญญาธุรกิจหลายอย่างในช่วงที่อยู่ในตำแหน่ง จนเกิดข้อครหาว่าขาดจริยธรรม ส่วนสงครามกวาดล้างยาเสพติดทำให้มีการฆ่าตัดตอน 2,800 ศพ ภาพของพ.ต.ท.ทักษิณที่กำกับผู้ประท้วงจากนครรัฐดูไบ แดนสวรรค์ ขณะที่กลุ่มเสื้อแดงเสี่ยงกับการถูกจับกุม ความรุนแรง รวมถึงเสี่ยงตาย ไม่ได้ทำให้เป็นฮีโร่แต่อย่างใด แต่การที่ฝ่ายค้านล้มเหลวที่จะดึงจุดอ่อนเหล่านี้มาใช้ กลับเป็นเรื่องน่าฉงน

           "เรามักพูดถึงทักษิณว่า เขาขี้โกง ละเมิดอำนาจ แต่เขาก็ยังชนะการเลือกตั้ง ดังนั้นเราน่าจะเริ่มตั้งคำถามถึงฝ่ายต่อต้านเขาบ้าง" นายธิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

           พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ครั้งสุดท้ายเมื่อปี2535 แรงสนับสนุนของพรรคมีฐานเป็นชนชั้นกลางกรุงเทพฯ ที่ศาสตราจารย์เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ อธิบายว่า "ขี้กลัว เห็นแก่ตัว ไร้มารยาท บริโภคนิยม และไม่มีวิสัยทัศน์ถึงอนาคตของประเทศที่เหมาะสม" พรรคนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนในชนบทที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นเขตแดนของคนเสื้อแดง และกลุ่มคนที่ยังลังเลตอนเข้าคูหา

          แทนที่จะพัฒนานโยบายและแผนงานทางการเมืองที่จะเอาชนะเสียงของคนชนบท พรรคนี้กลับทำเหินห่างจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่เป็นแกนหลัก ด้วยการเรียกหาพันธมิตรผู้ทรงอำนาจอื่น เช่น ทหาร หรือฝ่ายตุลาการ มาทำลายคู่ต่อสู้

          รูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลที่พ.ต.ท.ทักษิณสนับสนุนได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นก็ถูกโค่นโดยกลไกของกลุ่มชนชั้นสูงในการรัฐประหารปี 2549 ต่อมา ปี 2551 พรรคพลังประชาชนก็ถูกยุบโดยศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ประท้วงออกมาบนท้องถนน เกิดการนองเลือดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และพรรคที่พ.ต.ท.ทักษิณก็ชนะการเลือกตั้งอีก

            แม้ว่าการตัดสินใจในนโยบายภายในประเทศที่ไม่ได้รับความนิยมกัดกร่อนความนิยมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งถูกฟ้องในข้อหาสั่งการสลายการชุมนุมปี 2553 ระหว่างอยู่ในตำแหน่ง ก็ไม่อาจทำอะไรได้ในการลงมติไม่ไว้วางใจน.ส.ยิ่งลักษณ์เมื่อวันพฤหัสฯ ส่วนการยึดสถานที่ราชการของกลุ่มเสื้อเหลืองก็ส่งผลตรงข้ามกับที่ตั้งใจไว้

         "ยิ่งลักษณ์คว้าในสิ่งที่คล้ายกับชัยชนะซึ่งพลิกจากความพ่ายแพ้ในนาทีสุดท้ายอย่างฉิวเฉียด" นายเบนจามิน ซาวักกี ที่ปรึกษาอาวุโสด้านกฎหมายของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนICJ กล่าวและว่า สำหรับนายสุเทพนั้นดูเหมือนจะทำล้ำเส้นไปแล้ว

           ด้านกลุ่มสาขาของพรรคเพื่อไทยคุมเชิงอยู่อีกด้านในสถานการณ์อลเวงนี้ กลุ่มที่ภักดีต่อพ.ต.ท.ทักษิณชุมนุมกันอยู่ที่สนามราชมังคลากีฬาสถานและนัดชุมนุมใหญ่ในวันเสาร์นี้

           หลายคนหวังว่าความขัดแย้งของกลุ่มสีเสื้อจะยุติลงหลังเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนเมษาฯ-พฤษภา2553 ในใจกลางกรุงเทพฯที่มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 ศพและบาดเจ็บกว่า 2,000 คน แต่น่าเสียใจที่สัญญาณต่างๆ ดูเหมือนจะเพิ่มความตึงเครียดขึ้น แม้ว่าวันที่ 5 ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันสำคัญของประเทศไทยใกล้เข้ามาแล้ว มีบางคนเชื่อว่านายสุเทพไม่ต้องการให้การชุมนุมนี้ไปขัดช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นจึงเป็นไปได้ตามการวิเคราะห์ของซาวักกีว่า "การเพิ่มสถานการณ์ให้ตึงเครียดนั้นก็ทำด้วยความหวังว่าจะมีรัฐประหาร หรืออย่างน้อยก็มีการประกาศกฎอัยการศึกชั่วคราว"

          นี่เป็นการเมืองแบบรุนแรง พรรคประชาธิปัตย์อาจรักษาการใช้ชื่อตัวเองต่อไปได้ แต่การเห็นผู้สนับสนุนมากมายของพรรคเปลี่ยนสีเสื้อจากสีเหลืองเป็นสีดำนั้นเป็นงานถนัดที่แปลกจริงๆ
////

คลิกอ่านต้นฉบับได้ที่ http://world.time.com/2013/11/28/thailands-democrat-party-is-hilariously-misnamed/


Don't believe Yellow Shirt talk of a "people's revolution" — what's being demanded is nothing short of a putsch

Read more: Thailand’s Democrat Party Is Hilariously Misnamed | TIME.com http://world.time.com/2013/11/28/thailands-democrat-party-is-hilariously-misnamed/#ixzz2m1KeZ2MH




          Thailand’s color-coded political strife has once again flared up. Yellow Shirt supporters of the Democrat Party have seized control of government ministries and departments in the Thai capital and occupied at least 19 provincial offices, demanding that Prime Minister Yingluck Shinawatra — backed by rival Red Shirts — step down. To the Yellow Shirts, the 46-year-old Yingluck is merely a stooge for her brother, exiled former Prime Minister Thaksin Shinawatra, a divisive figure ousted in a military coup in 2006 and sentenced in absentia to two years’ imprisonment for corruption.


The current wave of Yellow Shirt action stems from opposition to a now stalled amnesty bill that would have allowed Thaksin to return home, and an attempt by Yingluck to consolidate power by altering the composition of the Senate. On Tuesday, protest leader Suthep Thaugsuban, a former Democrat Party Deputy Prime Minister, repeated his call for a “people’s revolution” to replace the elected Yingluck administration with a nonelected royalist council. Attempting to downplay personal ambitions, Suthep declared “before the sanctity of Buddhism that I, Suthep Thaugsuban, will not be Prime Minister in the future.” A warrant has since been issued for his arrest for unlawfully entering government buildings.


(MORE: Thailand’s Color War: Why Red Hates Yellow)


So far, so histrionic. But what happens in Thailand is important. The kingdom is the sybaritic destination of millions of travelers every year. It is one of the world’s largest exporters of rice and the second largest economy in Southeast Asia. Even more significantly, Thai democracy is an important example to neighboring populations in Burma, Laos, Cambodia and Vietnam, which have long cast envious glances at their booming neighbor.


It’s just that when it comes to Thai democracy, the ironically named Democrat Party is among the worst practitioners. Tens of thousands of Yellow Shirts are marching across the country, but demanding the establishment of royalist councils is hardly a people’s revolution. If anyone has been exercising people power, it’s the 15 million voters who elected Yingluck and her Pheu Thai party in July 2011. Thaksin-backed political parties have won the previous five elections with significant majorities, and Thaksin’s own populist policies helped bring millions of rural poor out of poverty. He remains the kingdom’s most popular Prime Minister since the abolition of absolute monarchy in 1932.




There are, of course, plenty of reasons to oppose the billionaire telecom mogul: the catalog of nest-feathering business deals from his time in office left few in any doubt of his lack of scruples, while his 2003 “war on drugs” involved some 2,800 extrajudicial killings. The image of him directing demonstrations from his lavish Dubai haven, while his Red Shirt supporters risk arrest, violence and occasionally their lives, is hardly a heroic one. But the opposition’s failure to exploit these weaknesses is astonishing.


“We always talk about Thaksin because he’s corrupt, he’s abusive, but he keeps wining the election,” says Thitinan Pongsudhirak, professor of political science at Chulalongkorn University in Bangkok. “We have to start asking about his opponents.”


(MORE: Thailand’s Amnesty Bill Unites Political Foes Against Government)


The Democrat Party last won a majority in 1992. Its power base is the Bangkok bourgeoisie, described as “timid, selfish, uncultured, consumerist and without any decent vision of the future of the country” by Cornell University Professor Benedict Anderson. As such, the party finds no support among the rural poor of the nation’s northeast — which is Red Shirt territory — and flounders at the ballot box. But instead of developing manifestos and platforms that could compete for rural votes, the party alienates the heartland electorate further by petulantly calling upon powerful allies — such as the military or judiciary — to undermine its rival.


The pattern is now established. A Thaksin-backed administration is voted in, then it is discreditably ousted by some elite machination (the 2006 coup d’état, the 2008 dissolving of the Thaksin-backed People Power Party by the Constitutional Court). Protesters take to the streets, bloodshed is inevitable, and then a Thaksin-backed party wins at the polls again.


A series of deeply unpopular domestic-policy decisions has been eating away at the Yingluck administration. But Democrat leader and former Prime Minister Abhisit Vejjajiva, who along with Suthep has been charged with murder for ordering the 2010 crackdown while in office, failed in a no-confidence motion against Yingluck in Parliament on Thursday. The Yellow Shirts’ seizure of government buildings has also backfired. “Yingluck has snatched something resembling victory from the jaws of defeat,” says Benjamin Zawacki, senior legal adviser for Southeast Asia at the International Commission of Jurists, adding that Suthep “has likely overplayed his hand.”


(MORE: Thai Protest Leader Calls for a ‘People’s Revolution’ as Demonstrations Enter Third Day)


Divisions within Pheu Thai have been put to one side in the face of the current tumult, and hordes of Thaksin loyalists are rallying inside Bangkok’s Rajamangala National Stadium, festooned with crimson bunting and images of their hero. Another Red Shirt rally in the capital has been announced for Saturday.


Many hoped Thailand’s color-coded conflict would end after the terrible low point of April and May 2010, when almost 100 people died and 2,000 were injured during a government crackdown on a Red Shirt demonstration in central Bangkok. (The Red Shirts were protesting the removal of a democratically elected government, just as Suthep is now demanding.)


Regrettably, all signs now point toward an escalation instead — and soon. Dec. 5 is the 86th birthday of now ailing King Bhumibol Adulyadej and an important holiday in Thailand. Some believe Suthep will not want to mar this occasion and so will, in Zawacki’s words, “seek escalation now in the hopes of a coup or at least a temporary declaration of martial law” before the holiday. These are thuggish politics. The Democrat Party might cling onto its name, but seeing many of its supporters swap yellow for black shirts seems strangely apt.


MORE: Red and Yellow Shirts March in Bangkok



Read more: Thailand’s Democrat Party Is Hilariously Misnamed | TIME.com http://world.time.com/2013/11/28/thailands-democrat-party-is-hilariously-misnamed/#ixzz2m1KTFAYt

1 ความคิดเห็น:

  1. These are thuggish politics.
    "นี่เป็นการเมืองแบบอันธพาล"

    TIME
    By Charlie Campbel
    Nov. 28, 2013

    ตอบลบ