วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตอกหน้ากองทัพไทย..ทหารสิ้นเอกลักษณ์ ...โดยนายทหารผู้หนึ่งเมื่อปี 2548 **
คัดจากข้อความบางตอนของพันเอก สุทัศน์ จารุมณี
รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๔/รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา
เขียนไว้เมื่อเป็น ผู้อำนวยการกองยุทธการและการข่าว โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ๒๕๔๘
(พูดเสร็จข้ามปี..นายทหารใหญ่แม่งทำรัฐประหารเลย)
จาก http://www.our-teacher.com/home/space.ph...ead&id=238
(ต้องพยายามอ่านถึงจะเข้าใจความหมาย)
  • อย่าสูญเสียเอกลักษณ์ "The Loss of Identity"

    sutat 2009-10-12 18:12
    บทความสองภาษา เรื่อง
    (อย่า) สูญเสียเอกลักษณ์ "The Loss of Identity"

    โดย พันเอก สุทัศน์ จารุมณี
    รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๔/รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา
    เขียนไว้เมื่อเป็น ผู้อำนวยการกองยุทธการและการข่าว โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ๒๕๔๘

    ปฏิเสธได้ยากว่า ภาษาอังกฤษ ปัจจุบัน มิได้เป็นพียงรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารระหว่างมนุษย์เท่านั้น แต่เป็นเครื่องสื่อความหมายสิ่งที่เป็น นามธรรม และ แนวความคิด; ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ ภาษา เท่านั้น แต่มันเป็นทั้ง สื่อความรู้ และเป็นทั้ง ความรู้ อยู่ในตัวของมันเอง บางคน คิดว่า กองทัพบกไทย ต้องมี หลักนิยม เป็นของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ของชาติอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศที่ก้าวหน้าเช่น สหรัฐอเมริกา บอกว่าไม่ต้องพูดถึง เพราะแตกต่างกันมากทางด้านเทคโนโลยี – (ความคิดนี้ ไม่น่าจะถูก)

    บุคคลดังกล่าว จึงหันหลังให้/ไม่เอา “ภาษาอังกฤษทางทหารในระดับมืออาชีพ” ซึ่งจะได้มาก็ต้องด้วยการอ่านหนังสือทางทหารของต่างชาติเท่านั้น 

    การหันหลังให้/ไม่เอา ก็เท่ากับสูญเสีย นั่นเอง
    · การสูญเสีย (โอกาสที่จะใช้) “ภาษาอังกฤษทางทหารในระดับมืออาชีพ” ย่อมนำไปสู่การสูญเสีย “ความเป็นทหารอาชีพ” 

    · การสูญเสีย “ความเป็นทหารอาชีพ” ก็คือ การสูญเสีย เอกลักษณ์, ค่านิยม และ อุดมการณ์ ทางทหาร และ ต่อไปก็คงต้องสูญเสีย ทุกอย่าง

    บุคคลเหล่านั้น นอกจากจะไม่ช่วยอะไรในการพัฒนาหลักนิยม ที่บอกว่า กองทัพบก ต้องมีเป็นของตนเองแล้ว ยังไปคว้าเอา เอกลักษณ์, ค่านิยม และ อุดมการณ์ ของ อาชีพอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของอาชีพที่ “มุ่งทำกำไร” และอาชีพที่ “มุ่งผลเพื่อตนเอง” ในรูปแบบต่างๆ แล้วพยายามนำกลับเข้ามายัดเยียด ให้เป็นของ กองทัพ ด้วยวิธีการ และเหตุผลต่างๆ นานา

    (เรื่องภาษาและหลักนิยม ซึ่งจำเป็นต้องเปิดกว้างให้เป็นสากล บอกว่า ไม่ต้องการทำตามอย่างใคร แต่ เอกลักษณ์, ค่านิยม และ อุดมการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีเป็นของตนเอง กลับยินดีที่จะรับเอาของคนอื่นมาใช้ และยินดีที่จะเดินตามหลังคนอื่นได้ นับว่าน่าประหลาด)

    ความรู้ฐานกว้าง จากการศึกษาในสถาบันพลเรือน ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ยิ่งต่อกองทัพด้วยเหมือนกัน ข้อนี้ไม่มีใครปฏิเสธ แต่การหันหลังให้ แก่นแท้ค่านิยม ของกองทัพ โดยมุ่งจะเอาแต่เปลือกจากภายนอกนั้น นับว่าน่าจะเป็นการสูญเปล่า ทั้งความรู้ที่ศึกษา, เวลา และเงินทอง กองทัพคงไม่ได้ประโยชน์อะไร หากความรู้เหล่านั้นไม่อาจไปด้วยกันได้กับ เอกลักษณ์ ค่านิยม และ อุดมการณ์ ของทหารอาชีพ (การเรียนของทหารต้องมีเอกลักษณ์ เพราะเป็นการเรียนรู้สู่เป้าหมายเฉพาะที่ชัดเจนแล้ว คือ มุ่งเป็นทหารอาชีพ ย่อมต้องต่างกันกับการเรียนอื่นๆ ที่มุ่งเป็นอย่างอื่นๆ หรือการเรียนที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอาชีพอะไร)

    ขณะที่ ทหาร ไม่ต้องการใช้ตำราภาษาอังกฤษ แพทย์ ซึ่งไม่คิดที่จะมี “หลักนิยมในการต่อสู้กับโรค” เป็นของตนเอง ยังคงวินิจฉัยโรค และสั่งยา ด้วยตำราภาษาอังกฤษ ต่อไป เช่นเดียวกันกับ มืออาชีพอื่นๆ เช่น นักกฎหมาย, วิศวกร และ สถาปนิก เป็นต้น

    ต้องการจะมีหลักนิยมเป็นของตนเอง ในยุคศตวรรษที่ ๒๑ โดยไม่ต้องการเรียนรู้จากตำราภาษาอังกฤษ ก็ไม่ต่างจาก แพทย์ที่ต้องการรักษาคนไข้ด้วยยาที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น, นักกฎหมายที่ไม่ใส่ใจกับกฎหมายระหว่างประเทศ, วิศวกรที่จะสร้างตึกสูงระฟ้าด้วยวัสดุภายในประเทศเท่านั้น หรือเหมือนกับ สถาปนิกผู้ซึ่งจะไม่คิดสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมแบบใดๆเลย นอกจากแบบไทยๆ เท่านั้น

    ในฐานะที่เป็น “อู่ฟูมฟัก” ผู้นำทางทหารของชาติ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ต้องมีความแตกต่างจากสถาบันพลเรือนอื่นๆ อย่างแน่นอน (แม้จะมีบางอย่างจำเป็นต้องให้เหมือนกันโดยทั่วไปก็ตาม) ความแตกต่างดังกล่าว ย่อมไม่ใช่แต่เพียงที่ หลักสูตร เท่านั้น แต่ คงจะต้องแตกต่างกันอย่างมากที่ คุณธรรม, จริยธรรม, วินัย และ สิ่งต่างๆ ซึ่งอยู่ เหนือขึ้นไป และ ไกลเกินกว่า ที่คนทั่วไป ผู้ซึ่งไม่ได้ ร่วมฝึก/อบรม, ร่วมอุดมการณ์ และ ร่วมปณิธานเดียวกัน จะเข้าใจได้โดยง่าย 

    แล้วเหตุใด จึงต้องถูกวัดมาตรฐาน ด้วยเกณฑ์การวัดแบบ องค์กรธุรกิจพลเรือน เป็นหลัก แทนที่จะเป็นเกณฑ์วัดมาตรฐานของ ทหารอาชีพสากล เป็นหลัก? นี่คือส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า “ช่องว่างทางความคิดในสังคม” (ระหว่างทหารกับพลเรือน) ซึ่งต่างฝ่ายต่างมองโลกผ่านกรอบแว่นที่แตกต่างกัน ย่อมได้ภาพที่ต่างกัน แต่ทำไม ฝ่ายหนึ่ง จึงจำเป็นต้อง ยอมรับและเชื่อ ตามภาพที่มองผ่านเลนส์ของ อีกฝ่ายหนึ่ง? 

    ทหาร ควรดำรงรักษาแก่นแท้ค่านิยมของทหาร แทนที่จะเที่ยวไปยึดถือเอาของคนอื่น ตามที่ตนเห็นชอบเอาตามใจ ทหารที่ไม่ดำรงรักษาค่านิยมของทหาร ก็จะค่อยๆ สูญเสีย เอกลักษณ์ จนกระทั่ง หมดสิ้นความเป็นทหาร ไปในที่สุด

    นักวิชาการพลเรือน ควรเปิดใจให้กว้างมากขึ้นกว่านี้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว พวกเขา มัก ไม่ค่อยจะยอมรับอะไร หรือ ไม่สามารถจะเข้าใจอะไร ได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับสิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากฐาน ความรู้/ความเข้าใจของพวกเขาเอง (ในทางตรงกันข้าม พลเรือน กลับมองว่า ทหารต่างหากที่เป็นเช่นนั้น) และที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือการใช้ “ความเหนือกว่าทางวิชาการ” ทึกทัก และ ยัดเยียด มาตรฐานข้างเดียวของฝ่ายตน ให้คนอื่นจำต้องยอมรับ แม้แต่กับคนที่มีมาตรฐานเหนือกว่าอยู่ก่อนแล้ว ทางด้านคุณธรรม/จริยธรรม และในภพภูมิแห่งอุดมการณ์ 

    ตรงนี้ ผู้เขียนยินดีรับข้อโต้แย้ง ,,,,, 
    · การที่ทหารต้องพยายามอย่างยิ่งใน กิจการพลเรือน, การประชาสัมพันธ์ และ “ปฏิบัติการเอาอกเอาใจ” ด้วยสื่อและวิธีการที่ คับแคบ/ตื้นเขินเชิงอุดมการณ์ทหารอาชีพ (หนัง Sci – Fi/Futuristic เรื่อง “Star trek” กับ หนัง การ์ตูน เรื่อง Ultra man ให้สาระ และ ดึงดูดผู้คนได้ต่างกัน อย่างไร; หนัง ทหาร ในแนว “กองพันทะลึ่งทะเล้น” หรือ “นายร้อยไร้สาระ” กับหนังประเภท The Platoon หรือ The D –Day ก็คงจะมีผลต่อผู้คนเป้าหมายต่างกันอย่างนั้น หากมีแต่สื่อที่มุ่งเอาใจตลาดล่างประเภทนั้น คนอื่นจะเข้าใจในสาระอันเป็น แก่นเอกลักษณ์, ค่านิยม และอุดมการณ์ ของกองทัพได้อย่างไร?)

    · การที่ ทหาร พยายามเหลือเกินที่จะ เป็น, รู้ และ ทำ อย่างที่พลเรือนเขา เป็น, รู้ , ทำ 

    · พยายามแข่งขันกับเขา ในเรื่องที่เรา “ไม่เก่ง” (เราไม่เก่งเรื่องทำกำไร, เราไม่ทำอะไรมุ่งผลเพื่อตนเอง แต่เราน่าจะเก่งที่ มุ่งรับใช้ชาติโดยไม่เห็นแก่ตน ต่างหาก)

    · พยายาม แสวงหาการยอมรับ และรางวัลตอบแทน จากการเข้าถึงซึ่งมาตรฐานที่ “ไม่ใช่เรา”

    เหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็น “ความพยายามที่สูญเปล่า” เท่านั้น แต่จะยิ่งเป็นการขยาย 

    ปรากฏการณ์ “ช่องว่างทางความคิดในสังคม” ระหว่างทหารกับพลเรือน ให้ยิ่งแยกห่างออกจากกันมากขึ้น

    ทหาร มีความหมายกว้างไกลและลึกซึ้งกว่า เท่าที่คนอื่นเข้าใจ หากแต่เพียง ทหาร 

    · เป็น (อะไร) อย่างที่ต้อง เป็น; 

    · รู้ (อะไร) อย่างที่ต้องรู้; 

    · และ ทำ (อะไร) อย่างที่ต้อง ทำ เท่านั้น 

    กองทัพ ก็จะไม่ถูกมอง, เข้าใจ, เหมา และ ทึกทักเอาล่วงหน้า ด้วยจินตนาการในทางลบอีกต่อไป และ ยังจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ที่จะลด, ปิด หรือ เชื่อมต่อ “ช่องว่างทางความคิดในสังคม” กว่าวิธีการ หรือความพยายามอื่นๆ ที่จะให้เขาเข้าใจเรา. 



    The Loss of Identity 

    By Colonel Sutat Jarumanee
     
    It is undeniable that English is not just a form of communication, but is also concepts and sets of ideas. English is not only a language, but knowledge itself.

    Some officers believe that the Army must develop its own unique doctrine, (How the Army fights to win wars and how it operates to achieve its goals) without the need to learn from other nations doctrines, (especially U.S. Army doctrine), due to a wide “technological divide”. This perception is impractical.

    These same officers ignore “Military Professional English” which can only be cultivated through English military texts of others nations. Ignoring means losing. Losing “Military Professional English” means losing “Military Professional”. Losing “Military Professional” means losing values, identity, ideology, and finally losing all! Again, English is not just a language, it is knowledge itself.

    Additionally, these officers make no contribution to the development of Royal Thai Army doctrine. Instead they attempt to utilize other career values, identity and ideology, especially in profit-making or other forms of self-service. They attempt to import attributes from civilian educational institutions and then try to use them in Army institutions.

    Broad based education from civilian sources is useful and beneficial, but those who ignore the Army’s core values while embracing the flaws of other instituions have wasted their education, time, and money. Civilian education must be combined with your Military Professional Values, identity and ideology to be beneficial to the Army. 

    While some Army officers do not use English military texts, doctors who do not have their own “disease fighting doctrine” are still doing their diagnosis, prescribing and administering medicines with their English texts. The same is true of other professionals like lawyers, engineers, architects, etc. 

    Having our own doctrine in the 21st century without learning from English military texts sounds to me like having doctors cure patients only by Thai medicines, lawyers having nothing to do with international laws, engineers use only local materials to build sky scrapers, and architects creating no other style than Thai architectures. 

    As the Incubator of the Nation’s Professional Military Leaders, though some must be same to others, what makes the CRMA different from other civilian institutes is not just our curriculum. The major differences are morals, ethics and discipline, things above and beyond what civilians can understand without the same training and commitment you have.

    Why then are civilian business standards to be used as the tools to gage military performance instead of Military Professional ones? Clearly the social chasm between civilian and military provides a different lens through which each side sees the world.

    Soldiers must adhere to their core values instead of trying to embrace the values of others when it is convenient for them. Soldiers who do not maintain their core values will gradually continue to lose their identity until they are no longer soldiers at all.

    Civilian academics must be more open-minded, as they are now unwilling to accept, or unable to understand other points of view other than their own. Worse yet, they arrogantly impose their one-sided standards over others who uphold higher moral and ethical standards than they do.

    At this point, I welcome arguments.

    - Trying to do much of “civic actions, public relations”, “public appeasing operation” in shallow and narrow sense of professional ideology, 

    - Trying to be and know and do like civilians be, know and do,

    - Trying to compete with them in the way the Army does not belong(profit – making/self – serving capabilities instead of selfless – serving ideology);

    - Trying to be accepted/rewarded in accordance with other standards 

    where the Army is not a type; 

    Are not only of useless efforts, but also widening the gap of social chasm, yet causing the Army to be on the blink of identity extinction. 

    There are more to Soldiers than being understood by Others. 

    Only if Soldiers were exactly what they must be, embraced with what they really must know, and focused on what they absolutely must do; 

    the Army would then no longer be prejudged and stereotyped by others; and the social chasm would then be bridged.

    (The Be/Attributes; Know/Perspectives; and Do/Imperative of Professional Soldiers are to be discussed later).




................
การที่ทหารต้องพยายามอย่างยิ่งใน กิจการพลเรือน, การประชาสัมพันธ์
และ “ปฏิบัติการเอาอกเอาใจ” ด้วยสื่อและวิธีการที่ คับแคบ/ตื้นเขินเชิงอุดมการณ์

(เช่น)….หนัง Sci – Fi/Futuristic เรื่อง “Star trek” กับ หนัง การ์ตูน เรื่อง
Ultra man ให้สาระ และ ดึงดูดผู้คนได้ต่างกัน อย่างไร;

หนัง ทหาร ในแนว “กองพันทะลึ่งทะเล้น” หรือ “นายร้อยไร้สาระ”
กับหนังประเภท The Platoon หรือ The D –Day
ก็คงจะมีผลต่อผู้คนเป้าหมายต่างกันอย่างนั้น

หากมีแต่สื่อที่มุ่งเอาใจตลาดล่างประเภทนั้น
คนอื่นจะเข้าใจในสาระอันเป็น แก่นเอกลักษณ์,
ค่านิยม และอุดมการณ์ ของกองทัพได้อย่างไร?

การที่ทหาร

1. พยายามเหลือเกินที่จะ เป็น, รู้ และ ทำ อย่างที่พลเรือนเขา เป็น, รู้ , ทำ
2. พยายามแข่งขันกับเขา ในเรื่องที่เรา “ไม่เก่ง”
(เราไม่เก่งเรื่องทำกำไร, เราไม่ทำอะไรมุ่งผลเพื่อตนเอง
แต่เราน่าจะเก่งที่ มุ่งรับใช้ชาติโดยไม่เห็นแก่ตน ต่างหาก)
3. พยายาม แสวงหาการยอมรับ และรางวัลตอบแทน
จากการเข้าถึงซึ่งมาตรฐานที่ “ไม่ใช่เรา”

เหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็น “ความพยายามที่สูญเปล่า” เท่านั้น แต่จะยิ่งเป็นการขยาย

ปรากฏการณ์ “ช่องว่างทางความคิดในสังคม” ระหว่างทหารกับพลเรือน
ให้ยิ่งแยกห่างออกจากกันมากขึ้น

ทหาร มีความหมายกว้างไกลและลึกซึ้งกว่า เท่าที่คนอื่นเข้าใจ

หากแต่เพียงทหาร
1. เป็น (อะไร) อย่างที่ต้อง เป็น;
2. รู้ (อะไร) อย่างที่ต้องรู้;
3. และ ทำ (อะไร) อย่างที่ต้อง ทำ เท่านั้น

กองทัพ ก็จะไม่ถูกมอง, เข้าใจ, เหมา และ ทึกทักเอาล่วงหน้า
ด้วยจินตนาการในทางลบอีกต่อไป และ ยังจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ที่จะลด, ปิด หรือ เชื่อมต่อ “ช่องว่างทางความคิดในสังคม”
กว่าวิธีการ หรือความพยายามอื่นๆ ที่จะให้เขาเข้าใจเรา.
………..
หน้าที่นายทหารไทย :
มาเฟียใหญ่ เกาะแดกพ่อ ล่อปฏิวัติ
ฟัดประชาชน กินคอมฯ อมเบี้ยเลี้ยง เลี่ยงตีกอล์ฟ

[Image: 16xhu.jpg]

เอ้า..เชิญต่อกันเลยครับ
จะอัดอะไรก็อัดกันไป ผมไม่เกี่ยวนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น