สถานการณ์เปลี่ยนผ่าน ในช่วงปลายรัชกาล
http://www.internetfreedom.us/forum-2-page-2.html?sortby=started
Monday, 18 January 2010 06:28 | Author: ม้าน้ำ |
เมื่อมีสัญญาณอย่างหนึ่งอย่างใดส่อแสดงให้เห็นว่า
รัชสมัยของพระองค์ใกล้จะสิ้นสุดลง
อันเป็นการส่งสัญญาณบ่งบอกให้ล่วงรู้ว่า สถานการณ์ต่าง ๆ ถัดจากนี้ไป
จะเป็นการก้าวเดินเข้าไปสู่ช่วงปลายรัชกาล
อันจะนำไปสู่การผลัดแผ่นดิน เพื่อเข้าสู่รัชสมัยของรัชกาลใหม่ท้ายที่สุด
ซึ่งสภาวการณ์ต่าง ๆ ในห้วงเวลาเหล่านี้
กล่าวได้ว่าเป็นช่วง "สุญญากาศทางอำนาจ"
ซึ่งในบางยุคบางสมัย ก็สามารถเปลี่ยนผ่านไปได้อย่างราบรื่น
เพราะเกิดความลงตัวในทุก ๆ ด้าน
แต่ในบางครั้ง ก็เกิดการแก่งแย่งอำนาจ ชิงดีชิงเด่นกัน
จนถึงขั้นสงครามกลางเมืองย่อม ๆ ก่อการกบฏ ฆ่าล้างครัว ลอบสังหาร
หรือแม้แต่การติดตาม ไล่ล่าบุคคลสำคัญ ที่มากบารมี
และมีแนวโน้มว่าจะส่งอิทธิพลต่อทิศทางการผลัดแผ่นดินก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นั่นเป็นเพราะว่าในห้วงเวลาแห่งสุญญากาศนั้น
ความผันผวนปรวนแปรของสถานการณ์แย่งชิงตำแหน่งอันสูงสุดนี้นั้น
ทำให้เกิดการพลิกผันได้ตลอดเวลา
ดังนั้น การที่ต่างฝ่ายต่างพยายามลดทอนอำนาจฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ลงให้มากที่สุด
เพื่อให้ฝ่ายตนสามารถสถาปนาอำนาจ และยึดกุมสภาพให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด
จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปตามทิศทางที่ฝ่ายตนต้องการ
เพราะถึงแม้จะได้มีการวางกฎเกณฑ์เอาไว้อย่างชัดเจนด้วยกฎมณเฑียรบาล
แต่เมื่อถึงจุดที่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดสามารถยึดกุมสภาพได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว
ย่อมสามารถชี้นำการเปลี่ยนผ่านให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
"กฎ" จึงมีไว้ใช้บังคับต่อฝ่ายที่พ่ายแพ้
ส่วนฝ่ายที่ยึดกุมชัยชนะย่อมเป็นผู้พลิกแพลงเอาจากกฎเกณฑ์
เพื่อนำมาบังคับใช้ต่อฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำ
"ชนะย่อมเป็นเจ้าพ่ายแพ้ยอมเป็นบ่าว"
ดังนั้น กฎเกณฑ์ในอดีตจึงไม่สามารถที่จะกำหนดทิศทางของอนาคตได้เสมอไป
ดังเช่น การรัฐประหารล้มล้างธรรมนูญ อันเป็นกฎสูงสุดแห่งรัฐ
ยังถูก "ฉีก" แล้วเขียนขึ้นมาใหม่
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่สามารถยึดครองสภาพได้ต่างหากเล่า คือผู้ที่จะกำหนดประวัติศาสตร์
ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นสุญญากาศอย่างนี้
การกำหนดองค์รัชทายาทแบบชี้ชัด
ก็อาจจะนำมาซึ่งภัยพิบัติต่อองค์รัชทายาทเอง
เพราะบางครั้ง บารมีของผู้ที่กุมอำนาจได้มากกว่า ก็เป็นฝ่ายได้เปรียบ
ตรงนี้เอง ทำให้อำนาจสิทธิ์ขาดในการชี้ชัดต่อการกำหนดตัวบุคคลที่จะสืบทอดราชสมบัติ
ก็ไม่ใช่ว่าจะขึ้นอยู่กับพระองค์เสมอไป
เหตุเพราะว่า เมื่อสถานการณ์ยืดเยื้อออกไปถึงระยะเวลาหนึ่ง
อำนาจบารมีหรือผลประโยชน์บางช่วงเวลา ได้เกิดการถ่ายเทเปลี่ยนขั้วไปจากเดิม
จากที่พระองค์เคยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ และสิทธิ์ขาด
ก็อาจจะกลายไปเป็นเพียง "ร่างทรง" ไม่เหลือไว้ซึ่งอำนาจสิทธิ์ขาดอย่างแท้จริง
เปรียบดังไม้ใหญ่เมื่อใกล้ฝั่ง ที่เริ่มแสดงอาการโอนเอน
เหล่าสรรพสัตว์นกกาที่เคยอาศัยร่มเงา ก็ย่อมจะแตกตื่น
และเริ่มสำเหนียกรู้ว่าจะอาศัยพักพิงต้นเดิมต่อไปอีกไม่ได้แล้ว
ก็เริ่มแสวงหาแหล่งใหม่ที่น่าจะมั่นคงยาวนานกว่า
จากการผลัดแผ่นดินในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา
ผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในห้วงเวลาแห่งสถานการณ์ภายใต้สภาวะสุญญากาศที่ว่านี้
ส่วนมากยังคงเกี่ยวข้องกับเฉพาะวงในจริง ๆ เท่านั้น
เป็นต้นว่า พวกขุนนาง อำมาตย์ ราชนิกุล และกองทัพ
แต่แนวโน้มหรือทิศทางใด ๆ ต่างก็ชี้ไปที่ดุลอำนาจใน “กองทัพ” เสียเป็นส่วนใหญ่
เพราะมีความพร้อมทั้งในด้านกำลังพลและอาวุธ
จึงเห็นได้ว่า ผู้ใดที่สามารถกุมอำนาจเหล่าทัพได้
ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลต่อการเปลี่ยนผ่านในยุคนั้น ๆ
และ ณ วันนี้
สถานการณ์ภายในประเทศต่างก็บ่งชี้ให้เห็นว่า
ในทุกย่างก้าว กำลังเดินเข้าไปสู่สถานการณ์ในช่วงปลายรัชกาล
แต่เมื่อได้เกิดมีขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง
แทรกเข้ามาในช่วงสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนผ่านนี้
ดุลอำนาจต่าง ๆ จึงแปรเปลี่ยนไป
ซึ่งอาจจะทำให้เราได้เห็นเป็นครั้งแรก
ที่การเปลี่ยนผ่านมีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
แต่อาจจะเป็นการเปลี่ยนผ่าน เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ในอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่ไม่เหมือนเดิม
ส่วนจะเป็นไปอย่าง ฝรั่งเศส เนปาล อังกฤษ ญี่ปุ่น หรือแบบใดก็แล้วแต่
ภาคประชาชนไม่ใช่ผู้กำหนด
แต่ผู้ที่กำลังจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านนั่นต่างหาก
คือผู้กำหนดสถานการณ์
.
.
.
.
.
.
วันนี้ สังคมไทยเดินเข้าใกล้สงครามกลางเมืองที่สุด
Sunday, 01 November 2009 13:13 | Author: ม้าน้ำ |
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าสถานการณ์ของการเผชิญหน้ากัน
ที่กำลังดำรงอยู่ในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้นั้น
หากลองมองย้อนหลังอย่างผิวเผินไปที่ช่วงเวลา 19กย49
เราจะมองเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ “คู่ขัดแย้ง” ที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
แต่ก็ส่งผลให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของสถานการณ์
ที่เดินเข้าใกล้ความจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
โดยในเบื้องต้นของปัญหาเกิดมาจาก "เรื่องส่วนตัว" ระหว่าง “สนธิกับทักษิณ”
และมันได้พัฒนาความขัดแย้งจนกลายมาเป็นเรื่องของการกล่าวหารัฐบาลทักษิณ
โดยมีอำนาจแฝงเข้าร่วมด้วย จนนำไปสู่การทำรัฐประหาร
และต่อมาเกิดเป็น “คนเสื้อเหลือง” กับ “คนเสื้อแดง” อันเสมือนหนึ่งว่าเป็นคู่ขัดแย้งใหม่
แต่พอผ่านไประยะหนึ่ง เสื้อเหลืองอ่อนแรงลงไป
กลับกลายมาเป็น พล.อ.เปรม มาเป็นคู่ขัดแย้งของคนเสื้อแดงแทน
ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาคนเสื้อแดงบอกกล่าวเสมอ
ว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง
ส่วนตัว พล.อ.เปรม นั้น ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของฝ่ายอำมาตย์
ที่เป็นปัญหาหลักหรืออุปสรรคต่อการพัฒนาภาคการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ซึ่งไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้น
มีประเด็นแอบแฝงประการใดซุกซ่อนอยู่หรือไม่
และก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่า เมื่อเสร็จจาก พล.อ.เปรม แล้ว
คนเสื้อแดงจะได้พบกับคู่ขัดแย้งใดในอันดับต่อ ๆ ไปอีกหรือไม่
ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ทำให้เรามองเห็นความขัดแย้งที่ปรากฏเพียงเฉพาะในภาคการเมือง
แต่ภายใต้เหตุผลและเงื่อนไขทางการเมืองที่ฉาบทาบทาอยู่บนผิวหน้าของความขัดแย้งนั้น
หากมองให้เห็นเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน แล้วลองมองให้ลึกลงไปอีกสักนิด
กลับจะทำให้มองเห็นความขัดแย้งที่ดำรงอยู่นั้น เป็นความแยบยลของคู่ปฏิปักษ์
ที่แอบอิงผ่านสถานการณ์ในภาคการเมือง
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีมิติที่แฝงเร้นเหลื่อมล้ำทับซ้อนกันอยู่อย่างแนบเนียน
ภายใต้มิติของความขัดแย้งกันในภาคการเมือง
มิติที่แฝงตัวทับซ้อนเข้ามาแอบอิงอยู่อย่างมิดชิดนี้ หากไม่ใช้การสำเหนียกรู้
และการไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว จะไม่สามารถสำนึกได้เลยว่า
ตัวเองกำลังเข้าร่วมอยู่ใน “สงครามหลายมิติ”
ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง
โอกาสที่จะเกิดการปะทะกับตัวแทนของฝ่ายอำมาตย์ก็มีสูงอยู่แล้ว
เพราะไม่มีทางที่ระบอบอำมาตย์ ซึ่งฝังรากลึกคู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านานนั้น
จะยอมคายอำนาจง่าย ๆ และยังไม่มีนัยบ่งชี้ใด ๆ ว่า ระบอบอำมาตย์ได้อ่อนเรี่ยวแรงลงไป
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างล่าสุดในช่วง “สงกรานต์เลือด” ที่ผ่านมา
และย้อนไปหลาย ๆ เหตุการณ์ในอดีตตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า
ฝ่ายอำมาตย์ไม่เคยรามือเลยแม้แต่ครั้งเดียว
แต่กลับก้าวล้ำนำหน้าฝ่ายประชาธิปไตยอยู่หนึ่งก้าวเสมอ
ด้วยการพลิกแพลงซึมซาบเข้าสู่สังคมไทยได้อย่างล้ำลึกมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
จึงเห็นได้ว่า “สงครามมิติซ้อน” ที่ทาบทับอยู่กับเงาของการขัดแย้งกันในภาคการเมืองนั้น
โอกาสที่จะเกิดการแตกหักด้วยความรุนแรงนั้นกลับมีสูงกว่า
และสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยก็ว่าได้
เนื่องจาก “สงครามมิติซ้อน” นั้น เป็นการเดินหน้าเข้าหาเป้าหมายเดียวของ “คู่ขัดแย้ง”
ด้วยประสงค์ที่จะทำให้เกิดความเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
เป็นความเด็ดขาดที่เดิมพันกันด้วยอนาคตที่มีร่วมกันทั้งหมดของบริวารในแต่ละฝ่าย
ซึ่งหมายความว่า “จะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะและต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่พ่ายแพ้”
และด้วยสัจจะธรรมของสงคราม ฝ่ายชนะย่อมได้รับการสถาปนาให้ครอบครองทุกสิ่ง
และฝ่ายที่พ่ายแพ้ ก็หมายถึงการสูญเสียในทุก ๆ ด้านด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ด้วยเหตุผลนี้ การต่อสู้กันของทั้งสองฝ่ายอันเป็นมิติที่ซ้อนอยู่นี้นั้น
ย่อมต้องเด็ดขาดและรุนแรงตามเป้าหมาย
และภายใต้การสนับสนุนของบริวารที่มีความพร้อมอยู่แล้ว
โดยเป็นการเดิมพันกันด้วยอนาคตและผลประโยชน์ยิ่งใหญ่ที่มีร่วมกัน
และสถานการณ์ที่จะเป็นตัวกำหนดให้เกิดการแตกหักนั้น ก็คืบคลานใกล้เข้ามาทุกขณะ
นั่นก็คือ หากเกิด “การแตกดับของผู้ยิ่งใหญ่” เมื่อใด สถานการณ์ที่แท้จริงก็จะปรากฏ
แต่ก่อนที่จะถึงสถานการณ์นั้น
การเดินเกมส์เข้าใส่กันคงจะต้องเข้มข้น เด็ดขาด และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
เพื่อที่จะทำให้ฝ่ายตนกุมสภาพให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก่อนสถานการณ์แตกดับจะเกิด
อันจะเป็นเครื่องรับประกันว่า “การเปลี่ยนผ่าน” ที่ใกล้เข้ามา
จะเป็นไปตามแนวทางที่ฝ่ายตนมุ่งหวัง
ดังนั้น สถานการณ์นับต่อจากนี้ไปจึงน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะการขับเคลื่อนในส่วนที่เป็นแนวหน้าของแต่ละฝ่าย
เพราะความล่อแหลมของสถานการณ์นั้นคือ “เวลา” ที่คืบคลานใกล้เข้ามาทุกขณะ
หากไม่รีบกุมสภาพให้ได้โดยเร็วที่สุด
โอกาสที่จะเกิดการพลิกผันของแต่ละฝ่ายนั้นมีสูงเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น “เวลา” จึงเป็น “ตัวเร่ง” ให้เกิดสถานการณ์
เพื่อเข้ายึดกุมสภาพให้เร็วที่สุดตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
แต่จะด้วย “วิธีการ” ใด
ที่จะทำให้ยึดกุมสภาพให้ได้อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จ เด็ดขาดและไร้การต่อต้าน
และด้วยสถานการณ์ที่เร่งรัดในลักษณะนี้
ย่อมหนีไม่พ้นการแสวงหาพันธมิตรและแนวร่วม
ที่อยู่ภายใต้ข้อเสนอเพื่อกำหนดผลประโยชน์ร่วมกันอย่างชัดเจน
โดยถ้าฝ่ายใดเข้าถึงและสมประโยชน์
กับพันธมิตรและแนวร่วมก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ส่วนปัญหาเรื่อง “มิติของสงคราม” นั้น คงต้องให้เวลาและสถานการณ์
เป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตนของมันเอง ว่าสุดท้ายแล้ว “ผลประโยชน์”
จะตกอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ กลุ่มบุคคล หรือ ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งกันแน่
อำมาตย์นั้นต่อสู้ แก่งแย่ง ชิงอำนาจ เพียงเพื่อพวกพ้อง
แต่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยนั้น
สุดท้ายแล้ว ประชาชนทั้งหมด
คือผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
.
.
.
--------------------------------------------------------------------------------
.
.
.
เหตุแห่งสงครามกลางเมืองของสังคมไทย
Saturday, 07 November 2009 00:00 | Author: ม้าน้ำ |
หากคุณเคยอ่านคำทำนายโบราณและคำพยากรณ์ของโหรร่วมสมัย
ที่เกี่ยวข้องกับยุคถัดไปของสังคมไทย จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า
คำทำนายต่างก็ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน
นั่นคือ ยุคถัดจากนี้ไปจะเป็นยุคมืดไร้ขื่อแปของสังคมไทย
เกิดความขัดแย้งแย่งชิงถึงขั้นใช้กำลังและอาวุธเข้าเข่นฆ่ากัน
เกิดการล้มตายถึงขนาดที่เรียกว่า "เลือดนองท้องช้าง"
อันถือได้ว่าเป็นยุคท้ายสุดของระบอบเก่าแก่ระบอบเดิม
ก่อนที่จะเกิดการปรับเปลี่ยนสภาพครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติ
เพื่อเข้าสู่ยุคทองของผองชนอย่างแท้จริง
ซึ่งตามธรรมชาติของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยนั้น
ย่อมจะเกิดการชำระล้างสิ่งเก่าที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของยุคใหม่ออกไป
อันเป็นการปรับสภาพเตรียมพร้อมเอาไว้รอต้อนรับสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเข้ามาทดแทน
ดังเช่น การสิ้นสุดของยุคไดโนเสาร์ เป็นต้น
หากคุณเคยอ่านคำทำนายมาบ้างแล้ว คุณลองใช้มุมมองต่อไปนี้เปรียบเทียบ
อาจจะทำให้พอมองเห็นสภาพของบ้านเมืองของเรา ในลำดับต่อไปว่าจะอยู่ในสภาพใด
สังคมไทยดำรงอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์มาช้านาน
ซึ่งเป็นระบบที่ผู้น้อยต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ หรือผู้ที่อำนาจบารมีมากกว่า
ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถคุ้มหัวหรือให้คุณให้โทษต่อหน้าที่การงานได้
ถึงแม้ในบางครั้งการสั่งนั้น เป็นการสั่งให้ทำในสิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากศีลธรรมอันดี
หรือตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ แต่ด้วยความที่เป็นผู้น้อยก็ต้องทำ
เพราะในบางสถานะของความเป็น "ผู้ใหญ่" ความมีอำนาจหรือบารมีมันแผ่กว้างขวาง
เกินกว่าที่ผู้รักษากฎหมายจะเข้าถึง
ซึ่งไม่ได้หมายความว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์
แต่เป็นเพราะ "คน" ที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือตามกระบวนการทั้งหลายนั้น
พร้อมใจกันสมประโยชน์กับบุคคลที่มีบารมีเอง
สุดท้ายแล้ว จึงทำให้ระบบของบ้านเมืองยึดบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่เป็นหลัก
มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับระบอบหรือกฎหมาย ที่เป็นเพียงกระดาษไร้ฤทธิ์แผ่นหนึ่งเท่านั้น
ทำให้ระบบของสังคมไทยเห็นบุคคลอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด
ปัจจุบันระบบอุปถัมภ์ได้กลายมาเป็นระบอบที่ยิ่งใหญ่ในสังคมไทย
นั่นก็คือ ระบอบอำมาตยาธิปไตย
เป็นระบอบที่ทรงอิทธิพลและเข้าควบคุมทิศทางของประเทศทั้งหมดมาช้านาน
หลาย ๆ เหตุการณ์ของความขัดแย้งที่ผ่านมาในอดีต
คนไทยเกิดการขัดแย้งกันเองจากแนวคิดทางการเมือง
จนถึงขั้นเผชิญหน้ากันเกือบเกิดเป็นสงครามภายในประเทศมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
ซึ่งถ้าจะมองให้ลึกลงไปอีกก็จะเห็นว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมานั้น
ผ่านการจัดตั้งให้เป็นไปในแนวทางที่ "เขา" ได้กำหนดเอาไว้แล้ว
ว่าต้องการให้เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นไปในแนวทางใด
เพื่อสุดท้ายแล้วเขาจะได้สร้าง "บารมี" ให้กับคนของฝ่ายตนเพิ่มขึ้นไปอีก
ซึ่งเป็นความโหดร้ายของคนที่อยู่ในฝ่ายอำมาตย์
ที่เห็นชีวิตของผู้คนร่วมชาติเป็นเพียง "เครื่องมือ" ชิ้นหนึ่ง
ในการเชิดชูภาพให้คนของเขามีภาพของความยิ่งใหญ่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ
มักจะมีภาพของคนจากฝ่ายอำมาตย์เป็นเงาปรากฏอยู่เบื้องหลังเสมอ
เพื่อเป็นการขุดบ่อสร้างสถานการณ์ล่อให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เดินเข้าสู่พื้นที่สังหาร
แล้วใช้อาวุธสงครามเข้าทำการเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมทารุณ
แล้วจบลงด้วยภาพอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายอำมาตย์
โดยมีชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนเป็นเครื่องเซ่น เป็นอยู่อย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งเป็นมโนสำนึกที่ฝังลึกอยู่ภายใต้จิตใจของประชาชนที่ถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เหตุการณ์ความขัดแย้งกันของแต่ละครั้งแต่ก็ได้ "ผู้ใหญ่" ในบ้านเมือง
ช่วย "ออกหน้า" ให้สามารถยุติลงได้
แต่ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งเหล่านั้นจะหายไปจากสังคม
เพราะความขัดแย้งนั้นยังดำรงอยู่เพียงแต่สถานการณ์ยุติลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น
จึงเห็นได้ว่าความขัดแย้งนั้นรอวันที่จะปะทุอยู่ตลอดเวลา
รอเพียงเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดสถานการณ์เท่านั้น
ดังผีร้ายที่อยู่ในหม้อสะกดวิญญาณ หากวันใดที่มนต์เสื่อมหรือหม้อแตก
วันนั้นผีร้ายทั้งหลายคงออกอาละวาด
ถ้าผีเปรียบได้กับความขัดแย้ง หม้อสะกดวิญญาณ ก็เปรียบเสมือนผู้ใหญ่
พร้อมทั้งสายน้ำแห่งกาลเวลาที่คอยกัดเซาะริมตลิ่ง(สุขภาพ)
ต้นไม้ใหญ่ก็รอวันโค่นล้มอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
และในปัจจุบัน หัวเรือใหญ่ของระบอบอำมาตย์ก็ล่วงเลยอายุเข้าสู่ปัจฉิมวัย
เป็นดังไม้ใกล้ฝั่งรอวันถูกสายน้ำพัดพาให้โค่นล้มลงไปตามกาลเวลาตามสภาพ
หากวันใดไม้ใหญ่ต้นนั้นโค่นล้มลงเมื่อใด
ส่วนคนที่ยังอยู่และพอที่จะเป็น "ผู้ใหญ่" ได้ ก็เปิดเผยตัวตนกันหมดแล้วว่า "เลือกข้าง" ใด
ไม่เว้นแม้แต่กองทัพผู้มีอาวุธในมือ
สังคมนี้จึงไร้แล้วอย่างสิ้นเชิงของ "สังคมผู้มีบารมี"
ไร้แล้วอย่างสิ้นเชิงของสังคมที่ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่
ไร้แล้วซึ่งผู้ที่มีบารมีพอที่จะสามารถออกมาพูดเพียงประโยคเดียว
ก็ขจัดความขัดแย้งให้มลายหายสิ้นไปดั่งสายลมพัดผ่าน
บวกกับสถานการณ์ในหลายมิติ
การเปลี่ยนผ่านการแย่งชิงอำนาจและการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย
อันเป็นสภาพการณ์ที่หนักหนาสาหัสที่สุด
ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย
มันจึงเป็นสถานการณ์ที่กำลังนำไปสู่ "การปฏิวัติสังคม" อย่างแท้จริง
ซึ่งการปฏิวัติในครั้งนี้จะปรับเปลี่ยนจากระบบที่ยึดตัวบุคคลเป็นใหญ่
ไปสู่การใช้มติที่เกิดจากการตัดสินใจเป็นหมู่คณะ
ซึ่งแน่นอนว่า การปรับเปลี่ยนจากสภาพสังคมแบบเก่าไปสู่สังคมแบบใหม่
ย่อมเกิดการปะทะกันของกลุ่มคนที่ยังนิยมชมชอบ และคุ้นชินอยู่กับระบบแบบเดิม ๆ
กับฝ่ายที่ต้องการไปสู่ "สังคมปริวัฒน์ใหม่"
.
.
http://www.internetfreedom.us/forum-2-page-2.html?sortby=started
Monday, 18 January 2010 06:28 | Author: ม้าน้ำ |
เมื่อมีสัญญาณอย่างหนึ่งอย่างใดส่อแสดงให้เห็นว่า
รัชสมัยของพระองค์ใกล้จะสิ้นสุดลง
อันเป็นการส่งสัญญาณบ่งบอกให้ล่วงรู้ว่า สถานการณ์ต่าง ๆ ถัดจากนี้ไป
จะเป็นการก้าวเดินเข้าไปสู่ช่วงปลายรัชกาล
อันจะนำไปสู่การผลัดแผ่นดิน เพื่อเข้าสู่รัชสมัยของรัชกาลใหม่ท้ายที่สุด
ซึ่งสภาวการณ์ต่าง ๆ ในห้วงเวลาเหล่านี้
กล่าวได้ว่าเป็นช่วง "สุญญากาศทางอำนาจ"
ซึ่งในบางยุคบางสมัย ก็สามารถเปลี่ยนผ่านไปได้อย่างราบรื่น
เพราะเกิดความลงตัวในทุก ๆ ด้าน
แต่ในบางครั้ง ก็เกิดการแก่งแย่งอำนาจ ชิงดีชิงเด่นกัน
จนถึงขั้นสงครามกลางเมืองย่อม ๆ ก่อการกบฏ ฆ่าล้างครัว ลอบสังหาร
หรือแม้แต่การติดตาม ไล่ล่าบุคคลสำคัญ ที่มากบารมี
และมีแนวโน้มว่าจะส่งอิทธิพลต่อทิศทางการผลัดแผ่นดินก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
นั่นเป็นเพราะว่าในห้วงเวลาแห่งสุญญากาศนั้น
ความผันผวนปรวนแปรของสถานการณ์แย่งชิงตำแหน่งอันสูงสุดนี้นั้น
ทำให้เกิดการพลิกผันได้ตลอดเวลา
ดังนั้น การที่ต่างฝ่ายต่างพยายามลดทอนอำนาจฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ลงให้มากที่สุด
เพื่อให้ฝ่ายตนสามารถสถาปนาอำนาจ และยึดกุมสภาพให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด
จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปตามทิศทางที่ฝ่ายตนต้องการ
เพราะถึงแม้จะได้มีการวางกฎเกณฑ์เอาไว้อย่างชัดเจนด้วยกฎมณเฑียรบาล
แต่เมื่อถึงจุดที่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดสามารถยึดกุมสภาพได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว
ย่อมสามารถชี้นำการเปลี่ยนผ่านให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
"กฎ" จึงมีไว้ใช้บังคับต่อฝ่ายที่พ่ายแพ้
ส่วนฝ่ายที่ยึดกุมชัยชนะย่อมเป็นผู้พลิกแพลงเอาจากกฎเกณฑ์
เพื่อนำมาบังคับใช้ต่อฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำ
"ชนะย่อมเป็นเจ้าพ่ายแพ้ยอมเป็นบ่าว"
ดังนั้น กฎเกณฑ์ในอดีตจึงไม่สามารถที่จะกำหนดทิศทางของอนาคตได้เสมอไป
ดังเช่น การรัฐประหารล้มล้างธรรมนูญ อันเป็นกฎสูงสุดแห่งรัฐ
ยังถูก "ฉีก" แล้วเขียนขึ้นมาใหม่
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่สามารถยึดครองสภาพได้ต่างหากเล่า คือผู้ที่จะกำหนดประวัติศาสตร์
ดังนั้น ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นสุญญากาศอย่างนี้
การกำหนดองค์รัชทายาทแบบชี้ชัด
ก็อาจจะนำมาซึ่งภัยพิบัติต่อองค์รัชทายาทเอง
เพราะบางครั้ง บารมีของผู้ที่กุมอำนาจได้มากกว่า ก็เป็นฝ่ายได้เปรียบ
ตรงนี้เอง ทำให้อำนาจสิทธิ์ขาดในการชี้ชัดต่อการกำหนดตัวบุคคลที่จะสืบทอดราชสมบัติ
ก็ไม่ใช่ว่าจะขึ้นอยู่กับพระองค์เสมอไป
เหตุเพราะว่า เมื่อสถานการณ์ยืดเยื้อออกไปถึงระยะเวลาหนึ่ง
อำนาจบารมีหรือผลประโยชน์บางช่วงเวลา ได้เกิดการถ่ายเทเปลี่ยนขั้วไปจากเดิม
จากที่พระองค์เคยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจ และสิทธิ์ขาด
ก็อาจจะกลายไปเป็นเพียง "ร่างทรง" ไม่เหลือไว้ซึ่งอำนาจสิทธิ์ขาดอย่างแท้จริง
เปรียบดังไม้ใหญ่เมื่อใกล้ฝั่ง ที่เริ่มแสดงอาการโอนเอน
เหล่าสรรพสัตว์นกกาที่เคยอาศัยร่มเงา ก็ย่อมจะแตกตื่น
และเริ่มสำเหนียกรู้ว่าจะอาศัยพักพิงต้นเดิมต่อไปอีกไม่ได้แล้ว
ก็เริ่มแสวงหาแหล่งใหม่ที่น่าจะมั่นคงยาวนานกว่า
จากการผลัดแผ่นดินในหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา
ผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในห้วงเวลาแห่งสถานการณ์ภายใต้สภาวะสุญญากาศที่ว่านี้
ส่วนมากยังคงเกี่ยวข้องกับเฉพาะวงในจริง ๆ เท่านั้น
เป็นต้นว่า พวกขุนนาง อำมาตย์ ราชนิกุล และกองทัพ
แต่แนวโน้มหรือทิศทางใด ๆ ต่างก็ชี้ไปที่ดุลอำนาจใน “กองทัพ” เสียเป็นส่วนใหญ่
เพราะมีความพร้อมทั้งในด้านกำลังพลและอาวุธ
จึงเห็นได้ว่า ผู้ใดที่สามารถกุมอำนาจเหล่าทัพได้
ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลต่อการเปลี่ยนผ่านในยุคนั้น ๆ
และ ณ วันนี้
สถานการณ์ภายในประเทศต่างก็บ่งชี้ให้เห็นว่า
ในทุกย่างก้าว กำลังเดินเข้าไปสู่สถานการณ์ในช่วงปลายรัชกาล
แต่เมื่อได้เกิดมีขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง
แทรกเข้ามาในช่วงสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนผ่านนี้
ดุลอำนาจต่าง ๆ จึงแปรเปลี่ยนไป
ซึ่งอาจจะทำให้เราได้เห็นเป็นครั้งแรก
ที่การเปลี่ยนผ่านมีภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
แต่อาจจะเป็นการเปลี่ยนผ่าน เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ในอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่ไม่เหมือนเดิม
ส่วนจะเป็นไปอย่าง ฝรั่งเศส เนปาล อังกฤษ ญี่ปุ่น หรือแบบใดก็แล้วแต่
ภาคประชาชนไม่ใช่ผู้กำหนด
แต่ผู้ที่กำลังจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านนั่นต่างหาก
คือผู้กำหนดสถานการณ์
.
.
.
.
.
.
วันนี้ สังคมไทยเดินเข้าใกล้สงครามกลางเมืองที่สุด
Sunday, 01 November 2009 13:13 | Author: ม้าน้ำ |
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าสถานการณ์ของการเผชิญหน้ากัน
ที่กำลังดำรงอยู่ในสังคมไทย ณ ปัจจุบันนี้นั้น
หากลองมองย้อนหลังอย่างผิวเผินไปที่ช่วงเวลา 19กย49
เราจะมองเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ “คู่ขัดแย้ง” ที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
แต่ก็ส่งผลให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของสถานการณ์
ที่เดินเข้าใกล้ความจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
โดยในเบื้องต้นของปัญหาเกิดมาจาก "เรื่องส่วนตัว" ระหว่าง “สนธิกับทักษิณ”
และมันได้พัฒนาความขัดแย้งจนกลายมาเป็นเรื่องของการกล่าวหารัฐบาลทักษิณ
โดยมีอำนาจแฝงเข้าร่วมด้วย จนนำไปสู่การทำรัฐประหาร
และต่อมาเกิดเป็น “คนเสื้อเหลือง” กับ “คนเสื้อแดง” อันเสมือนหนึ่งว่าเป็นคู่ขัดแย้งใหม่
แต่พอผ่านไประยะหนึ่ง เสื้อเหลืองอ่อนแรงลงไป
กลับกลายมาเป็น พล.อ.เปรม มาเป็นคู่ขัดแย้งของคนเสื้อแดงแทน
ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาคนเสื้อแดงบอกกล่าวเสมอ
ว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง
ส่วนตัว พล.อ.เปรม นั้น ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์หรือตัวแทนของฝ่ายอำมาตย์
ที่เป็นปัญหาหลักหรืออุปสรรคต่อการพัฒนาภาคการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ซึ่งไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้น
มีประเด็นแอบแฝงประการใดซุกซ่อนอยู่หรือไม่
และก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่า เมื่อเสร็จจาก พล.อ.เปรม แล้ว
คนเสื้อแดงจะได้พบกับคู่ขัดแย้งใดในอันดับต่อ ๆ ไปอีกหรือไม่
ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ทำให้เรามองเห็นความขัดแย้งที่ปรากฏเพียงเฉพาะในภาคการเมือง
แต่ภายใต้เหตุผลและเงื่อนไขทางการเมืองที่ฉาบทาบทาอยู่บนผิวหน้าของความขัดแย้งนั้น
หากมองให้เห็นเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน แล้วลองมองให้ลึกลงไปอีกสักนิด
กลับจะทำให้มองเห็นความขัดแย้งที่ดำรงอยู่นั้น เป็นความแยบยลของคู่ปฏิปักษ์
ที่แอบอิงผ่านสถานการณ์ในภาคการเมือง
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีมิติที่แฝงเร้นเหลื่อมล้ำทับซ้อนกันอยู่อย่างแนบเนียน
ภายใต้มิติของความขัดแย้งกันในภาคการเมือง
มิติที่แฝงตัวทับซ้อนเข้ามาแอบอิงอยู่อย่างมิดชิดนี้ หากไม่ใช้การสำเหนียกรู้
และการไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว จะไม่สามารถสำนึกได้เลยว่า
ตัวเองกำลังเข้าร่วมอยู่ใน “สงครามหลายมิติ”
ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริง
โอกาสที่จะเกิดการปะทะกับตัวแทนของฝ่ายอำมาตย์ก็มีสูงอยู่แล้ว
เพราะไม่มีทางที่ระบอบอำมาตย์ ซึ่งฝังรากลึกคู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านานนั้น
จะยอมคายอำนาจง่าย ๆ และยังไม่มีนัยบ่งชี้ใด ๆ ว่า ระบอบอำมาตย์ได้อ่อนเรี่ยวแรงลงไป
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างล่าสุดในช่วง “สงกรานต์เลือด” ที่ผ่านมา
และย้อนไปหลาย ๆ เหตุการณ์ในอดีตตั้งแต่ 2475 เป็นต้นมา เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า
ฝ่ายอำมาตย์ไม่เคยรามือเลยแม้แต่ครั้งเดียว
แต่กลับก้าวล้ำนำหน้าฝ่ายประชาธิปไตยอยู่หนึ่งก้าวเสมอ
ด้วยการพลิกแพลงซึมซาบเข้าสู่สังคมไทยได้อย่างล้ำลึกมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
จึงเห็นได้ว่า “สงครามมิติซ้อน” ที่ทาบทับอยู่กับเงาของการขัดแย้งกันในภาคการเมืองนั้น
โอกาสที่จะเกิดการแตกหักด้วยความรุนแรงนั้นกลับมีสูงกว่า
และสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยก็ว่าได้
เนื่องจาก “สงครามมิติซ้อน” นั้น เป็นการเดินหน้าเข้าหาเป้าหมายเดียวของ “คู่ขัดแย้ง”
ด้วยประสงค์ที่จะทำให้เกิดความเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
เป็นความเด็ดขาดที่เดิมพันกันด้วยอนาคตที่มีร่วมกันทั้งหมดของบริวารในแต่ละฝ่าย
ซึ่งหมายความว่า “จะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะและต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่พ่ายแพ้”
และด้วยสัจจะธรรมของสงคราม ฝ่ายชนะย่อมได้รับการสถาปนาให้ครอบครองทุกสิ่ง
และฝ่ายที่พ่ายแพ้ ก็หมายถึงการสูญเสียในทุก ๆ ด้านด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ด้วยเหตุผลนี้ การต่อสู้กันของทั้งสองฝ่ายอันเป็นมิติที่ซ้อนอยู่นี้นั้น
ย่อมต้องเด็ดขาดและรุนแรงตามเป้าหมาย
และภายใต้การสนับสนุนของบริวารที่มีความพร้อมอยู่แล้ว
โดยเป็นการเดิมพันกันด้วยอนาคตและผลประโยชน์ยิ่งใหญ่ที่มีร่วมกัน
และสถานการณ์ที่จะเป็นตัวกำหนดให้เกิดการแตกหักนั้น ก็คืบคลานใกล้เข้ามาทุกขณะ
นั่นก็คือ หากเกิด “การแตกดับของผู้ยิ่งใหญ่” เมื่อใด สถานการณ์ที่แท้จริงก็จะปรากฏ
แต่ก่อนที่จะถึงสถานการณ์นั้น
การเดินเกมส์เข้าใส่กันคงจะต้องเข้มข้น เด็ดขาด และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
เพื่อที่จะทำให้ฝ่ายตนกุมสภาพให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก่อนสถานการณ์แตกดับจะเกิด
อันจะเป็นเครื่องรับประกันว่า “การเปลี่ยนผ่าน” ที่ใกล้เข้ามา
จะเป็นไปตามแนวทางที่ฝ่ายตนมุ่งหวัง
ดังนั้น สถานการณ์นับต่อจากนี้ไปจึงน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะการขับเคลื่อนในส่วนที่เป็นแนวหน้าของแต่ละฝ่าย
เพราะความล่อแหลมของสถานการณ์นั้นคือ “เวลา” ที่คืบคลานใกล้เข้ามาทุกขณะ
หากไม่รีบกุมสภาพให้ได้โดยเร็วที่สุด
โอกาสที่จะเกิดการพลิกผันของแต่ละฝ่ายนั้นมีสูงเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น “เวลา” จึงเป็น “ตัวเร่ง” ให้เกิดสถานการณ์
เพื่อเข้ายึดกุมสภาพให้เร็วที่สุดตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
แต่จะด้วย “วิธีการ” ใด
ที่จะทำให้ยึดกุมสภาพให้ได้อย่างรวดเร็ว เบ็ดเสร็จ เด็ดขาดและไร้การต่อต้าน
และด้วยสถานการณ์ที่เร่งรัดในลักษณะนี้
ย่อมหนีไม่พ้นการแสวงหาพันธมิตรและแนวร่วม
ที่อยู่ภายใต้ข้อเสนอเพื่อกำหนดผลประโยชน์ร่วมกันอย่างชัดเจน
โดยถ้าฝ่ายใดเข้าถึงและสมประโยชน์
กับพันธมิตรและแนวร่วมก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ส่วนปัญหาเรื่อง “มิติของสงคราม” นั้น คงต้องให้เวลาและสถานการณ์
เป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตนของมันเอง ว่าสุดท้ายแล้ว “ผลประโยชน์”
จะตกอยู่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ กลุ่มบุคคล หรือ ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งกันแน่
อำมาตย์นั้นต่อสู้ แก่งแย่ง ชิงอำนาจ เพียงเพื่อพวกพ้อง
แต่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยนั้น
สุดท้ายแล้ว ประชาชนทั้งหมด
คือผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
.
.
.
--------------------------------------------------------------------------------
.
.
.
เหตุแห่งสงครามกลางเมืองของสังคมไทย
Saturday, 07 November 2009 00:00 | Author: ม้าน้ำ |
หากคุณเคยอ่านคำทำนายโบราณและคำพยากรณ์ของโหรร่วมสมัย
ที่เกี่ยวข้องกับยุคถัดไปของสังคมไทย จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า
คำทำนายต่างก็ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน
นั่นคือ ยุคถัดจากนี้ไปจะเป็นยุคมืดไร้ขื่อแปของสังคมไทย
เกิดความขัดแย้งแย่งชิงถึงขั้นใช้กำลังและอาวุธเข้าเข่นฆ่ากัน
เกิดการล้มตายถึงขนาดที่เรียกว่า "เลือดนองท้องช้าง"
อันถือได้ว่าเป็นยุคท้ายสุดของระบอบเก่าแก่ระบอบเดิม
ก่อนที่จะเกิดการปรับเปลี่ยนสภาพครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติ
เพื่อเข้าสู่ยุคทองของผองชนอย่างแท้จริง
ซึ่งตามธรรมชาติของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยนั้น
ย่อมจะเกิดการชำระล้างสิ่งเก่าที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของยุคใหม่ออกไป
อันเป็นการปรับสภาพเตรียมพร้อมเอาไว้รอต้อนรับสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเข้ามาทดแทน
ดังเช่น การสิ้นสุดของยุคไดโนเสาร์ เป็นต้น
หากคุณเคยอ่านคำทำนายมาบ้างแล้ว คุณลองใช้มุมมองต่อไปนี้เปรียบเทียบ
อาจจะทำให้พอมองเห็นสภาพของบ้านเมืองของเรา ในลำดับต่อไปว่าจะอยู่ในสภาพใด
สังคมไทยดำรงอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์มาช้านาน
ซึ่งเป็นระบบที่ผู้น้อยต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ หรือผู้ที่อำนาจบารมีมากกว่า
ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถคุ้มหัวหรือให้คุณให้โทษต่อหน้าที่การงานได้
ถึงแม้ในบางครั้งการสั่งนั้น เป็นการสั่งให้ทำในสิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากศีลธรรมอันดี
หรือตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ แต่ด้วยความที่เป็นผู้น้อยก็ต้องทำ
เพราะในบางสถานะของความเป็น "ผู้ใหญ่" ความมีอำนาจหรือบารมีมันแผ่กว้างขวาง
เกินกว่าที่ผู้รักษากฎหมายจะเข้าถึง
ซึ่งไม่ได้หมายความว่ากฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์
แต่เป็นเพราะ "คน" ที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือตามกระบวนการทั้งหลายนั้น
พร้อมใจกันสมประโยชน์กับบุคคลที่มีบารมีเอง
สุดท้ายแล้ว จึงทำให้ระบบของบ้านเมืองยึดบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่เป็นหลัก
มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับระบอบหรือกฎหมาย ที่เป็นเพียงกระดาษไร้ฤทธิ์แผ่นหนึ่งเท่านั้น
ทำให้ระบบของสังคมไทยเห็นบุคคลอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด
ปัจจุบันระบบอุปถัมภ์ได้กลายมาเป็นระบอบที่ยิ่งใหญ่ในสังคมไทย
นั่นก็คือ ระบอบอำมาตยาธิปไตย
เป็นระบอบที่ทรงอิทธิพลและเข้าควบคุมทิศทางของประเทศทั้งหมดมาช้านาน
หลาย ๆ เหตุการณ์ของความขัดแย้งที่ผ่านมาในอดีต
คนไทยเกิดการขัดแย้งกันเองจากแนวคิดทางการเมือง
จนถึงขั้นเผชิญหน้ากันเกือบเกิดเป็นสงครามภายในประเทศมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน
ซึ่งถ้าจะมองให้ลึกลงไปอีกก็จะเห็นว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมานั้น
ผ่านการจัดตั้งให้เป็นไปในแนวทางที่ "เขา" ได้กำหนดเอาไว้แล้ว
ว่าต้องการให้เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นไปในแนวทางใด
เพื่อสุดท้ายแล้วเขาจะได้สร้าง "บารมี" ให้กับคนของฝ่ายตนเพิ่มขึ้นไปอีก
ซึ่งเป็นความโหดร้ายของคนที่อยู่ในฝ่ายอำมาตย์
ที่เห็นชีวิตของผู้คนร่วมชาติเป็นเพียง "เครื่องมือ" ชิ้นหนึ่ง
ในการเชิดชูภาพให้คนของเขามีภาพของความยิ่งใหญ่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ซึ่งเหตุการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ
มักจะมีภาพของคนจากฝ่ายอำมาตย์เป็นเงาปรากฏอยู่เบื้องหลังเสมอ
เพื่อเป็นการขุดบ่อสร้างสถานการณ์ล่อให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เดินเข้าสู่พื้นที่สังหาร
แล้วใช้อาวุธสงครามเข้าทำการเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมทารุณ
แล้วจบลงด้วยภาพอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายอำมาตย์
โดยมีชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนเป็นเครื่องเซ่น เป็นอยู่อย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งเป็นมโนสำนึกที่ฝังลึกอยู่ภายใต้จิตใจของประชาชนที่ถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เหตุการณ์ความขัดแย้งกันของแต่ละครั้งแต่ก็ได้ "ผู้ใหญ่" ในบ้านเมือง
ช่วย "ออกหน้า" ให้สามารถยุติลงได้
แต่ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งเหล่านั้นจะหายไปจากสังคม
เพราะความขัดแย้งนั้นยังดำรงอยู่เพียงแต่สถานการณ์ยุติลงเพียงชั่วคราวเท่านั้น
จึงเห็นได้ว่าความขัดแย้งนั้นรอวันที่จะปะทุอยู่ตลอดเวลา
รอเพียงเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดสถานการณ์เท่านั้น
ดังผีร้ายที่อยู่ในหม้อสะกดวิญญาณ หากวันใดที่มนต์เสื่อมหรือหม้อแตก
วันนั้นผีร้ายทั้งหลายคงออกอาละวาด
ถ้าผีเปรียบได้กับความขัดแย้ง หม้อสะกดวิญญาณ ก็เปรียบเสมือนผู้ใหญ่
พร้อมทั้งสายน้ำแห่งกาลเวลาที่คอยกัดเซาะริมตลิ่ง(สุขภาพ)
ต้นไม้ใหญ่ก็รอวันโค่นล้มอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
และในปัจจุบัน หัวเรือใหญ่ของระบอบอำมาตย์ก็ล่วงเลยอายุเข้าสู่ปัจฉิมวัย
เป็นดังไม้ใกล้ฝั่งรอวันถูกสายน้ำพัดพาให้โค่นล้มลงไปตามกาลเวลาตามสภาพ
หากวันใดไม้ใหญ่ต้นนั้นโค่นล้มลงเมื่อใด
ส่วนคนที่ยังอยู่และพอที่จะเป็น "ผู้ใหญ่" ได้ ก็เปิดเผยตัวตนกันหมดแล้วว่า "เลือกข้าง" ใด
ไม่เว้นแม้แต่กองทัพผู้มีอาวุธในมือ
สังคมนี้จึงไร้แล้วอย่างสิ้นเชิงของ "สังคมผู้มีบารมี"
ไร้แล้วอย่างสิ้นเชิงของสังคมที่ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่
ไร้แล้วซึ่งผู้ที่มีบารมีพอที่จะสามารถออกมาพูดเพียงประโยคเดียว
ก็ขจัดความขัดแย้งให้มลายหายสิ้นไปดั่งสายลมพัดผ่าน
บวกกับสถานการณ์ในหลายมิติ
การเปลี่ยนผ่านการแย่งชิงอำนาจและการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย
อันเป็นสภาพการณ์ที่หนักหนาสาหัสที่สุด
ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย
มันจึงเป็นสถานการณ์ที่กำลังนำไปสู่ "การปฏิวัติสังคม" อย่างแท้จริง
ซึ่งการปฏิวัติในครั้งนี้จะปรับเปลี่ยนจากระบบที่ยึดตัวบุคคลเป็นใหญ่
ไปสู่การใช้มติที่เกิดจากการตัดสินใจเป็นหมู่คณะ
ซึ่งแน่นอนว่า การปรับเปลี่ยนจากสภาพสังคมแบบเก่าไปสู่สังคมแบบใหม่
ย่อมเกิดการปะทะกันของกลุ่มคนที่ยังนิยมชมชอบ และคุ้นชินอยู่กับระบบแบบเดิม ๆ
กับฝ่ายที่ต้องการไปสู่ "สังคมปริวัฒน์ใหม่"
.
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น