วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ตายเพราะเจ้าหน้าที่


วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7437 ข่าวสดรายวัน


http://easy-net.appspot.com/u?purl=bG10aC43MTIw
Mi1kYWVyaHQvc3UubW9ZWVyZnRlbnJldG5pLnd3dy8vOnB0dGg%3D%0A

1ปี-คดียิง"ฮิโรยูกิ" เปิดคำให้การพยาน ในสำนวน"ดีเอสไอ" ตายเพราะเจ้าหน้าที่


คอลัมน์ แฟ้มคดี





ครบ รอบ 1 ปีพอดีเหตุการณ์ "10 เมษาเลือด" ซึ่งเป็นการปะทะกันครั้งแรกและครั้งรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารกับกลุ่ม ผู้ชุมนุมเสื้อแดง บนถนนราชดำเนิน และอีกหลายจุดใกล้ๆ กัน

จากวันนั้น การนองเลือดลุกลามบานปลายไปจนถึง 19 พฤษภาคม

ในเหตุการณ์นั้นเกิดความสูญเสียมากมายทั้งฝ่ายทหาร และประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชน

ต่อมากลายเป็นคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ การตายที่ดูเหมือนจะได้รับความสนใจ และมีผลกระทบในวงกว้างมากที่สุด ต้องยกให้กรณี "นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ" ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น

เพราะหลังเกิดเหตุรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาด้วยตัวเอง ขณะที่สถานทูตก็จี้คดีอย่างต่อเนื่อง

ในกาลต่อมา นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี ดีเอสไอ แถลงผลสอบสวนผู้เสียชีวิตรวม 89 ราย ในเหตุการณ์รุนแรงวันที่ 10 เมษายน-19 พฤษภาคม 2553 โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือตายด้วยฝีมือคนเสื้อแดง ตายโดยเชื่อว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ และส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าใครลงมือ

รายของนายฮิโรยูกิ เป็น 1 ใน 13 ผู้เสียชีวิตที่ดีเอสไอสรุปว่าน่าจะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ก่อนส่งสำนวนทั้งหมดให้ตำรวจสอบสวนเพิ่ม

พรรคฝ่ายค้านโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย นำกรณีนี้ไปอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ในฐานะผู้สั่งการ และเรียกร้องให้รับผิดชอบ

พร้อมกันนี้มีรายงานว่าฝ่ายทหารเองก็ไม่สบายใจกับผลสรุป 13 ศพของดีเอสไอ

ขณะเดียวกับทูตญี่ปุ่นก็เข้าทวงถามความคืบหน้าซ้ำอีกครั้ง พร้อมขู่ตอบโต้ทางการเมืองหากไม่สามารถหาผู้ก่อเหตุได้

ช่วงที่กำลังปั่นป่วนนี้เองตำรวจก็ส่งสำนวนนายฮิโรยูกิ คืนให้ดีเอสไอ โดยระบุว่าไม่พบว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ!??

นาย ธาริต รีบรับลูกทันทีโดยระบุว่าจะสอบสวนเพิ่มเติม และหากไม่มีหลักฐานใหม่ก็จะพักคดีไว้ก่อน แต่อ้างว่าคดีมีอายุความถึง 20 ปี สามารถรื้อฟื้นขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้!??

คำให้การพยานคดี"ฮิโรยูกิ"

สำนวน การสอบสวนของดีเอสไอ ในคดีนายฮิโรยูกิ นอกจากจากชันสูตรศพโดยคณะแพทย์ชุดใหญ่แล้ว ยังมีคำให้การของพยานแวดล้อมที่อยู่ในนาทีเกิดเหตุด้วย

เริ่มจากคน แรก ร.ต.ท.อริย์ธัช อธิสุรีย์มาศ ร้อยเวรสน.พลับพลาไชย 1 เจ้าของคดีฆ่านาย ฮิโรยูกิ ระบุว่าวันเกิดเหตุได้รับแจ้งเหตุมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมทางการ เมืองหลายรายจากโรงพยาบาลกลาง เมื่อตรวจสอบพบบัตรประจำตัวในศพชายผู้หนึ่งจึงทราบว่าคือนาย ฮิโรยูกิ นักข่าวสำนักข่าวรอยเตอร์ จึงได้ร่วมกับแพทย์ชันสูตรพลิกศพและส่งศพไปผ่าตรวจพิสูจน์ที่สถาบันนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ ผลการตรวจศพพบว่านายฮิโรยูกิ เสียชีวิตจากกระสุนปืนความเร็วสูงที่ทรวงอก ทำลายปอด หลอดเลือดแดงใหญ่

ราย ต่อมาคือ นายณัฐพงศ์ หรือ ม่อน โพธิยะ ให้การว่าเป็นผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มนปช. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 18.00 น. พยานพร้อมด้วย นายทศชัย เมฆงามฟ้า เดินทางจากแยกราชประสงค์มาร่วมชุมนุมกับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว เห็นเจ้าหน้าที่ทหารผลักดันกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ถนนตะนาว โดยได้ยินเสียงปืนเป็นระยะๆ

จนเวลาประมาณ 19.00 น. พยานและ นายทศชัย มาร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชา ธิปไตย โดยหลบอยู่หัวมุมถนนดินสอข้างรั้วโรงเรียนสตรีวิทยา พยานได้เห็นมีการยิงปืนจากทางกลุ่มทหาร จนเวลาประมาณ 20.00 น. พยานเห็นนายฮิโรยูกิ เดินออกมาจากแนวทหารมาอยู่ตรงข้ามโรงเรียนสตรีวิทยา ขณะนั้นพยานเห็นนายฮิโรยูกิ ถูกยิงล้มลง และมีผู้ช่วยหามร่างออกมาทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พยานไม่เห็นว่าผู้ใดเป็นผู้ยิงแต่เห็นแสงไฟลักษณะเหมือนออกจากปากกระบอกปืน ออกมาจากกลุ่มทหาร

สอบตำรวจเห็นเหตุการณ์

พยานปากที่ 3 คือ ด.ต.ชาตรี อุตสาหรัมย์ ให้การว่าได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ให้บันทึกภาพเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มนปช. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 20.00 น. มาสังเกตการณ์การชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จึงเข้าไปยืนหลบที่หลังต้นไม้บนทางเท้าก่อนถึงประตูโรงเรียนสตรีวิทยา และ ได้ยินเสียงปืนดังทีละนัดโดยต่อเนื่อง และห่างจากที่ยืนไปทางด้านหน้าประมาณ 50 เมตร เห็นทหารถืออาวุธปืนยาวในลักษณะเฉียงอาวุธอยู่แนวเดียวกับพยาน

ขณะ นั้นพยานได้ยินเสียงดัง เหมือนของหนักหล่นกระแทกพื้นด้านหลัง เมื่อหันไปดูเห็นผู้สื่อข่าวต่างชาติทราบภายหลังว่า คือ นายฮิโรยูกิ แบกกล้องถ่ายวิดีโอขนาดใหญ่หงายหลังลงกับพื้นทางเท้าหันศีรษะไปทางรั้ว โรงเรียนสตรีวิทยา พยานเข้าไปดูเห็นที่หน้าอกซ้ายของฮิโรยูกิ มีจุดรอยเลือดเล็กๆ และขยายใหญ่ขึ้น จึงทราบว่าถูกยิง จึงช่วยประคองลำตัวไว้บนตักและเรียกให้กลุ่มผู้ชุมนุมช่วยนำร่างออกไป ทางอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

พยานไม่ทราบว่านายฮิโรยูกิ ถูกยิงจากทิศทางใด แต่แน่ใจว่าไม่ได้ถูกยิงมาจากอนุสาวรีย์ชัยประชาธิปไตย

ต่อ มาคือพันเอกธรรมนูญ วิถี ให้การว่าได้รับคำสั่งจาก ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ร่วมปฏิบัติภารกิจขอคืนพื้นที่และเปิดเส้นทางการจราจรบนราชดำเนิน ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. ได้รับทราบจาก ผบ.พล. ว่ากำลังทหารที่ปฏิบัติภารกิจอยู่ที่ถนนตะนาว แยกคอกวัว ได้ถูกยิงด้วยระเบิดเอ็ม 79 ทหารได้รับบาดเจ็บหลายนาย ผบ.พล.จึงได้เรียกประชุมเพื่อวางแผนการถอนกำลัง เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จได้เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมมีจำนวนมาก เกินไป

ขณะที่มีการเรียกประชุมมีระเบิดตกลงมาใกล้บริเวณที่นายทหาร ประชุมกันอยู่ สะเก็ดระเบิดถูกทหารได้รับบาดเจ็บหลายนายและ พันเอกร่มเกล้า ธุวธรรม และ สิบโทภูริวัฒน์ ประพันธ์ เสียชีวิต ส่วนพยานได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ต่อมาในเวลาไล่เลี่ยกัน มีระเบิดอีกลูกหนึ่งตกเข้าใส่กลุ่มทหารที่กำลังถอยร่นเสียชีวิตและได้รับบาด เจ็บอีกหลายนาย กำลังพลจึงช่วยกันลำเลียงคนบาดเจ็บออกจากพื้นที่

พยาน สั่งให้กำลังพลถอยกลับไปที่แยกสะพานวันชาติ ขณะที่ทหารถอนกำลังนั้น กลุ่มชายฉกรรจ์เสื้อแดง ได้รุกไล่ติดตามเข้ามารุมทำร้ายโดยตลอด ในระหว่างนั้นพยานได้ยินเสียงปืนประปรายแต่ไม่ทราบว่ายิงมาจากฝ่ายใด จนกระทั่งได้มีการประสานกับแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างหยุดการกระทำ เหตุการณ์จึงได้สงบลง พยานให้การว่าเห็นนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ครั้งสุดท้ายขณะทำข่าวอยู่ที่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา เมื่อช่วงเวลาเย็นและค่ำของวันเกิดเหตุ

หน่วยกู้ชีพให้รายละเอียด

นาย ขวัญชัย ศรีวิเวก หน่วยกู้ชีพ ให้การว่า มีอาชีพรับจ้างเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง แผนกบรรเทาสาธารณภัย ตามวันเกิดเหตุปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่บริเวณแยกคอกวัวและอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ต่อมาเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ขณะที่กำลังปฐมพยาบาลและดูแลผู้บาดเจ็บก่อนนำส่งโรงพยาบาลอยู่นั้น เห็นกลุ่มผู้ชุมนุมได้ช่วยกันอุ้มร่างนายฮิโรยูกิ มาจากทางด้านถนนดินสอฝั่งโรงเรียนสตรีวิทยา นำส่งขึ้นรถกู้ภัยจึงปฐมพยาบาลและตรวจดูอาการเบื้องต้น พยานคาดว่านาย ฮิโรยูกิ น่าจะเสียชีวิตก่อนนำส่งรถกู้ชีพ โดยพยานได้นำตัวนายฮิโรยูกิส่งต่อที่โรงพยาบาลกลาง เมื่อเวลาประมาณ 21.15 น.

นายสรณคมน์ บัวพึ่งน้ำ นักข่าวอาชญากรรมหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ให้การว่าทำข่าวการชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ จนกระทั่งเวลา 14.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมถูกทหารขับไล่จนถอยร่นไปรวมตัวกันอยู่ที่เชิงสะพานมัฆวาน จากนั้นเวลาประมาณ 19.50 น. พยานและกลุ่มผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างชาติกำลังทำข่าวอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย มีเฮลิคอปเตอร์ของทหารบินมาโปรยแก๊สน้ำตาไปทั่วบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ต่อ มาเวลาประมาณ 21.10 น. พยานเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมมีสัญลักษณ์ผ้าสีแดงโพกหัวและพันคอ จำนวน 3 คน อุ้มร่างของผู้ชายคนหนึ่งทราบชื่อภายหลังว่าคือนายฮิโรยูกิ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ ออกมาจากถนนดินสอส่งขึ้นรถพยาบาล

ความเห็นพนักงานสอบสวน

ใน ตอนท้ายของสำนวนการสอบสวน สรุปความเห็นของพนักงานสอบสวนระบุว่า ปรากฏข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 21.00 น. ขณะที่นายฮิโรยูกิ กำลังทำข่าวการปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ทหาร ในเวลานั้นมีเหตุชุลมุนทำให้เจ้าหน้าที่ททหารและผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนมาก โดยนายฮิโรยูกิ เข้าไปทำข่าวอยู่ระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหาร จนถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วสูงไม่ทราบขนาดเข้าบริเวณหน้าอกซ้าย ทะลุกล้ามเนื้อใต้รักแร้ออกทางต้นแขนขวาด้านหลัง มีผู้นำส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

จากการสอบสวนของพนักงาน สอบสวนคดีพิเศษปรากฏจากคำให้การของของ ด.ต.ชาตรี อุตสาหรัมย์ ให้การยืนยันว่านายฮิโรยูกิ ผู้ตายยืนอยู่ห่างจากพยานประมาณ 1 เมตร โดยยืนยันว่าทิศทางกระสุนปืนที่ยิงถูกนายฮิโรยูกิ ไม่ได้มาจากด้านกลุ่มผู้ชุมนุม และจากคำให้การของนาย ณัชพงศ์ หรือม่อน โพธิยะ ยืนยันว่าขณะเกิดเหตุเห็นนายฮิโรยูกิ ถูกยิง ล้มลงโดยเห็นแสงไฟจากปากกระบอกปืนจากทางเจ้าหน้าที่ทหาร

ประกอบกับ เอกสารภาพจากวิดีโอคลิปจากกล้องของนายฮิโรยูกิ ซึ่งถ่ายก่อนจะถูกยิงเสียชีวิต คือเวลา 20.57 น. ถ่ายภาพเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่บริเวณเดียวกัน โดยถ่านเห็นด้านข้างซึ่งจะต้องหันหน้าไปทางแนวเจ้าหน้าที่ทหารเช่นเดียวกับ กลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งสอดคล้องกับบาดแผลของผู้ตาย

ทางคดีมีพยานหลักฐาน และพฤติการณ์แห่งคดีทั้งปวง มีข้อเท็จจริงและเหตุผลพอสมควรเข้าข่ายน่าเชื่อว่าการเสียชีวิตของนายฮิโรยู กิ เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงเห็นควรส่งเรื่องกลับไปให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีความอาญามาตรา 150 เพื่อให้มีการไต่สวนของศาลต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น