วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

จดหมายน้อยถึงบาดหลวง "ผมรู้สึกสมเพชตัวเอง
…..ที่เกิดมาเป็นคาทอลิก...."
http://thaienews.blogspot.com/2011/04/blog-post_09.html



ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 45 ประเทศร่วมก่อตั้งสหประชาชาติในปี 2488 และร่วมเซ็นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2491

ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนที่ตระหนักในศักดิ์ศรีแห่งมนุษยชาติทุกชีวิตบนพื้นพิภพว่าเท่าเทียมกันและได้รับการคุ้มครองเสมอเหมือนกัน


สำนักงานสหประชาชาติประจำประเทศไทยเขียนเรื่องบทบาทของระบบสหประชาชาติในไทย ไว้ว่า . .
ไทยเป็นประเทศผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของสหประชาชาติ ประเทศไทยได้ส่งบุคลากรไปร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ และรับรองมติด้านสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาและสนธิสัญญาเกี่ยวกับแรงงานและสิ่งแวดล้อม องค์กรสหประชาชาติระดับภูมิภาคเป็นจำนวนมากจัดตั้งสำนักงานในกรุงเทพฯ รวมทั้งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่ง สหประชาชาติ (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - UNESCAP) และสำนักงานระดับภูมิภาคที่เพิ่งเปิดใหม่ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP-RCB)
ในสภาวะที่ความเชื่อถือในกระบวนการ นิติบัญญัติ ตุลาการ และรัฐสภาไทย อยู่ในช่วงตกต่ำ ไร้หลักการ ทั้งสังคมสับสน หวาดหวั่น และไม่แน่ใจว่า "อะไรคือหลักการที่ถูกต้อง ยุติธรรม และชอบธรรม" ที่ควรยึดถือปฏิบัติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ไทยให้สัตยาบัญนับตั้งแต่ปี 2491 คือแม่แบบแห่งหลักการประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเท่าเทียมที่มนุษย์ในทุกสังคมต่างปราถนา 

ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่อง สิทธิมนุษยชน

ด้วยเหตุที่การยอมรับศักศรีประจำตัวและสิทธิที่เสมอกันไม่อาจโอนแก่กันได้ของสมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษย์ เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพ
ด้วยเหตุที่การเฉยเมยและดูหมิ่นเหยียดหยามสิทธิมนุษย์ด้วยกันเอง ได้ก่อให้เกิดการกระทำอันโหดร้ายป่าเถื่อนทารุณ กระทบกระเทือนมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างรุนแรง โดยเหตุที่ได้มีการประกาศปณิธานสูงสุดของสามัญชนว่า ถึงวาระแห่งโลกแล้วที่นมุษย์จะมีเสรีภาพในการพูด ในความเชื่อถือ และทั้งมีเสรีภาพจากความกลัวและความต้องการ
ด้วยเหตุที่เป็นสิ่งจำเป็นที่สิทธิมนุษยชนควรได้รับการคุ้มครองโดยหลักนิติธรรม ถ้าไม่ต้องการให้มนุษย์ถูกบีบบังคับ ให้หาทางออกโดยการกบฎต่อทรราชย์และการกดขี่อันเป็นที่พึ่งสุดท้าย 
ด้วยเหตุที่เป็นสิงจำเป็นที่จะส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างชาติต่างๆด้วยเหตุที่บรรดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตร ถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวบุคคล และความเสมอกันแห่งสิทธิทั้งชายหญิง และได้ตัดสินใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้า ทางสังคมตลอดจนมาตฐานแห่งชีวิตให้ดีขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น
ด้วยเหตุที่รัฐสมาชิกได้ปกฏิญาณที่จะให้ได้มา โดยการร่วมมือกับสหประชาชาติ ซึ่งการส่งเสริม การเคารพ และการถือปฎิบัติโดยสากลต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

ด้วยเหตุที่ความเข้าใจตรงกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ มีความสำคัญยิ่ง เพื่อให้คำปฎิญาณนี้เกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างเต็มเปี่ยม

ดังนั้น ณ บัดนี้ สมัชชา จึงขอประกาศให้....

ปฏิญญาสากลว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตราฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จ สำหรับประชาชนทั้งหลายและประชาชาติทั้งปวง ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ปัจเจกบุคคล ทุกผู้ทุกนามและองค์กรของสังคมทุกหน่วย โดยการรำลึกเสมอถึงปฏิญญานี้ พยายามสั่งสอนและให้การศึกษาเพื่อส่งเสริม การเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ ด้วยมาตรการที่เจริญก้างไปข้างหน้า ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและถือปฎิบัติต่อสิทธิเหล่านั้น อย่างเป็นสากลและได้ผล ทั้งในหมู่ประชาชนของรัฐสมาชิกเอง และในหมู่ของประชาชนแห่งดินแดน ที่อยู่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐสมาชิกดังกล่าว.
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อ 1
มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฎิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
ข้อ 2
บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพตามที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเ รื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด
นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่าง โดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมือง ทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเอง หรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด
ข้อ 3
บุคคลมีสิทธิในการดำเนินชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย
ข้อ 4
บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ในภาระจำยอมใดๆมิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม้ได้ทุกรูปแบบ
ข้อ 5
บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการปฎิบัติ หรือลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหด ไร้มนุษยธรรมหรือเหยียดหยามเกียรติมิได้
ข้อ 6
ทุกๆคนมีสิทธิที่จะได้รับ การยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมาย ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ
ข้อ 7
ทุกๆคน ต่างเสมอกันในกฎหมายและชอบที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฎิบัติใดๆ ทุกคนชอบที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าจากการเลือกปฎิบัติใดๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และต่อการยุยงส่งเสริมให้เกิดการเลือกปฎิบัติเช่นนั้น
ข้อ 8
บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผล โดยศาลแห่งชาติซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใดๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย
ข้อ 9
บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศโดยพลการมิได้
ข้อ 10
บุคคลชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ ในอันที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผย โดยศาลที่เป็นอิสระและ ไร้อคติ ในการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนข้อที่ตนถูกกล่าวหาใดๆ ทางอาญา
ข้อ 11
บุคคลที่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญา มีสิทธิ์ที่จะได้รับการสันนิฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะจะมีการพิสูจน์ว่า มีความผิดตามกฎหมาย ในการพิจารณาโดยเปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้รับหลักประกันทั้งหมดที่จำเป็นในการต่อสู้คดี
บุคคลใดจะถูกถือว่ามีความผิดอันมีโทษทางอาญาใดๆ ด้วยเหตุที่ตนได้กระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆ ซึ่งกฎหมายของประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่ได้กระทำนั้นมิได้ถูกระบุว่ามีความผิดทางอาญามิได้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นหนักกว่าโทษที่ใช้อยู่ในขณะที่การกระทำความผิดทางอาญานั้นเกิดขึ้นมิได้
ข้อ 12
การเข้าไปสอดแทรกโดยพลการในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหะสถาน การส่งข่าวสาร ตลอดจนการโจมตีต่อเกียรติยศและ ชื่อเสียงของบุคคลนั้นจะทำมิได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจากการสอดแทรก และการโจมตีดังกล่าว
ข้อ 13
บุคคลมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและในถิ่นที่อยู่ภายในขอบเขตดินแดนของแต่ละรัฐ
บุคคลมีสิทธิที่จะเดินทางออกนอกประเทศใดๆ รวมทั้งของตนเอง และมีสิทธิที่จะกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน
ข้อ 14
บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการถูกกดขี่ข่มเหง
สิทธินี้จะถูกกล่าวอ้างมิได้ในกรณีการฟ้องคดี ซึ่งโดยจากความจริงเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง หรือจากการกระทำที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
ข้อ 15
บุคลลมีสิทธิในการถือสัญชาติ
การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือปฎิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติ ของบุคคลใดนั้น จะกระทำมิได้
ข้อ 16
ชายหญิงเมื่อเจริญวัยบริบรูณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและสร้างครอบครัว โดยไม่มีการจำกัดใดๆเนื่องจาก เชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคล ชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรส และในการขาดจากการสมรส
การสมรสจะกระทำได้โดยการยินยอมอย่างเสร ี และเต็มใจ ของคู่ที่ตั้งใจจะกระทำการสมรส
ครอบครัวคือ กลุ่มซึ่งเป็นหน่วยทางธรรมชาติและพื้นฐานทางสังคม และชอบที่จะได้รับความคุ้มครองโดยสังคมและรัฐ
ข้อ 17
บุคคลมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเอง และโดยการร่วมกับผู้อื่น
การยึดเอาทรัพย์สินของบุคคลใดไปเสียโดยพลการจะกระทำมิได้
ข้อ 18
บุคคลมีเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะเปลี่ยนศาสนา หรือความเชื่อ และเสรีภาพที่จะแสดงให้ศาสนาหรือความเชื่อประจักษ์ในรูปแบบการสั่งสอน การปฎิบัติกิจ การเคารพสักการะบูชา สวดมนต์ และพิธีกรรม ไม่ว่าจะโดยลำพังตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นในประชาคม ในที่สาธารณะหรือในที่ส่วนตัว
ข้อ 19
บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในความเห็น และการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่น ในความคิดเห็นโดยปราศจากการสอดแทรก และที่จะแสวงหารับ ตลอดจนการแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นโดยผ่านสื่อใดๆ โดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน
ข้อ 20
บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และสมาคมโดยสงบ
การบังคับให้บุคคลเป็นเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจะกระทำมิได้
ข้อ 21
บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลของตนไม่ว่าจะโดยหรือผู้แทนที่ผ่านการเลือกอย่างเสรี
บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน
เจตจำนงของประชาชน จะเป็นฐานอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดยการเลือกตั้ง เป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง โดยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมและโดยการลงคะแนนลับ หรือโดยวิธีการลงคะแนนอย่างเสรี
ข้อ 22
ในฐานะสมาชิกของสังคม ด้วยความเพียรพยายามของชาติตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศ และโดยสอดคล้องกับการจัดระเบียบและทรัพยากรของแต่ละรัฐบุคคลมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคม และชอบที่จะได้รับผลแห่งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งจำเป็นต่อศักดิ์ศรีและการพัฒนาบุคลิกภาพ อย่างเสรีของตน
ข้อ 23
บุคคลมีสิทธิที่จะทำงาน และเลือกงานอย่างเสรี และมีสภาวะการทำงานที่ยุติธรรมและพอใจ ที่จะได้รับการคุ้มครองจากการว่างงาน
บุคคลมีสิทธิที่จะรับค่าตอบแทนเท่ากัน สำหรับการทำงานที่เท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติใดๆ
บุคคลที่ทำงานมีสิทธิในรายได้ซึ่งยุติธรรม และเอื้อประโยชน์เฟื่อเป็นประกันสำหรับตนเอง และครอบครัวให้การดำรงค์มีด่าควรแก่สักดิ์ศรี ของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็ชอบที่จะได้รับการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ เพิ่มเติม
บุคคลมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เพื่อคุ้มครองผลประดยชน์ของตน
ข้อ 24
บุคคลมีสิทธิในการพักผ่อนและเวลาว่าง รวมทั้งการจำกัดเวลาทำงานที่ชอบด้วยเหตุผล และมีวันหยุดเป็นครั้งคราวที่ได้รับค่าตอบแทน
ข้อ 25
บุคคลมีสิทธิในมาตราฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับตนเองครอบครัว รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลและบริการทางสังคมที่จำเป็น และสิทธิในความมั่นคงในกรณีย์ว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย วัยชรา หรือการขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพ อื่นใดในพฤติการณ์อันเกิดจากที่ตนควบคุมได้
มารดาและบุตรชอบที่จะได้รับการดูและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นบุตรในหรือนอกสมรส ย่อมได้รับการคุ้มครอง ทางสังคมเช่นเดียวกัน
ข้อ 26
บุคคลมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์โดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในขั้นประถมศึกษษ และขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิคและประกอบอาชีพเป็นการศึกษาที่ต้องจัดให้มีโดยทั่วๆไป ขั้นสูงสุดเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ
การศึกษาจะมุ่งไปทางการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่ เพื่อเสริมพลังการเคารพสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้แข็งแกร่ง และมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติและมิตรภาพระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติและศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อธำรงสันติภาพ
ผู้ปกครองมีสิทธิก่อนผู้อื่นที่จะเลือกชนิดของการศึกษา สำหรับบุตรหลานของตน
ข้อ 27
บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมการใช้ชีวิตทางวัฒนธรรมในประชาคมออย่างเสรี ที่จะพึงพอใจในศิลปะและมีส่วนในความคืบหน้า และผลประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์
บุคคลมีสิทธิในการได้รับการคุ้มครองประโยชน์ทางด้านศีลธรรม และทางวัตถุอันเป็นผลได้จากการประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปธที่ตนเป็นเจ้าของ
ข้อ 28
บุคคลชอบที่จะได้รับประโยชน์จากระเบียบสังคมและระหว่างประเทศ อันจะอำนวยให้การใช้สิทธิและเสรีภาพบรรดาที่ได้ระบุไว้ใน ปฏิญญานี้ทำได้อย่างเต็มที่
ข้อ 29
บุคคลมีหน้าที่ต่อประชาคมอันเป็นที่เดียวซึ่งบุคลิกภาพของตนจะพัฒนาได้อย่างเสรีเต็มความสามารถ
ในการใช้สิทธิและเสรีภาพบุคคลต้องอยู่ภาพใต้เพียงเช่นที่จำกัดโดยกฎหมายเฉพาะเพื่อความมุ่งประสงค์ ใหเได้มาซึ่งการยอมรับ และเคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขอลศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการโดยทั่วๆไป ในสังคมประชาธิปไตย
สิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ มิว่าด้วยกรณีย์ใด จะใช้ขัดกับความมุ่งประสงค์และหลักการ ของสหประชาชาติไม่ได้
ข้อ 30
ข้อความต่างๆตามปฏิญญานี้ ไม่เปิดช่องที่จะแปลความได้ว่า ให้สิทธิใดๆแก่รัฐ กลุ่มชนหรือบุคคลใดๆ ที่จะประกอบกิจกรรม หรือกระทำการใดๆ อันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและเสรีภาพใดๆ ที่ได้ระบุไว้ในบทบัญญัติฉบับนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น