วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ทหารสามารถขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้หรือไม่ ?

ทหารสามารถขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาได้หรือไม่ ?
อ้างอิง: Military Orders: To Obey or Not to Obey?


[IMG]

แปลโดย: ดวงจำปา
เมื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตามที่เข้าประจำการในกองทัพของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นทหารที่ปฎิบัติหน้าที่ในปัจจุบันหรือทหารกองหนุน พวกเขาจะต้องปฎิญาณตนด้วยประโยคเหล่านี้:

ส่วนเจ้าหน้าที่ของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ (National Guard) จะต้องกล่าว คำปฎิญานตน ด้วยคำกล่าวที่คล้ายคลึงกันกับที่กล่าวไว้ข้างต้น เพียงแต่ว่าพวกเขาจะต้องสาบานตนในการเชื่อฟังคำสั่งของผู้ว่าการรัฐ (Governor) ในรัฐที่ตนอาศัยอยู่
นายทหารระดับสัญญาบัตร ก่อนที่เริ่มปฎิบัติหน้าที่ จะต้องปฎิญาณตนดังต่อไปนี้:



        ระเบียบวินัยและสมรรถภาพของกองทัพได้ถูกสร้างขึ้นมาจากรากฐานของการเชื่อฟังคำสั่ง ทหารใหม่ได้ถูกสอนให้เชื่อฟังและ ปฎิบัติตามคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาของพวกเขาอย่างทันท่วงทีโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่วันแรกของการฝึกทหารใหม่ (Boot Camp)

เจ้าหน้าที่ของกองทัพผู้ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งที่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมายจากผู้บังคับบัญชาของพวกเขา ก็จะต้องเสี่ยงกับผลกระทบที่ติดตามมาอย่างร้ายแรง มาตรา 90 ของ ประมวลกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดีในศาลทหาร ระบุว่า มันเป็นความผิดทางอาญาสำหรับทหารผู้ใดที่มีความประสงค์ต่อการขัดคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาระดับสัญญาบัตร (Superior Commissioned Officer) ที่กำลังปฎิบัติภารกิจในหน้าที่อยู่ มาตรา 91 ระบุว่า มันเป็นความผิดทางอาญาต่อทหารผู้ใดที่มีความประสงค์ต่อการขัดคำสั่งของนายทหารชั้นประทวนที่อยู่ในระดับสูง (Non-commissioned or Warrant Officer) มาตรา 92 กล่าวไว้ว่ามันเป็นความผิดทางอาญาต่อการขัดคำสั่งใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมาย (การขัดขืนไม่ปฎิบัติตามคำสั่งไม่มีคำว่า “มีความประสงค์” อยู่ภายใต้มาตรานี้)

ตามข้อเท็จจริงแล้ว ภายใต้อำนาจมาตรา 90 ระหว่างช่วงเวลาศึกสงคราม นายทหารผู้หนึ่งผู้ใดที่ขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ปฎิบัติการอยู่ในภาคสนามอย่างจงใจ สามารถถูกตัดสินต้องโทษถึงประหารชีวิตได้

มันดูเหมือนว่าเรื่องแบบนี้เป็นแรงจูงใจอย่างดีต่อการเชื่อฟังและปฎิบัติตามคำสั่งใดๆ ที่ท่านได้ถูกสั่งให้ปฎิบัติตาม ใช่หรือไม่? มันไม่ใช่อย่างนั้นเลย มาตราต่างๆ ที่กล่าวมานั้น บังคับให้เชื่อฟังคำสั่งที่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย (LAWFUL)เท่านั้น คำสั่งใดๆ ที่เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ไม่เพียงแต่ว่าจะไม่ต้องกระทำตามเท่านั้น แต่ถ้าขืนยังปฎิบัติตามคำสั่งเหล่านั้น มันสามารถก่อให้เกิดผลต่อการฟ้องร้องในความผิดทางอาญาต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดในเรื่องความผิดทางอาญาที่เชื่อฟังและปฎิบัติตามได้ด้วย ศาลทหารได้ยึดหลักการปฎิบัติเช่นนี้มาอย่างยาวนานว่า บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ในกองทัพจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองแม้แต่ในเรื่องของการปฎิบัติตามคำสั่ง - ถ้าคำสั่งเหล่านั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบโดยตัวบทกฎหมาย

“ ข้าพเจ้าเพียงแต่ปฎิบัติตามคำสั่งเท่านั้นเอง ” ("I was only following orders" ) ประโยดนี้ได้ประสบความล้มเหลวมาแล้วเป็นนับร้อยคดี เมื่อมันได้ถูกนำออกมาใช้ในการแก้ตัวตามหลักกฎหมาย (บางทีเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนอย่างมากที่สุดคือ ผู้บังคับบัญชาหลายคนจากกลุ่มทหารฝ่ายนาซีที่มีการพิพากษาอยู่ที่กรุงนูเร็มเบอร์ก ภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง) การแก้ตัวด้วยประโยคเหล่านี้ไม่สามารถนำมาช่วยพวกเขาได้เลย และมันก็ไม่สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ในคดีอีกหลายร้อยคดีซึ่งตามมาหลังจากนั้น

คดีอย่างเป็นทางการคดีแรกของนายทหารในกองทัพของประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยการใช้คำแก้ตัวด้วยประโยคที่ว่า “ข้าพเจ้าเพียงแต่ปฎิบัติตามค่ำสั่งเท่านั้นเอง” ได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เมื่อปี พ.ศ. 2342 ภายใต้สถานการณ์สงครามกับประเทศฝรั่งเศส รัฐสภาของประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้มีการยึดเรือสินค้าที่มุ่งตรงไปสู่ท่าเรือใดๆ ของประเทศฝรั่งเศสได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อประธานาธิบดีจอห์น อาดัมส์ได้ออกคำสั่งอนุญาตให้เรือใดๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของกองทัพเรือของประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถปฎิบัติการเช่นนั้นได้ เขาออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เรือของกองทัพเรือประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้ยึดยานพาหนะใดๆ ที่มุ่งตรงไปสู่ท่าเรือของประเทศฝรั่งเศสหรือเดินทางออกมาจากท่าเทียบเรือของประเทศฝรั่งเศส โดยการดำเนินการตามคำสั่งของประธานาธิบดี กัปตันเรือของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาผู้หนึ่งได้ทำการยึดเรือสินค้าของประเทศเดนมาร์คชื่อว่า “The Flying Fish” ซึ่งกำลังมุ่งหน้าสู่ท่าเทียบเรือของประเทศฝรั่งเศส เจ้าของเรือสินค้าของประเทศเดนมาร์คทำการฟ้องร้องกับกัปตันเรือของประเทศสหรัฐอเมริกาในศาลเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล (Maritime Court) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยข้อหาบุกรุก ปรากฎว่า เจ้าของเรือสินค้าชนะคดี และศาลสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกายังเห็นพ้องกับคำตัดสินนี้ด้วย ศาลสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นพ้องว่า ผู้บังคับการเรือของกองทัพสหรัฐอเมริกานั้น “กระทำการเสี่ยงอันตรายให้กับตัวพวกเขาเอง” ด้วยการเชื่อฟังคำสั่งของประธานาธิบดี เมื่อคำสั่งเหล่านั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น

สงครามเวียดนามได้แสดงให้เห็นว่า ศาลทหารของประเทศสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีต่างๆ ในเรื่องที่ฝ่ายจำเลยถูกฟ้องจาก “ข้าพเจ้าเพียงแต่ปฎิบัติตามค่ำสั่งเท่านั้นเอง” อย่างมากกว่าในเรื่องความขัดแย้งใดๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนทั้งสิ้น คำตัดสินต่างๆ ในคดีเหล่านี้ได้รับรองขึ้นมาใหม่อีกครั้งว่า การปฎิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ไม่ใช่การแก้ตัวที่นำมาใช้ต่อการฟ้องร้องจากข้อหาความผิดทางอาญาได้ ในคดีของ รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา กับ นายคีนาน (United States versus Keenan) ผู้ที่ถูกกล่าวหาคือ นายคีนาน ซึ่งถูกวินิจฉัยแล้วว่าได้กระทำความผิดต่อการฆาตกรรม ภายหลังจากที่เขาได้ปฎิบัติตามคำสั่งที่ให้ยิงและสังหารคนสูงอายุชาวเวียดนามคนหนึ่งเสีย ศาลอุทรณ์ของฝ่ายทหารเห็นพ้องกับคำตัดสินในเรื่องนี้โดยให้รายละเอียดว่า “การอ้างเหตุผลของการกระทำซึ่งดำเนินการตามคำสั่งต้องสิ้นสุดลงไป ถ้าคำสั่งนั้น อยู่ในลักษณะที่บุคคลธรรมดาซึ่งมีสามัญสำนึกและความเข้าใจที่รับรู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย(มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียวที่ นายทหารที่ออกคำสั่งให้นายคีนานปฎิบัตินั้น คือ สิบโทลู๊กซ์โก้ ได้ถูกตัดสินให้ปราศจากความผิดจากเหตุผลของความวิกลจริต)


บางทีคดีที่สำคัญที่สุดในการแก้ตัวของเรื่อง “ข้าพเจ้าเพียงแต่ปฎิบัติตามค่ำสั่งเท่านั้นเอง” ได้เกิดขึ้นในศาลทหาร (และการตัดสินว่ากระทำความผิดด้วยข้อหาการฆาตกรรมซึ่งมีการไตร่ตรองไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว (Premeditated Murder) ) ของร้อยโทวิเลี่ยม แคลลี่ย์ (First Lieutanant William Calley) จากการมีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ที่หมู่บ้านหมีลาย (My Lai) ในประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2511 ศาลทหารได้ปฎิเสธข้อโต้แย้งของร้อยโทแคลลี่ย์ว่า ปฎิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของเขา ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2514 ร้อยโทแคลลี่ย์ได้ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องอย่างระงมจากสาธารณชนในประเทศสหรัฐอเมริกาภายหลังจากการตัดสินที่มีเห็นกันอย่างกว้างขวางและเต็มไปด้วยการถกเถียงอย่างดุเดือดต้องทำให้ประธานาธิบดีนิกสันออกคำสั่งอภัยโทษให้กับเขา ร้อยโทแคลลีย์ก็ต้องชดใช้เวลาแบบจำกัดอยู่ในสถานที่ที่เขาอาศัยอยู่ในค่ายทหาร ที่ฟอร์ดเบนนิ่ง (Fort Benning) รัฐจอร์เจีย (Georgia) เป็นเวลา สามปีครึ่ง และในท้ายที่สุด ผู้พิพากษาจากศาลรัฐบาลกลางได้ออกคำสั่งให้ปล่อยตัวเขาเป็นอิสระ

ในปี พ.ศ. 2547 ทางทหารได้เริ่มทำการพิจารณาคดีในศาลทหารกับนายทหารเป็นที่ถูกส่งออกไปปฎิบัติการในประเทศอีรัคเป็นจำนวนหลายคน ด้วยข้อหาทารุณกรรมกับนักโทษและผู้ที่ถูกควบคุมตัวไว้ นายทหารหลายคนทำการแก้ตัวว่า พวกเขาเพียงแต่ปฎิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่สืบกิจการลับของทางฝ่ายทหาร มันเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย (สำหรับพวกเขา) ว่า การแก้ตัวด้วยเหตุผลนี้ ไม่สามารถที่จะรอดจากการถูกฟ้องได้ การทารุณกรรมต่อนักโทษเป็นความผิดทางกฎหมายอาญาภายใต้ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและประมวลกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดีในศาลทหาร (ดูที่ มาตรา 93 - เรื่องของความเหี้ยมโหดอำมหิตและการปฎิบัติอย่างทารุณกรรม - (Cruelty and Maltreatment))

มันเป็นเรื่องที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภายใต้กฎหมายของทางฝ่ายทหาร สมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดในกองทัพ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำความผิดทางอาญาที่ตนเองได้ปฎิบัติลงไป ภายใต้การอ้างต่อฉากหน้าว่า “เชื่อฟังคำสั่ง” และมันไม่มีกฎข้อบังคับใดๆ ต่อการเชื่อฟังคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยตัวบทกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นี่คือข้อปลอบใจ: ทหารที่อยู่ในกองทัพขัดคำสั่งที่ไม่ชอบธรรมเหล่านั้นได้โดยความเสี่ยงภัยของเขา/ของเธอเอง ในท้ายที่สุด มันไม่ใช่เพราะว่า ทหารที่อยู่ในกองทัพคิดว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ผิดกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยตัวบทกฎหมาย แต่มันอยู่ที่ว่า ผู้บังคับบัญชาในกองทัพ (และศาลทหาร) คิดว่า คำสั่งเหล่านั้นมันเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยตัวบทกฎหมายหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ลองนำเอาคดีของนายไมเคิล นิว (Michael New) มาประกอบในบทความ ในปี พ.ศ. 2538 นายไมเคิล นิวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการทหารระดับสี่ (Specialist – 4) ได้ปฎิบัติหน้าที่อยู่กับกองพัน 1/15 ของกองทหารราบที่ 3 ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ที่เมืองชไวน์เฟิร์ท (Schweinfurt) ประเทศเยอรมันนี เมือถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานจากนานาประเทศในการปฎิบัติการเพื่อสันติภาพ (Multi-National Peacekeeping Mission) ซึ่งกำลังจะถูกส่งออกไปที่ประเทศมาซีโดเนีย (Macedonia) นายนิว ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการทหารระดับสี่ และนายทหารอื่นๆ ที่อยู่ในหน่วยของเขา ได้ถูกสั่งให้สวมหมวกที่มีตราประทับขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) และรวมไปถึงการสวมปลอกแขน (Arm Bands) ด้วย นายนิวปฎิเสธที่จะปฎิบัติตามคำสั่งนั้น ด้วยการยืนยันว่ามันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้บังคับบัญชาของนายนิวไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ ในท้ายที่สุด ทางคณะกรรมการพิจารณาคดีที่ศาลทหารก็ไม่เห็นด้วยกับนายนิว คำวินิจฉัยกล่าวว่า นายนิวมีความผิดในฐานละเมิดคำสั่งอันชอบธรรมของผู้บังคับบัญชาและได้ถูกตัดสินให้ออกจากหน้าที่จากการประพฤติที่ผิด ศาลอุทธรณ์ของกองทัพบกยืนยันต่อคำตัดสินในเรื่องนั้นว่า กระทำความผิด และรวมไปถึงศาลอุทธรณ์ของกองทัพทั้งหมดด้วย

แล้วสำหรับคำสั่งที่ระบุว่าจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในภารกิจที่เป็นอันตราย (Dangerous Mission) เล่า? ทางฝ่ายกองทัพสามารถออกคำสั่งอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าทุกคนสามารถออกไปปฎิบัติ “ภารกิจแบบส่งไปตาย” (Suicide Mission) ได้หรือเปล่า? ขอให้คุณเชื่อได้เถิดว่า ทางกองทัพสามารถออกคำสั่งเหล่านี้ได้!

ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2547 ฝ่ายกองทัพบกได้ประกาศว่า ทางกองทัพกำลังทำการสืบสวนทหารในหน่วยพลาธิการของกองร้อยที่ 343 เป็นจำนวน 19 คนที่มีฐานปฎิบัติการอยู่ที่เมืองร๊อคฮิลล์ (Rock Hill) รัฐเซ้าท์ คาร์โรไลน่า (South Carolina) จากการปฎิเสธต่อการส่งเสบียงภายในพื้นที่ที่เป็นเขตอันตรายของประเทศอีรัค

ตามคำสัมภาษณ์จากสมาชิกภายในครอบครัวของกลุ่มทหารเหล่านี้ได้ทราบว่า นายทหารบางคนที่อยู่ในกองร้อยนี้คิดว่า ภารกิจที่ถูกมอบหมายนั้น เป็น “เรื่องที่มีความอันตรายมากเกินไป” เพราะว่ายานพาหนะของพวกเขาไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ติดตั้งอยู่เลย (หรืออาจจะมีอาวุธเบาเพียงนิดหน่อย) และเส้นทางที่พวกเขาได้ถูกกำหนดให้นำเสบียงเหล่านี้ไปส่งนั้น เป็นเส้นทางที่มีความอันตรายมากที่สุดเส้นหนึ่งในประเทศอีรัค

ตามรายงานที่ได้รับ นายทหารเหล่านี้เพียงแต่ไม่ได้ไปปรากฎตัวเพื่อประชุมในการบรรยายสรุปสั้น (Briefing) ก่อนที่จะต้องเดินทางออกไปเพื่อปฎิบัติภารกิจ

พวกเขาสามารถถูกลงโทษได้หรือเปล่าจากการกระทำเช่นนี้? มันเป็นเรื่องที่แน่นอนที่สุดที่พวกเขาจะสามารถถูกลงโทษทัณฑ์ได้ คำสั่งที่ให้ปฎิบัติการในภารกิจที่เป็นอันตรายนั้น เป็นคำสั่งที่ชอบและถูกต้องตามตัวบทกฎหมายเพราะว่า มันไม่ใช่คำสั่งที่ออกมาให้ไปปฎิบัติอาชญากรรมหรือปฎิบัติการอันผิดตามกฎหมายอาญาใดๆ ภายใต้กฎหมายฉบับปัจจุบันและคู่มือของการพิจารณาคดีในศาลทหาร ได้กล่าวว่า“คำสั่งที่บังคับให้ปฎิบัติการตามหน้าที่หรือการกระทำของกองทัพ อาจจะถูกอนุมานได้ว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมายและผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งปฎิเสธต่อการเชื่อฟังคำสั่งนั้น จะต้องรับผิดชอบจากความเสียหายต่อการกระทำของตนเอง การอนุมานนี้ไม่สามารถนำเข้ามาใช้กับคำสั่งที่ไม่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมายอย่างประจักษ์แจ้งได้ เป็นต้นว่า คำสั่งที่ระบุให้ก่อให้กระทำความผิดทางอาญา”

ในตามความจริงแล้ว ถ้ามันสามารถแสดงให้เห็นว่า ทหารจำนวนหนึ่งคนหรือมากกว่า ใช้อิทธิพลโน้มน้าวให้ทหารผู้อื่น ขัดขืนต่อคำสั่งนั้นๆ พวกเขาอาจจะพบกับความผิดในโทษฐานของการก่อการกบฎ(Crime of Mutiny) ภายใต้ มาตรา 94 ที่เพิ่มขึ้นมาจากข้อกล่าวหาต่างๆ อีกหลายกระทง การก่อการกบฎจะถูกทำโทษด้วยการประหารชีวิต แม้กระทั่งอยู่ในระหว่าง “เวลาที่สงบจากศึกสงคราม” ก็ตาม

ดังนั้น จะต้องเชื่อฟังหรือไม่ต้องเชื่อฟังต่อคำสั่งเล่า? คำตอบก็คือ มันขึ้นอยู่กับคำสั่งนั้นๆ ทหารที่ประจำการอยู่ในกองทัพสามารถขัดขืนต่อคำสั่งต่างๆ ได้จากการเสี่ยงภัยของพวกเขาเอง พวกเขาก็ยังจะต้องเชื่อฟังปฎิบัติตามคำสั่งจากการเสี่ยงภัยของพวกเขาเองอีกด้วย คำสั่งที่สั่งให้การกระทำผิดทางอาญานั้นเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งที่สั่งให้ปฎิบัติภารกิจทางกองทัพนั้น ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงแค่ไหน ก็ถือว่าเป็นคำสั่งโดยชอบธรรมทางกฎหมาย ตราบเท่าที่มันไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการก่ออาชญากรรมหรือกระทำผิดทางอาญา...

-------------------------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:

ที่อยากจะแปลบทความนี้ให้อ่าน เพราะอีกไม่นาน จะมีการนำพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับ "เหมาเข่ง" เข้าสู่สภา เพื่อบุคคลที่เป็นผู้ลั่นไกสังหารประชาชน สามารถพ้นโทษได้ทั้งหมด 

ท่านผู้อ่านสามารถทำการเปรียบเทียบได้ว่า กฎหมายที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกากับบุคลากรในกองทัพนั้น ทหารทุกคนจะต้องปฎิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่สามารถที่จะอ้างได้ว่า "เขาเพียงแต่ปฎิบัติตามคำสั่ง" เท่านั้น นี่คือสิ่งที่แยกระหว่างความรับผิดชอบต่อหน้าที่กับสามัญสำนึกในตัวบุคคลว่าอะไรถูกอะไรผิด

ทหารผู้ใดที่เป็นผู้ลั่นไกสังหารประชาชน จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ไม่สามารถที่จะไป "โยนความผิด" ว่า ตนเอง "ปฎิบัติตามคำสั่ง" ได้ (ผู้ลั่นไก สามารถเลือกปฎิบัติได้ว่าจะ "ฆ่า" หรือ "ทำให้บาดเจ็บ")

เมื่ออ่านบทความนี้แล้ว ก็นึกถึงฝ่ายกองทัพไทย ที่ต้องกระทำการชั่งใจอยู่สองอย่างคือ ปฎิบัติตามตัวบทกฎหมายหรือปฎิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่ถ้าเป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา ความถูกต้องชอบธรรมเป็นหลักและเหตุผลที่สังคมยอมรับได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดในกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา คือการใช้คำว่า LAWFUL เข้าไปอยู่ในมาตราต่างๆ นั่นก็คือ การปฎิบัติที่ถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย ไม่ใช่การปฎิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ผู้ปฎิบัติจะต้องวินิจฉัยและทราบด้วยสามัญสำนึกว่า คำสั่งนั้นๆ มันถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

การปลุกปั่นยุยง โกหก สร้างเรื่องให้ทหารผู้ใต้บังคับบัญชา กระทำความผิดโดยตัวผู้บังคับบัญชาหรือนายทหารในระดับเดียวกัน เป็นความผิดทั้งสิ้น เพราะการใช้คำว่า LAWFUL เข้ามาอยู่ในลายลักษณ์อักษรของตัวบทกฎหมายนั่นเอง ดังนั้น การขัดคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม ถือว่าเป็นการปฎิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างมากทีเดียว

แต่ของประเทศไทย อาจจะต้องปฎิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ซึ่งทำให้ทหารไม่ได้เป็นผู้คิดและวินิจฉัยถึงความถูกต้อง ความถูกต้องนั้น ผู้บังคับบัญชาคงรู้ดีกว่าอย่างแน่นอน และหลักการอีกหลายๆ อย่างเช่น ห้ามถาม ห้ามเถียง ห้ามสงสัย เป็นหลักปฎิบัติมาอย่างเนิ่นนานหลายสิบปีมาแล้ว

ถ้ามีคำสั่งออกมาให้ไปยิงประชาชนเนื่องจากประชาชนเหล่านี้ ก่อความไม่สงบสุข เหตุผลง่ายๆ นั้นคือ การฆ่าประชาชนคือการทำผิดกฎหมายอาญาอย่างแน่นอน แต่การป้องกันตัวเอง เป็นคนละเหตุผล ดังนั้น สิ่งที่ควรจะคิดให้ดีในอนาคตคือ บุคคลที่ถือปืนและถืออาวุธอยู่นั้น ทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เพราะว่า การปฎิบัติเช่นนั้น เป็นเรื่องที่ดีแถมมีรางวัลตบท้ายให้อีก มันถึงกลายเป็นเรื่องที่ประชาชนธรรมดาที่ไม่มีอาวุธอยู่เพื่อป้องกันตัวเอง มีความหวาดกลัว

เรื่องที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือ จะให้มีการนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ทำการลั่นไกสังหารประชาชนไม่ได้ ถึงแม้ว่าตนเองจะอ้างว่า ปฎิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก็ตาม บุคคลที่เป็น "โต้โผ" ต่อการนิรโทษกรรมนั้น ควรจะตอบคำถามให้กับญาติพี่น้องผู้เสียชีวิตไปด้วยว่า ทำไมบุคคลเหล่านั้นต้องเสียชีวิตกัน 

และประการที่หลายๆ ท่านอาจจะไม่ได้คิดมาก่อนคือ ถ้ามีกฎหมายนิรโทษกรรมออกมา ศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ICC จะไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้ามาทำการตัดสินคดีอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติได้อีกต่อไป เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมของไทยได้ทำการตัดสินเรื่องนี้เป็นที่สิ้นสุดลงไปแล้ว และมีความเห็นชอบด้วยกฎหมายว่า บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมดนี้ ปราศจากความผิดทุกกระทง

ดิฉันคิดว่า ถ้ามีการก่อการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อนั้น ก็คงจะเห็น “สงครามครั้งสุดท้าย” ระหว่างประชาชนกับฝ่ายเผด็จการอย่างแน่นอนค่ะ

Doungchampa Spencer

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น