วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554


อุ่นเครื่องกัน... ดูเปิดข้อกล่าวหา ยื่นถอดถอนนายกฯ และ รมต.ทั้ง 8
http://www.internetfreedom.us/thread-15949.html
สำหรับรายละเอียด ที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยื่นประกอบ ขอให้ถอดถอน 
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 8 คน
ออกจากตำแหน่ง นั้นประกอบด้วย 




[Image: _mg_7701.jpg]




นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มี 4 ประเด็น ได้แก่


1. ฆาตกรรมประชาชน เนื่องจากในช่วงที่นายสุเทพเป็น ผู้อำนวยการ
แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ได้ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ สั่งทหาร
ใช้อาวุธเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ช่วงเดือนเมษายน 
และเดือนพฤษภาคม 2553 ด้วยวิธีการล้อมปราบประชาชนเพื่อฆ่า
ประชาชน จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งนี้การกระทำ
ดังกล่าวของนายสุเทพนั้นเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน


2.จงใจใช้อำนาจหน้าที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 
โดยการแทรกแซงการใช้อำนาจขององค์กรในกระบวน
การยุติธรรม กรณีชันสูตรพลิกศพ ผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์
สลายการชุมนุม เพื่อหวังให้หลุดพ้นจากความผิดในคดีอาญา 
สาระสำคัญคือการมอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 
ดำเนินการชันสูตรพลิกศพแทนเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ (สตช.)


3. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกัน และระงับเหตุ
จากเพลิงไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์


4. จงใจใช้อำนาจหน้าที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
และกฎหมายโดยการก้าวก่าย หรือ แทรกแซงหน่วยงานรัฐ 
ที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี และองค์กรในกระบวนการยุติธรรม
ที่ดำเนินคดีผู้กระทำผิดในคดีอาญาในข้อหาแสดง ภาษีอันเป็นเท็จ
เพื่อเลี่ยงภาษีกรณีบริษัทฟิลลิปมอร์ริส (ไทยแลนด์) จำกัด และ
ทำให้รัฐเสียประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี 68,881,394,278.69 บาท 
โดยข้อเท็จจริงที่บริษัทฟิลลิปฯ พ้นข้อกล่าวหาหลีกเลี่ยงการ
เสียภาษีให้กับรัฐ ทั้งที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 
พบข้อเท็จจริงชัดเจนว่าบริษัทฟิลลิปฯ นั้นมีความผิดตามกฎหมายไทย 
และควรสั่งฟ้องบุคคล 14 คนที่เกี่ยวข้อง


มีพยานรับฟังได้ว่า นายอภิสิทธิ์ ฐานะนายกฯ ได้สั่งการ 
และใช้ให้คนไม่มีอำนาจไปแทรกแซงองค์กรในกระบวนการ
ยุติธรรม เสมือนไปรักษาผลประโยชน์ของบริษัทฟิลลิปฯ 
เช่น ยกข้ออ้างแก้ต่างแทบริษัทฟิลลิปฯ โดยอ้างภาพลักษณ์และ
ผลกระทบต่อประเทศไทยมาข่มขู่ และมีพฤติกรรมยุ่งเหยิงและ
แก้ไขพยาน หลักฐานการฟ้องของหน่วยงานสอบสวน ทำให้
รูปคดีเปลี่ยนแปลง ทำให้อัยการสูงสุดทบทวนการสั่งคดีของ
ดีเอสไอ จนในที่สุดบริษัทฟิลลิปพ้นข้อกล่าวหา


นายอภิสิทธิ์ ถือว่ามีพฤติการณ์ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ 
กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่าจงใจใน
อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ฝ่ายหรือหรือไม่ปฏิบัติ
ตามมาตรการทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง




[Image: kx420.jpg]


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง 
มี 7 ประเด็น ได้แก่




1. ฆาตกรรมประชาชน เนื่องจากในช่วงที่นายสุเทพเป็น 
ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ได้ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ 
สั่งทหารใช้อาวุธเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง 
ช่วงเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2553 ด้วยวิธีการ
ล้อมปราบประชาชนเพื่อฆ่าประชาชน จนทำให้มีผู้ได้รับ
บาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวของนายสุเทพนั้น
เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน




2.จงใจใช้อำนาจหน้าที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 
โดยการแทรกแซงการใช้อำนาจขององค์กรในกระบวนการ
ยุติธรรม กรณีชันสูตรพลิกศพ ผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์
สลายการชุมนุม เพื่อหวังให้หลุดพ้นจากความผิดในคดีอาญา 
สาระสำคัญคือการมอบหมายให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ 
(ดีเอสไอ) ดำเนินการชันสูตรพลิกศพแทนเจ้าหน้าที่
จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)




3.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกัน และระงับเหตุ
จากเพลิงไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์




4. ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่เกี่ยวกับวิกฤตน้ำมันปาล์ม 
โดยนายสุเทพ ฐานประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำมันปาล์ม
แห่งชาติมีพฤติกรรมสงสัยว่าจะมีการ เอื้อประโยชน์ให้กับคน
ใกล้ชิด ซึ่งเป็นเจ้าของสวนปาล์มและโรงงานหีบน้ำมันปาล์ม
ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดกระบี่ และ
จังหวัดสุราษฎรธานี ซึ่งคนใกล้ชิดดังกล่าวนั้นครองตลาด
น้ำมันปาล์มกว่าร้อยละ 80


5. การทุจริตจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครน โดยนายสุเทพ ในฐานะที่กำกับดูแลกระทรวงกลาโหม และ กองทัพบก ไม่ได้ดูแลและกำกับการทำงานให้โปร่งใส ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 กองทัพบกได้จัดซื้อยานเกราะล้อยางด้วยวิธีพิเศษ จำนวน 96 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทเอ็นจีวี เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด เป็นผู้ชนะ ในข้อเท็จจริงรถยานเกราะดังกล่าวเป็นรถเก่าของประเทศรัสเซียที่ใช้ในช่วง สงครามเย็น และได้ปรับปรุงเพื่อนำมาขายให้กับกองทัพ โดยเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเดิม DLU TZ BF 6M 1015 ไปเป็น MTU 6R 196TD21 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ในเครื่องเรือและรถถัง ซึ่งทางกองทัพบกได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ แต่ทางสตง. ท้วงติงว่าหากเปลี่ยนแล้วอาจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน แต่คณะรัฐมนตรียังไม่ได้ลงนามอนุมัติเปลี่ยนเครื่องยนต์ ทางกองทัพบกได้ลงนามอนุมัติแผนจัดหายานเกราะยูเครน รุ่นเครื่องยนต์ MTU 6R 196TD21 เพิ่มเป็น 121 คน โดยมีผลผูกพันกับงบประมาณตั้งแต่ปี 2553-2555 ทั้งที่ราคาของยานหุ้มเกราะนั้นสูงเกินจริง


6. กรณีกองทัพบกสั่ง ซื้อเรือเหาะ ( Sky Dragon) จากสหรัฐฯ มูลค่า 340 ล้านบาท ทั้งที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง




7. การทุจริตในคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ให้สิทธิชำระเงิน สงเคราะห์ ทำให้มีผู้สต็อกและสัญญาล่วงหน้าขอรับสิทธิ์ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความไม่โปร่งใส




[Image: 102751438107694.gif.jpg]


นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มี 1 ประเด็น ได้แก่


ส่อทุจริตในกรณีการออกสลากการกุศลงวดพิเศษ เพื่อหารายได้เข้าโครงการเพื่อพัฒนาศิริราช สู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ วงเงิน 5,000 ล้านบาท ในการคัดเลือกผู้แทนจำหน่ายสลากพิเศษ มีการปลอมเอกสารของศิริราชมูลนิธิ ทำให้ผู้จำหน่ายสลากพิเศษคิดราคาสูงเพื่อหาประโยชน์จากรายได้ส่วนต่างเข้า เป็นของส่วนตัว ซึ่งนายกรณ์ ฐานะรัฐมนตรีที่กำกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้นมีส่วนรู้เห็นด้วย




[Image: 403255404.jpg]


นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรางพาณิชย์ มี 2 ประเด็น ได้แก่


1. การทุจริตจัดซื้อจัดจ้างของกระทรวงพาณิชย์ และบมจ.อสมท. ในโครงการผลิตและเผยแพร่สื่อโทรทัศน์พาณิชย์สร้างสรรค์ มูลค่าโครงการ 50 ล้านบาทเมื่อปี 2553 ข้อเท็จจริงกระทรวงพาณิชย์ ได้จ้าง บมจ.อสมท. ผลิตสื่อ แต่ทาง บมจ.อสมท. ได้ไปว่าจ้างเอกชนรายอื่น จำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท โชว์เคส จำกัด วงเงิน 23 ล้านบาท และบริษัทเดนท์สุมีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า 18 ล้านบาท เพื่อผลิตสื่อโฆษณาและจัดงานแถลงข่าว ทั้งที่ บมจ.อสมท. มีคุณสมบัติที่จะผลิตสื่อได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังพบว่ามีการอนุมัติสัญญาจ้างย้อนหลัง เมื่อเดือนมกราคม 54 ทั้งที่ระยะโครงการได้กำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2553


การจ้างบริษัทเอกชนจำนวน 2 รายนั้นพบว่ามีนักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้สั่งให้จ้าง ซึ่งเรื่องดังกล่าวนางพรทิวา และนายองอาจมีส่วนรู้เห็น


2.การทุจริตโครงการระบายข้าวของรัฐบาล 




[Image: 403255405.jpg]


นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มี 2 ประเด็น คือ


1. การทุจริตจัดซื้อจัดจ้างของกระทรวงพาณิชย์ และบมจ.อสมท. ในโครงการผลิตและเผยแพร่สื่อโทรทัศน์พาณิชย์สร้างสรรค์ มูลค่าโครงการ 50 ล้านบาท (ประเด็นเดียวกับนางพรทิวา)


2. ส่อว่าทุจริตในโครงการเช่าระบบ Tele Presence ของ บมจ.อสมท. ที่ได้เช่าเอกชน เป็นเวลา 24 เดือน มูลค่า 24,000,000 บาท ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่ของบมจ.อสมท. ได้ลงนามอนุมัติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 ข้อเท็ จจริงเป็นการเลี่ยงระเบียบจัดซื้อจัดหาพัสดุและส่อว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ ที่มิชอบ เนื่องจากระบบ Tele Presence เป็นระบบถ่ายทอดสด เช่นเดียวกับรถโอบี ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะมามาใช้ อีกทั้ง การเช่าดังกล่าวไม่ได้เป็นอย่างทางการ แต่ก็ได้นำมาใช้แล้วที่นำเนียบรัฐบาล ดังนั้นจึงทำให้เชื่อได้ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน ดังนั้นนายองอาจ ฐานะที่กำกับดูแลส่อทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ




[Image: 403255406.jpg]


นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มี 1 ประเด็นคือ


การเปิดประมูลเครือข่าย 3 จี ของ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด มหาชน และ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัดมหาชน และกิจการร่วมค้าเอสแอลคอนเซอเตียม โดยนายจุตินั้นมีพฤติกรรมส่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทเอกชน เนื่องจากมีการเร่งรัดประมูล




[Image: 403255407.jpg]


นายชวรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มี 5 ประเด็น ได้แก่




1. ทุจริตในโครงการจัดซื้อที่ดินเพื่อเก็บน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ซึ่งซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด เช่น เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553 กปภ. ซื้อที่ดินบริเวณ ต.ทัพริก อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ สัญญาที่ 1 โฉนดเลขที่ 25950, 26101, 26103, 26104 จำนวน 81 ไร่ ซื้อในวงเงิน 69,530,000 บาท เฉลี่ยไร่ละ 858,000 บาท ทั้งที่ราคาในตลาดซื้อขายที่ดิน เพียง 60,000-80,000 บาท


ข้อเท็จจริงมีคนใกล้ชิดของนายชวรัตน์ ได้ดำเนินการสมรู้กับเจ้าของที่ดินปั่นราคาที่ เจตนาลวงเพื่อซื้อขายที่ดิน แปลงข้างเคียงให้สูง จากนั้นจึงนำที่ดินมาขายให้กับ กปภ.




2. ทุจริตโครงการเช่าระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ ของกรมการปกครอง เพื่อใช้ในงานทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน มูลค่า 3,400 ล้านบาท


3. พฤติกรรมส่อว่าทุจริตในการจัดสรรงบภัยแล้งเข้าพื้นที่เขตเลือกตั้งของตนเองโดยไม่เป็นธรรม จำนวน 873 ล้านบาท


4. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตกรณีใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับ ตนเองและพวกพ้อง ในช่วงที่มีการเลือกตั้งซ่อมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทาพรรคภูมิใจไทยได้ส่งนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ข้อเท็จจริงกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน 53 เลขที่โครงการ 80/2553 โดยใช้งบเหลือจ่ายปี53 ไปจำนวน 10 ล้านบาทแต่ได้เข้าไปจัดกิจกรรมในเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเขตเลือกตั้งของนายบุญ จง คือ อำเภอหนองบุญมาก, อำเภอโชคชัย, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, อำเภอจักราช และอำเภอห้วยแถลง อีกทั้งได้ขยายเวลาทำโครงการจากเดิมที่กำหนดตั้งแต่วันที่ 2-29 กันยายน 53 ออกไป ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเลือกตั้ง ซ่อม


มีพยานรู้เห็นถึงพฤติการที่ เอื้อให้กับการเลือกตั้งของพวกพ้อง ในการอบรมนอกสถานที่ที่จังหวัดระยอง ผู้นำการอบรมได้กล่าวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เข้าร่วมอบรมว่านายบุญจง เป็นผู้ดำเนินการจัดการอบรมในครั้งดังกล่าว




5. มีพฤติการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามาตรฐานแห่งจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีกระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เนื่องจากนายชวรัตน์ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทซิโน-ไทย เป็นคู่สัญญากับรัฐ ได้รับการว่าจ้างทำโครงการใหญ่ๆหลายโครงการอาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ โดยการตัดสินใจที่จะอนุมัติโครงการใดๆ นายชวรัตน์มีส่วนในการลงมติอนุมัติทุกครั้ง




[Image: 3m365.jpg]


นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มี 3 ประเด็น ได้แก่




1.ทุจริตโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) มูลค่าโครงการ 8,748 ล้านบาท




2.กรณีจัดประกวดราคาซื้อหัวรถจักรรถไฟเพื่อใช้ในการส่งสินค้า (ลาดกระบัง-แหลมฉบัง) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย


3. พฤติกรรมส่อทุจริตต่อหน้าที่และส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีสั่งซื้อรถตู้ 20,000 คัน เพื่อทำโครงการจัดระเบียบรถตู้โดยสาร โดยเชื่อได้ว่ามีคนใกล้ชิดนายโสภณ ดำเนินการจัดหารถตู้มาจำหน่าย พร้อมกับได้กำหนดเงื่อนไข ผู้ซื้อรถหากต้องการสัมปทานต้องซื้อรถจากบริษัทสยามออโต้ จำกัดเท่านั้น ในราคาคันละ 1.4 ล้านบาท ทั้งที่ราคาจริงในท้องตลาดอยู่ที่คันละ 900,000 บาทเท่านั้น ทำให้ผู้ดำเนินการได้ค่าส่วนต่างราคารถคันละ 400,000 บาท โดยเรื่องดังกล่าวนั้นมีการทำเป็นขบวนการ ซึ่งปัจจุบันมีการส่งรถมาแล้วรอบแรก 20,000 คัน แบ่งเป็น ขสมก. 500 คันและ บขส. 15,000 คัน




[Image: 403255409.jpg]




นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี 2 ประเด็น ได้แก่


1. การทุจริตในคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ให้สิทธิชำระเงิน สงเคราะห์ ทำให้มีผู้สต็อกและสัญญาล่วงหน้าขอรับสิทธิ์ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีความไม่โปร่งใส (ประเด็นเดียวกับนายสุเทพ)




2. ทุจริตบุกรุกที่ดินของรัฐและการสร้างถนนเข้าที่ดินของตนเอง ในพื้นที่ ป่าดงพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ข้อเท็จจริงก่อนหน้านั้นรัฐบาลได้จัดสรรที่ดินทำกินให้กับปาะชาชในพื้นที่ แต่มีนายทุน ซึ่งนายศุภชัย เป็น 1 ในนายทุนที่ไปแย่งซื้อที่ดินจากประชาชน มาได้ 700 ไร่ และระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน่วยงานขอรัฐตัดถนนไปยังที่ดิน ที่นายศุภชัยครอบครอง ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวไม่มีบ้านเรือน ดังนั้นนายศุภชัยจึงมีพฤติกรรมที่ใช้อำนาจในตำแหน่งร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ตัดถนนเข้าไปสู่ที่ดิน




เครดิต
http://www.oknation.net/blog/darknews/20...04/entry-1




[Image: 4d6f770d4d3dd.gif]โอ้โห!! กินกันแต่ละทีไม่ต่ำกว่า พันล้าน สาวไส้ออกมาประจาน..ให้ติดตัวไปจนชั่วลูกชั่วหลาน
โกงกิน ยังไม่พอ..ยังเป็นไอ้รัดทะบาน ฆาตกรอีก..
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น