ปัญหาที่ดิน กับข้อเสนอของ อานันท์ http://www.internetfreedom.us/thread-15952.html ขออนุญาต คัดลอกบางตอนจาก ประชาไท นำเสนอให้อ่านกันว่า อำมาตยา เขาคิดอย่างไร ประมาณการว่าที่ดิน 1 ใน 3 ในเขตกรุงเทพฯ โดยเฉพาะในย่านเศรษฐกิจเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (สำนักงานทรัพย์สินฯ มีที่ดินภายใต้การดูแลประมาณ 32,500 ไร่ ภายใต้สัญญาประมาณ 37,000 ฉบับ โดยสัญญาประมาณ 25,000 ฉบับเป็นที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล) โดยในแต่ละปีสำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้จำนวนมากจากการให้เอกชน หน่วยงานราชการ และองค์กรต่างๆ เช่าที่ดิน ไม่ต่างอะไรจาก “นายทุน” แสวงหากำไรจากการให้ชาวนาเช่าที่นา ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปจะครอบคลุมการถือครองที่ดิน ที่กระจุกตัวอยู่ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้หรือไม่ เพราะแม้คณะกรรมการปฏิรูปจะระบุว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่อยู่ในข่ายที่จะต้องนำที่ดินมาจัดสรรใหม่คือส่วนราชการที่ถือครอง ที่ดินไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่การที่สำนักงานทรัพย์สินฯ (ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานภาพจากส่วนราชการเป็นนิติบุคคล) ให้เอกชน หน่วยราชการ และองค์กรต่างๆ เช่าที่ดินอาจนับเป็นการ “ใช้ประโยชน์” ให้สำนักงานทรัพย์สินฯ หลุดรอดไปจากการปฏิรูปที่ดินฉบับคณะกรรมการปฏิรูปได้ ขณะเดียวกัน แม้รัฐบาลขานรับข้อเสนอการปฏิรูปที่ดินของคณะกรรมการปฏิรูป (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม) แต่โอกาสที่จะผลักดันให้ข้อเสนอเป็นจริงในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก กล่าวในส่วนของหน่วยงานราชการ นอกจากสำนักงานทรัพย์สินฯ (ซึ่งมีสถานะค่อนข้างกำกวม) มีหน่วยงานราชการอีกจำนวนมากที่ถือครองที่ดินขนาดใหญ่โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ในด้านการผลิต หรือไม่ก็ให้ผู้นอื่นเช่าใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นกรมธนารักษ์ การรถไฟ หรือแม้กระทั่งกองทัพ ซึ่งการถือครองที่ดินของหน่วยราชการเหล่านี้มักมีกฎหมายรองรับและไม่จำเป็น ต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิต จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะให้หน่วยงานราชการเหล่านี้ “คาย” ที่ดินออกมาเพื่อจัดสรรให้แก่เกษตรกรขาดแคลนที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราบเท่าที่ประชาชนไม่ได้เป็นผู้ที่หน่วยราชการไทยมีพันธะ กรณีหรือขึ้นต่อ ขณะที่ในส่วนของเอกชนและนักการเมือง (ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคนสำคัญของคณะกรรมการปฏิรูป) รายที่ถือครองที่ดินจำนวนมาก ก็ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและตลาดเสรีรวมทั้ง ภายใต้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย หากคณะกรรมการปฏิรูปและรัฐบาลจะตรากฎหมายรีดที่ดินจากบริษัทและบุคคลเหล่า นี้อย่างดุ้นๆ ก็เห็นจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและระบบการปกครองของประเทศเป็นอย่าง อื่นเสียด้วย การจะทำให้ระบบทุนมีความเป็นศีลธรรมต้องไม่ใช่ด้วยการใช้อำนาจดิบหยาบอย่างนี้ นอกจากนี้การจำกัดการถือครองที่ดินการเกษตรไม่เกินครัวเรือนละ 50 ไร่เป็นการ “ตอน” ระบบเศรษฐกิจการเกษตรไม่ให้ขยายตัว หรือเป็นการ “แช่แข็ง” เกษตรกรไม่ให้เติบโตไปกว่า “เกษตรกรรายย่อย” เพราะนอกจากบางครัวเรือนจะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนมากซึ่งส่งผลให้จำนวนที่ดิน ถือครองสูงตามไปด้วย เกษตรกรจำนวนไม่น้อยทำการเกษตรในที่ดินเกินกว่าเพดานดังกล่าว หรือบางรายอาจต้องการขยายกำลังการผลิตแต่ก็จะไม่สามารถทำได้หากข้อเสนอดัง กล่าวกลายเป็นกฎหมาย ประการสำคัญการที่คณะกรรมการปฏิรูปอ้างว่าเพดานดังกล่าวเคยกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 จึงไม่เห็นว่ามีอะไรจะต้องตื่นเต้นหรือตกใจ ก็ฟังคล้ายคณะกรรมการปฏิรูปกำลังบอกว่าการกลับไปเป็นไพร่ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะในสมัยอยุธยากฎหมายก็เขียนไว้อย่างนั้น และที่สำคัญการเป็นไพร่นั้นต้องรู้จักคำว่าพอเพียง บทความตีพิมพ์ในคอลัมน์ คิดอย่างคน หนังสือรายสัปดาห์ มหาประชาชน ประจำวันที่ 18-24 กุมภาพันธ์ 2554 |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น