วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554


จากศึกซักฟอก โยงศึกเลือกตั้ง ข่าวสดเช้านี้
http://www.internetfreedom.us/thread-16013.html


วันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7402 ข่าวสดรายวัน
จากศึกซักฟอก โยงศึกเลือกตั้ง




รัฐบาล ภายใต้การนำของนายอภิ สิทธิ์ เวชชาชีวะ ผ่านการบริหารประเทศแบบลุ่มๆ ดอนๆ มากว่า 2 ปี กำลังเข้าสู่ช่วงชี้เป็นชี้ตายทางการเมืองอีกครั้ง


จาก การที่ฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทยโดย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นำทีมยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ และรัฐมนตรีรวม 10 คน ประกอบด้วย


1.นายอภิสิทธิ์ 2.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ 3.นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง 4.นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5.นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม


6.นาง พรทิวา นาคาศัย รมว.พา ณิชย์ 7.นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ 8.นายองอาจ คล้าม ไพบูลย์ รมต.สำนักนายกฯ 9.นาย ศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรฯ 10.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย


สำหรับเนื้อหา การอภิปรายครอบ คลุม 3 เรื่องใหญ่ คือ การสลายการชุม นุมกลุ่มคนเสื้อแดง การทุจริตและประ พฤติมิชอบต่อหน้าที่ และการบริหารราชการแผ่นดินล้มเหลว ใช้ผู้อภิปรายประมาณ 30 คน


ส่วนการยื่นถอดถอนรัฐมนตรี ทั้งสิ้น 9 ราย เป็นรายชื่อชุดเดียวกับผู้ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในข้อหาทุจริต ยกเว้นนายกษิต ภิรมย์ ที่ถูกอภิปรายข้อหาบริหารงานผิดพลาดบกพร่อง


เบื้องต้นวิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้านตกลงกันว่าจะให้เปิดอภิปรายแบบจุใจ 4 วัน 66 ชั่วโมง ระหว่าง 9-12 มี.ค. แล้วลงมติวันที่ 13 มี.ค.


โดยจัดสรรเวลาให้ฝ่ายค้านได้อภิ ปราย 40 ชั่วโมง รัฐมนตรีชี้แจง 20 ชั่วโมง และเผื่อไว้ 6 ชั่วโมงสำหรับการประท้วงของส.ส.ทั้งสองฝ่าย


แต่ ในที่สุด นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา ได้อ้างปัญหาทางเทคนิคในการตรวจสอบความถูกต้องของญัตติ สั่งเลื่อนเปิดอภิปรายไปอีก 1 สัปดาห์ เป็นระหว่างวันที่ 15-18 มี.ค.


ท่าม กลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์อื้ออึงว่าการเลื่อนออกไป เป็นเพราะรัฐบาลไม่ต้องการให้ศึกอภิปรายไปทับซ้อนกับการชุมนุมใหญ่คนเสื้อ แดงวันที่ 12 มี.ค.


บ้างก็ว่าเป็นเพราะ 4 รัฐมนตรีภูมิใจไทย ซึ่งอยู่พรรคเดียวกับนายชัย และถูกยื่นอภิปรายครั้งนี้ด้วย คือ นายชวรัตน์ นางพรทิวา นายโสภณ และนายศุภชัย ยังเตรียมตัวไม่พร้อม


นอกจากนี้ วันที่ 12 มี.ค. นายกฯอภิสิทธิ์ พร้อมแกนนำ และส.ส. ประชาธิปัตย์ทุกคน ยังต้องเดินทางไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพแม่ถ้วน หลีกภัย มารดาอดีตนายกฯชวน หลีกภัย ที่จ.ตรัง อีกด้วย


การเลื่อนวันเปิดอภิปรายออกไปจึงเป็นวิธีการง่ายๆ แต่สามารถคลี่คลายปมปัญหาของรัฐบาลได้ทั้งหมด


อย่าง ไรก็ตามเมื่อเรื่องดำเนินมาถึงจุดนี้ ข้อกังวลของใครหลายคนที่เคยเกรงกันว่านายกฯ จะชิงยุบสภาหนีการอภิปรายไปก่อนนั้น ปิดประตูตายไปได้เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญห้ามไว้


จึงเป็นอันสรุปได้ว่าถึงจะเลื่อนช่วงวันอภิปรายออกไปแต่ศึกครั้งนี้ต้องระเบิดขึ้นแน​่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีทางหลีกเลี่ยง


เว้น แต่จะมีการใช้อำนาจพิเศษนอกเหนือแนวทางประชา ธิปไตยเข้ามาดำเนินการเท่านั้น แต่นั่นจะยิ่งทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่โต ถูกต่อต้านหนักยิ่งกว่าเดิมหลายเท่า


การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ถือเป็นการใช้กลไกสภาในการทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกต้อง


โดยเฉพาะในช่วงการเมืองอยู่บนเส้นทางเดินเข้าสู่สนามเลือกตั้งในอีกไม่กี่ก้าวข้างหน​้า


จึง เป็นช่วงเวลานาทีทองของฝ่ายค้านในการนำข้อมูลการทุจริตประ พฤติมิชอบของรัฐมนตรีในรัฐบาล ออกมาตีแผ่อย่างเป็นระบบให้สาธารณชนได้รับทราบ


ขณะเดียวกันยังถือ เป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะได้ชี้แจง เคลียร์ตัวเองจากข้อกล่าวหาต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งประโยชน์ก็จะตกอยู่กับประชาชนในการเก็บเกี่ยวข้อมูลที่ได้ ไว้สำหรับตัดสินใจก่อนเดินเข้าคูหาเลือกตั้ง


ส่วนการหวังผลทางการเมืองจากศึกอภิปรายนั้น ไม่ว่าจะในซีกฝ่ายค้านหรือซีกรัฐบาลถือเป็นเรื่องธรรมดา


โดยเฉพาะการนำผลจากการอภิ ปรายไปขยายต่อยอดถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า


มี การพูดกันมากว่าการยื่นญัตติซัก ฟอกรัฐบาลครั้งนี้ ฝ่ายค้านเลือกเวลาได้เหมาะเจาะ เพราะอยู่ในช่วงรัฐบาลกำลังระส่ำหนักจากมรสุมกระหน่ำรอบด้าน


ทั้ง ปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาลที่ความสัมพันธ์เป็นไปแบบสามวันดีสี่วันไข้ ปมไฟใต้ที่ยังแก้ไม่ได้ตามที่โฆษณาไว้ แถมยังปะทุรุนแรงถี่ยิบกว่าเดิม


ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านขยายตัวเป็นสงครามขนาดย่อมตามแนวชายแดน ปัญหายาเสพติดกลับมาระบาดหนัก


ปัญหา ปากท้องจากน้ำมันปาล์มขยายวงลามไปถึงสินค้าอาหารประ เภทอื่น เตรียมพาเหรดปรับขึ้นราคาเป็นทิวแถว ทั้งยังแฝงไปด้วยปม ทุจริตคอร์รัปชั่น จัดสรรผลประโยชน์ เข้าพกเข้าห่อนักการเมืองด้วยกันเอง


ปัญหาความคลุมเครือในการถือสัญ ชาติของนายกฯ ที่อาจบานปลายถูกลากขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศในคดีฟ้องร้อง 91 ศพ


ปัญหาม็อบพันธมิตรฯ คู่ขาเก่ายังปักหลักประท้วงไม่เลิก


โดยเฉพาะการชุมนุมคนเสื้อแดง ที่น่าจะมีจำนวนคนเข้าร่วมมากขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว 7 แกนนำออกจากเรือนจำ


ถึง จะมีการใช้เทคนิคหลบเลี่ยงไม่ให้การอภิปรายรัฐบาลไปชนกับการชุมนุมวันที่ 12 มี.ค. แต่อย่าลืมว่าคนเสื้อแดงยังมีวาระสำคัญที่จะจัดชุมนุมใหญ่อีกอย่างน้อย 2 วัน คือ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.


แต่ก็มีการส่งสัญญาณค่อนข้างชัด แล้วว่ารัฐบาลคงไม่อยู่รอถึงตอนนั้น เพราะจะเป็นการฝืนกระแสสังคมที่อยากเห็นการยุบสภาเลือกตั้งใหม่มากเกินไป


บวก กับการที่นักวิเคราะห์การเมืองหลายสำนักฟันธงตรงกัน จากสถานการณ์ตอนนี้รัฐบาลยิ่งอยู่นานคะแนนยิ่งหดหาย ถึงผ่านศึกอภิปรายไปได้แต่แผลเต็มตัว


ล่าสุดมีรายงานข่าวจากกลุ่ม อำนาจที่เคยหนุนหลังพรรคประชาธิปัตย์ ประเมินแล้วกระแสนายกฯอภิสิทธิ์ เริ่มไหลลงเรื่อยๆ ถึงจุดที่ไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะชนะเลือกตั้งในรอบต่อไปหรือไม่


ถึง จังหวะกระแสตีกลับทำการเมืองพลิกผัน ประเด็นชี้ขาดอยู่ที่พรรคเพื่อไทยจะเสนอใครมาแข่งกับ"อภิสิทธิ์" ภายใต้เงื่อนไขเดียวว่าต้องไม่ใช่คนของ"ทักษิณ"เด็ดขาด


ถ้าทำได้กลุ่มอำนาจก็พร้อมตัดหาง"อภิสิทธิ์-ประชาธิปัตย์" ทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น